คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 127

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7066/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: การคำนวณราคา, ดอกเบี้ย, และการแก้ไขคำพิพากษา
การเวนคืนที่ดินตาม พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ฯ พ.ศ.2511และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ฯพ.ศ.2516 การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการต่อไปในเรื่องค่าทดแทนต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้ว พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21(1)ให้นำราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกามาพิจารณาในการกำหนดค่าทดแทนด้วย แต่พระราชกฤษฎีกา มีผลใช้บังคับตั้งแต่ พ.ศ.2511 จำเลยเพิ่งมีหนังสือแจ้งราคาทดแทนให้โจทก์ทราบหลังจากนั้นมากกว่า 20 ปี จึงไม่เป็นไปตามครรลอง แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521มาตรา 33 วรรคสาม จึงให้นำราคาซื้อขายใน พ.ศ.2531ซึ่งเป็นปีที่เริ่มดำเนินการเพื่อจ่ายค่าทดแทนใหม่มาพิจารณาแทน สำเนาโฉนดที่ดินระบุไว้ชัดแจ้งว่า ที่ดินที่ถูกเวนคืนเนื้อที่43 ตารางวา เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงได้รับการสันนิษฐานไว้ว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 จำเลยทั้งสามไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้านว่าโฉนดที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้องจึงฟังได้ว่าที่ดินถูกเวนคืนเนื้อที่ 43 ตารางวา จริง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาว่า โจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 10,972,500 บาท แต่พิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินจำนวน 10,927,500 บาท นั้นเป็นการผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มให้โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26วรรคสุดท้าย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนี้อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ในเวลาที่ต่างกันศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีคงที่ตลอดไปจึงไม่ชอบซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีทรัพย์สิน การแบ่งทรัพย์มรดก และผลของหนังสือรับรองการทำประโยชน์
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นการกำหนดเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทของคู่ความแต่การกำหนดให้ฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังย่อมเป็นไปเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินกระบวนพิจารณาส่วนการวินิจฉัยข้อเท็จจริงต้องวินิจฉัยจากถ้อยคำพยานที่โจทก์จำเลยนำสืบประกอบกันโดยพิจารณาตามภาระหน้าที่ในการพิสูจน์ของแต่ละฝ่ายหาใช่ฝ่ายใดมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนแล้วจะต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานของฝ่ายนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ โจทก์กล่าวอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่1กึ่งหนึ่งอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของจ. สามีโจทก์ที่1ซึ่งตกได้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะทายาทส่วนละเท่าๆกันจำเลยต่อสู้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตามข้อตกลงของทายาทจำเลยครอบครองโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากกว่า10ปีแล้วจึงได้สิทธิครอบครองเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทมีการแบ่งปันตกมาเป็นของจำเลยแม้จำเลยเป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์และได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373จำเลยยังต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินตามข้อตกลงของทายาทโดยชอบและได้ครอบครองเพื่อตนและโดยสุจริตอันเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นใหม่อีกด้วย หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการซึ่งเจ้าพนักงานได้ออกให้เพื่อแสดงว่าผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวถือได้ว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การสันนิษฐานตามกฎหมายและการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่แท้จริง
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดย่อมได้รับการสันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของที่ดินเมื่อจำเลยซึ่งมีชื่อในที่พิพาทอ้างว่าถือกรรมสิทธิ์แทนม. จำเลยย่อมมีภาระการพิสูจน์ทั้งโจทก์ยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474วรรคสองที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยอีกด้วยแม้ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์นำสืบก่อนก็ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงภารการพิสูจน์ของจำเลยข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทนม.เมื่อที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาระหว่างเป็นคู่สมรสกับโจทก์จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ความรับผิดทางแพ่ง นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายทางจิตใจ
โจทก์เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวขวาและรถจักรยานยนต์ของโจทก์ได้แล่นไปถึงกึ่งกลางถนนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกตามหลังรถจักรยานยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ความระมัดระวังให้โอกาสแก่โจทก์ได้ผ่านไปก่อน จำเลยที่ 1ขับรถยนต์บรรทุกมาชนรถจักรยานยนต์โจทก์ในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกโดยประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว ค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ตามรายการแสดงค่ารักษาพยาบาลของโจทก์มีข้อความตรงกับเอกสารที่โรงพยาบาลได้ส่งศาลตามคำสั่งเรียกที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องมา และโจทก์มีหัวหน้าแผนกเวชระเบียน โรงพยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมาเบิกความประกอบเอกสารดังกล่าวยืนยันว่า โจทก์ได้เสียค่ารักษาพยาบาลไปตามเอกสารเช่นว่านั้นจริง แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นเพียงสำเนาแต่ก็มีเจ้าหน้าที่รับรองสำเนามาแล้ว ทั้งกรณีไม่มีกฎหมายบังคับว่าการอ้างเอกสารเป็นพยานต้องมีผู้ทำเอกสารมาเบิกความ เอกสารดังกล่าวจึงจะรับฟังได้ ค่าที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาลค่าที่โจทก์ต้องเสียบุคลิกภาพทางร่างกาย และค่าที่โจทก์สูญเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ไม่อาจมีบุตรได้อีกต่อไปนั้นเป็นค่าเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินโจทก์มีสิทธิเรียกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 การที่ศาลกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา แต่เป็นกรณีที่ศาลกำหนดค่าเสียหายเพื่อชดใช้ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิด จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง นับว่าเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่า โจทก์เสียหายส่วนใดเป็นเงินเท่าใด ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่จำเลยที่ 2ฎีกาว่า โจทก์รักษาตัวที่โรงพยาบาลใด จำนวนเท่าใด รักษากี่วันนั้น เป็นข้อที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานกันต่อไป เมื่อมีประเด็นข้อโต้เถียงกันในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ในส่วนค่าเสียหายจึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการชนทางรถยนต์ การคำนวณค่าเสียหาย และดอกเบี้ย
โจทก์เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวขวาและรถจักรยานยนต์ของโจทก์ได้แล่นไปถึงกึ่งกลางถนนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกตามหลังรถจักรยานยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ความระมัดระวังให้โอกาสแก่โจทก์ได้ผ่านไปก่อน จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกมาชนรถจักรยานยนต์โจทก์ในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกโดยประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว
ค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ตามรายการแสดงค่ารักษาพยาบาลของโจทก์มีข้อความตรงกับเอกสารที่โรงพยาบาลได้ส่งศาลตามคำสั่งเรียกที่จำเลยที่ 2ยื่นคำร้องมา และโจทก์มีหัวหน้าแผนกเวชระเบียน โรงพยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมาเบิกความประกอบเอกสารดังกล่าวยืนยันว่า โจทก์ได้เสียค่ารักษาพยาบาลไปตามเอกสารเช่นว่านั้นจริง แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นเพียงสำเนาแต่ก็มีเจ้าหน้าที่รับรองสำเนามาแล้ว ทั้งกรณีไม่มีกฎหมายบังคับว่าการอ้างเอกสารเป็นพยานต้องมีผู้ทำเอกสารมาเบิกความ เอกสารดังกล่าวจึงจะรับฟังได้
ค่าที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาลค่าที่โจทก์ต้องเสียบุคลิกภาพทางร่างกาย และค่าที่โจทก์สูญเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ไม่อาจมีบุตรได้อีกต่อไปนั้นเป็นค่าเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 446
การที่ศาลกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา แต่เป็นกรณีที่ศาลกำหนดค่าเสียหายเพื่อชดใช้ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิด จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 206 แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง นับว่าเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว
โจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่า โจทก์เสียหายส่วนใดเป็นเงินเท่าใด ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์รักษาตัวที่โรงพยาบาลใด จำนวนเท่าใด รักษากี่วันนั้น เป็นข้อที่จะต้องนำสืบพยาน-หลักฐานกันต่อไป เมื่อมีประเด็นข้อโต้เถียงกันในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ในส่วนค่าเสียหายจึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7404/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารมหาชนเป็นหลักฐานได้ & อายุความการแบ่งมรดก: ศาลฎีกาพิพากษากลับ ให้แบ่งมรดกแม้เลยอายุความ
สำนวนคดีของศาลในคดีเรื่องอื่นซึ่งเป็นรายงานและสำนวนความของศาลที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน โดยให้ประชาชนได้ตรวจดูและอ้างเป็นพยาน ในสำนวนได้ ถือว่าเป็นเอกสารมหาชน จึงได้รับประโยชน์จาก ข้อสันนิษฐานเป็นคุณไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5411/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาจำนองเป็นเอกสารมหาชน คู่ความต้องนำสืบหักล้างหากอ้างว่าไม่ถูกต้อง อำนาจฟ้องมีอยู่แล้ว
หนังสือสัญญาจำนองเป็นเอกสารราชการที่เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำขึ้นและเป็นเอกสารมหาชน จึงต้องถือว่าข้อความถูกต้องตรงตามความเป็นจริงผู้ที่อ้างว่าไม่ถูกต้องจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างว่าเอกสารไม่ถูกต้องอย่างไร ตามป.วิ.พ. มาตรา 127
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ สัญญาค้ำประกัน และสัญญาจำนอง จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ตามฟ้อง ภายหลังวันชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจของโจทก์จากสำนักงานใหญ่ให้ผู้จัดการสาขาของโจทก์ที่จังหวัดพิษณุโลกหรือพนักงานอื่นใดทำสัญญาดังกล่าวแทน จึงขอตัดฟ้องว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องทั้งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสี่จึงยื่นภายหลังวันชี้สองสถานได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามฟ้องและพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสี่เป็นคู่สัญญากู้ สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองกับโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยทั้งสี่ตามสัญญากู้ สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองได้อยู่แล้ว แม้จำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าข้อตัดฟ้องนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่แล้วเสียไป ทั้งไม่ทำให้รูปคดีของจำเลยทั้งสี่ดีขึ้นแต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุอนุญาตให้จำเลยทั้งสี่แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การประเมินราคาศุลกากร, อายุความค่าอากร, ราคาอันแท้จริง
หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นเอกสารราชการซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ทำขึ้น เมื่ออีกฝ่ายมิได้นำสืบว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องอย่างไร แม้ฝ่ายที่อ้างจะมิได้นำนายทะเบียนมาสืบก็รับฟังได้เมื่อผู้รับมอบอำนาจเบิกความยืนยันว่า กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อร่วมกันในหนังสือมอบอำนาจ มอบอำนาจให้ตนเป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์ โดยมีตราสำคัญของโจทก์ประทับ แม้จะไม่มีกรรมการผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจมาสืบ ก็ฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีแทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ในวันนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่ม เป็นการดำเนินการเพื่อนำสินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้ว ต่อเมื่อเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มโจทก์นำเงินไปชำระและรับหลักประกันคืน เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา112 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก่อนที่จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 40 อันจะถือได้ว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของอันจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกิน ในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรมาตรา 10 วรรคห้า หากแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่ต้องชำระ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินเงินอากรเพิ่ม เพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของ เมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
การซื้อสินค้าของโจทก์ในแต่ละเที่ยวที่นำเข้าเมื่อพิจารณาจากราคาที่ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ปรากฏว่าราคาสินค้าต่อหน่วยไม่เท่ากันในการนำเข้าแต่ละเที่ยว เจ้าพนักงานของจำเลยจึงได้ประเมินเพิ่มขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละเที่ยวเช่นเดียวกัน ราคาสินค้าทั้งที่โจทก์สำแดงและที่เจ้าพนักงานประเมินเพิ่มมิได้คงที่ มีการปรับราคาอยู่เสมอ และการประเมินของเจ้าพนักงานโดยการปรับราคาก็ไม่แน่นอนว่าจะเพิ่มหรือลดลง แม้ว่าการประเมินดังกล่าวจะอาศัยตามประกาศกรมศุลกากรและคำสั่งกรมศุลกากรซึ่งให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาไม่เกิน 3 เดือนเป็นหลักในการประเมินแต่ประกาศและคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ แสดงว่าการกำหนดราคาซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายเป็นไปตามภาวะการตลาด หรือภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้นราคาสินค้าการซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายจึงเป็นราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา จึงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินจากการหย่าและการโอนสิทธิในที่ดินหลังการหย่า ไม่ถือเป็นการฉ้อฉลหรือทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
บันทึกข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนการหย่าซึ่งระบุว่าจำเลยที่1ในฐานะภริยายกที่พิพาทให้แก่ ม. ซึ่งเป็นสามีเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1532และเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนให้ประชาชนได้ตรวจดูและอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้จึงเป็นเอกสารมหาชนต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127ว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงรับฟังได้ว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วที่พิพาทจึงตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าการที่จำเลยที่1จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นทายาทของ ม. ในภายหลังมีผลเป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงหาใช่เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินอันจะเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบและขอเพิกถอนตามมาตรา237ไม่แม้จำเลยที่1ที่3มิได้ฎีกาแต่เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จึงให้จำเลยที่1ที่3ได้รับผลจากคำพิพากษาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทะเบียนหย่าและข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินเป็นเอกสารมหาชน การจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิไม่ใช่การโอนทรัพย์สิน
ทะเบียนการหย่าและบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน และให้ประชาชนตรวจดูอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสาร-มหาชน
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
of 18