คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 181

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง แม้หนี้มีหลักฐานก็ได้ และอายุความนับใหม่จากวันรับสภาพ
แม้วันที่จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วก็ตามแต่เมื่อวันที่จำเลยรับสภาพหนี้นั้นถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปีเช่นนี้ คดีโจทก์ก็ยังไม่ขาดอายุความ
การรับสภาพหนี้นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักฐานแม้หนี้ที่มีหลักฐานกู้ยืมอยู่แล้วก็มีการรับสภาพหนี้กันได้
จำเลยทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม2496 และต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2501 จำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้นั้นซึ่งเป็นฉบับท้ายฟ้องโจทก์ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ซึ่งจำเลยกู้ไปเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2496 ส่วนเดียวเท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงหาใช่ฟ้องให้ชำระหนี้ ส่วนอุปกรณ์ซึ่งมีหนี้ในส่วนที่เป็นประธานแต่อย่างใดไม่ จะนำมาตรา 190 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อเชื่อและการรับสภาพหนี้ที่ทำให้สะดุดหยุดลงตามกฎหมาย
จำเลยซื้อเชื่อกระดาษ เครื่องเขียน จากพ่อค้า(โจทก์)ไปขายต่อเด็กนักเรียน เช่นนี้หาใช่เป็นการทำเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยไม่ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
เมื่อ จำเลยรับสภาพหนี้ ย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว การเริ่มต้นนับอายุความใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 ก็ต้องถืออายุความเดิม เป็นแต่ตั้งต้นนับใหม่เท่านั้น
คู่ความแถลงขอให้ศาลชี้ขาดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เพียงประเด็นเดียวโดยไม่สืบพยานในประเด็นอื่นอีก เช่นนี้ ศาลจะชี้ขาดได้ต้องอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งปรากฏในคำฟ้องคำให้การและคำแถลงของคู่ความประกอบด้วย การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเช่นนี้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อเชื่อและการรับสภาพหนี้: ผลกระทบต่อการนับอายุความใหม่
จำเลยซื้อเชื่อกระดาษ เครื่องเขียน จากพ่อค้า(โจทก์)ไปขายต่อเด็กนักเรียน เช่นนี้ หาใช่เป็นการทำเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยไม่ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
เมื่อจำเลยรับสภาพหนี้ ย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว การเริ่มต้นนับอายุความใหม่ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 ก็ต้องถืออายุความเดิมเป็นแต่ตั้งต้นนับใหม่เท่านั้น
คู่ความแถลงขอให้ศาลชี้ขาดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เพียงประเด็นเดียว โดยไม่สืบพยานในประเด็นอื่นอีก เช่นนี้ ศาลจะชี้ขาดได้ต้องอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งปรากฎในคำฟ้องคำให้การและคำแถลงของคู่ความประกอบด้วย การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเช่นนี้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, อายุความหนี้เงินกู้, และการรับสภาพหนี้หลังการเสียชีวิตของลูกหนี้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้ไว้แก่ธนาคารในวงเงินที่กำหนดไว้และมีระยะเวลา 2 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ส่วนจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไปนั้น กำหนดให้ถือตามบัญชีกระแสรายวันของธนาคารแล้วมีผู้ค้ำประกันเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวนั้นจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ คำว่า "เบิกเงินเกินบัญชี" ย่อมหมายความเป็นการเบิกเงินเกินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นลูกหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด การเข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้ จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่และหนี้ในอนาคตในวงเงินที่ค้ำประกันในระยะ 2 เดือนนั้นด้วย
แม้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความว่า ถ้าผู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ส่งดอกเบี้ย (ในอัตราร้อยละ 8ต่อปี) ผู้เบิกเงินเกินบัญชียอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราวๆ ไปก็ดี แต่ข้อสัญญานี้เป็นข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีจะนำไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้มาได้ไม่ การที่ธนาคารโจทก์เจ้าหนี้ขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้รับผิดใช้ดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันฟ้องนั้น เป็นการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองห้ามไว้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารตายลง แล้วผู้เป็นทายาทได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้ธนาคารเจ้าหนี้ไว้ อายุความเรียกร้องขอธนาคารเจ้าหนี้อันมีต่อลูกหนี้เจ้ามรดกก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอายุความเรียกร้องอันมีต่อทายาทผู้รับสารภาพหนี้นั้น อายุความตามมาตรา 1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกจึงสะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้
การที่ลูกหนี้ของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีและถอนออกไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารไม่
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ว่า เมื่อลูกหนี้ตาย ผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วม ย่อมมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะตกทอดไปยังทายาทของลูกหนี้นั้นตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าทายาทของลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่อายุความ 1 ปีได้สิ้นสุดลง ผู้ค้ำประกันก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมกับทายาทนั้นต่อไปตามจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันไว้ และใช้อายุความตามมูลหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบริษัทจำกัด, เอกสารทางราชการ, และอายุความหลังการผ่อนชำระหนี้
กรรมการผู้แทนบริษัทจำกัด ลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยนั้น ถือว่าบริษัทจำกัดเป็นโจทก์ กรรมการหาใช่ตัวโจทก์ไม่ ฉะนั้น แม้กรรมการจะมรณะ โจทก์ก็ดำเนินคดีได้
โจทก์ระบุอ้างพยานเอกสารไว้แล้วแต่ไม่ได้ส่งสำเนาให้อีกฝ่ายก่อนวันสืบพยาน 3 วันนั้น หากเอกสารนั้นเป็นของทางราชการออกให้ ข้อความในเอกสารย่อมเป็นที่เชื่อถือได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลรับฟังเอกสารนั้นได้
อายุความเรียกร้องนั้น ถ้าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยใช้เงินให้บางส่วนแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิ แม้คดีก่อนจะยังไม่ได้ชี้ขาดสิทธิระหว่างโจทก์และจำเลย
โจทก์เช่าเครื่องฉายภาพยนต์จากนายลิขิตมาฉายโรงภาพยนต์ของจำเลย ต่อมานายลิขิตบอกเลิกสัญญากับโจทก์ โจทก์เรียกคืนจากจำเลยจำเลยไม่ยอมคืน นายลิขิตจึงฟ้องโจทก์ โจทก์ได้ขอให้ศาลเรียกจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยร่วม เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องให้เสร็จสิ้นไป คดีถึงที่สุด ชั้นฎีกาพิพากษาให้โจทก์และจำเลยส่งคืนแก่นายลิขิต โดยไม่ชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์และจำเลย แต่ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะว่ากล่าวแก่จำเลย ดังนี้อายุความฟ้องคดีนี้ย่อมสดุดหยุดลง จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173,175, และ 181 และเมื่อโจทก์มาฟ้องคดีนี้หลังคดีก่อนถึงที่สุดเพียง 3-4 เดือนคดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากการเช่า: การนับอายุความใหม่เมื่อมีการรับสภาพหนี้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น จะต้องฟ้องภายในกำหนด 6 เดือนและแม้จะมีการรับสภาพหนี้กันซึ่งทำให้อายุความสดุดหยุดลง ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 172 ก็ตาม แต่เมื่อเริ่มนับใหม่ตามมาตรา 181 ก็ต้องถือว่าอายุความเดิมเป็นแต่ตั้งต้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเช่า: การรับสภาพหนี้และการนับอายุความใหม่
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้นจะต้องฟ้องภายในกำหนด 6 เดือน และแม้จะมีการรับสภาพหนี้กันซึ่งทำให้อายุความสดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ก็ตามแต่เมื่อเริ่มนับใหม่ตามมาตรา 181 ก็ต้องถืออายุความเดิมเป็นแต่ตั้งต้นนับใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การฟ้องเพิ่มเติมหลัง 1 ปี ไม่ขาดอายุความเมื่อฟ้องเดิมทำให้อายุความหยุดนิ่ง
ฟ้องแบ่งมรดกพายไน 1 ปีแล้วยื่นคำร้องเพิ่มเติมฟ้องเมื่อเกิน 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตายนั้น ไม่ถือว่าฟ้องเพิ่มเติมนั้นขาดอายุความ.
เมื่อฟ้องกันแล้วอายุความย่อมสดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การยื่นคำร้องเพิ่มเติมไม่ทำให้ขาดอายุความเมื่อมีการฟ้องไว้แล้ว
ฟ้องแบ่งมรดกภายใน 1 ปีแล้วยื่นคำร้องเพิ่มเติมฟ้องเมื่อเกิน 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตายนั้น ไม่ถือว่าฟ้องเพิ่มเติมนั้นขาดอายุความ เมื่อฟ้องกันแล้วอายุความย่อมสดุดหยุดลง
of 9