คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2477

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งและสิทธิครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ โดยพิจารณาจากผู้ครอบครองจริง
แม้ว่า ป. จะเรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความฯ แล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์หลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และว. ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับคดีโจทก์ทั้งสิ้น ป. จึงทำหน้าที่เป็นทนายความให้เพียงร่างคำฟ้องและลงชื่อในคำฟ้องเท่านั้น จำเลยมีโอกาสต่อสู้คดีตามคำฟ้องได้เต็มที่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าข้อความในคำฟ้องเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ซึ่ง พระราชบัญญัติทนายความฯ มุ่งให้ความคุ้มครอง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไปเนื่องจากจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นแล้วส่วนโจทก์ก็สืบพยานจนเหลือพยานอีกเพียง 2 ปากเท่านั้น คดีก็จะเสร็จการพิจารณาหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของโจทก์ตั้งแต่การยื่นคำฟ้องจะส่งผลให้โจทก์ต้องทำคำฟ้องใหม่ จำเลยทำคำให้การใหม่และสืบพยานกันใหม่ ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่บังคับให้จำเลยต้องทำคำให้การและสืบพยานเหมือนเดิมจำเลยย่อมมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงรูปคดีที่อาจเสียเปรียบให้กลับได้เปรียบอันจะทำให้จำเลยได้เปรียบทางเชิงคดี ซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่ ที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาและให้แก้ไขคำฟ้องใหม่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และ 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226เท่ากับว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองเมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองอยู่ในขณะยื่นฟ้อง ภาระการพิสูจน์ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ จำเลยก็ต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดีในประเด็นข้อพิพาทนี้ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยถึงพยานหลักฐานโจทก์ว่ามีน้ำหนักรับฟังเพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4322/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการรายงานพฤติกรรมทนายต่อสภาทนายความ ไม่เป็นคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาคดี
การที่ศาลชั้นต้นให้ทำหนังสือรายงานพฤติการณ์ของทนายโจทก์ไปยังสภาทนายความเพื่อพิจารณานั้น เป็นคำสั่งที่มิได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคดีที่ฟ้องร้องกัน ทั้งเป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งให้รายงานพฤติการณ์ของทนายความต่อสภาทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความฯ ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจกระทำได้ทนายโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5229/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายความโดยคิดค่าบริการเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าคดี ไม่ขัดต่อกฎหมาย และไม่เป็นการพนัน
พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และประกาศข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 มิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความดังเช่น พระราชบัญญัติทนายความสองฉบับแรก (ที่ยกเลิก) ฉะนั้น สัญญาจ้างว่าความที่พิพาทที่ระบุว่า "คิดค่าทนายความร้อยละ 20 ของยอดทุนทรัพย์ 17,188,356 บาท โดยชำระค่าทนายความเมื่อบังคับคดีได้ กรณีบังคับคดีได้เพียงบางส่วนก็คิดค่าทนายความบางส่วนที่บังคับคดีได้ และถ้าคดีมีการยอมความกันคิดค่าทนายความร้อยละ 10 ของยอดเงินที่ยอมความ" จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทนายความระหว่างโจทก์จำเลย หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาจ้างว่าความที่พิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ
สัญญาจ้างว่าความที่พิพาทไม่มีข้อใดที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชคและไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน เป็นข้อแพ้ชนะกันระหว่างโจทก์จำเลย แต่เป็นสัญญาจ้างทำของที่โจทก์ต้องลงแรงว่าต่างให้แก่จำเลยซึ่งเป็นลูกความ จึงหาใช่เป็นการพนันขันต่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 853 ไม่
เมื่อโจทก์เป็นทนายความฟ้อง ร. และ ค. แล้วมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ต่อมา ร. และ ค. ผิดสัญญา โจทก์ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ดำเนินการบังคับคดี ซึ่ง ร. และ ค. ได้นำเงินมาวางชำระที่ศาลแล้ว ดังนี้ โจทก์ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยได้ดำเนินการบังคับคดีแล้ว ซึ่งต่อมา ร. และ ค. ได้วางเงินชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะถูกจำเลยฟ้องคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้โดยการว่าจ้างทนายความคนอื่นหรือเพราะการบังคับคดี ยึดทรัพย์ก็ตาม ถือว่ามีการบังคับคดีและจำเลยได้รับชำระหนี้แล้วโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยการประพฤติผิดมรรยาททนายความเพื่อพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง และการแต่งตั้งทนายความ
พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529เป็นผู้ประพฤติ ผิดมรรยาททนายความเพื่อวินิจฉัย ความรับผิดทางแพ่งในกรณี ละเมิด แม้จำเลยทั้งสองจะเป็น ลูกจ้างของบริษัทประกันภัยและรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในฐานะลูกจ้างของบริษัทประกันภัยก็ตามแต่การที่ได้ลงลายมือชื่อใน ใบแต่งทนายความแต่งตั้งจำเลยทั้งสองถือว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความโดยแบ่งส่วนจากทรัพย์สิน: โมฆะตามกฎหมายทนายความ
สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์ ซึ่งเป็นทนายความกับจำเลยซึ่งเป็นลูกความ ตกลงกันว่า ถ้าลูกความชนะคดีได้ที่ดินที่เป็นมูลพิพาทมาเท่าใด ทนายความขอส่วนได้จากที่ดินที่จะได้มา ไม่ว่าราคาจะขึ้นลงสักเท่าใด อันเป็นการไม่แน่นอน อันถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นทนายความรับว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความมีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2477 มาตรา 12(2) เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2528 ให้ยกเลิก พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2508 ไปแล้ว แต่สัญญาจ้างว่าความที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นทำขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ก่อนกฎหมายดังกล่าวยกเลิก จึงไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่วันทำสัญญาแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนาย: การกำหนดจำนวนเงินแน่นอน ไม่ใช่การแบ่งทรัพย์สินจากลูกความ, อายุความ 2 ปีเริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุด
การเรียกค่าจ้างว่าความซึ่งกำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอนนั้น หาใช่เป็นการแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความไม่ ไม่เป็นโมฆะ และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยให้ก็ตาม จำเลยชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
สัญญาจ้างว่าความมีว่า จำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์จึงอาจเริ่มบังคับได้เมื่อคดีถึงที่สุด
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ ค่าจ้างรายข้อหา ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม หากตกลงราคาก่อน
จำเลยจ้างโจทก์ไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ รวบรวมรายละเอียดและหลักฐานเกี่ยวแก่ที่ดินของจำเลยที่ถูกบุกรุกและจ้างโจทก์ดำเนินการเกี่ยวแก่การแจ้งความหรือร้องทุกข์ที่ดินแปลงเดียวกันนี้ โดยยอมให้ค่าจ้างเป็นรายข้อหา สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทำของและตามข้อสัญญาก็มิได้เป็นช่องทางให้โจทก์ดำเนินการแจ้งความหรือร้องทุกข์ได้หลายข้อหาเพื่อหวังจะได้ค่าจ้างมากขึ้นตามข้อหาเหล่านั้น เพราะการจะแจ้งความหรือร้องทุกข์กี่ข้อหากี่คดีย่อมแล้วแต่ความประสงค์ของจำเลยผู้ว่าจ้างจะลงชื่อร้องทุกข์แจ้งความในข้อหาใดหรือไม่ ซึ่งโจทก์กำหนดราคาค่าจ้างให้จำเลยทราบก่อนแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาส่งเสริมให้จำเลยเป็นความกับบุคคลอื่น ไม่ขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนาย: ที่ดินนอกคดีไม่ขัดกฎหมาย, ศาลกำหนดค่าจ้างได้, ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ย
ที่ดินที่ตกลงให้เป็นค่าจ้างว่าความเป็นที่ดินที่อยู่นอกที่พิพาท จึงมิใช่เป็นการเรียกร้องเอาค่าจ้างจากส่วนแบ่งในที่ดินที่พิพาท ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
เงินค่าจ้างว่าความเป็นหนี้เงินตามกฎหมาย เมื่อทนายผู้รับจ้างทวงถามให้ชำระผู้ว่าจ้างไม่ชำระ ผู้ว่าจ้างตกลงเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดค่าจ้างว่าความให้ตามสมควรแก่กิจการที่กระทำไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของทุนทรัพย์ ไม่ใช่การแบ่งส่วนทรัพย์สิน
สัญญาจ้างว่าความที่ทนายความเรียกค่าจ้างจากลูกความยี่สิบเปอร์เซ็นต์ของจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องคิดเป็นเงินค่าจ้าง 24,200 บาทนั้น เป็นค่าจ้างที่แน่นอน การที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนทุนทรัพย์ เป็นเพียงอาศัยเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้างว่าความว่าจะเรียกร้องค่าจ้างคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าใดของทุนทรัพย์ที่ฟ้องเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่ลูกความจะพึงได้รับเมื่อชนะคดีไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ฉะนั้น จึงย่อมบังคับกันได้ตามสัญญานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ: การคิดค่าจ้างเป็นเปอร์เซ็นต์ของทุนทรัพย์ ไม่ใช่การแบ่งส่วนทรัพย์สิน
สัญญาจ้างว่าความที่ทนายความเรียกค่าจ้างจากลูกความยี่สิบเปอร์เซ็นต์ของจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องคิดเป็นเงินค่าจ้าง 24,200 บาท นั้น เป็นค่าจ้างที่แน่นอน การที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนทุนทรัพย์ เป็นเพียงอาศัยเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้างว่าความว่าจะเรียกร้องค่าจ้างคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าใดของทุนทรัพย์ที่ฟ้องเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่ลูกความจะพึงได้รับเมื่อชนะคดีไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนฉะนั้น จึงย่อมบังคับกันได้ตามสัญญานั้น
of 3