คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สว่าง ภูวะปัจฉิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วม & การสืบพยาน: แม้พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมยังมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ ศาลอุทธรณ์สั่งสืบพยานเพิ่มเติมได้
แม้พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์. แต่โจทก์ร่วมได้อุทธรณ์และฎีกาต่อมา. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(14) อธิบายคำว่า 'โจทก์' ไว้ว่า. หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน. ดังนั้น โจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต่างจึงมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน. เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งงดไม่สืบต่อไปให้เสร็จ. พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธินำสืบต่อไปได้. ศาลอุทธรณ์จึงฟังพยานที่นำสืบต่อไปนั้นวินิจฉัยคดีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วม, การอุทธรณ์/ฎีกา, การสืบพยานเพิ่มเติม, ความผิดฐานฉุดคร่าและทำร้ายร่างกาย
แม้พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่โจทก์ร่วมได้อุทธรณ์และฎีกาต่อมา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) อธิบายคำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ดังนั้น โจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต่างจึงมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งงดไม่สืบต่อไปให้เสร็จ พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธินำสืบต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์จึงฟังพยานที่นำสืบต่อไปนั้นวินิจฉัยคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วม & การสืบพยาน: แม้พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ ศาลอุทธรณ์สั่งสืบพยานเพิ่มเติมได้
แม้พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่โจทก์ร่วมได้อุทธรณ์และฎีกาต่อมา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) อธิบายคำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ดังนั้น โจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต่างจึงมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งงดไม่สืบต่อไปให้เสร็จ พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธินำสืบต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์จึงฟังพยานที่นำสืบต่อไปนั้นวินิจฉัยคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971-996/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางสิ่งกีดขวางทางเข้าตลาดขัดขวางการจราจร เข้าข่ายต้องห้ามตามเทศบัญญัติ และศาลไม่มีอำนาจสั่งร่นพื้นที่
การตั้งวางและจัดที่ขายของบนทางเดินเท้าริมถนนคอนกรีตซึ่งอยู่ติดกับตลาดและบางรายก็รุกล้ำเข้าไปในถนนคอนกรีต. เป็นการวางสิ่งกีดขวางตามทางเข้าสู่ตลาด. ต้องห้ามตามเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพเรื่องตลาดเอกชน พ.ศ.2487ข้อ 13.
เทศบัญญัติดังกล่าวข้อ 8(6) ซึ่งกำหนดทางเดินในระหว่างร้าน แท่น หรือโต๊ะที่วางขายของ ต้องมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร. และข้อ 18(1) ที่กำหนดให้วางสิ่งของที่ขายอยู่ในขอบเขตของร้าน ห้ามมิให้วางล้ำออกมานั้น. ใช้บังคับเกี่ยวกับเรื่องการรักษาสุขลักษณะเฉพาะร้านซึ่งเข้าขายของในตลาดเท่านั้น. จะนำมาใช้กับร้านขายของอุปโภคของจำเลยซึ่งอยู่ภายนอกตลาดหาได้ไม่.
กรณีวางสิ่งกีดขวางตามทางเข้าสู่ตลาดมิใช่เหตุรำคาญตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2484 มาตรา19. ศาลจึงไม่มีอำนาจจะสั่งห้ามให้ผู้ที่วางสิ่งกีดขวางร่นส่วนที่ล้ำออกมานั้นเข้าไปภายในขอบเขตร้านของผู้นั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันยกอายุความได้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความ แม้ในสัญญาค้ำประกันจะระบุถึงความรับผิดชอบ
เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ แล้วถึงแก่ความตายลงโดยยังมิได้ชำระหนี้. โจทก์เพิ่งฟ้องทายาทเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความฟ้องร้อง.
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้วผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย. ดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญา. หรือผู้กู้ถึงแก่กรรม. หรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ย. ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้น. ยังแปลไม่ได้ว่า. แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการต่อสู้ของผู้ค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันอาจยกอายุความได้แม้มีข้อตกลงพิเศษ
เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ แล้วถึงแก่ความตายลงโดยยังมิได้ชำระหนี้โจทก์เพิ่งฟ้องทายาทเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความฟ้องร้อง
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้วผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วยดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญาหรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ยผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้นยังแปลไม่ได้ว่า แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการยกอายุความของผู้ค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันไม่ได้ตัดสิทธิการยกอายุความ
เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ แล้วถึงแก่ความตายลงโดยยังมิได้ชำระหนี้ โจทก์เพิ่งฟ้องทายาทเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความฟ้องร้อง
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย ดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญาหรือผู้กู้ถึงแก่กรรม หรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ย ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้น ยังแปลไม่ได้ว่า แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนและข้าวเปลือกที่ได้จากการอยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส. ได้ร่วมกันปลูกเรือนในที่ดินของบิดาจำเลย ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ย่อมเป็นเจ้าของเรือนร่วมกัน.
ปัญหาที่ว่า เรือนซึ่งโจทก์จำเลยปลูกทำลงไว้ในที่ดินของบิดาจำเลย จะเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดาจำเลยหรือไม่นั้น. ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน. เพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใด. ย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น. หาได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปไม่.เมื่อมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกามิได้.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งทำนาร่วมกันจากจำเลยกึ่งหนึ่ง. จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของมารดาโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมทำด้วยไป เป็นการแบ่งข้าวเปลือกกันแล้ว. เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงแบ่งกันเช่นนั้น ทั้งโจทก์ก็มิได้รับว่าจำเลยได้ร่วมทำนาของมารดาโจทก์ด้วย. จำเลยจะใช้วิธีการต่างคนต่างเก็บเกี่ยวข้าวกันไป เป็นการหักกลบลบกันไปเช่นนั้นหาได้ไม่. เพราะไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันเช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนและข้าวเปลือกจากการอยู่กินฉันสามีภริยา, ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสได้ร่วมกันปลูกเรือนในที่ดินของบิดาจำเลย ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ย่อมเป็นเจ้าของเรือนร่วมกัน
ปัญหาที่ว่า เรือนซึ่งโจทก์จำเลยปลูกทำลงไว้ในที่ดินของบิดาจำเลย จะเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดาจำเลยหรือไม่นั้นไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใดย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น หาได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปไม่เมื่อมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกามิได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งทำนาร่วมกันจากจำเลยกึ่งหนึ่งจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของมารดาโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมทำด้วยไป เป็นการแบ่งข้าวเปลือกกันแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงแบ่งกันเช่นนั้น ทั้งโจทก์ก็มิได้รับว่าจำเลยได้ร่วมทำนาของมารดาโจทก์ด้วยจำเลยจะใช้วิธีการต่างคนต่างเก็บเกี่ยวข้าวกันไป เป็นการหักกลบลบกันไปเช่นนั้นหาได้ไม่ เพราะไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในเรือนและข้าวเปลือกที่ทำมาหากินร่วมกันระหว่างสามีภริยาที่ไม่จดทะเบียนสมรส
โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ได้ร่วมกันปลูกเรือนในที่ดินของบิดาจำเลย ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ย่อมเป็นเจ้าของเรือนร่วมกัน
ปัญหาที่ว่า เรือนซึ่งโจทก์จำเลยปลูกทำลงไว้ในที่ดินของบิดาจำเลย จะเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดาจำเลยหรือไม่นั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใด ย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น หาได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปไม่ เมื่อมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกามิได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งทำนาร่วมกันจากจำเลยกึ่งหนึ่ง จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของมารดาโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมทำด้วยไป เป็นการแบ่งข้าวเปลือกกันแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงแบ่งกันเช่นนั้น ทั้งโจทก์ก็มิได้รับว่าจำเลยได้ร่วมทำนาของมารดาโจทก์ด้วย จำเลยจะใช้วิธีการต่างคนต่างเก็บเกี่ยวข้าวกันไป เป็นการหักกลบลบกันไปเช่นนั้นหาได้ไม่ เพราะไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันเช่นนั้น
of 47