พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรายงานประจำวันของตำรวจไม่ใช่เอกสารมหาชน และการพิสูจน์ความเสียหายจากต้นไม้ล้มทับ
เอกสารใดจะเป็นเอกสารมหาชนหาได้ถือเอาแต่การที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นตามอำนาจหน้าที่ของตนไม่ แต่ข้อความในเอกสารนั้นต้องพาดพิงถึงประชาชนในทางใดทางหนึ่ง ทั้งต้องกระทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากเอกสารนั้นได้ ด้วยการตรวจสอบหรืออ้างอิงข้อเท็จจริงจากเอกสารดังกล่าว แต่รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นเพียงเอกสารราชการที่เจ้าพนักงานตำรวจทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่ามีการแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงานตำรวจเท่านั้น มิได้มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนอ้างอิงข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นเอกสารมหาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารราชการ (รายงานประจำวัน) ไม่ใช่เอกสารมหาชน หากไม่มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนใช้ตรวจสอบข้อเท็จจริง
เอกสารใดจะเป็นเอกสารมหาชนหาได้ถือเอาแต่การที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นตามอำนาจหน้าที่ของตนไม่ แต่ข้อความในเอกสารนั้นต้องพาดพิงถึงประชาชนในทางใดทางหนึ่ง ทั้งต้องกระทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากเอกสารนั้นได้ ด้วยการตรวจสอบหรืออ้างอิงข้อเท็จจริงจากเอกสารดังกล่าว แต่รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นเพียงเอกสารราชการที่เจ้าพนักงานตำรวจทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่ามีการแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงานตำรวจเท่านั้น มิได้มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนอ้างอิงข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นเอกสารมหาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและหน้าที่การพิสูจน์
โฉนดที่ดินและสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้ออกมาโดยถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 เมื่อโฉนดที่ดินดังกล่าวมีชื่อจำเลยกับพี่น้องเป็นเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันย่อมสันนิษฐานได้ว่าจำเลยกับพี่น้องมีส่วนเป็นเจ้าของเท่ากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 การที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งมากกว่าพี่น้องคนอื่น จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาเอกสาร) และการสันนิษฐานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ผู้ร้องได้อ้างส่งต้นฉบับของเอกสารทั้งหมดต่อศาลชั้นต้นประกอบคำเบิกความของ ช. ผู้รับมอบอำนาจผู้ร้อง แต่ศาลชั้นต้นได้คืนต้นฉบับเอกสารให้ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอ้างส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ โจทก์ไม่ได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องอ้างส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับในขณะที่ผู้ร้องได้รับคืนต้นฉบับเอกสารนั้นว่าไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ผู้ร้องส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับทุกฉบับ จึงเป็นการตกลงกันว่าสำเนาเอกสาร ตามที่โจทก์ฎีกานั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงยอมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา 93 (1) การที่ต่อมาโจทก์คัดค้านสำเนาเอกสารดังกล่าวเมื่อสืบพยานปาก ช. เสร็จแล้ว จึงไม่ทำให้การรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวโดยชอบแล้วเสียไป
โจทก์ฎีกาว่าผู้ร้องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ไม่ชอบด้วยกฎมหาย แต่มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินอันเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง ผู้ร้องจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานที่เป็นคุณว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายอันเป็นคุณต่อผู้ร้อง
โจทก์ฎีกาว่าผู้ร้องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ไม่ชอบด้วยกฎมหาย แต่มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินอันเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง ผู้ร้องจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานที่เป็นคุณว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายอันเป็นคุณต่อผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานและการสันนิษฐานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินในคดีจำนอง
ผู้ร้องอ้างส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาลชั้นต้นประกอบคำเบิกความของ ซ. แต่ศาลชั้นต้นได้คืนต้นฉบับเอกสารให้ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอ้างส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ โจทก์ไม่ได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องอ้างส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับในขณะที่ผู้ร้องได้รับคืนต้นฉบับเอกสารนั้นว่าไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ผู้ร้องส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ จึงเป็นการตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา 93 (1)
โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชน กฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายอันเป็นคุณต่อผู้ร้อง
โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชน กฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายอันเป็นคุณต่อผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนการชำระเงิน และการนำสืบหักล้างพยานเอกสาร
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3968 กับจำเลยทั้งห้าในราคา 2,000,000 บาท ต่อมาโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงอื่นให้จำเลยทั้งห้าแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 3968 โดยจำเลยทั้งห้ายอมรับไว้ จึงเป็นการที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งห้าไปเพียงบางส่วน เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท เท่านั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ค่าที่ดินในส่วนที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระอีก 640,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อจะขายเดิมได้
แม้สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินจะระบุว่า จำเลยทั้งห้าชำระค่าที่ดินครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานจำเลยทั้งห้าและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 3968 โดยมีข้อสัญญาว่าจำเลยทั้งห้าต้องชำระค่าที่ดินที่เหลือ แต่จำเลยทั้งห้ายังไม่ได้ชำระ กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องแห่งพยานเอกสารนั้น อันเป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งชั้นอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
แม้สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินจะระบุว่า จำเลยทั้งห้าชำระค่าที่ดินครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานจำเลยทั้งห้าและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 3968 โดยมีข้อสัญญาว่าจำเลยทั้งห้าต้องชำระค่าที่ดินที่เหลือ แต่จำเลยทั้งห้ายังไม่ได้ชำระ กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องแห่งพยานเอกสารนั้น อันเป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งชั้นอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านที่ได้รับการรับรอง และการพิสูจน์บุคคลตามชื่อในสัญญา
สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งมีนายทะเบียนอำเภอรับรองถูกต้อง ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง กรณีจึงไม่จำเป็นต้องนำพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับรองสำเนานั้นมาเป็นพยานเบิกความรับรองอีก และแม้โจทก์เพิ่งส่งต่อศาลเมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ส่งเป็นพยานหลักฐานต่อศาล จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3760/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินธรณีสงฆ์: การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกในชื่อจำเลย และยืนยันสิทธิของวัด
แม้จำเลยจะมีชื่อใน น.ส.3 ก. อันมีผลให้จำเลยได้รับคำรับรองของทางราชการว่าจำเลยเป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว และยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายในฐานะที่มีชื่อในทะเบียนที่ดินว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ก็ตาม แต่เมื่อวัดโจทก์กล่าวอ้างว่าสิทธิของจำเลยไม่ถูกต้อง จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
หลังจากตั้งวัดโจทก์ขึ้นแล้ว มีการตั้งโรงเรียนขึ้นโดยยืมศาลาวัดสร้างเป็นโรงเรียนอยู่ 10 ปี จึงสร้างโรงเรียนในที่ดินของวัดด้วยความยินยอมของโจทก์ แต่เมื่อวัดโจทก์ย้ายออกไปแล้ว โจทก์มิได้สละสิทธิในที่ดินพิพาทยังคงนำที่ดินออกหาผลประโยชน์ตลอดมา การที่โจทก์ยอมให้ทางราชการใช้ที่ดินพิพาทเป็นโรงเรียนหาใช่เป็นการยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยไม่ เมื่อที่ดินพิพาทมีผู้ยกให้เพื่อสร้างวัด ซึ่งต่อมาก็มีการสร้างวัดขึ้นตามเจตนาของผู้ยกให้ ที่ดินพิพาทจึงเป็นที่วัดและเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 40(1) และ (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น โดยที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่มีผู้นำที่ดินพิพาทไปออก น.ส. 3 ก. เป็นชื่อจำเลยและต่อมาถูกเปลี่ยนแปลงขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ดินพิพาทยังคงสภาพเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์อยู่เช่นเดิม
หลังจากตั้งวัดโจทก์ขึ้นแล้ว มีการตั้งโรงเรียนขึ้นโดยยืมศาลาวัดสร้างเป็นโรงเรียนอยู่ 10 ปี จึงสร้างโรงเรียนในที่ดินของวัดด้วยความยินยอมของโจทก์ แต่เมื่อวัดโจทก์ย้ายออกไปแล้ว โจทก์มิได้สละสิทธิในที่ดินพิพาทยังคงนำที่ดินออกหาผลประโยชน์ตลอดมา การที่โจทก์ยอมให้ทางราชการใช้ที่ดินพิพาทเป็นโรงเรียนหาใช่เป็นการยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยไม่ เมื่อที่ดินพิพาทมีผู้ยกให้เพื่อสร้างวัด ซึ่งต่อมาก็มีการสร้างวัดขึ้นตามเจตนาของผู้ยกให้ ที่ดินพิพาทจึงเป็นที่วัดและเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 40(1) และ (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น โดยที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่มีผู้นำที่ดินพิพาทไปออก น.ส. 3 ก. เป็นชื่อจำเลยและต่อมาถูกเปลี่ยนแปลงขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ดินพิพาทยังคงสภาพเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์อยู่เช่นเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการขายทอดตลาดทำให้กรรมสิทธิ์ไม่เกิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
สำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดซึ่งจำเลยแนบท้ายคำแก้ฎีกา แม้จำเลยจะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานและมิได้ส่งสำเนาเอกสารแก่โจทก์ แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกามีอำนาจรับฟังเอกสารท้ายคำแก้ฎีกานั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) และเอกสารดังกล่าวแม้เป็นเพียงสำเนาเอกสาร แต่เมื่อมีรองจ่าศาลรับรองความถูกต้องแห่งเอกสารนั้นจึงฟังได้ว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแม้จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แต่เมื่อศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้ว ผลของคำสั่งเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดมาแต่แรก โจทก์ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแม้จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แต่เมื่อศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้ว ผลของคำสั่งเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดมาแต่แรก โจทก์ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7529/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองทำประโยชน์ก่อนออกโฉนดเป็นหลักฐานสำคัญกว่าชื่อในโฉนด
ที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินออกในชื่อโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครองด้วย
แม้โจทก์จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้าง ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของโจทก์หรือของจำเลย จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองก่อนที่จะมีการออกโฉนดที่ดิน เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่า เชื่อได้ว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสิทธิของจำเลย
เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทในชื่อโจทก์เพราะเข้าใจผิดหลงว่าโจทก์มีสิทธิ เป็นการออกให้โดยไม่ชอบจึงต้องพิพากษาให้เพิกถอน ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนชื่อในโฉนดที่ดิน หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
แม้โจทก์จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้าง ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของโจทก์หรือของจำเลย จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองก่อนที่จะมีการออกโฉนดที่ดิน เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่า เชื่อได้ว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสิทธิของจำเลย
เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทในชื่อโจทก์เพราะเข้าใจผิดหลงว่าโจทก์มีสิทธิ เป็นการออกให้โดยไม่ชอบจึงต้องพิพากษาให้เพิกถอน ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนชื่อในโฉนดที่ดิน หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข