คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1299

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 899 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเปิดทางในสัญญาจะซื้อจะขาย แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็ใช้ได้ระหว่างคู่สัญญา
หลังจากโจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพียง7 วัน จำเลย สามีจำเลย และบุตรร่วมกันตั้งบริษัทจำเลยร่วมโดยจำเลยสามีจำเลย และบุตรเป็นกรรมการบริษัท ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยร่วมในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 เพราะขณะนั้นจำเลยร่วมยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ไม่อาจเชิดผู้ใดเป็นตัวแทนได้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท และสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองฉบับ จำเลย สามีจำเลยและบุตรรู้เห็นการทำสัญญาทั้งสองฉบับวัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน คือการโอนที่ดินพิพาทในราคาและกำหนดเวลาเดียวกัน ทั้งเมื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันแล้ว ได้มีการเปิดทางให้ตามที่มีข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนานถึง 2 ปีเศษ แม้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจำเลยร่วมเป็นผู้ซื้อมิใช่จำเลย และไม่มีข้อตกลงเปิดทางก็ตาม โดยพฤติการณ์ย่อมแสดงว่าจำเลยทำสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยร่วม และเท่ากับเป็นการตกลงโดยปริยายของจำเลยร่วมยอมรับและถือเอาข้อตกลงเรื่องเปิดทางตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมด้วย ข้อตกลงเปิดทางตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท มีลักษณะคล้ายภารจำยอมอันเป็นทรัพย์สิทธิ ถ้าไม่จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพย์สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 แต่ก็เป็นอันใช้ได้ระหว่างคู่สัญญาซึ่งรวมทั้งโจทก์กับจำเลยร่วมด้วยในฐานะบุคคลสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, ตัวแทนเชิด, ข้อตกลงเปิดทาง, ภาระจำยอม, สิทธิระหว่างคู่สัญญา
หลังจากโจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพียง7 วัน จำเลย สามีจำเลย และบุตรร่วมกันตั้งบริษัทจำเลยร่วม โดยจำเลยสามีจำเลย และบุตรเป็นกรรมการบริษัท ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยร่วมในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 821เพราะขณะนั้นจำเลยร่วมยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ไม่อาจเชิดผู้ใดเป็นตัวแทนได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท และสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองฉบับ จำเลย สามีจำเลยและบุตรรู้เห็นการทำสัญญาทั้งสองฉบับ วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน คือการโอนที่ดินพิพาทในราคาและกำหนดเวลาเดียวกัน ทั้งเมื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันแล้ว ได้มีการเปิดทางให้ตามที่มีข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนานถึง 2 ปีเศษ แม้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจำเลยร่วมเป็นผู้ซื้อมิใช่จำเลย และไม่มีข้อตกลงเปิดทางก็ตาม โดยพฤติการณ์ย่อมแสดงว่าจำเลยทำสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยร่วม และเท่ากับเป็นการตกลงโดยปริยายของจำเลยร่วมยอมรับและถือเอาข้อตกลงเรื่องเปิดทางตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมด้วย
ข้อตกลงเปิดทางตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท มีลักษณะคล้ายภาระจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิ ถ้าไม่จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 แต่ก็เป็นอันใช้ได้ระหว่างคู่สัญญาซึ่งรวมทั้งโจทก์กับจำเลยร่วมด้วยในฐานะบุคคลสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมโดยอายุความ vs. การได้มาซึ่งที่ดินโดยสุจริตและจดทะเบียน แม้ไม่ได้จดทะเบียนภารจำยอมก็ใช้ยันได้
โจทก์ใช้ทางพิพาทจนได้สิทธิภารจำยอมเหนือที่ดินโดยอายุความแม้โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนภารจำยอม แต่โจทก์ก็สามารถยกสิทธิภารจำยอมซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนขึ้นใช้ยันจำเลยผู้ได้ที่ดินดังกล่าวมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วได้ จึงไม่จำต้องกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้ที่ดินมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตหรือไม่ ตามที่จำเลยให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ และการซื้อขายโดยไม่สุจริต
เดิมที่พิพาทเป็นของ ข. แต่ ส. มีชื่อในฐานะเจ้าของในโฉนดที่ดิน ข. พูดยกที่พิพาทให้จำเลยครอบครองทำนาตั้งแต่จำเลยแต่งงาน และได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ทั้งก่อนโจทก์จะซื้อที่พิพาทจาก ส. โจทก์ก็ทราบดีว่าจำเลยปลูกบ้านบนที่พิพาท โจทก์จึงรู้แล้วว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองโดยตัวแทนที่ไม่เปิดเผยชื่อ และผลของการโอนสิทธิไปยังผู้รับโอน
จำเลยที่ 1 กู้เงิน ส. และจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกัน ส.ให้ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนออกหน้าเป็นผู้รับจำนองไว้แทน ส.ในฐานะตัวการไม่เปิดเผยชื่อย่อมมีสิทธิที่จะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งผู้คัดค้านได้ทำไว้แทนตนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 806 เมื่อ ส.ดำเนินการให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวแทนโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง ย่อมถือได้ว่าส. ตัวการได้โอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งนั้นให้แก่ผู้ร้องแล้ว
ส.เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การตั้งผู้คัดค้านเป็นตัวแทนไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้ร้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าสัญญาจำนองลำดับหนึ่ง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ คดีดังกล่าวผู้ร้องมิได้เข้าเป็นคู่ความด้วย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้อง แม้ในคดีดังกล่าว ศาลฟังว่าผู้คัดค้านทำสัญญาจำนองในฐานะส่วนตัวแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนของ ส.ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อเมื่อ ส.กลับแสดงตนเข้ารับเอาสัญญาโดยดำเนินการให้ผู้คัดค้านโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องจาก ส.มิใช่รับโอนจากผู้คัดค้านในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ตาม การโอนสิทธิเรียกร้องก็มีผลสมบูรณ์
แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจะระบุว่า ผู้โอนตกลงโอนและผู้รับโอนตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนอง ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า ส.ประสงค์จะโอนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตนให้ผู้ร้องเพื่อเป็นการชำระหนี้ จึงต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ที่ ส. มีต่อจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งผลของการโอนย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 305 สิทธิจำนองลำดับหนึ่งอันได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมตกไปยังผู้ร้องผู้รับโอนด้วย กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าผู้ร้องได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหา-ริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ ผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วย วิธีการพิเศษตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระค่าฤชาธรรมเนียมในฐานะเจ้าหนี้จำนองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิจำนองและการบังคับคดี: สิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับโอน vs เจ้าหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 กู้เงิน ส. และจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกัน ส. ให้ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนออกหน้าเป็นผู้รับจำนองไว้แทน ส. ในฐานะตัวการไม่เปิดเผยชื่อย่อมมีสิทธิที่จะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งผู้คัดค้านได้ทำไว้แทนตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 เมื่อ ส.ดำเนินการให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวแทนโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง ย่อมถือได้ว่า ส. ตัวการได้โอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งนั้นให้แก่ผู้ร้องแล้ว ส. เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การตั้งผู้คัดค้านเป็นตัวแทนไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 798วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าสัญญาจำนองลำดับหนึ่ง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ คดีดังกล่าวผู้ร้องมิได้เข้าเป็นคู่ความด้วย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้อง แม้ในคดีดังกล่าว ศาลฟังว่าผู้คัดค้านทำสัญญาจำนองในฐานะส่วนตัวแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนของ ส.ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ เมื่อ ส. กลับแสดงตนเข้ารับเอาสัญญาโดยดำเนินการให้ผู้คัดค้านโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องแสดงว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องจาก ส. มิใช่รับโอนจากผู้คัดค้านในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1 ภายหลังศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ตาม การโอนสิทธิเรียกร้องก็มีผลสมบูรณ์ แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจะระบุว่า ผู้โอนตกลงโอนและผู้รับโอนตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนอง ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า ส. ประสงค์จะโอนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตนให้ผู้ร้องเพื่อเป็นการชำระหนี้ จึงต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ที่ ส. มีต่อจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งผลของการโอนย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 305สิทธิจำนองลำดับหนึ่งอันได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมตกไปยังผู้ร้องผู้รับโอนด้วย กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าผู้ร้องได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ ผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วย วิธีการพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระค่าฤชาธรรมเนียมในฐานะเจ้าหนี้จำนองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้จำนองลำดับที่หนึ่ง ผู้รับโอนมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยที่ 1 กู้เงิน ส. และจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันโดย ส.ให้ผู้คัดค้านรับจำนองแทนส. ซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยย่อมกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับสัญญาใดซึ่งผู้คัดค้านทำไว้แทนตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 ดังนั้นเมื่อ ส. ให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวแทนโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้องย่อมถือได้ว่า ส. ตัวการได้โอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้องเช่นกัน การที่ส. ซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อตั้งผู้คัดค้านเป็นตัวแทนไม่ต้องทำหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798วรรคแรก และเมื่อผู้ร้องได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1 แล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก แม้ศาลจะมีคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านก็ตาม แต่ผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้อง เมื่อการโอนชอบด้วยกฎหมายผลของการโอนย่อมเป็นไปตามมาตรา 305 ดังนั้น สิทธิจำนองลำดับหนึ่งที่มีต่อจำเลยที่ 1 ย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนด้วย กรณีนี้ไม่อาจถือว่าผู้ร้องเป็นผู้รับโอนได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยนิติกรรมอันอยู่ในบังคับต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299 เมื่อผู้ร้องรับโอนหนี้จากผู้รับจำนองอันดับหนึ่งจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองก่อนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่า, พินัยกรรมไม่สมบูรณ์, การบุกรุก และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ส่วนข้อหาตามมาตรา 358 และ 362ไม่รับ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ทั้งสองข้อหาความผิดนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 และ 362 จึงไม่ชอบ ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าการซื้อขายย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อเจ้ามรดกขายที่พิพาทให้โจทก์ก่อนเจ้ามรดกตายโดยความรู้เห็นของจำเลยแล้ว การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่พิพาทให้แก่จำเลย พินัยกรรมส่วนที่เกี่ยวกับที่พิพาทย่อมไม่สมบูรณ์สิทธิครอบครองในที่พิพาทยังเป็นของโจทก์ จำเลยเข้าไปใช้รถไถขุดทำลายบ่อเลี้ยงปลาในที่พิพาทของโจทก์เพื่อถือการครอบครองอันเป็นการรบกวนการครอบครองที่พิพาทของโจทก์โดยปกติสุขทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่า การครอบครอง และความผิดฐานบุกรุก
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตามป.อ. มาตรา 365 ส่วนข้อหาตามมาตรา 358 และ 362 ไม่รับ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ทั้งสองข้อหาความผิดนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358และ 362 จึงไม่ชอบ
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าการซื้อขายย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อเจ้ามรดกขายที่พิพาทให้โจทก์ก่อนเจ้ามรดกตายโดยความรู้เห็นของจำเลยแล้ว การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่พิพาทให้แก่จำเลย พินัยกรรมส่วนที่เกี่ยวกับที่พิพาทย่อมไม่สมบูรณ์ สิทธิครอบครองในที่พิพาทยังเป็นของโจทก์ จำเลยเข้าไปใช้รถไถขุดทำลายบ่อเลี้ยงปลาในที่พิพาทของโจทก์เพื่อถือการครอบครอง อันเป็นการรบกวนการครอบครองที่พิพาทของโจทก์โดยปกติสุขทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยเอกสารปลอมและการคุ้มครองกรรมสิทธิ์เจ้าของเดิม แม้มีการจดทะเบียนโดยสุจริต
มีคนร้ายลักโฉนดที่ดินพิพาทไปจาก ส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ แล้วปลอมลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. ในหนังสือมอบอำนาจ และใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมนั้นไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินต่อกันมาเป็นทอด ๆ น.เป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทคนหลังสุด เมื่อ ส.ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททุกทอดจนในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของส.เจ้าของเดิมมาโดยตลอด
แม้จำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทจาก น.ซึ่งมิใช่เจ้าของโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ทั้งได้จดทะเบียนโดยสุจริต ก็ไม่ใช่เหตุที่จะพึงยกขึ้นกล่าวอ้างยันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงได้ เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากผู้ที่มิใช่เป็นเจ้าของที่แท้จริงการจำนองก็ไม่ผูกพันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะเป็นฝ่าฝืนป.พ.พ. มาตรา 705
of 90