พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้: การคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน และการพิพากษาเกินคำขอ
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไม่ได้ทำการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันแต่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปอีก โดยจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าฝากและสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินออกไปหลายครั้ง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ถึงแม้จำเลยทั้งสองได้หยุดเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มาแล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ตลอดไป หาได้ระงับไปเมื่อวันสัญญาครบกำหนดหรือวันที่จำเลยทั้งสองเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายไม่โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ถือว่าสัญญาเลิกกัน โจทก์หักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28กุมภาพันธ์ 2536 แม้โจทก์เพิ่มจะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ก็ต้องถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองระงับไปตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536 อันเป็นวันหักทอนบัญชีกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859 หลังจากนั้นโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจะถือว่ามีการผิดนัดก็ต่อเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันโจทก์ได้หักทอนบัญชีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวส่งไปให้จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่20 ตุลาคม 2536 ให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันถัดจากวันได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวในวันที่ 26 ตุลาคม 2536ครบ 30 วันในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 ดังนั้นช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2536 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536โจทก์ยังให้เวลาจำเลยทั้งสองหาเงินมาชำระหนี้อยู่ยังไม่ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัด จำเลยทั้งสองจะผิดนัดก็ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ให้โอกาสคือตั้งแต่วันที่27 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้นไป และเมื่อตามประกาศปรับปรุงอัตราดอกเบี้ย โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีและร้อยละ 18 ต่อปี สำหรับลูกหนี้ที่ผิดนัดเท่านั้นเมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ผิดนัด โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสองในอัตรานี้ไม่ได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินตามสัญญากู้เพียง 2,447,837.24 บาทเท่านั้น แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ในส่วนสัญญากู้ฉบับนี้เป็นต้นเงิน 2,477,837.24 บาท และดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 567,157.90 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องทั้งสิ้น 3,044,995.14 บาท และให้ใช้ดอกเบี้ยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากต้นเงิน 2,477,837.24 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ไขนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้จะมิได้มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญากู้ยืมและการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ โดยไม่ลงชื่อกำกับ ก็ใช้เป็นหลักฐานได้
ชั้นแรกจำเลยขอกู้เงิน 4,000 บาท รวมกับจำนวนที่กู้เดิม 2,000 บาท เป็น 6,000 บาท. เมื่อผู้เขียนสัญญาเขียนจำนวน 6,000 บาทไปแล้ว จำเลยขอเพิ่มอีก 1,000บาทรวมเป็น 7,000 บาท. ผู้เขียนจึงแก้เลข 6 เป็นเลข 7 และแก้ตัวอักษรด้วย. ดังนี้ เป็นการแก้ให้ตรงตามความประสงค์ของจำเลย ก่อนที่จำเลยจะพิมพ์ลายนิ้วมือในสัญญากู้ และคู่กรณีมีเจตนาจะให้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ตามจำนวนที่แก้ไปแล้ว คือ 7,000 บาท. ฉะนั้นแม้ตัวเลขและตัวอักษรที่แก้ไปจะไม่ได้ลงชื่อกำกับ ก็ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมโดยสมบูรณ์.
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ.
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม.
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ.
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขสัญญากู้ยืมหลังพิมพ์ลายนิ้วมือ และการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยผู้เยาว์ ยังมีผลผูกพันตามกฎหมาย
ชั้นแรกจำเลยขอกู้เงิน 4,000 บาท รวมกับจำนวนที่กู้เดิม 2,000 บาท เป็น 6,000 บาท เมื่อผู้เขียนสัญญาเขียนจำนวน 6,000 บาทไปแล้ว จำเลยขอเพิ่มอีก 1,000 บาทรวมเป็น 7,000 บาท ผู้เขียนจึงแก้เลข 6 เป็นเลข 7 และแก้ตัวอักษรด้วย ดังนี้ เป็นการแก้ให้ตรงตามความประสงค์ของจำเลย ก่อนที่จำเลยจะพิมพ์ลายนิ้วมือในสัญญากู้ และคู่กรณีมีเจตนาจะให้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ตามจำนวนที่แก้ไปแล้ว คือ 7,000 บาทฉะนั้นแม้ตัวเลขและตัวอักษรที่แก้ไปจะไม่ได้ลงชื่อกำกับ ก็ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมโดยสมบูรณ์
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญากู้ยืมและผลผูกพันทางกฎหมาย แม้ไม่มีลายมือชื่อกำกับ และการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ
ขั้นแรกจำเลยขอกู้เงิน 4,000 บาท รวมกับจำนวนที่กู้เดิม 2,000 บาท เป็น 6,000 บาท เมื่อผู้เขียนสัญญาเขียนจำนวน 6,000 บาทไปแล้ว จำเลยขอเพิ่มอีก 1,000 บาทรวมเป็น 7,000 บาท ผู้เขียนจึงแก้เลข 6 เป็นเลข 7 และแก้ตัวอักษรด้วย ดังนี้ เป็นการแก้ให้ตรงตามความประสงค์ของจำเลย ก่อนที่จำเลยจะพิมพ์ลายนิ้วมือในสัญญากู้ และคู่กรณีมีเจตนาจะให้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ตามจำนวนที่แก้ไปแล้ว คือ 7,000 บาท ฉะนั้นแม้ตัวเลขและตัวอักษรที่แก้ไปจะไม่ได้ลงชื่อกำกับ ก็ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมโดยสมบูรณ์
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41-42/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองค่าเช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ ต้องเป็นการเช่าเคหะเพื่ออยู่อาศัย หากจำเลยไม่ได้ระบุในคำให้การว่าเป็นการเช่าประเภทนี้ จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง
พ.ร.บ. ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ คุ้มครองการเช่าเคหะที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า จำเลยให้การต่อสุ้เพียงว่าห้องเช่าอยู่ในเขตเทศบาลจำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ มิได้กล่าวในคำให้การเลยว่าห้องเช่าเป็นเคหะอันใช้เป็นที่อยู่อาศัย อันจะเป็นข้อแสดงว่าการเช่าอยู่นความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เมื่อคำให้การของจำเลยไม่แสดงให้เห็นว่าการเช่าของจำเลยอยู่ในข่ายคุ้มครองตาม พ.ร.บ. แล้ว คดีไม่มีทางที่จำเลยจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ควบคุมค่า ฯลฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกคำขอ และการพิจารณาอายุความคดีเช่านา
ตัดสินนอกคำขอหรือไม่ฎีกาอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายปัญหาข้อเท็จจริงข้อที่ว่าศาลล่างตัดสินนอกคำขอหรือไม่นั้น ศาลฎีการับวินิจฉัยโดยถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย