พบผลลัพธ์ทั้งหมด 899 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง อายุความ และสิทธิของเจ้าของเดิมที่มีต่อที่ดิน
จำเลยได้ครอบครองปลูกบ้านและทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเรื่อยมานับแต่บิดามารดาจำเลยยังมีชีวิตเป็นเวลานานหลายสิบปีที่พิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครอง แม้โจทก์จะจดทะเบียนการได้มา ซึ่งที่พิพาทโดยการครอบครองตามคำสั่งศาล โจทก์ก็ไม่มีสิทธิดีกว่าอันจะเป็นเหตุให้มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินหลังแบ่งแยก: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร. สามีโจทก์ที่ 3 และคู่ความในคดีได้ตกลงแบ่งเขตที่ดินกันครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ทั้งสามจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามส่วนที่แบ่งกัน แม้จำเลยที่ 1จะนำเอาที่ดินพิพาททั้งหมดไปออกโฉนดเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสาม และไม่ใช่การแย่งการครอบครอง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสามให้แก่ พ. คงมีสิทธิยกให้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น เมื่อ พ. ตาย จำเลยที่ 2 ภรรยาผู้รับมรดกของ พ.ก็ไม่มีสิทธิดีกว่าพ. จึงไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสามให้กับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหมดทั้งแปลง คงได้เฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 1ได้รับแบ่งตามคำพิพากษาตามยอมและต่อมาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 เท่านั้น เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้การรับโอนที่ดินเป็นโมฆะ
จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วโจทก์จึงรับโอนที่ดินจาก บ.ผู้มีชื่อโฉนดที่ดินเพื่อตีใช้หนี้ก่อนโอนบ.ได้พาโจทก์มาดูที่พิพาท โจทก์ย่อมเห็นจำเลยปลูกบ้าน ปลูกต้นไม้ยืนต้นในที่ดินพิพาทอย่างถาวร เมื่อบ. บอกโจทก์ว่า จำเลยเช่าที่พิพาทปลูกบ้านอยู่อาศัยโจทก์เชื่อก็ไม่ได้ขอดูหลักฐานการเช่าจากบ.ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้สอบถามจำเลยว่าเช่าที่พิพาทจริงหรือไม่ผิดวิสัยของผู้ซื้อที่ดินทั่วไป พฤติการณ์แสดงว่า ขณะโจทก์รับโอนที่ดิน โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยเห็นเจ้าของที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนี้จะถือว่าโจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งภารจำยอมโดยอายุความ และอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ใต้ภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อรั้วเปิดทางภารจำยอม ให้โจทก์เป็นผู้รื้อโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น ไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลคงพิพากษาให้ว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม ให้จำเลยรื้อรั้วเปิดทางภารจำยอม ให้จำเลยไปจดทะเบียนทางภารจำยอมให้โจทก์หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ vs. การโอนที่ดินโดยเสน่หาและสุจริต
พ.และฮ.ต่างเข้าครอบครองที่ดินตามส่วนที่ช.เจ้าของที่ดินยกให้โดยไม่ได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกแต่อย่างใดเมื่อ ฮ. ตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรได้ครอบครองต่อมาจนถึงปัจจุบันโดย พ. และโจทก์ต่างครอบครองและทำกินเป็นสัดส่วนต่างหากจากกัน เป็นเวลานานหลายสิบปีเช่นนี้แสดงว่าต่างฝ่ายต่างก็มีเจตนาครอบครองที่ดินเพื่อตนเองอย่างเป็นเจ้าของ เมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินโดยความสงบและเปิดเผยเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 พ. ซึ่งเป็นมารดาของจำเลยทั้งสองและพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน จำเลยทั้งสองอุปการะเลี้ยงดู พ.ตลอดมาพ. เคยยกที่ดินบางส่วนในแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองมาก่อนโดยไม่เสียค่าตอบแทน หากที่ดินพิพาทเป็นของ พ.จริงพ.ก็น่าจะยกให้จำเลยทั้งสองโดยเสน่หาโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนเช่นเดียวกัน ที่จำเลยทั้งสองอ้างว่า พ. ขายที่ดินให้จึงไม่น่าเชื่อถือ น่าเชื่อว่า พ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองโดยเสน่หาโดยไม่มีค่าตอบแทน จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกมาตรา 1299วรรคสอง ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองรับโอนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้จำเลยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยตกลงขายและสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์แล้วทั้งโจทก์ครอบครองที่พิพาทมาด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แต่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแก้ไขหลักฐานทางทะเบียนในที่ดินดังกล่าวเป็นชื่อโจทก์หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนามิได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นหน้าที่โจทก์ที่จะต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์และการดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขโฉนดเป็นหน้าที่ของผู้รับโอน
จำเลยตกลงขายและสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์แล้วทั้งโจทก์ครอบครองที่พิพาทมาด้วยเจตนาเป็น เจ้าของเป็นเวลากว่า10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แต่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแก้ไขหลักฐานทางทะเบียนในที่ดินดังกล่าวเป็นชื่อโจทก์หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนามิได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นหน้าที่โจทก์ที่จะต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5575/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่เปลี่ยนมือจนกว่าจะจดทะเบียน แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความ การโอนที่ดินจึงไม่เป็นยักยอก
จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยยกที่ดินให้ว.ครึ่งหนึ่งโดยใส่ชื่อว. เป็นเจ้าของรวมในโฉนด แต่เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนใส่ชื่อ ว.เป็นเจ้าของรวมว. ก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเพียงผู้เดียว การที่จำเลยโอนที่ดินทั้งหมดให้ ถ. จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5215/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยมิสุจริตของผู้ซื้อ และสิทธิการครอบครองปรปักษ์ของผู้ครอบครองเดิม
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ว. เมื่อปี 2516 แล้วจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยโดยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ซื้อมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้ว โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากส. เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2523 และฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15พฤษภาคม 2527 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมานั้นโจทก์เห็นจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอยู่แล้ว โจทก์ควรต้องสอบถามให้แน่นอนว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไร ตอนไปจดทะเบียนโจทก์ก็ตอบคำถามของเจ้าพนักงานโดยปิดบังว่าบนที่ดินพิพาทไม่มีสิ่งปลูกสร้าง เพื่อหลีกเลี่ยงคำถามต่อไปว่าสิ่งปลูกสร้างเป็นของใคร ทำให้โจทก์จดทะเบียนไปได้ พฤติการณ์เช่นนี้ถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของมานานแล้ว การที่โจทก์ตัดสินใจซื้อก็เพราะเชื่อว่าสามารถใช้สิทธิทางทะเบียนห้ามจำเลยต่อสู้ได้การกระทำของโจทก์จึงเป็นการไม่สุจริต ดังนี้ แม้โจทก์จะเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิแล้ว โจทก์ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมสามารถอ้างบทกฎหมายดังกล่าวยันโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการซื้อขายและครอบครอง: ผลของคำพิพากษาฎีกาผูกพันคู่ความ
คดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า พ. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับ ท.ครั้นพ.ถึงแก่กรรมท. ได้อาศัยสิทธิตามสัญญาดังกล่าว เรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ทายาทของ พ. ไปจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่ตน แต่เมื่อจำเลยที่ 5ไม่ยอมไปจดทะเบียนโอนให้ ท. ก็หาได้ใช้สิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 5 โอนให้ไม่ ท. จึงเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ พ. จนกว่าจะได้จดทะเบียนโอน สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทยังเป็นของทายาทของ พ. ซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 5 อยู่ท.ไม่มีสิทธิยกที่ดินพิพาทให้แก่ว.ว. จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ ว. โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไม่ทำให้โจทก์ผู้รับโอนมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า ว. ผู้โอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ดังโจทก์ฟ้อง.