คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 162

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4975/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คขีดคร่อมเฉพาะ: การโอนเช็คและการรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยที่ 4 สั่งจ่ายระบุชื่อจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และขีดคร่อมระบุไว้กลางเส้นขนานที่ขีดคร่อมว่า "เฉพาะ" ดังนี้ จำเลยที่ 4 อาจประสงค์ให้เป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะและให้ใช้เงินแก่ธนาคารตามเช็คก็ได้ ทั้งจำเลยที่ 4 ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าในทางปฏิบัติหรือประเพณีของธนาคารเป็นที่ยอมรับกันว่าเช็คที่ใช้ถ้อยคำเช่นนี้ห้ามมิให้ เปลี่ยนมือ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำอื่นอันได้ความทำนองเดียวกับคำว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ข้อความดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน จึงหามีผลต่อเช็คพิพาทไม่ตามมาตรา 899 เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คนั้นมาขายลดให้โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สลักหลัง ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 989จึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในค่าฤชาธรรมเนียม แต่ความรับผิดของจำเลยที่ 4 จำกัดอยู่เพียงไม่เกินจำนวนเงินในเช็คพิพาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเท่านั้น ซึ่งโจทก์ทราบดีตั้งแต่ตอนต้น ฉะนั้น การที่จะให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเกินไปกว่านี้ย่อมเป็นการไม่ยุติธรรมต่อจำเลยที่ 4แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ไว้ เพิ่งจะยกขึ้นในฎีกาก็ตามศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงศาลล่างได้ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4975/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คขีดคร่อมเฉพาะกับผลของการโอนเช็ค ผู้สั่งจ่ายมีหน้าที่รับผิดตามเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยที่ 4 สั่งจ่ายระบุชื่อจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และขีดคร่อมระบุไว้กลางเส้นขนานที่ขีดคร่อมว่า "เฉพาะ" ดังนี้ จำเลยที่ 4 อาจประสงค์ให้เป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะและให้ใช้เงินแก่ธนาคารตามเช็คก็ได้ ทั้งจำเลยที่ 4 ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าในทางปฏิบัติหรือประเพณีของธนาคารเป็นที่ยอมรับกันว่าเช็คที่ใช้ถ้อยคำเช่นนี้ห้ามมิให้เปลี่ยนมือ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำอื่นอันได้ความทำนองเดียวกับคำว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ข้อความดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน จึงหามีผลต่อเช็คพิพาทไม่ตามมาตรา 899 เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คนั้นมาขายลดให้โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สลักหลัง ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 989จึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในค่าฤชาธรรมเนียม แต่ความรับผิดของจำเลยที่ 4 จำกัดอยู่เพียงไม่เกินจำนวนเงินในเช็คพิพาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเท่านั้น ซึ่งโจทก์ทราบดีตั้งแต่ตอนต้น ฉะนั้น การที่จะให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเกินไปกว่านี้ย่อมเป็นการไม่ยุติธรรมต่อจำเลยที่ 4แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ไว้ เพิ่งจะยกขึ้นในฎีกาก็ตามศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงศาลล่างได้ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา, การหนีราชการถือเป็นการผิดสัญญา, การคำนวณค่าปรับจากเงินเดือน
จำเลยที่1ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศและได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้นหากปรากฏว่าจำเลยที่1หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลาและกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่1ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าวดังนี้ถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาเพราะคำว่าหนีราชการเป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการจึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่1ออกเองจำเลยไม่ผิดสัญญาหาได้ไม่ เงินเดือนที่จำเลยที่1ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้นอยู่ในความหมายของคำว่าเงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษาตามข้อสัญญาที่จำเลยที่1ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญาจึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้ การที่จำเลยที่1ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ2ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาโดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้นจำเลยที่1จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อนจากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่1และครั้งที่2ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2ที่3รับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในหนี้คนละจำนวนจำเลยที่2ที่3จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมตามสัญญาประกันภัย แม้ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้เพื่อความเป็นธรรม
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมร่วมกับจำเลยที่ 1 เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 แพ้คดีนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ไว้เพิ่งจะยกขึ้นในฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงศาลล่างด้วยหากเห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมจำกัดตามสัญญาประกันภัย แม้ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมร่วมกับจำเลยที่ 1 เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 แพ้คดีนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ไว้เพิ่งจะยกขึ้นในฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงศาลล่างด้วยหากเห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบทำให้เกิดการฉ้อฉล โจทก์ขอให้จำเลยร่วมรับผิดค่าฤชาธรรมเนียม
เจ้าหน้าที่ของธนาคารจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเป็นเหตุให้จำเลยอื่นฉ้อฉลโอนที่ดินอันเป็นโมฆียะต้องบอกล้าง แม้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องร่วมรับผิดในการโอนที่ดินคืน ศาลก็ให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์ได้ ซึ่งศาลจะเรียกจนครบจำนวนที่โจทก์ได้เสียไปเท่านั้น มิใช่คิดค่าธรรมเนียมซ้ำเป็น 2 เท่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนอง: สัญญาจำนองเป็นหลัก สารบัญญัติในสัญญาสำคัญกว่าพยานหลักฐานอื่น แม้มีการตกลงนอกสัญญา
สัญญาจำนองเป็นการทำหนังสือจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตราทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันการชำระหนี้ สาระสำคัญแห่งการจำนองจึงอยู่ที่ข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่จดทะเบียนไว้ สิ่งที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงก็คือ สัญญาจำนองที่ได้จดทะเบียนไว้นั้น เมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยจำนองที่ดินเต็มทั้งโฉนด และสิ่งปลูกสร้างจำนองด้วยทั้งสิ้น จำเลยจะนำสืบว่าได้ตกลงจำนองกันเพียงที่ดินและห้องแถวเพียง 16 ห้องในจำนวน 22 ห้องที่มีอยู่ในเวลาทำสัญญานั้นหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
แม้เอาสารสัญญากู้ที่ลูหนี้ได้ทำไว้กับโจทก์ก่อนหน้าที่จำเลยทำสัญญาจำนองจะได้กล่าวถึงตึกแถวว่าจำนวน 16 คูหาก็ดี ก็เป็นความตกลงคนละเรื่องคนละรายกับสัญญาจำนองรายนี้
แม้ในสัญญาจำนองจำได้กล่าวไว้ว่า ข้อสัญญาอื่น ๆ เป็ฯไปตามสัญญากู้ที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ และตามสัญญากู้กล่าวว่าจำนอง 16 ห้อง แต่เมื่องสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำนองที่ดินทั้งโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างมากน้องเพียงใดจึงไม่ใช่ข้อสัญญาอื่น ๆ นอกสัญญาจำนอง ดังนั้นจะตีความว่าจำนองเพียง 16 ห้องตามที่กล่าวในสัญญากู้หาได้ไม่
แม้จะถือว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลย+ถอนทรัพย์จำนองบางส่วนออกไปเมื่อยังมิได้จัดการแก้ทะเบียนที่ได้ตราไว้ ก็ไม่กระทบกระเทือนสัญญาจำนองที่มีอยู่
ธนาคารอุตสาหกรรมร้องของให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองของผู้จำนองหลายรายซึ่งตราไว้เป็ฯประกันหนี้รายเดียวกัน ในวงเงินต่าง ๆ กัน ผู้จำนองร่วมกันทำคำแถลงต่อสู้คดีโดยขอให้ศาลยกคำร้องดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินคดีร่วมกัน มิได้เสนอ-ต่อศาลขอแยกพิพาทเรียงรายตัวบุคคล ดังนั้น เมื่อผู้จำนองแพ้คดี ศาลย่อมพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายที่ชนะคดีได้ ไม่จำต้องแบ่งส่วนตามจำนวนเงินที่แต่ละคนจำนอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองรวมทั้งโฉนดและสิ่งปลูกสร้าง สัญญาจำนองเป็นหลักสำคัญ ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
สัญญาจำนองเป็นการทำหนังสือจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตราทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันการชำระหนี้สาระสำคัญแห่งการจำนองจึงอยู่ที่ข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่จดทะเบียนไว้สิ่งที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงก็คือ สัญญาจำนองที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นเมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่า จำเลยจำนองที่ดินเต็มทั้งโฉนด และสิ่งปลูกสร้างจำนองด้วยทั้งสิ้นจำเลยจะนำสืบว่าได้ตกลงจำนองกันเพียงที่ดินและห้องแถวเพียง16 ห้องในจำนวน 22 ห้องที่มีอยู่ในเวลาทำสัญญานั้นหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
แม้เอกสารสัญญาก้ที่ลูกหนี้ได้ทำไว้กับโจทก์ก่อนหน้าที่จำเลยทำสัญญาจำนองจะได้กล่าวถึงตึกแถวว่าจำนวน 16 คูหาก็ดี ก็เป็นความตกลงคนละเรื่องคนละรายกับสัญญาจำนองรายนี้
แม้ในสัญญาจำนองจะได้กล่าวไว้ว่า ข้อสัญญาอื่นๆเป็นไปตามสัญญากู้ที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์และตามสัญญากู้กล่าวว่าจำนอง 16 ห้องแต่เมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำนองที่ดินทั้งโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างด้วยทั้งสิ้น (22 ห้อง) ข้อที่ว่าจะจำนองสิ่งปลูกสร้างมากน้อยเพียงใดจึงไม่ใช่ข้อสัญญาอื่นๆนอกสัญญาจำนองดังนั้นจะตีความว่าจำนองเพียง 16 ห้องตามที่กล่าวในสัญญากู้หาได้ไม่
แม้จะถือว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยชักถอนทรัพย์จำนองบางส่วนออกไปเมื่อยังมิได้จัดการแก้ทะเบียนที่ได้ตราไว้ก็ไม่กระทบกระเทือนสัญญาจำนองที่มีอยู่
ธนาคารอุตสาหกรรมร้องขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองของผู้จำนองหลายรายซึ่งตราไว้เป็นประกันหนี้รายเดียวกัน ในวงเงินต่างๆ กันผู้จำนองร่วมกันทำคำแถลงต่อสู้คดีโดยขอให้ศาลยกคำร้องดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินคดีร่วมกัน มิได้เสนอต่อศาลขอแบ่งแยกพิพาทเรียงรายตัวบุคคลดังนั้น เมื่อผู้จำนองแพ้คดีศาลย่อมพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายที่ชนะคดีได้ ไม่จำต้องแบ่งส่วนตามจำนวนเงินที่แต่ละคนจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิไม่สุจริตในการต่อสู้คดี และการตีความกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนที่ไม่จดทะเบียน
ในศาลชั้นต้นไม่ได้ต่อสู้ว่าวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนผิดกฎหมาย แต่ครั้นแพ้คดีจึงยกขึ้น เช่นนี้ เป็นการใช้สิทธิแห่งตนไม่สุจริต
พระราชบัญญัติควบคุมการได้มาซึ่งที่ดินโดยห้างหุ้นส่วน ฯลฯ พ.ศ. 2485 และประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 นั้น เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะมีข้อห้ามกำหนดโทษเป็นความผิดทางอาญาไว้ แต่คำว่า "ห้างหุ้นส่วน" ในพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ หมายถึงห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียน อันถือว่าเป็นนิติบุคคล เพราะห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนย่อมไม่อาจได้มาซึ่งที่ดินและไม่อยู่ในฐานะที่จะถูกลงโทษทางอาญา ดังนั้น หุ้นส่วนรายนี้จึงไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามความในประมวลกฎหมายที่ดินนั้น ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องเป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว การที่ทนายความแถลงรับข้อเท็จจริงนั้น ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามรูปความ มิใช่จำหน่ายสิทธิ ดังนั้นตัวความจะคัดค้านมิได้ เมื่อไม่ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 (5) ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงชอบแล้ว เพราะไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิไม่สุจริตในการต่อสู้คดี และการตีความกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนในการได้มาซึ่งที่ดิน
ในศาลชั้นต้นไม่ได้ต่อสู้ว่าวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนผิดกฎหมาย แต่ครั้นแพ้คดีจึงยกขึ้น เช่นนี้ เป็นการใช้สิทธิแห่งตนไม่สุจริต
พระราชบัญญัติควบคุมการได้มาซึ่งที่ดินโดยห้างหุ้นส่วนฯลฯพ.ศ.2485 และประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้น เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมีข้อห้ามกำหนดโทษเป็นความผิดทางอาญาไว้ แต่คำว่า 'ห้างหุ้นส่วน'ในพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ หมายถึงห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนอันถือว่าเป็นนิติบุคคล เพราะห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนย่อมไม่อาจได้มาซึ่งที่ดินและไม่อยู่ในฐานะที่จะถูกลงโทษทางอาญา ดังนั้น หุ้นส่วนรายนี้จึงไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามความหมายในประมวลกฎหมายที่ดินนั้นห้างหุ้นส่วนนั้นต้องเป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว การที่ทนายความแถลงรับข้อเท็จจริงนั้นถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามรูปความมิใช่จำหน่ายสิทธิ ดังนั้นตัวความจะคัดค้านมิได้เมื่อไม่ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5) ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงชอบแล้ว เพราะไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
of 2