พบผลลัพธ์ทั้งหมด 899 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7011/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมต้องจดทะเบียนเป็นหนังสือ จึงมีผลผูกพันบุคคลภายนอก การยินยอมใช้ทางโดยไม่จดทะเบียน ไม่สร้างภาระจำยอม
แม้จำเลยที่ 2 ในขณะเป็นเจ้าของถนนพิพาทจะทำหนังสือยินยอมให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ใช้ถนนพิพาทเป็นทางเข้าออกและต่อมาเมื่อถนนพิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ก็ทำหนังสืออนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ถนนพิพาทเป็นทางเข้าออกได้ อันทำให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิใช้ถนนพิพาทก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่เป็นทรัพยสิทธิไม่เป็นภาระจำยอมตามกฎหมาย และการที่โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิใช้ถนนพิพาทได้ก็เพราะจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ยินยอมและอนุญาตให้ใช้ จึงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดิน แม้จะใช้ถนนพิพาทมานานเกินกว่า 10 ปี โจทก์ทั้งสี่ก็ไม่ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 และแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะทำข้อตกลงกับโจทก์ทั้งสี่ว่า ถ้ามีการเปลี่ยนมือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้รับโอนต้องยินยอมให้ผู้รับความยินยอมมีสิทธิใช้ถนนและลานคอนกรีตได้ตลอดไป ข้อตกลงเช่นนี้ไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกไว้ล่วงหน้าโดยที่บุคคลภายนอกนั้นมิได้ยินยอมด้วยได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยที่ 3 ซึ่งมีถนนพิพาทรวมอยู่ด้วย คงมีผลเฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้ทำหนังสืออนุญาตที่จะต้องจัดการให้เป็นไปตามข้อตกลงเท่านั้น แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งมีถนนพิพาทรวมอยู่ด้วยให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็หาผูกพันต้องปฏิบัติตามหนังสืออนุญาตให้ใช้ทางที่จำเลยที่ 3 ทำไว้กับโจทก์ทั้งสี่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7011/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมต้องจดทะเบียนเพื่อสมบูรณ์ แม้มีข้อตกลงก็ไม่อาจผูกพันบุคคลภายนอกได้
ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่ก่อตั้งขึ้นด้วยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1298 และการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของถนนพิพาทจะทำหนังสือยินยอมให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ใช้ถนนพิพาทเป็นทางเข้าออกได้ และต่อมาเมื่อถนนพิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ก็ทำหนังสืออนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ถนนพิพาทได้ก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงตามหนังสือยินยอมและอนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ถนนพิพาทดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่เป็นทรัพยสิทธิและถนนพิพาทไม่ตกเป็นทางภาระจำยอมตามกฎหมาย
การที่โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิใช้ถนนพิพาทได้ก็โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินยินยอมและอนุญาตให้ใช้ แม้โจทก์จะใช้ถนนพิพาทมานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว แต่มิใช่เป็นการใช้ถนนโดยเจตนาที่จะให้ได้ภาระจำยอม จึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382
การที่โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิใช้ถนนพิพาทได้ก็โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินยินยอมและอนุญาตให้ใช้ แม้โจทก์จะใช้ถนนพิพาทมานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว แต่มิใช่เป็นการใช้ถนนโดยเจตนาที่จะให้ได้ภาระจำยอม จึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์หลังการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์แล้ว มิอาจอ้างเป็นข้อต่อสู้ได้
จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1338 โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ตามคำสั่งศาล แล้วนำคำสั่งศาลไปจดทะเบียนการได้มาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2535 แต่ปรากฏว่าเป็นที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินบางส่วนของโฉนดเลขที่ 5087 ที่ได้ออกโฉนดมาตั้งแต่ปี 2496 และมีการโอนกรรมสิทธิ์ต่อเนื่องกันมาโดยไม่ขาดสายจนถึงโจทก์ โดยโจทก์ซื้อมาเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2532 โดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต การได้มาของจำเลยเป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม และในขณะที่จำเลยได้มาโจทก์จดทะเบียนรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5087 จากเจ้าของที่ดินเดิมแล้ว แต่จำเลยยังมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสองได้ แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 1338 ต่อมาก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาครอบครองใหม่นับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาท เมื่อยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และการบังคับจำเลยให้ไถ่ถอนจำนองที่ดิน
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1301 อีกทั้งธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงธนาคารให้ยินยอมให้จดทะเบียนไถ่จำนองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10866/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำทรัพย์สินส่วนตัวลงเป็นหุ้นในห้างหุ้นส่วน ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของห้างหุ้นส่วน แม้จะยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์และ ธ. ซึ่งมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาทได้นำที่ดินพิพาทมาลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. แม้จะไม่มีการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดิน ที่ดินพิพาทก็ย่อมเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงมีคำสั่งให้อายัดและยึดที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเป็นประกันหนี้ ไม่ใช่สิทธิยึดหน่วงตามกฎหมาย เพราะไม่ใช่หนี้ที่เกี่ยวกับที่ดินโดยตรง
ผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินเพราะจำเลยมอบให้ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ผู้ร้องจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืน แต่เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาไม่สามารถใช้ยันแก่บุคคลอื่นได้ กรณีมิใช่สิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 เพราะหนี้ที่ผู้ร้องมีเป็นเพียงหนี้เงินกู้ที่ผู้ร้องจะได้รับชำระคืนเท่านั้นหาได้เป็นคุณแก่ผู้ร้องเกี่ยวด้วยที่ดินโฉนดดังกล่าวไม่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยึดโฉนดที่ดินดังกล่าวได้
การที่ผู้ร้องอ้างว่า จำเลยนำโฉนดที่ดินมาจำนองเป็นประกันเงินกู้แต่ยังมิได้จดทะเบียนจำนอง โดยจำเลยมอบโฉนดที่ดินให้ผู้ร้องยึดถือไว้ก่อนเพื่อให้เห็นว่าตนมีสิทธิยึดหน่วงในโฉนดที่ดินนั้น ผู้ร้องต้องอ้างมาในคำร้องด้วย จะนำสืบในชั้นไต่สวนคำร้องหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นเพียงรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริงที่กล่าวมาในคำร้องของผู้ร้อง และแม้จะเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยแต่เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยให้
การที่ผู้ร้องอ้างว่า จำเลยนำโฉนดที่ดินมาจำนองเป็นประกันเงินกู้แต่ยังมิได้จดทะเบียนจำนอง โดยจำเลยมอบโฉนดที่ดินให้ผู้ร้องยึดถือไว้ก่อนเพื่อให้เห็นว่าตนมีสิทธิยึดหน่วงในโฉนดที่ดินนั้น ผู้ร้องต้องอ้างมาในคำร้องด้วย จะนำสืบในชั้นไต่สวนคำร้องหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นเพียงรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริงที่กล่าวมาในคำร้องของผู้ร้อง และแม้จะเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยแต่เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน - โฉนดที่ดินออกโดยไม่ชอบ - การซื้อขายโดยสุจริต - ผู้ซื้อย่อมไม่มีสิทธิ
แม้พยานโจทก์ทุกปาก เว้นแต่เจ้าพนักงานที่ดินเบิกความว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เมื่อปี 2521 นั้นถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของ ว. เป็นการออกโดยไม่ถูกต้องเป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยพยานหลักฐานตามที่ปรากฏอยู่ในสำนวนส่วนจะเชื่อพยานฝ่ายใดย่อมเป็นดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหาใช่การวินิจฉัยโดยอาศัยพยานหลักฐานนอกสำนวนหรือผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนไม่
การนำสืบเพื่อพิสูจน์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ใด การออกเอกสารสิทธิที่พิพาทชอบหรือไม่ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง อีกทั้งมิใช่การนำสืบเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จึงสามารถนำสืบพยานบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ว. นำที่ดินพิพาทของโจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่ชอบ และ ว. ไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทว. จึงมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ ว. นำที่ดินพิพาทไปขายให้จำเลยทั้งสองแม้จำเลยทั้งสองจะซื้อและจดทะเบียนการซื้อขายโดยสุจริต จำเลยทั้งสองก็หามีสิทธิในที่ดินพิพาทไม่ เพราะผู้ซื้อต้องรับไปเพียงสิทธิของผู้ขายเท่านั้น เมื่อ ว. ผู้ขายไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองผู้ซื้อจึงย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
กฎหมายเพียงให้เป็นข้อสันนิษฐานไว้เท่านั้นว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดิน ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 จึงสามารถนำสืบข้อเท็จจริงหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม แต่ก็มีข้อความต่อไปว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ด้วย จากข้อความดังกล่าวย่อมชัดแจ้งแล้วว่าเป็นเพียงการพิมพ์ผิดเท่านั้น ที่ถูกโจทก์ต้องการให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่พิมพ์ผิดเป็นจำเลยที่ 2 โจทก์หาได้ประสงค์ให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ไปยื่นคำขอเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทจึงไม่เกินคำขอ
เมื่อโฉนดที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้เพิกถอน ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบนั้นได้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินมิได้บังคับบุคคลภายนอก แต่เป็นการบังคับเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินได้
การนำสืบเพื่อพิสูจน์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ใด การออกเอกสารสิทธิที่พิพาทชอบหรือไม่ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง อีกทั้งมิใช่การนำสืบเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จึงสามารถนำสืบพยานบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ว. นำที่ดินพิพาทของโจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่ชอบ และ ว. ไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทว. จึงมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ ว. นำที่ดินพิพาทไปขายให้จำเลยทั้งสองแม้จำเลยทั้งสองจะซื้อและจดทะเบียนการซื้อขายโดยสุจริต จำเลยทั้งสองก็หามีสิทธิในที่ดินพิพาทไม่ เพราะผู้ซื้อต้องรับไปเพียงสิทธิของผู้ขายเท่านั้น เมื่อ ว. ผู้ขายไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองผู้ซื้อจึงย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
กฎหมายเพียงให้เป็นข้อสันนิษฐานไว้เท่านั้นว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดิน ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 จึงสามารถนำสืบข้อเท็จจริงหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม แต่ก็มีข้อความต่อไปว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ด้วย จากข้อความดังกล่าวย่อมชัดแจ้งแล้วว่าเป็นเพียงการพิมพ์ผิดเท่านั้น ที่ถูกโจทก์ต้องการให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่พิมพ์ผิดเป็นจำเลยที่ 2 โจทก์หาได้ประสงค์ให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ไปยื่นคำขอเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทจึงไม่เกินคำขอ
เมื่อโฉนดที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้เพิกถอน ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบนั้นได้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินมิได้บังคับบุคคลภายนอก แต่เป็นการบังคับเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6188/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยบนที่ดินเกิดจากการทำสัญญาประนีประนอม ไม่ถือเป็นการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิจึงไม่ผูกพันผู้รับโอน
แม้ ท. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก. จะทำบันทึกสัญญาต่อหน้านายอำเภอยอมให้จำเลยปลูกบ้านบนที่ดินของตนก็ตาม แต่บันทึกสัญญาที่ ท. และจำเลยทำต่อกันนั้นเป็นการประนีประนอมระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับบ้านที่จำเลยปลูกและทรัพย์สินภายในบ้าน ไม่ใช่หนังสือจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน ดังนั้น การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินของจำเลยจึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง คงมีผลบังคับได้ระหว่างคู่กรณีเท่านั้น หามีผลผูกพันโจทก์ผู้รับโอนที่ดินจาก ท. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ทำการโดยสุจริตหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอาคารที่ไม่จดทะเบียน: กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของผู้ซื้อจนกว่าจะจดทะเบียน และการบังคับคดี
การซื้อขายอาคารอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่คู่สัญญามีความประสงค์จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 นั้น ถ้าตราบใดที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าทีให้เสร็จเรียบร้อย การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เว้นแต่จะปรากฏว่าอาคารได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 วรรคสอง เมื่อจำเลยมีสิทธิที่จะปลูกสร้างในที่ดินได้ อาคารที่จำเลยปลูกสร้างจึงมิได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 ดังนั้น นิติกรรมการซื้อขายระหว่างผู้ร้องและจำเลยคงมีฐานะเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายซึ่งสามารถใช้บังคับกันต่อไปได้เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน ดังเช่นกรณีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่คู่สัญญามิได้มีความประสงค์ที่จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และแม้จำเลยจะมอบอาคาให้ผู้ร้องครอบครองก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยกรรมสิทธิ์ในอาคารยังคงเป็นของจำเลยอยู่ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เพราะยังชำระราคากันไม่ครบผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดอาคารขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์, สิทธิในที่ดิน, และการโอนสิทธิโดยสุจริต: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่ หากจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ส. และโจทก์ได้ที่ดินแปลงพิพาทโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ และจำเลยจะยกการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินส่วนพิพาทขึ้นต่อสู้ ส. และโจทก์ได้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ส. ได้ที่ดินแปลงพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทมาเป็นเวลาประมาณ 25 ปี มิได้ให้การต่อสู้ว่า ส. มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยไม่สุจริต ส. ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังว่า ส. ซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานดังกล่าว จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทมาเป็นเวลาประมาณ 25 ปี มิได้ให้การต่อสู้ว่า ส. มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยไม่สุจริต ส. ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังว่า ส. ซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานดังกล่าว จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมาย