คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สว่าง ภูวะปัจฉิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: ความรับผิดชอบสินค้า, เงินทุนหมุนเวียน, และลักษณะความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่ายในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญา ระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้น หากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: สิทธิเรียกร้องค่าสินค้าและเงินทุนหมุนเวียนเมื่อเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่าย ในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียน เป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญาระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้นหากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728-1729/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำไม้ในที่ดินป่าเลน ไม่ถือเป็นการครอบครองเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ว่าราชการจังหวัดทำสัญญาอนุญาตให้โจทก์ทำการตัดฟันไม้ต่าง ๆที่ดินที่โจทก์ได้รับอนุญาตมิใช่ของเอกชน สัญญาการทำไม้ได้กำหนดขอบเขตหมวดและแปลงตัดฟันไม้ กำหนดเนื้อที่และกำหนดเวลาให้ทำการตัดฟันไม้ ส่วนใบอนุญาตก็ระบุชนิดไม้ ขนาดจำกัดและปริมาตรของไม้ อัตราค่าภาคหลวงต่อลูกบาศก์และค่าบำรุงป่า ฯลฯ ดังนี้เห็นได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเพียงแต่ยอมให้โจทก์ผู้รับอนุญาตมีสิทธิทำการตัดฟันไม้ในที่ดินป่าเลน ชนิดของไม้ที่จะทำการตัดฟันก็ดี กำหนดเวลาที่จะทำการตัดฟันในแต่ละแปลงก็ดี มีข้อจำกัดไว้แน่นอนที่ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติ นอกจากนี้ข้อสัญญายังกำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการทำไม้ทุกประการ ถ้ากระทำผิดสัญญาและถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเห็นสมควร จะเลิกสัญญานี้เสียก็ได้ โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่อย่างใด ดังนี้ แสดงให้เห็นชัดว่าสัญญาการทำไม้ ฯลฯนี้เป็นแต่เพียงการให้สิทธิโจทก์เข้าไปตัดฟันเอาไม้เท่านั้น การที่โจทก์ทั้งสองสำนวนผู้รับอนุญาตตามสัญญาเข้าไปทำการตัดฟันไม้ จึงหาเป็นการ 'ครอบครองอยู่ใน' ที่ดินป่าเลนตามความในมาตรา 1 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ไม่โจทก์ทั้งสองสำนวนจึงมิได้เป็น 'เจ้าของที่ดิน' ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 7และบทบัญญัติในเรื่องอุทธรณ์การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ก็ไม่เป็นบทบังคับแก่โจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728-1729/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำไม้ในที่ดินป่าเลนมิใช่การครอบครองเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ว่าราชการจังหวัดทำสัญญาอนุญาตให้โจทก์ทำการตัดฟันไม้ต่าง ๆที่ดินที่โจทก์ได้รับอนุญาตมิใช่ของเอกชน สัญญาการทำไม้ได้กำหนดขอบเขตหมวดและแปลงตัดฟันไม้ กำหนดเนื้อที่และกำหนดเวลาให้ทำการตัดฟันไม้ ส่วนใบอนุญาตก็ระบุชนิดไม้ ขนาดจำกัดและปริมาตรของไม้ อัตราค่าภาคหลวงต่อลูกบาศก์และค่าบำรุงป่า ฯลฯ ดังนี้ เห็นได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเพียงแต่ยอมให้โจทก์ผู้รับอนุญาตมีสิทธิทำการตัดฟันไม้ในที่ดินป่าเลน ชนิดของไม้ที่จะทำการตัดฟันก็ดี กำหนดเวลาที่จะทำการตัดฟันในแต่ละแปลงก็ดี มีข้อจำกัดไว้แน่นอนที่ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติ นอกจากนี้ข้อสัญญายังกำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการทำไม้ทุกประการ ถ้ากระทำผิดสัญญาและถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเห็นสมควร จะเลิกสัญญานี้เสียก็ได้โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่อย่างใด ดังนี้ แสดงให้เห็นชัดว่าสัญญาการทำไม้ ฯลฯนี้เป็นแต่เพียงการให้สิทธิโจทก์เข้าไปตัดฟันเอาไม้เท่านั้น การที่โจทก์ทั้งสองสำนวนผู้รับอนุญาตตามสัญญาเข้าไปทำการตัดฟันไม้ จึงหาเป็นการ 'ครอบครองอยู่ใน' ที่ดินป่าเลนตามความในมาตรา 1 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ไม่ โจทก์ทั้งสองสำนวนจึงมิได้เป็น 'เจ้าของที่ดิน' ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 7และบทบัญญัติในเรื่องอุทธรณ์การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ก็ไม่เป็นบทบังคับแก่โจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องเดิม หากไม่เกี่ยวเนื่อง ศาลไม่รับพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าล. โอนขายตึกแถวที่เช่าให้โจทก์โดยตกลงกันว่าโจทก์จะจ่ายค่าขนย้ายให้แก่จำเลยผู้เช่า ต่อมาโจทก์ไม่ยอมจ่ายค่าขนย้าย จำเลยจึงยังคงมีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป และฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินค่าขนย้าย ให้แก่จำเลย ดังนี้ ประเด็นคงมีเพียงว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ การที่จำเลยอ้างในฟ้องแย้งว่าจำเลยมีสิทธิได้รับค่าขนย้ายจากโจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จึงเป็นคนละประเด็นต่างออกไปจากคำฟ้อง ฉะนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นในคำฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าล. โอนขายตึกแถวที่เช่าให้โจทก์โดยตกลงกันว่าโจทก์จะจ่ายค่าขนย้ายให้แก่จำเลยผู้เช่า ต่อมาโจทก์ไม่ยอมจ่ายค่าขนย้าย จำเลยจึงยังคงมีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป และฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินค่าขนย้ายให้แก่จำเลย ดังนี้ ประเด็นคงมีเพียงว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ การที่จำเลยอ้างในฟ้องแย้งว่าจำเลยมีสิทธิได้รับค่าขนย้ายจากโจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จึงเป็นคนละประเด็นต่างออกไปจากคำฟ้อง ฉะนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: การยิงเพื่อป้องกันอันตรายถึงชีวิตจากอาวุธ
โจทก์กับจำเลยโต้เถียงทะเลาะวิวาทกันจนจำเลยถูกโจทก์ตีทำร้ายถูกแสกหน้าแตกโลหิตไหล และเหตุการณ์ยุติลงไปแล้วตอนหนึ่งต่อมาจำเลยเดินกลับบ้านพบโจทก์ถือไม้กระทู้เป็นไม้ไผ่โตเท่าข้อมือยาวประมาณ 2 ศอก มายืนคอยดักทำร้าย ขณะที่จำเลยเข้าไปยังห่างโจทก์ 1 วา โจทก์เงื้อไม้ที่ถืออยู่ขึ้นจะตีศีรษะจำเลย จำเลยจึงใช้ปืนยิงถูกมือโจทก์แล้ววิ่งหนี หากจำเลยไม่ยิง จำเลยอาจถูกโจทก์ตีศีรษะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนี้ เป็นการใช้อาวุธปืนยิงป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: การยิงเพื่อป้องกันอันตรายถึงชีวิตจากอาวุธดักทำร้าย
โจทก์กับจำเลยโต้เถียงทะเลาะวิวาทกันจนจำเลยถูกโจทก์ตีทำร้ายถูกแสกหน้าแตกโลหิตไหล และเหตุการณ์ยุติลงไปแล้วตอนหนึ่ง ต่อมาจำเลยเดินกลับบ้านพบโจทก์ถือไม้กระทู้เป็นไม้ไผ่โตเท่าข้อมือ ยาวประมาณ 2 ศอก มายืนคอยดักทำร้าย ขณะที่จำเลยเข้าไปยังห่างโจทก์ 1 วา โจทก์เงื้อไม้ที่ถืออยู่ขึ้นจะตีศีรษะจำเลย จำเลยจึงใช้ปืนยิงถูกมือโจทก์แล้ววิ่งหนี หากจำเลยไม่ยิง จำเลยอาจถูกโจทก์ตีศีรษะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนี้ เป็นการใช้อาวุธปืนยิงป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจอนุญาตฟ้องได้ แม้พ้นกำหนดผัดฟ้อง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 9 ได้ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการไว้อย่างกว้างขวางในอันที่จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปว่า คดีอาญาคดีใดที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้ว หากผู้ว่าคดีมิได้ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับก็ดี หรือเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมงไปแล้วมิได้มีการขอผัดฟ้องก็ดี อธิบดีกรมอัยการจะเห็นสมควรอนุญาตให้ฟ้องคดีนั้น ๆ หรือไม่ แม้ในการสอบสวนไม่มีการขอผัดฟ้องทั้ง ๆ ที่ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวตลอดมานับแต่วันเวลาที่จำเลยถูกจับก็ตามเมื่ออธิบดีกรมอัยการได้พิจารณาแล้วอนุญาตให้ฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
บทบัญญัติมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯมุ่งถึงการควบคุมตัวผู้ต้องหาเป็นสารสำคัญ ส่วนกำหนดเวลาที่พนักงานสอบสวนหรือผู้ว่าคดีจะต้องปฏิบัติในการยื่นฟ้องหรือขอผัดฟ้องผู้ต้องหา ย่อมเป็นไปตามมาตรา 7 อำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามความในมาตรา 9 หาได้ถูกลบล้างแต่ ประการใดไม่ (อ้างฎีกาที่ 661/2503 และ 133/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: แม้พ้นกำหนดผัดฟ้อง อธิบดีกรมอัยการยังอนุญาตฟ้องได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 9 ได้ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการไว้อย่างกว้างขวางในอันที่จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปว่า คดีอาญาคดีใดที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้ว หากผู้ว่าคดีมิได้ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับก็ดี หรือเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมงไปแล้วมิได้มีการขอผัดฟ้องก็ดี อธิบดีกรมอัยการจะเห็นสมควรอนุญาตให้ฟ้องคดีนั้น ๆ หรือไม่ แม้ในการสอบสวนไม่มีการขอผัดฟ้อง ทั้ง ๆ ที่ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวตลอดมานับแต่วันเวลาที่จำเลยถูกจับก็ตามเมื่ออธิบดีกรมอัยการได้พิจารณาแล้ว อนุญาตให้ฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
บทบัญญัติมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯมุ่งถึงการควบคุมตัวผู้ต้องหาเป็นสารสำคัญ ส่วนกำหนดเวลาที่พนักงานสอบสวนหรือผู้ว่าคดีจะต้องปฏิบัติในการยื่นฟ้องหรือขอผัดฟ้องผู้ต้องหา ย่อมเป็นไปตามมาตรา 7 อำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามความในมาตรา 9หาได้ถูกลบล้างแต่ประการใดไม่ (อ้างฎีกาที่ 661/2503 และ 133/2506)
of 47