พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมหาชนมีน้ำหนักเบา แต่คู่ความต้องหักล้าง การค้าโดยร่วมกัน ความรับผิดร่วมกัน
หนังสือรับรองซึ่งออกโดยนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ เป็นเอกสารมหาชนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร เมื่อไม่สืบพยานหักล้าง แม้ทางราชการจะออกหนังสือรับรองดังกล่าวให้ช้านานเพียงใดก็ต้องถือว่าเอกสารนั้นมีข้อความที่ถูกต้องสมบูรณ์ การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าอันเป็นการชำระหนี้ฝ่ายผู้ขายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ผู้ขายย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยกฎหมายไม่บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ การที่จำเลยที่ 2 ผู้เดียวเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์ และเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์เช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ค่าสินค้าต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โฉนดที่ดินสันนิษฐานถูกต้อง ผู้ถูกฟ้องแย้งต้องพิสูจน์ความไม่ชอบด้วยกฎหมาย, ครอบครองปรปักษ์ต้องครบ 10 ปี
โฉนดที่ดินของโจทก์เป็นเอกสารมหาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้ทรง-กรรมสิทธิ์ ซึ่งในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่าได้ออกมาถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา127 เมื่อจำเลยฟ้องแย้งให้ศาลพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินของโจทก์ว่าออกมาทับที่โดยไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบถึงความไม่ถูกต้องหรือมิชอบด้วยกฎหมายนั้น
แม้เดิมที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แต่ต่อมาทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในปี พ.ศ.2527 ซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
แม้เดิมที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แต่ต่อมาทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในปี พ.ศ.2527 ซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนที่สันนิษฐานว่าถูกต้อง ผู้ฟ้องแย้งมีหน้าที่พิสูจน์ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของโฉนด หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ โฉนดนั้นมีผลผูกพัน
โฉนดที่ดินของโจทก์เป็นเอกสารมหาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ ซึ่งในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่าได้ออกมาถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 เมื่อจำเลยฟ้องแย้งให้ศาลพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินของโจทก์ว่าออกมาทับที่โดยไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบถึงความไม่ถูกต้องหรือมิชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้เดิมที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แต่ต่อมาทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในปี พ.ศ. 2527 ซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อเป็นผู้จัดการมรดก: สิทธิในการจัดการทรัพย์สิน
มารดาผู้ร้องที่ 2 แจ้งการเกิดว่า ช. เป็นบิดาของผู้ร้องที่ 2 ทั้งที่ขณะนั้นผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ ตามสำเนาสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านก็ระบุว่า ช. เป็นบิดาของผู้ร้องที่ 2 ซึ่งสำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารมหาชน พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ผู้ร้องที่ 2 มิได้นำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้นแต่อย่างใดข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องที่ 2 มิใช่บุตรของผู้ตายจึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายไม่มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องถอนผู้ร้องที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิผู้จัดการมรดก ความถูกต้องของเอกสาร และค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ถอนผู้ร้องที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ผู้ร้องที่ 1 มิได้อุทธรณ์คดีในส่วนส่วนผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นข้อยุติแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น ผู้ร้องที่ 1ไม่มีสิทธิฎีกา สำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเมื่อสำเนาทะเบียนบ้านระบุชื่อ ช. เป็นบิดาของผู้ร้องที่ 2แต่ผู้ร้องที่ 2 มิได้นำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามเอกสารดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง แต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน: สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ และภาระการพิสูจน์เมื่อมีข้อพิพาท
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด ซึ่งเป็นเอกสารมหาชนแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของโจทก์และจำเลยผู้มีชื่อในโฉนด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง จำเลยผู้กล่าวอ้างว่าความจริงโจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยซึ่งมิได้เป็นไปตามข้อความในเอกสารนั้น มีภาระการพิสูจน์ให้ปรากฏความจริงตามคำกล่าวอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองบริษัท, สัญญาค้ำประกัน, ตัวแทนช่วง, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, การรับคำเบิกความ
หนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นเอกสารมหาชนแม้จะเป็นสำเนาแต่เจ้าพนักงานก็รับรองความถูกต้องจึงรับฟังได้ ส่วนหนังสือรับรองท้ายฟ้องโจทก์มีข้อความตรงกับหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทสาขาหาใช่หนังสือรับรองสาขาโจทก์ การที่ปรากฏข้อความแสดงที่ตั้งของสำนักงานโจทก์การที่ปรากฎข้อความแสดงที่ตั้งของสำนักงานโจทก์ต่าง จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะเป็นเอกสารที่โจทก์อ้างประกอบคำฟ้องแสดงฐานะและอำนาจกรรมการของโจทก์เท่านั้น
เมื่อสัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจต่อสู้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อนได้
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ อ.ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อดำเนินการแทนได้ ซึ่งรวมถึงการบอกกล่าวบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยทั้งสามตามสัญญา แม้ อ.มอบอำนาตจโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์รับเอาการกระทำของ ธ.ตัวแทนช่วงแล้วถือได้ว่าให้ส้ตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823และถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
การที่ ธ.เบิกความภายหลังพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความไปแล้วก็ปรากฏว่า โจทก์อ้าง ธ.เป็นพยานโจทก์เอาไว้และนำเข้าสืบตามกระบวนพิจารณาคำเบิกความของ ธ.รับฟังได้เพียงใดอยู่ที่ดุลพินิจของศาล ไม่มีเหตุจะให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาส่วนนี้ได้
ที่ ธ.มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปถึงจำเลยทั้งสามปรากฏว่าคนใช้และคนในบ้านของจำเลยทั้งสามเป็นผู้รับ ย่อมถือว่าจำเลยทั้งสามได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว
เมื่อสัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจต่อสู้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อนได้
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ อ.ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อดำเนินการแทนได้ ซึ่งรวมถึงการบอกกล่าวบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยทั้งสามตามสัญญา แม้ อ.มอบอำนาตจโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์รับเอาการกระทำของ ธ.ตัวแทนช่วงแล้วถือได้ว่าให้ส้ตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823และถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
การที่ ธ.เบิกความภายหลังพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความไปแล้วก็ปรากฏว่า โจทก์อ้าง ธ.เป็นพยานโจทก์เอาไว้และนำเข้าสืบตามกระบวนพิจารณาคำเบิกความของ ธ.รับฟังได้เพียงใดอยู่ที่ดุลพินิจของศาล ไม่มีเหตุจะให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาส่วนนี้ได้
ที่ ธ.มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปถึงจำเลยทั้งสามปรากฏว่าคนใช้และคนในบ้านของจำเลยทั้งสามเป็นผู้รับ ย่อมถือว่าจำเลยทั้งสามได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดิน - โฉนดที่ดินมีน้ำหนักกว่าพยานบุคคล - ส่วนควบเป็นกรรมสิทธิ์เจ้าของที่ดิน
โจทก์นำยึดที่ดินพิพาทที่มีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดพร้อมตึกซึ่งไม่มีหมายเลขบ้าน ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพิพาทและตึกที่ปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องมีเพียงพยานบุคคลมาสืบและคำเบิกความของพยานเหล่านั้นไม่น่าเชื่อพยานผู้ร้องจึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะหักล้างโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นเอกสารมหาชนและมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ส่วนตึกที่ตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทย่อมถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทะเบียนบ้านไม่ใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์ ศาลรับฟังพยานบุคคลได้
ทะเบียนบ้านเป็นเพียงหลักฐานของทางราชการ ที่ระบุว่าใครเป็นเจ้าของบ้านและมีใครอาศัยอยู่ในบ้าน ไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในบ้าน ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจึงย่อมนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะสัญญาซื้อขายหุ้นจากการแสดงเจตนาลวง แต่ต้องรับผิดต่อบริษัทจำเลยสุจริต และเอกสารมหาชนมีผลสันนิษฐานถูกต้อง
การที่ผู้ร้องรับซื้อหุ้นบริษัทจำเลยมาจาก ก. โดยสมรู้กันเพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นการแสดงเจตนาลวงระหว่างผู้ร้องกับ ก. สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยรู้เห็นกับการแสดงเจตนาลวง โดยรับจดแจ้งการโอนหุ้นในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามสัญญาซื้อขายโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงดังกล่าว เนื่องจากบริษัทจำเลยไม่อาจเรียกเอามูลค่าหุ้นที่ขาดจาก ก. ได้ผู้ร้องจึงไม่อาจยกความเป็นโมฆะขึ้นต่อสู้กับบริษัทจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 118วรรคแรก บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่รับรองเป็นเอกสารมหาชนต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 เมื่อผู้ร้องอ้างว่าบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวไม่ถูกต้องเพราะมีการชำระค่าหุ้นพิพาทเต็ม มูลค่าแล้ว ผู้ร้องจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความ.