พบผลลัพธ์ทั้งหมด 899 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยเอกสารปลอมและการคุ้มครองกรรมสิทธิ์เจ้าของเดิม แม้มีการจดทะเบียนโดยสุจริต
มีคนร้ายลักโฉนดที่ดินพิพาทไปจาก ส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ แล้วปลอมลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. ในหนังสือมอบอำนาจ และใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมนั้นไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินต่อกันมาเป็นทอด ๆ น.เป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทคนหลังสุด เมื่อ ส.ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททุกทอดจนในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของส.เจ้าของเดิมมาโดยตลอด
แม้จำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทจาก น.ซึ่งมิใช่เจ้าของโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ทั้งได้จดทะเบียนโดยสุจริต ก็ไม่ใช่เหตุที่จะพึงยกขึ้นกล่าวอ้างยันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงได้ เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากผู้ที่มิใช่เป็นเจ้าของที่แท้จริงการจำนองก็ไม่ผูกพันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะเป็นฝ่าฝืนป.พ.พ. มาตรา 705
แม้จำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทจาก น.ซึ่งมิใช่เจ้าของโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ทั้งได้จดทะเบียนโดยสุจริต ก็ไม่ใช่เหตุที่จะพึงยกขึ้นกล่าวอ้างยันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงได้ เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากผู้ที่มิใช่เป็นเจ้าของที่แท้จริงการจำนองก็ไม่ผูกพันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะเป็นฝ่าฝืนป.พ.พ. มาตรา 705
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ต้องไม่ขัดกับสิทธิของเจ้าของเดิมที่ได้โอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่ หากฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ครอบครองปรปักษ์ที่ดินจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ และจำเลยที่ 1 จะยกการได้กรรมสิทธิ์โดยการการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้โจทก์ได้หรือไม่ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์จึงเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ เดิมที่ดินพิพาทมีชื่อ ม. บิดาโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2664 ม. ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้วจำเลยที่ 1 จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ซึ่งจำเลยที่ 1อาจอ้างสิทธินี้ยัน ม. ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมได้ แต่ตามมาตรา 1299 วรรคสอง สิทธิของจำเลยที่ 1 อันยังมิได้จดทะเบียนนั้น จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการซื้อจากเจ้าของเดิมมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและตามมาตรา 6 ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการ โดยสุจริต เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับ โอนที่ดินพิพาทจาก ม.โดยไม่สุจริต จึงต้องฟังว่าโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจาก ม. โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ดังนั้นสิทธิการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้ และเมื่อจำเลยที่ 1ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์นับเวลาใหม่ยังไม่ถึงสิบปี จำเลยที่ 1 จึงอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 ยันโจทก์มิได้เช่นกันจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจปลอมทำให้การซื้อขายและขายฝากเป็นโมฆะ กรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้มอบอำนาจ
โจทก์ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้จำเลยที่ 1 นำที่พิพาทไปจำนอง จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจไปทำนิติกรรมโอนขายที่พิพาทให้แก่ตนเอง หนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 นำไปใช้ทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ต้องถือว่านิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทมิได้เกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทคงเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิขายฝากที่พิพาท แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะจดทะเบียนรับซื้อฝากที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและขายฝากที่จำเลยที่ 1ทำไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนบวชไม่ตกเป็นสมบัติของวัด แม้จดทะเบียนโอนในขณะเป็นพระ
แม้พระภิกษุช.จะได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินที่เช่าซื้อมาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศก็ตาม แต่พระภิกษุ ช.ได้เช่าซื้อและชำระค่าเช่าซื้อจนครบถ้วนแล้วก่อนที่จะมาบวชเป็นพระภิกษุซึ่งหากผู้ให้เช่าซื้อไม่จดทะเบียนโอนที่ดินให้ พระภิกษุ ช.ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ให้เช่าซื้อโอนที่ดินได้อันเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่พระภิกษุ ช.มีก่อนที่จะมาบวชเป็นพระภิกษุจึงต้องถือว่าพระภิกษุ ช.ได้ที่ดินมาแล้วก่อนที่จะบวชเป็นพระภิกษุการจดทะเบียนการได้มาในภายหลังเป็นแต่เพียงทำให้การได้มาบริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก เท่านั้นฉะนั้นเมื่อที่ดินมิใช่ทรัพย์สินที่พระภิกษุ ช.ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงไม่ตกเป็นสมบัติของวัด ตามมาตรา 1623 หากแต่เป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่บรรดาทายาทของพระภิกษุ ช.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเข้าเป็นหุ้นก่อนจดทะเบียน และการเพิกถอนการโอนเมื่อล้มละลาย
ผู้คัดค้านได้นำที่ดินและตึกแถวมาลงหุ้นตั้งแต่ลูกหนี้(จำเลย) ที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล แต่ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1079 กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวจึงตกเป็นของลูกหนี้ตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้น แม้หุ้นส่วนผู้จัดการจะมีหนังสือไปถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทว่าผู้คัดค้านจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกหนี้ที่ 1 เมื่อลูกหนี้เป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ไม่ทำให้ที่ดินและตึกแถวไม่ตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ไปได้ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1030 ที่บัญญัติถึงความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายนั้น ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งมอบตัวทรัพย์ มิใช่เรื่องกรรมสิทธิ์ เมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวได้ตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ตั้งแต่วันที่นำมาลงหุ้น การลดทุนโดยถอนหุ้นที่ลงหุ้นด้วยที่ดินและตึกแถวบางส่วนออกไปในขณะที่ลูกหนี้ที่ 1 กำลัง ประสบกับภาวะการขาดทุนซึ่งลูกหนี้ที่ 1 กับผู้คัดค้านทราบดี จึงเป็นการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนทรัพย์สินหรือยอมให้โอนทรัพย์สินไปในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 ล้มละลายโดยไม่สุจริต และไม่มีค่าตอบแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ดอกเบี้ยที่ศาลชั้นต้นคิดให้โดยนับตั้งแต่วันยื่นคำร้องยังไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนจึง ถือว่ามีการผิดนัดอันจะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2536 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเข้าห้างหุ้นส่วนก่อนจดทะเบียน & เพิกถอนการลดทุนในคดีล้มละลาย
ผู้คัดค้านได้นำที่ดินและตึกแถวมาลงหุ้นตั้งแต่ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล แต่ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 1079 กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวจึงตกเป็นของลูกหนี้ตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้น แม้หุ้นส่วนผู้จัดการจะมีหนังสือไปถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทว่าผู้คัดค้านจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกหนี้ที่ 1 เมื่อลูกหนี้เป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ไม่ทำให้ที่ดินและตึกแถวไม่ตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1ไปได้ และ ป.พ.พ. มาตรา 1030 ที่บัญญัติถึงความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายนั้น ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งมอบตัวทรัพย์ มิใช่เรื่องกรรมสิทธิ์
เมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวได้ตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้น การลดทุนโดยถอนหุ้นที่ลงหุ้นด้วยที่ดินและตึกแถวบางส่วนออกไปในขณะที่ลูกหนี้ที่ 1 กำลังประสบกับภาวะการขาดทุนซึ่งลูกหนี้ที่ 1 กับผู้คัดค้านทราบดี จึงเป็นการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนทรัพย์สินหรือยอมให้โอนทรัพย์สินไปในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 ล้มละลายโดยไม่สุจริต และไม่มีค่าตอบแทน เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา114
ดอกเบี้ยที่ศาลชั้นต้นคิดให้โดยนับตั้งแต่วันยื่นคำร้องยังไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนจึงถือว่ามีการผิดนัดอันจะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันนั้น
เมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวได้ตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้น การลดทุนโดยถอนหุ้นที่ลงหุ้นด้วยที่ดินและตึกแถวบางส่วนออกไปในขณะที่ลูกหนี้ที่ 1 กำลังประสบกับภาวะการขาดทุนซึ่งลูกหนี้ที่ 1 กับผู้คัดค้านทราบดี จึงเป็นการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนทรัพย์สินหรือยอมให้โอนทรัพย์สินไปในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 ล้มละลายโดยไม่สุจริต และไม่มีค่าตอบแทน เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา114
ดอกเบี้ยที่ศาลชั้นต้นคิดให้โดยนับตั้งแต่วันยื่นคำร้องยังไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนจึงถือว่ามีการผิดนัดอันจะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยในที่ดิน: สัญญาไม่จดทะเบียนเป็นบุคคลสิทธิ ไม่สร้างทรัพยสิทธิสมบูรณ์
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยโดย ม. เจ้าอาวาส ทำหนังสือสัญญาตกลงยอมให้โจทก์ปลูกสร้างบ้านและห้องแถวในที่ดินของจำเลยอยู่อาศัยตลอดชีวิตของโจทก์ และลูกหลานเหลนลื้อ และตกลงจะไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้โจทก์ตามกฎหมาย แต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิดังกล่าว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมเป็นบุคคลสิทธิซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะปลูกสร้างบ้านและห้องแถวในที่ดินของจำเลยได้ตามข้อตกลงแต่ข้อกล่าวอ้างของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้โจทก์เพื่อให้เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มิฉะนั้นไม่บริบูรณ์
การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพย์สิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้โจทก์เพื่อให้เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน การฟ้องบังคับจดทะเบียนสิทธิที่ยังไม่บริบูรณ์ทำไม่ได้
การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้โจทก์เพื่อให้เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมติดไปกับที่ดินแม้ยังมิได้จดทะเบียน สิทธิและหน้าที่โอนสู่ผู้รับโอนสามยทรัพย์
จำเลยทำสัญญายอมให้ พ. เจ้าของที่ดินคนเดิมใช้ทางเดินผ่านที่ดินจำเลยเพื่อเข้าออกสู่ทางสาธารณะ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการก่อให้เกิดภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ภาระจำยอมย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ซึ่งได้โอนมาเป็นของโจทก์แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอม เป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ตาม โจทก์ผู้รับโอนสามยทรัพย์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้