พบผลลัพธ์ทั้งหมด 899 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: สิทธิโดยอายุความและการซื้อขายโดยสุจริตของผู้โอนสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงพิพาทโดยจดทะเบียนซื้อมาจาก ส. จำเลยอยู่ในที่ดินส่วนพิพาทโดยอาศัย ส. ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า จำเลยครอบครองที่ดินส่วนพิพาทด้วยความสงบ เปิดเผยและเจตนายึดถือเพื่อตนมาเป็นเวลาประมาณ25 ปีแล้ว จึงได้สิทธิโดยอายุความ โจทก์เพิ่งซื้อจาก ส. ในภายหลังจึงไม่มีอำนาจฟ้องดังนี้คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่ หากฟังได้ว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ส. และโจทก์ได้ที่ดินมาโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่และจำเลยจะยกการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้ ส. และโจทก์ได้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ส. ได้ที่ดินแปลงพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยให้การเพียงว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทมาเป็นเวลาประมาณ 25 ปีแล้ว มิได้ให้การว่า ส. มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินแปลงพิพาทจาก บ. โดยไม่สุจริต ส. ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏเป็นอย่างอื่น การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังว่า ส. ซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยให้การเพียงว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทมาเป็นเวลาประมาณ 25 ปีแล้ว มิได้ให้การว่า ส. มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินแปลงพิพาทจาก บ. โดยไม่สุจริต ส. ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏเป็นอย่างอื่น การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังว่า ส. ซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์เป็นข้อต่อสู้คดีร้องขัดทรัพย์ ต้องแสดงเหตุโต้แย้งสิทธิชัดเจนในคำร้อง
เมื่อบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 อยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 55 การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีร้องขัดทรัพย์ได้นั้น ผู้ร้องต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยชัดแจ้งให้เห็นว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นผู้ร้องจึงจะมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบตามข้ออ้างได้ การที่ผู้ร้องมิได้บรรยายในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริตจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นดังกล่าวและกรณีมิใช่เรื่องที่คู่ความสามารถนำพยานเข้ามาสืบประกอบได้เองโดยไม่จำต้องกล่าวบรรยายมาในคำร้องดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยไม่ทำการไต่สวนจึงชอบแล้ว
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาขอให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอไว้ไต่สวนต่อไปนั้น เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาขอให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอไว้ไต่สวนต่อไปนั้น เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7906/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อและสุจริต: สิทธิในการติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้ปลอมเอกสารและการจำนองโดยสุจริต
สุจริตด้วยกัน ผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเสียเปรียบ
โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่ได้กรอกข้อความโดยบอกว่าให้ลงไว้เป็นหลักฐานพร้อมกับให้โจทก์มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น. ส. 3 ก.) ของโจทก์ไว้เป็นประกันการกู้ยืม และขอสำเนาทะเบียนบ้านกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ไว้ การที่จำเลยที่ 1 กรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจแล้วนำไปใช้ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 โดยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอม ก็ต้องถือว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินดังกล่าวมิได้เกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องยังเป็นของโจทก์อยู่ โจทก์จึงฟ้องเพื่อติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือที่ดินไว้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้โจทก์จะมีส่วนประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็ยังมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยที่ 1 ได้ ในเมื่อที่ดินนั้นยังมิได้โอนเปลี่ยนมือไปเป็นของบุคคลอื่น ยังอยู่ในวิสัยที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ทำขึ้นโดยปราศจากอำนาจได้
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้รับจำนองที่ดินไว้มิได้ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 ทั้งก่อนที่จำเลยที่ 2 จะรับจำนองที่ดินของโจทก์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์มาเป็นชื่อจำเลยที่ 1 แล้ว เรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะเป็นอย่างไร จำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นด้วย ถือว่าจำเลยที่ 2 รับจำนองโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนแก่จำเลยที่ 1 ผู้ปรากฏชื่อเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในขณะนั้น
แม้ขณะจดทะเบียนจำนองจำเลยที่ 1 จะมิได้เป็นเจ้าของที่ดินที่จำนอง แต่พฤติการณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้พร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น. ส. 3 ก.) ทั้งยังมอบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ไว้กับจำเลยที่ 1 ด้วย เป็นการกระทำที่เปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 นำเอกสารเหล่านั้นไปใช้ในกิจการอย่างอื่น ถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์จะยกเอาผลที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์มาเป็นมูลเหตุฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองโดยสุจริตหาได้ไม่ สุจริตด้วยกันผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ การที่โจทก์มาฟ้องขอให้เพิกถอนการจำนองจึงถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ดังนี้ แม้ที่ดินจะต้องถูกโอนกลับไปเป็นของโจทก์ แต่นิติกรรมจำนองที่จำเลยที่ 1 ก่อไว้ย่อมตกติดมาด้วย
โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่ได้กรอกข้อความโดยบอกว่าให้ลงไว้เป็นหลักฐานพร้อมกับให้โจทก์มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น. ส. 3 ก.) ของโจทก์ไว้เป็นประกันการกู้ยืม และขอสำเนาทะเบียนบ้านกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ไว้ การที่จำเลยที่ 1 กรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจแล้วนำไปใช้ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 โดยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอม ก็ต้องถือว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินดังกล่าวมิได้เกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องยังเป็นของโจทก์อยู่ โจทก์จึงฟ้องเพื่อติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือที่ดินไว้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้โจทก์จะมีส่วนประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็ยังมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยที่ 1 ได้ ในเมื่อที่ดินนั้นยังมิได้โอนเปลี่ยนมือไปเป็นของบุคคลอื่น ยังอยู่ในวิสัยที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ทำขึ้นโดยปราศจากอำนาจได้
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้รับจำนองที่ดินไว้มิได้ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 ทั้งก่อนที่จำเลยที่ 2 จะรับจำนองที่ดินของโจทก์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์มาเป็นชื่อจำเลยที่ 1 แล้ว เรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะเป็นอย่างไร จำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นด้วย ถือว่าจำเลยที่ 2 รับจำนองโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนแก่จำเลยที่ 1 ผู้ปรากฏชื่อเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในขณะนั้น
แม้ขณะจดทะเบียนจำนองจำเลยที่ 1 จะมิได้เป็นเจ้าของที่ดินที่จำนอง แต่พฤติการณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้พร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น. ส. 3 ก.) ทั้งยังมอบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ไว้กับจำเลยที่ 1 ด้วย เป็นการกระทำที่เปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 นำเอกสารเหล่านั้นไปใช้ในกิจการอย่างอื่น ถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์จะยกเอาผลที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์มาเป็นมูลเหตุฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองโดยสุจริตหาได้ไม่ สุจริตด้วยกันผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ การที่โจทก์มาฟ้องขอให้เพิกถอนการจำนองจึงถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ดังนี้ แม้ที่ดินจะต้องถูกโอนกลับไปเป็นของโจทก์ แต่นิติกรรมจำนองที่จำเลยที่ 1 ก่อไว้ย่อมตกติดมาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท: ผลของคำพิพากษาคดีกรรมสิทธิ์ต่อสัญญาซื้อขายฝาก
เมื่อคำพิพากษาในคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยฟังว่า พ. ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยการครอบครองปรปักษ์ ที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ที่ตกทอดแก่ทายาท จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ อ. และ จ. จึงมีสิทธิดีกว่า พ. โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวจึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้ในคดีดังกล่าวศาลจะมิได้พิพากษาให้เพิกถอนสัญญาขายฝากระหว่าง พ. กับโจทก์ โดยฟังว่าโจทก์รับซื้อฝากโดยสุจริตและจดทะเบียนไว้โดยสุจริต แต่โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาทเพราะ พ. ผู้ขายฝากไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่จะไปทำสัญญาขายฝากให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. และ จ. ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทอันเป็นเอกสารสิทธิของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ได้ และการยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสามไม่ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่การขายฝากที่ดินภายในกำหนด แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญาและผู้จัดการมรดก คดีไม่ขาดอายุความ
ม. ไถ่ที่ดินจากจำเลยภายในกำหนดในสัญญาขายฝากแล้วแม้จะไม่ได้จดทะเบียนไถ่การขายฝาก ก็เป็นเพียงทำให้การกลับคืนมาซึ่งทรัพย์สิทธิยังไม่บริบูรณ์เท่านั้น แต่ใช้ยันกันได้ระหว่าง ม. กับจำเลย เมื่อโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ม. จึงมีผลยันกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนและฟ้องร้องขอให้จำเลยจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินแก่โจทก์เมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ขายฝากที่ดินภายในกำหนด แม้ยังมิได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพัน โจทก์มีสิทธิฟ้องร้องได้ตลอดเวลา
ผู้ขายฝากได้ไถ่ที่ดินพิพาทจากผู้ซื้อภายในกำหนดในสัญญาขายฝากแล้ว แม้จะไม่มีการจดทะเบียนไถ่การขายฝากก็เป็นเพียงทำให้การกลับคืนมาซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดินพิพาทยังไม่บริบูรณ์เท่านั้น แต่มีผลใช้บังคับยันกันเองได้ แม้ยังมิได้มีการจดทะเบียนไถ่ ที่ดินที่ขายฝากก็ตกเป็นของผู้ขายฝากทันที ซึ่งมีผลบังคับยันกันได้ระหว่างคู่สัญญา ผู้จัดการมรดกของผู้ขายฝากย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนและฟ้องร้องขอให้ผู้ซื้อจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินในระยะเวลาใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดิน - สิทธิครอบครอง - การซื้อขายโดยไม่สุจริต - คดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์
การพิจารณาคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันว่าจะต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาว่าคำขอใดเป็นหลัก คำขอใดเป็นคำขอที่ต่อเนื่อง โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โดยให้ถอนชื่อจำเลยที่ 2 ออกแล้วจึงให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ถือว่า คำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทเป็นคำขอหลัก คำขอให้จำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาทเป็นคำขอต่อเนื่องคดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า จำเลยที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่เคยขอดูหลักฐานทางทะเบียนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่นั้นเป็นการผิดวิสัยของการซื้อที่ดินโดยทั่วไป ซึ่งจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ดินที่จะซื้อเป็นของผู้ขายหรือไม่เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง จำเลยที่ 2ซื้อที่ดินพิพาทในราคาถึง 400,000 บาท แต่หลังจากซื้อแล้วก็ไม่ได้ เข้าทำประโยชน์ ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ดำเนินการใด ๆ ให้จำเลยที่ 1ออกจากที่ดินพิพาท กลับได้ความว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทเพราะต้องการช่วยจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์จึงเชื่อว่า ก่อนจะซื้อที่ดินพิพาทมาจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์ขอให้ เพิกถอนการจดทะเบียนขายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300
ที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า จำเลยที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่เคยขอดูหลักฐานทางทะเบียนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่นั้นเป็นการผิดวิสัยของการซื้อที่ดินโดยทั่วไป ซึ่งจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ดินที่จะซื้อเป็นของผู้ขายหรือไม่เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง จำเลยที่ 2ซื้อที่ดินพิพาทในราคาถึง 400,000 บาท แต่หลังจากซื้อแล้วก็ไม่ได้ เข้าทำประโยชน์ ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ดำเนินการใด ๆ ให้จำเลยที่ 1ออกจากที่ดินพิพาท กลับได้ความว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทเพราะต้องการช่วยจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์จึงเชื่อว่า ก่อนจะซื้อที่ดินพิพาทมาจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์ขอให้ เพิกถอนการจดทะเบียนขายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินเนื่องจากจำเลยโอนโดยไม่สุจริตและโจทก์มีสิทธิก่อน
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้แก่โจทก์แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 สมคบกันโอนที่ดินพิพาทโดยจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทน แม้โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาท เพียงเข้า ครอบครองก็ตาม แต่ถือว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทำทางภาระจำยอม แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา และสิทธิสามารถตกทอดไปยังทายาทได้
ที่ดินของโจทก์ ที่ดินของ ก.และที่ดินของจำเลยไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ช.มารดาของโจทก์ ก.จำเลย และ ฉ.จึงได้ตกลงทำทางพิพาทเพื่อให้ครอบครัวของ ช.จำเลย และ ก.ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนร่วมกัน โดย ช.เป็นผู้ออกเงินค่าตอบแทนการใช้ที่ดินให้แก่ ฉ. การที่ ช.ได้จ่ายเงินให้แก่ ฉ.เช่นนี้ทำให้น่าเชื่อว่าจำเลยได้ตกลงยินยอมให้ทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยด้วย เพราะหากจำเลยไม่ยินยอมให้ทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยแล้วก็ไม่มีเหตุผลใดที่ ช.จะยินยอมจ่ายค่าตอบแทนการผ่านที่ดินให้แก่ ฉ.เนื่องจากข้อตกลงในหนังสือสัญญาจะเป็นประโยชน์แก่จำเลยเท่านั้น จำเลยได้ตกลงยินยอมให้ ช.มารดาของโจทก์ทำและใช้ทางพิพาทในส่วนที่ผ่านที่ดินของจำเลย สิทธิที่จะใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา และไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายหรือสิทธิเฉพาะตัวของ ช.โดยแท้ เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมสิทธินี้จึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิของ ช.ย่อมอาศัยข้อตกลงดังกล่าวฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทำทางภารจำยอมแม้ไม่จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญาและตกทอดสู่ทายาทได้
ที่ดินของโจทก์ ที่ดินของ ก. และที่ดินของจำเลยไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ช. มารดาของโจทก์ ก. จำเลย และ ฉ. จึงได้ตกลงทำทางพิพาทเพื่อให้ครอบครัวของ ช. จำเลย และ ก. ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนร่วมกัน โดย ช. เป็นผู้ออกเงินค่าตอบแทนการใช้ที่ดินให้แก่ ฉ. จำเลยได้ตกลงยินยอมให้ทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยด้วย และจำเลยได้ตกลงยินยอมให้ ช. มารดาของโจทก์ทำและใช้ทางพิพาทในส่วนที่ผ่านที่ดินของจำเลย สิทธิที่จะใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แม้ยังไม่เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาและไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายหรือสิทธิเฉพาะตัวของช. โดยแท้ เมื่อ ช. ถึงแก่กรรม สิทธินี้จึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิของ ช. โจทก์ย่อมอาศัยข้อตกลงดังกล่าวฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงได้
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์