พบผลลัพธ์ทั้งหมด 899 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยไม่ชอบ การโอนสิทธิโดยสุจริต และสิทธิครอบครองที่ดิน
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แต่ได้มี การออก น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็น ผู้ครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว การออกหนังสือ น.ส.3 ก. ดังกล่าวจึงไม่ชอบและคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 6 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1ถึงที่ 5 และจำเลยที่ 7 ผู้รับโอนสิทธิครอบครองจากจำเลยที่ 6ในที่ดินพิพาทก็ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้โอน การได้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออก โดยชอบ เมื่อ น.ส.3 ก. ออกโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 7 จะอ้าง สิทธิใด ๆ ที่เกิดจากเอกสารที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่ การออก น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทโดยคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจ ถูกเพิกถอนได้ตามกฎหมายนั้น โจทก์ชอบที่จะดำเนินการออก น.ส.3 ก. ในที่ดินพิพาทตามสิทธิของโจทก์แต่จะบังคับให้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท โอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้ ส่วนการขอให้เพิกถอนชื่อ จำเลยที่ 7 ออกจาก น.ส.3 ก. แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงในทะเบียน น.ส.3 ก. แทน จะแปลว่าเป็นการขอให้บังคับให้จดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ออกโดยไม่ชอบ ทำให้สิทธิในที่ดินไม่สมบูรณ์ และการโอนสิทธิแก่ผู้อื่นก็ไม่สมบูรณ์ตามไปด้วย
คดีก่อนศาลได้วินิจฉัยคดีถึงที่สุดว่า โจทก์ยังคงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นผู้ได้ครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว แม้จะมีการดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทฉะนั้น การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทดังกล่าวเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 มีสิทธิครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกไว้ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามป.ที่ดิน มาตรา 61 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 6 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ในทำนองเดียวกันจำเลยที่ 7 ผู้รับโอนสิทธิครอบครองจากจำเลยที่ 6 ในที่ดินพิพาทย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้โอน
การได้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาฟังว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ ดังนี้ คดีนี้จำเลยที่ 7 จะอ้างสิทธิใด ๆ ที่เกิดจากเอกสารที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่
คดีก่อนศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้ตามกฎหมาย ดังนี้โจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิของโจทก์ในคดีก่อน แต่โจทก์จะบังคับให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ในคดีนี้ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้และการที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 7 ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงในทะเบียนหนังสือรับรองการทำประโยชน์แทน จะแปลว่าเป็นการขอให้บังคับให้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลจะยกคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ดังกล่าวเสีย
คดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา และพิพากษาให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ย่อมไม่ถูกต้อง ต้องพิพากษาว่าสำหรับค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์
การได้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาฟังว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ ดังนี้ คดีนี้จำเลยที่ 7 จะอ้างสิทธิใด ๆ ที่เกิดจากเอกสารที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่
คดีก่อนศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้ตามกฎหมาย ดังนี้โจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิของโจทก์ในคดีก่อน แต่โจทก์จะบังคับให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ในคดีนี้ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้และการที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 7 ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงในทะเบียนหนังสือรับรองการทำประโยชน์แทน จะแปลว่าเป็นการขอให้บังคับให้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลจะยกคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ดังกล่าวเสีย
คดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา และพิพากษาให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ย่อมไม่ถูกต้อง ต้องพิพากษาว่าสำหรับค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิจากการจดทะเบียน: ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตย่อมได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองก่อนหน้านี้ที่ยังมิได้จดทะเบียน
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วยจาก ส.ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส.แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียนนั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง แม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนสิทธิที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตย่อมได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองเดิมที่ไม่จดทะเบียน
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วย จากส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส.แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียน นั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองแม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้ ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนาย ผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจ ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้าน ยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดี ในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริตและจดทะเบียน สิทธิใครเหนือกว่า
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วย จาก ส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส. แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียน นั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองแม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจ ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เองโดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจ ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เองโดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5640/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเมื่อผู้ขายไม่มีสิทธิในที่ดิน และผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) และสละสิทธิครอบครองให้ แก่โจทก์แล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 อีกต่อไปจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3จะได้ออก น.ส. 3 ก. แต่จำเลยที่ 3 ก็มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทการที่จำเลยที่ 3 มีชื่อใน น.ส.3 ก. จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 ไป แม้จำเลยที่ 4 ซื้อไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 4ก็ไม่มีสิทธิอย่างใดในที่ดินพิพาท ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 4 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองไปขายโดยไม่ชอบ และขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก.ที่จำเลยที่ 3 ออกโดยไม่ชอบ กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันทราบมูลคดีนี้ คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมจากการจัดสรรที่ดินและการมีอำนาจฟ้องของผู้เยาว์
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาให้ฟ้องและดำเนินคดีแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนได้หาจำต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาอีกครั้งไม่ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินไว้ในข้อ 1 ว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อปรากฏว่า ป. และ ย. ได้ร่วมกันแบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย รวม 27 แปลงแล้วประกาศขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้ระบุที่ดินพิพาทอันเป็นรูปตัวทีในหนังสือโฆษณาจัดทำเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อที่ดิน การกระทำของ ป. และ ย. จึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า บุคคลทั้งสองได้จัดให้มีสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออก อันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ตามข้อ 1 ดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ 30 วรรคหนึ่งและข้อ 32 ส่วนการที่ ป. และ ย. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่เป็นอีกเรื่องต่างหาก หากบุคคลทั้งสองนั้นจะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของบุคคลทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินพิพาท จึงเป็นทางภารจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินจัดสรรและที่ดินโจทก์ที่ได้รับจาก ส.ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากป.และย.จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่ เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างสิ่งของลงบนที่ดินพิพาทเพื่อกีดขวางทางภารจำยอม อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเครื่องกั้นกีดขวางให้ออกไปจากทางภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม การจัดสรรที่ดิน และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งกีดขวาง
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาให้ฟ้องและดำเนินคดีแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนได้หาจำต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาอีกครั้งไม่
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินไว้ในข้อ 1 ว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อปรากฏว่า ป.และ ย.ได้ร่วมกันแบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย รวม 27 แปลง แล้วประกาศขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้ระบุที่ดินพิพาทอันเป็นรูปตัวทีในหนังสือโฆษณาจัดทำเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อที่ดิน การกระทำของ ป.และ ย.จึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า บุคคลทั้งสองได้จัดให้มีสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกอันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ตามข้อ 1ดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ 30 วรรคหนึ่ง และข้อ 32 ส่วนการที่ ป.และ ย.จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่เป็นอีกเรื่องต่างหาก หากบุคคลทั้งสองนั้นจะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของบุคคลทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินจัดสรรและที่ดินโจทก์ที่ได้รับจาก ส.ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจาก ป.และ ย. จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างสิ่งของลงบนที่ดินพิพาทเพื่อกีดขวางทางภาระจำยอม อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเครื่องกั้นกีดขวางให้ออกไปจากทางภาระจำยอมได้
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินไว้ในข้อ 1 ว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อปรากฏว่า ป.และ ย.ได้ร่วมกันแบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย รวม 27 แปลง แล้วประกาศขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้ระบุที่ดินพิพาทอันเป็นรูปตัวทีในหนังสือโฆษณาจัดทำเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อที่ดิน การกระทำของ ป.และ ย.จึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า บุคคลทั้งสองได้จัดให้มีสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกอันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ตามข้อ 1ดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ 30 วรรคหนึ่ง และข้อ 32 ส่วนการที่ ป.และ ย.จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่เป็นอีกเรื่องต่างหาก หากบุคคลทั้งสองนั้นจะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของบุคคลทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินจัดสรรและที่ดินโจทก์ที่ได้รับจาก ส.ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจาก ป.และ ย. จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างสิ่งของลงบนที่ดินพิพาทเพื่อกีดขวางทางภาระจำยอม อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเครื่องกั้นกีดขวางให้ออกไปจากทางภาระจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยการส่งมอบการครอบครองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีเอกสารจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของตลอดมาจนกระทั่ง ต. ถึงแก่กรรมโดยมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มี ข้อความตอนใดในคำฟ้องที่แสดงว่า ต. ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยทางนิติกรรม เมื่อที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และการส่งมอบ การครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1378 สุดแล้วแต่ว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดการวินิจฉัยคดีโดยข้อเท็จจริงยังไม่ได้ความชัดว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดจึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว และคดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยประเด็นพิพาทไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่และด้วยเจตนาใด การที่ต. รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาท ให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดู นางแตงมาเป็นเวลาถึง7ปีแสดงว่าต. มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของต. จะมีสิทธิจัดการได้ ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิ ในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครอง และผลกระทบต่อสิทธิในที่ดินเมื่อผู้ให้เสียชีวิต
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า ต.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของตลอดมาจนกระทั่งต.ถึงแก่กรรมโดยมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มีข้อความตอนใดในคำฟ้องที่แสดงว่า ต.ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยทางนิติกรรม เมื่อที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 525 และ ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 สุดแล้วแต่ว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดการวินิจฉัยคดีโดยข้อเท็จจริงยังไม่ได้ความชัดว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดจึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว และคดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยประเด็นพิพาทไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อนว่า ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่และด้วยเจตนาใด
การที่ ต.รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดูนางแตงมาเป็นเวลาถึง 7 ปี แสดงว่า ต.มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อ ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.จะมีสิทธิจัดการได้
ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
การที่ ต.รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดูนางแตงมาเป็นเวลาถึง 7 ปี แสดงว่า ต.มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อ ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.จะมีสิทธิจัดการได้
ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย