คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 127

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารใบสำคัญสมรสที่ยื่นผิดระเบียบ และการสันนิษฐานความถูกต้องของเอกสารมหาชน
ปัญหาที่ว่ามีการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับมารดาผู้ตายหรือไม่ เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี ซึ่งหากจะให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดีแล้วจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารใบสำคัญการสมรส การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานเอกสารดังกล่าวที่ยื่นโดยผิดระเบียบ จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
ต้นฉบับใบสำคัญการสมรสเป็นเอกสารมหาชน เพราะเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนใช้อ้างอิง จึงสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย: การรับฟังพยานหลักฐานการสมรสที่ยื่นผิดระเบียบ และเอกสารมหาชน
ปัญหาที่ว่ามีการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับมารดาผู้ตายหรือไม่เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีซึ่งหากจะให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดีแล้วจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารใบสำคัญการสมรสการที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานเอกสารดังกล่าวที่ยื่นโดยผิดระเบียบจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2) ต้นฉบับใบสำคัญการสมรสเป็นเอกสารมหาชนเพราะเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนใช้อ้างอิงจึงสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือและของกลาง: สิทธิการขอคืนของกลางของผู้เสียหายจากการกระทำผิดของผู้อื่น
ใบสำคัญรับรองการตรวจเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ อาชญาบัตรให้ใช้อวนทำการประมงและใบทะเบียนเรือไทยของกรมเจ้าท่าซึ่งมีชื่อผู้ร้องเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ เป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้น โจทก์มิได้นำสืบปฏิเสธความเท็จจริงและถูกต้อง ต้องสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เรือพร้อมเครื่องยนต์และอวนของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จเพื่อจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท และการทำเอกสารเท็จเพื่อหลอกลวงนายทะเบียน
บัญชีผู้ถือหุ้น สำเนารายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นและคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการเป็นสำเนาเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องถือเป็นเอกสารมหาชน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น การที่จำเลยสั่งให้ อ. ทำรายงานว่า มีการประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/2534 ซึ่งไม่มีการประชุมขึ้นจริงจึงเป็นการทำเอกสารเท็จการที่จำเลยร่วมกับ อ.ให้อ. ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการของบริษัท ก. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรปราการ โดยยื่นรายงานอันเป็นเอกสารเท็จดังกล่าวประกอบไปด้วย จนเป็นเหตุให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ เป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกโดยบุตรที่ได้รับการรับรอง และการพิสูจน์สถานะความเป็นบุตรจากเอกสารมหาชน
สำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่ถูกต้องของเอกสาร เมื่อไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักเพียงพอมาสืบหักล้างจึงต้องถือว่าสำเนาทะเบียนบ้านนั้นถูกต้องแล้ว ผู้ตายได้รับรองว่าต.เป็นบุตรของตนต.จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเมื่อต.ตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ต.จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแทนที่ ต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของคู่สมรส การรับฟังพยานหลักฐานเอกสารมหาชน และการไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่ไม่จำเป็น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง โจทก์ยอมรับว่าทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารราชการ เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนยืนยันว่าทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารที่ถูกต้องเอกสารฉบับนี้เป็นเอกสารมหาชนเมื่อโจทก์สืบไม่ได้ว่าเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์อย่างไร ต้องถือว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ฟังได้ว่าโจทก์ได้ให้ความยินยอมในการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมตามทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมแล้ว โจทก์ฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานสำคัญของโจทก์ทำให้โจทก์เสียเปรียบในการต่อสู้คดีซึ่งโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านไปแล้วโจทก์อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้อนี้เพราะไม่อาจทำให้ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไปได้ ฎีกาของโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรศาลอุทธรณ์จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้อนี้อย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรโดยปรากฏในสูติบัตร และผลทางกฎหมายต่อการเป็นผู้สืบสันดาน
สูติบัตรซึ่งเป็นเอกสารมหาชนได้ลงข้อเท็จจริงแสดงว่า โจทก์เป็นบุตรของ ส. จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยแท้จริงและถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ การย้ายแนวทาง และหน้าที่จดทะเบียนภาระจำยอม
โฉนดที่ดิน มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว ให้เห็นว่าโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร
โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะการใช้ทางพิพาทในระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภาระจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมีทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มาจนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภาระจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภาระจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภาระจำยอม จึงไม่ใช่เป็นวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภาระจำยอมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้ามชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภาระจำยอมไปทางด้านทิศใต้สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ย้ายภาระจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 แม้จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมแก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาระจำยอม การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความ และการกำหนดขอบเขตภาระจำยอม
โฉนดที่ดิน มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวให้เห็นว่าโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะ การใช้ทางพิพาทในระยะเวลา ดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภารจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมี ทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มา จนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์ เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาท จึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จน ไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภารจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภารจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภารจำยอม จึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา 2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการ เพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากเดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดิน ทางด้านทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภารจำยอม เป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้าม ชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภารจำยอมไปทางด้านทิศใต้ สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้ย้ายภารจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้ จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การจดทะเบียนภารจำยอมถือว่าเป็นการอันจะเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1391 แม้จะได้ภารจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภารจำยอมแก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารมหาชน, การซื้อขายสังหาริมทรัพย์, ความรับผิดร่วมกิจการค้า
หนังสือรับรองซึ่งออกโดยนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นเอกสารมหาชนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร เมื่อไม่สืบพยานหักล้าง แม้ทางราชการจะออกหนังสือรับรองดังกล่าวให้ช้านานเพียงใดก็ต้องถือว่าเอกสารนั้นมีข้อความที่ถูกต้องสมบูรณ์
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าอันเป็นการชำระหนี้ฝ่ายผู้ขายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ผู้ขายย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยกฎหมายไม่บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ การที่จำเลยที่ 2 ผู้เดียวเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์ และเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์ เช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ค่าสินค้าต่อโจทก์
of 18