คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1299

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 899 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มีข้อตกลงแบ่งแยกโฉนดที่ดิน คำมั่นในสัญญาเช่ามีผลผูกพันตามกฎหมาย
ขณะทำสัญญาเช่าไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยมีความสัมพันธ์กัน ในฐานะใกล้ชิดอย่างไร ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องยกที่ดินให้จำเลยโดยเสน่หา แต่กลับปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายเข้าครอบครองที่ดินพิพาท ปลูกบ้านเรือน อยู่อาศัยมาตั้งแต่ก่อนโจทก์และ ส. ซื้อที่ดินตามฟ้องจากเจ้าของที่ดินคนเดิม การที่โจทก์ตกลงจะแบ่งแยกที่ดินพิพาทส่วนที่จำเลยครอบครองให้จำเลย เพื่อโจทก์จะได้ขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาท ลักษณะข้อตกลงดังกล่าวเห็นได้ว่าสัญญาเช่าดังกล่าวไม่ใช่สัญญาให้หรือมีคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินอันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่เป็นสัญญาที่มีขึ้นระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นบุคคลสิทธิระหว่างคู่สัญญาที่ใช้บังคับกันได้ ประกอบกับในการตีความสัญญานั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 ให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งรวมที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนแบ่งแยกและโอนให้แก่จำเลย ตามสัญญาเช่า
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ จำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามขอ เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว และโจทก์จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงกัน โดยขอให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า โจทก์มีหน้าที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยตามคำมั่นดังกล่าวหรือไม่ โดยคู่ความขอสละประเด็นอื่น ๆ ทั้งหมดปัญหาการอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ โจทก์จะยกขึ้นฎีกา ต่อมาไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและคำมั่นสัญญาโอนที่ดิน: การบังคับตามสัญญาพิเศษและการตีความตามเจตนา
ขณะทำสัญญาเช่าไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยมีความสัมพันธ์กันในฐานะใกล้ชิดอย่างไร ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องยกที่ดินให้จำเลยโดยเสน่หา แต่กลับปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายเข้าครอบครองที่ดินพิพาท ปลูกบ้านเรือนอยู่อาศัยมาตั้งแต่ก่อนโจทก์และ ส.ซื้อที่ดินตามฟ้องจากเจ้าของที่ดินคนเดิม การที่โจทก์ตกลงจะแบ่งแยกที่ดินพิพาทส่วนที่จำเลยครอบครองให้จำเลย เพื่อโจทก์จะได้ขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาท ลักษณะข้อตกลงดังกล่าวเห็นได้ว่าสัญญาเช่าดังกล่าวไม่ใช่สัญญาให้หรือมีคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินอันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่เป็นสัญญาที่มีขึ้นระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นบุคคลสิทธิระหว่างคู่สัญญาที่ใช้บังคับกันได้ ประกอบกับในการตีความสัญญานั้น ป.พ.พ.มาตรา 368 ให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งรวมที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนแบ่งแยกและโอนให้แก่จำเลย ตามสัญญาเช่า
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ จำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามขอ เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว และโจทก์จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงกัน โดยขอให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า โจทก์มีหน้าที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยตามคำมั่นดังกล่าวหรือไม่ โดยคู่ความขอสละประเด็นอื่น ๆ ทั้งหมด ปัญหาการอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นโจทก์ไม่มีสิทธิหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ โจทก์จะยกขึ้นฎีกาต่อมาไม่ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง 10 ปี แม้ยังมิได้จดทะเบียน ผู้ซื้อที่ดินต้องยอมรับสิทธิเดิม
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภาระจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719
ส.กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภาระจำยอมไปแล้ว แม้ ส.กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของ ส.กับโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส.ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วยย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องภารจำยอมได้ และสิทธิภารจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภารจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ส. กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภารจำยอมไปแล้ว แม้ ส. กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภารจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภารจำยอมของ ส. กับโจทก์ได้ โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส. ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส. ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส. แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วย ย่อม ทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนด เลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกินจากการยกที่ดินเป็นของขวัญ: สิทธิเรียกร้องบังคับจดทะเบียนได้
โจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาให้โจทก์มีสิทธิเก็บกิน ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดชีวิตของโจทก์ เพื่อเป็นการตอบแทน ในการที่โจทก์ยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยจะมีผลประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างโดยได้เงินกินเปล่าจากผู้เช่า ส่วนโจทก์มีรายได้เฉพาะการเก็บค่าเช่าเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงพิเศษอย่างสัญญาต่างตอบแทน ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้น ตราบใดที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยังมิได้โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่บุคคลอื่น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกินโดยสัญญาต่างตอบแทน: อำนาจฟ้องบังคับจดทะเบียน
โจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดชีวิตของโจทก์ เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่โจทก์ยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยจะมีผลประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างโดยได้เงินกินเปล่าจากผู้เช่า ส่วนโจทก์มีรายได้เฉพาะการเก็บค่าเช่าเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงพิเศษอย่างสัญญาต่างตอบแทน ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้นตราบใดที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังมิได้โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่บุคคลอื่น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมไม่สมบูรณ์หากมิได้จดทะเบียน และสิทธิจำเป็นต้องมีข้อจำกัด
แม้ ท.เจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ภาระจำยอมโดยทางนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาย่อมไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคหนึ่ง และคงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับ ท.ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วย เมื่อ ท.ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งในเรื่องให้ หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณีทายาทรับมรดกไม่ ความยินยอมดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันให้จำเลยต้องจดทะเบียนภาระจำยอมหรือเปิดทางพิพาทแก่โจทก์
การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะเมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าวกีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎรใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำเนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมไม่สมบูรณ์เมื่อยังมิได้จดทะเบียน และสิทธิจำเป็นไม่มีเมื่อมีทางสาธารณะ
แม้ท.ยินยอมให้ทางพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ภารจำยอมโดยทางนิติกรรมเมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การได้มาจึง ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง คงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับ ท. ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วย เมื่อ ท. ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยซึ่งเป็นบุตร ถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งหาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณี ทายาทรับมรดกไม่ความยินยอมของ ท.ที่ให้ทางพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย ไม่อาจบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมหรือเปิดทางพิพาท โดยอาศัยเหตุนี้ได้ คลองหม่อมเจิมเป็นทางสาธารณะตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349,1350 การที่ปัจจุบันราษฎรมิได้ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำ เนื่องจากไม่สะดวก เท่าการสัญจรทางบก หาได้ทำให้คลองหม่อมเจิมสิ้นสภาพ จากการเป็นทางสาธารณะไปไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์อยู่ ติดคลองหม่อมเจิมซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมไม่สมบูรณ์หากไม่ได้จดทะเบียน & ทางสาธารณะยังคงสภาพ แม้ไม่ได้ใช้ประโยชน์
แม้ ท. เจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ อันเป็นกรณี ที่โจทก์ได้ภารจำยอมโดยทางนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อ ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาย่อม ไม่บริบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งและคงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับท.ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วยเมื่อ ท. ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งในเรื่องให้ หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณีทายาทรับมรดกไม่ ความยินยอมดังกล่าวจึงไม่มี ผลผูกพันให้จำเลยต้องจดทะเบียนภารจำยอมหรือเปิดทางพิพาท แก่โจทก์ การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะ เมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าว กีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎร ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349,1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำ เนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้ คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่ ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะ อยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมสิ้นสุดลงได้เมื่อเจ้าของที่ดินโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบังคับคดี
แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตผู้ร้องก็จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภารจำยอมหาได้ไม่ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า โดยสภาพปัจจุบันทางภารจำยอมตาม แนวทางที่กำหนดไว้เดิมในคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วแปรสภาพไปตั้งแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วจึงหมดประโยชน์ที่จะใช้และไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ แก่สามยทรัพย์ แล้วนั้น ภารจำยอมจะสิ้นไปก็แต่ เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกับจำเลยจะต้องดำเนินการขอให้ย้ายภารจำยอมหรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภารจำยอมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 หรือ มาตรา 1394 ผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ทั้งไม่ปรากฎว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้ยกเลิกการบังคับคดีในคดีนี้ได้
of 90