คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 127

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารมหาชนมีน้ำหนักเบา สิทธิในที่ดินพิพาท การพิสูจน์ความไม่ถูกต้องของเอกสาร
หนังสือสัญญาให้ที่ดินที่ทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการที่ พ.จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นย่อมสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ถูกอ้างเอกสารฉบับนี้มายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าหนังสือสัญญาให้ที่ดินดังกล่าวไม่บริสุทธิ์หรือไม่ถูกต้อง ก็ต้องฟังว่าเอกสาร ดังกล่าวเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้ครบถ้วนตามราคาที่ดินที่พิพาทก่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีในชั้นฎีกาอย่างคนอนาถา ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่จะต้องสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสามการที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนเสร็จสิ้นแล้วส่งสำนวนมาให้ศาลฎีกาสั่งจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ไต่สวนพยานมาในชั้นนี้เสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไปเสียทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดเพื่อสิทธิในมรดก ศาลพิจารณาจากคำให้การและพยานหลักฐานประกอบ
แม้โจทก์จะเบิกความว่าโจทก์เป็นบุตรของถ. ตามสำเนาทะเบียนบ้านสำเนาทะเบียนนักเรียนใบสุทธิของโรงเรียนประชาบาลและใบสำคัญทหารนอกประจำการประเภทที่2และตามเอกสารดังกล่าวระบุว่าบิดาโจทก์ชื่อถ. ก็ตามแต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบอ้างอิงมายันจำเลยเท่านั้นจะถือตามเอกสารดังกล่าวโดยเด็ดขาดหาได้ไม่เพราะการที่ศาลรับฟังว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของถ.หรือไม่เป็นเรื่องที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่าย โจทก์เบิกความยอมรับว่าถ. ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของโจทก์บิดามารดาที่แท้จริงของโจทก์คือน. กับก. การที่โจทก์ฎีกาว่าเหตุที่โจทก์เบิกความไปเช่นนั้นเพราะโจทก์ถูกข่มขู่จากบุคคลภายนอกก่อนเข้าเบิกความโจทก์รู้สึกกลัวและเกิดความประหม่าและฟังคำถามค้านทนายความจำเลยไม่ชัดเจนจึงตอบหลงผิดไปนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเท่านั้นเมื่อเป็นข้อที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานเรื่องความเป็นบุตร และข้อจำกัดในการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
แม้โจทก์จะเบิกความว่าโจทก์เป็นบุตรของ ถ. ตามสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิของโรงเรียนประชาบาลและใบสำคัญทหารนอกประจำการประเภทที่ 2 และตามเอกสารดังกล่าวระบุว่า บิดาโจทก์ชื่อ ถ.ก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบอ้างอิงมายันจำเลยเท่านั้น จะถือตามเอกสารดังกล่าวโดยเด็ดขาดหาได้ไม่ เพราะการที่ศาลรับฟังว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ.หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่าย
โจทก์เบิกความยอมรับว่า ถ.ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของโจทก์บิดามารดาที่แท้จริงของโจทก์ คือ น.กับ ก. การที่โจทก์ฎีกาว่า เหตุที่โจทก์เบิกความไปเช่นนั้นเพราะโจทก์ถูกข่มขู่จากบุคคลภายนอกก่อนเข้าเบิกความโจทก์รู้สึกกลัวและเกิดความประหม่า และฟังคำถามค้านทนายความจำเลยไม่ชัดเจนจึงตอบหลงผิดไปนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเท่านั้น เมื่อเป็นข้อที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบสิทธิในมรดก: พยานหลักฐานขัดแย้ง การเบิกความยอมรับข้อเท็จจริง และอายุความ
แม้โจทก์จะเบิกความว่าโจทก์เป็นบุตรของ ถ. ตามสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิของโรงเรียนประชาบาลและใบสำคัญทหารนอกประจำการประเภทที่ 2 และตามเอกสารดังกล่าวระบุว่า บิดาโจทก์ชื่อ ถ. ก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบอ้างอิงมายันจำเลยเท่านั้น จะถือตามเอกสารดังกล่าวโดยเด็ดขาดหาได้ไม่ เพราะการที่ศาลรับฟังว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ.หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่าย โจทก์เบิกความยอมรับว่า ถ. ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของโจทก์บิดามารดาที่แท้จริงของโจทก์ คือ น. กับ ก. การที่โจทก์ฎีกาว่า เหตุที่โจทก์เบิกความไปเช่นนั้นเพราะโจทก์ถูกข่มขู่จากบุคคลภายนอกก่อนเข้าเบิกความ โจทก์รู้สึกกลัวและเกิดความประหม่าและฟังคำถามค้านทนายความจำเลยไม่ชัดเจนจึงตอบหลงผิดไปนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเท่านั้น เมื่อเป็นข้อที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีร่วมกันหลายจำเลย, การแก้ไขคำฟ้อง, และการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน
โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาททำนา จำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าเช่าที่พิพาททำนา คดีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ก่อนฟ้อง โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ เดิมมารดาโจทก์ให้ ส.เช่าทำนา ต่อมา ส. เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไป แต่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นพี่น้องของ ส. ยังคงปลูกบ้านอยู่บนที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิใด ๆ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อบ้านแต่ละหลังออกไปเป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสามเข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิ ส.และจำเลยทั้งสามก็ให้การว่า ที่พิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสามจำเลยทั้งสามครอบครองที่พิพาทตลอดมา จำเลยทั้งสามจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59 โจทก์บรรยายฟ้องว่า ส. เช่าที่พิพาทโฉนดเลขที่ 7 และ11 จากมารดาโจทก์ ต่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์และพี่น้องจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์มาแล้ว ต่อมา ส. ได้เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสามไม่ออก ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไป ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาจะขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 7และ 11 ตั้งแต่ต้น เหตุที่โจทก์ไม่ได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 11 ด้วย ก็เพราะพิมพ์ข้อความตกไป ฉะนั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องโดยขอเพิ่มเติมที่ดินโฉนดเลขที่ 11 จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยไม่อยู่ในบังคับทีจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 วรรคสอง และอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว โดยไม่ต้องให้จำเลยทั้งสามมีโอกาสคัดค้านตามมาตรา 21(2) และไม่ต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทั้งสามทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องตามมาตรา 181(1) คดีมีประเด็นโต้เถียงกันแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีครอบครองปรปักษ์ จำเลยมีผลประโยชน์ร่วมกัน ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องได้ เอกสารมหาชนมีน้ำหนักในการพิจารณา
โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาททำนาจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าเช่าที่พิพาททำนาคดีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ก่อนฟ้อง โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์เดิมมารดาโจทก์ให้ส.เช่าทำนาต่อมาส. เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแต่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นพี่น้องของส. ยังคงปลูกบ้านอยู่บนที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิใดๆขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อบ้านแต่ละหลังออกไปเป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสามเข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิส.และจำเลยทั้งสามก็ให้การว่าที่พิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสามจำเลยทั้งสามครอบครองที่พิพาทตลอดมาจำเลยทั้งสามจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีโจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59 โจทก์บรรยายฟ้องว่าส. เช่าที่พิพาทโฉนดเลขที่7และ11จากมารดาโจทก์ต่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์และพี่น้องจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์มาแล้วต่อมาส. ได้เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแล้วแต่จำเลยทั้งสามไม่ออกขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาจะขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่7และ11ตั้งแต่ต้นเหตุที่โจทก์ไม่ได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่11ด้วยก็เพราะพิมพ์ข้อความตกไปฉะนั้นการที่โจทก์ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องโดยขอเพิ่มเติมที่ดินโฉนดเลขที่11จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยไม่อยู่ในบังคับทีจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180วรรคสองและอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้จำเลยทั้งสามมีโอกาสคัดค้านตามมาตรา21(2)และไม่ต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทั้งสามทราบล่วงหน้าอย่างน้อย3วันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องตามมาตรา181(1) คดีมีประเด็นโต้เถียงกันแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142และมาตรา183ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มีชื่อในบัตรประชาชนไม่ตรงกับชื่อจริง
แม้บัตรประจำตัวประชาชนจะเป็นเอกสารราชการซึ่งให้สันนิษฐานว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงตามแต่ก็มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบหรือห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นอย่างอื่นการที่โจทก์อ้างว่าโจทก์คือนายห.บุตรนางข.คนหนึ่งแต่เหตุที่โจทก์มีชื่อในบัตรประจำตัวประชาชนว่านายน.ก็เพราะโจทก์หลบหนีคดีอาญาโจทก์จึงแจ้งชื่อของโจทก์และชื่อบิดามารดาของโจทก์ใหม่เพื่อไม่ให้คนอื่นรู้ว่าโจทก์คือนายห.นั้นนอกจากโจทก์จะอ้างตนเองเป็นพยานแล้วโจทก์ยังมีนายล.ซึ่งเคยเป็นครูสอนหนังสือโจทก์และต่อมารับราชการเป็นปลัดอำเภอเบิกความสอดคล้องกับนางก. ญาติทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยและนางส. เพื่อนบ้านซึ่งรู้จักโจทก์มาตั้งแต่เล็กๆโดยต่างยืนยันว่าโจทก์คือนายห. บุตรนายอ. กับนางข. ทั้งยังมีสัสดีจังหวัดเบิกความรับรองบัญชีรายนามทหารกองเกินและทหารกองหนุนว่านายห. เกิดปี2469เป็นบุตรนายอ. กับนางข.มีตำหนิแผลเป็นนิ้วชี้มือซ้ายตรงกับบัตรประจำตัวประชาชนที่ระบุว่าโจทก์เกิดปี2469และตำหนิแผลเป็นที่นิ้วมือชี้ด้านซ้ายก็ตรงกับที่ศาลตรวจดูตัวโจทก์และบันทึกไว้ในคำเบิกความของโจทก์ด้วยเมื่อรับฟังพยานบุคคลและพยานเอกสารของโจทก์ประกอบกันแล้วทำให้พยานโจทก์มีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์คือนายห. บุตรนางข.โจทก์จึงมีอำนาจร้องขอถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนางข. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9936/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินและบ้านที่ซื้อช่วงแต่งงานเป็นสินสมรส แม้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกให้บุตรก็ไม่สมบูรณ์หากไม่จดทะเบียน
จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียวตั้งแต่ซื้อมาจาก ท. ส่วนผู้ร้องมาลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยในภายหลังในฐานะคู่สมรส แสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ยิ่งกว่านี้ปรากฏตามทะเบียนสมรสและสารบาญ จดทะเบียนท้ายสำเนาโฉนดที่ดินอันเป็น เอกสารมหาชนเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ก็ปรากฏว่าจำเลยซื้อทรัพย์พิพาทมาจาก ท. เป็นช่วงเวลาที่จำเลยและผู้ร้องยังเป็นสามีภริยากันอยู่ ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เมื่อหย่ากันตามคำพิพากษาต้องแบ่งทรัพย์สินที่จำเลยและผู้ร้องมีอยู่ ในวันฟ้องหย่าคนละส่วนเท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532(ข),1533 ส่วนบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทย่อมมีกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านที่เป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทด้วย แม้จำเลยกับผู้ร้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยกที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทในส่วนของจำเลยให้แก่บุตรและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ก็มิได้มีการจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การยกให้จึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299ทรัพย์พิพาทส่วนที่ยกให้บุตรยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ประกอบกับการที่ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่มีการยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ต้องเป็นกรณีที่กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึดอยู่ด้วย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารจำนองเป็นเอกสารมหาชน สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยตามสัญญา
เอกสารการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งป.วิ.พ.มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกเอกสารมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร แต่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใด ดังนั้น โจทก์จึงนำสืบผู้รับมอบอำนาจโจทก์ประกอบเอกสารดังกล่าวก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำต้องนำสืบเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนอีก
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเงินทุนโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินเป็นความสมัครใจของจำเลยเอง อันเป็นการตกลงในเรื่องดอกเบี้ยสองลักษณะคือดอกเบี้ยปกติ (ร้อยละ 14.5 ต่อปี )กับดอกเบี้ยผิดนัด (ร้อยละ 18.5 ต่อปี)หากจำเลยได้ชำระหนี้ตามปกติโจทก์ย่อมไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยในอัตราผิดนัดตามที่ตกลงกันส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามหนังสือต่ออายุสัญญานั้น โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้ตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวตามสัญญากู้เงินย่อมผูกพันใช้บังคับกันได้ หาใช่เป็นเบี้ยปรับเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนไม่ จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองที่ดิน-สัญญากู้-ดอกเบี้ย-สถาบันการเงิน-การบังคับจำนอง: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยเป็นไปตามข้อตกลงและกฎหมาย
เอกสารการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกเอกสารมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารแต่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นโจทก์จึงนำสืบผู้รับมอบอำนาจโจทก์ประกอบเอกสารดังกล่าวก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนอีก โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเงินทุนโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินเป็นความสมัครใจของจำเลยเองอันเป็นการตกลงในเรื่องดอกเบี้ยสองลักษณะคือดอกเบี้ยปกติ(ร้อยละ14.5ต่อปี)กับดอกเบี้ยผิดนัด(ร้อยละ18.5ต่อปี)หากจำเลยได้ชำระหนี้ตามปกติโจทก์ย่อมไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดแต่เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยในอัตราผิดนัดตามที่ตกลงกันส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19ต่อปีตามหนังสือต่ออายุสัญญานั้นโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่1ได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ลงวันที่20พฤศจิกายน2533ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวตามสัญญากู้เงินย่อมผูกพันใช้บังคับกันได้หาใช่เป็นเบี้ยปรับเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนไม่จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19ต่อปี
of 18