พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินอุทิศเป็นทางสาธารณะแล้ว แม้ซื้อมาจากการขายทอดตลาดก็ไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
การที่เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์และยอมให้ประชาชนทั่วไปใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางสัญจรไปมาเป็นเวลาหลายสิบปี ย่อมถือได้ว่ามีเจตนาอุทิศให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยายมาตั้งแต่ต้นแล้ว เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ย่อมมีผลทันทีโดยไม่จำต้องจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์อีก และย่อมไม่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม แม้จำเลยจะได้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 ก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงยังคงสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเช่นเดิม
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นกรณีราษฎรฟ้องกันเองขอให้บังคับว่าที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นกรณีราษฎรฟ้องกันเองขอให้บังคับว่าที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8223/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีโดยใช้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเป็นหลักประกัน ศาลมีอำนาจเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้อง และการที่ผู้ประกันไปยื่นคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) และขอยกเลิกตามเอกสารหมาย ร.4ถึง ร.6 แล้ว จากนั้นกลับมีใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เอกสารหมาย ร.7 โดยที่เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกใบแทนดังกล่าวตามเอกสารหมายร.7 และมิได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทไปเป็นของผู้ประกันแล้ว ผู้ประกันไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาประกันตัวจำเลยได้การที่ผู้ประกันนำทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นหลักประกันในการประกันตัวจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ การบังคับคดีรายนี้จึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 และ296 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 การขายทอดตลาดรายนี้เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8223/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจากหลักประกันที่ไม่ชอบ ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิคุ้มครอง ศาลเพิกถอนได้
การที่ผู้ประกันนำที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นหลักประกันในการประกันตัวจำเลยนั้น เป็นการไม่ชอบ เมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกันไม่ชำระค่าปรับ พนักงานอัยการนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดไม่ได้ ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดที่ดินรายนี้จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และ 296 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การขายทอดตลาดที่เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมายทำให้ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330ทั้งผู้ประกันก็มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์ จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติดังกล่าวมาคุ้มครองผู้ประกันได้
การขายทอดตลาดที่เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมายทำให้ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330ทั้งผู้ประกันก็มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์ จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติดังกล่าวมาคุ้มครองผู้ประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการจดทะเบียนสิทธิ: สิทธิใครเหนือกว่าเมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองเดิม
จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แต่เมื่อจำเลยยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าวจึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากรโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิตั้งแต่ปี 2531 ได้ และโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนับแต่ปี 2531 แล้ว หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนคือวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ไม่เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อปี 2536 เป็นเวลาไม่เกินกว่า 10 ปีโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องจดทะเบียนเพื่อใช้ยันสิทธิของผู้อื่น การฟ้องขับไล่เริ่มนับจากวันจดทะเบียน
จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แต่เมื่อจำเลยยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าว จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากรโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิตั้งแต่ปี 2531 ได้ และโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนับแต่ปี 2531 แล้ว หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนคือวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ไม่ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อปี 2536 เป็นเวลาไม่เกินกว่า 10 ปี โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จากการประมูล: ผู้ซื้อที่แท้จริง vs. ตัวแทน
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทะเบียนรถยนต์ไม่มีผลทำให้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อ เพราะผู้มีชื่อในทะเบียนรถยนต์จะเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ต่อเมื่อเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงเท่านั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330จะบัญญัติให้สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลมิเสียไปก็ตามแต่บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่แท้จริงหากบุคคลดังกล่าวเป็นแต่เพียงตัวแทนของบุคคลอื่นในการซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด บุคคลดังกล่าวย่อมไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้น เมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาท จำเลยเป็นผู้ซื้อโดยใส่ชื่อผู้ร้องแทนรถยนต์คันพิพาทจึงเป็นของจำเลย มิใช่ของผู้ร้องผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยรถยนต์คันพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์: การซื้อแทนไม่ทำให้ผู้รับมอบฉันทะเป็นเจ้าของ
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทะเบียนรถยนต์ไม่มีผลทำให้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อ เพราะผู้มีชื่อในทะเบียนรถยนต์จะเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ต่อเมื่อเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงเท่านั้น
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1330 จะบัญญัติให้สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลมิเสียไปก็ตาม แต่บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่แท้จริง หากบุคคลดังกล่าวเป็นแต่เพียงตัวแทนของบุคคลอื่นในการซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด บุคคลดังกล่าวย่อมไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้นเมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาท จำเลยเป็นผู้ซื้อโดยใส่ชื่อผู้ร้องแทน รถยนต์คันพิพาทจึงเป็นของจำเลย มิใช่ของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยรถยนต์คันพิพาท
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1330 จะบัญญัติให้สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลมิเสียไปก็ตาม แต่บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่แท้จริง หากบุคคลดังกล่าวเป็นแต่เพียงตัวแทนของบุคคลอื่นในการซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด บุคคลดังกล่าวย่อมไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้นเมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาท จำเลยเป็นผู้ซื้อโดยใส่ชื่อผู้ร้องแทน รถยนต์คันพิพาทจึงเป็นของจำเลย มิใช่ของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยรถยนต์คันพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการรับผิดในกรณีที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดมีสิทธิเรียกร้องเงินคืนได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้รับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการ นำยึด และขายทรัพย์สินโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อโจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อปรากฏภายหลังว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085(พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานก่อสร้างขึ้น แต่เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ส. ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวตั้งแต่ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ตามมาตรา 12 วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้ สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้ จำเลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 12 วรรคสุดท้าย แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้อง หรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดี เปลี่ยนแปลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริง ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดี จึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์ และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ทั้งสองตลอดจนคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาเฉพาะประเด็นดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท และสิทธิในที่ดินป่าสงวน
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินโดยมิชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อปรากกภายหลังงว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085 (พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยซึ่งกรมชลประทานก่อสร้างขึ้นซึ่งแต่เดิมที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน น.ส.3 ก.ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ ส. จำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ในมาตรา 12วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเดลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร ให้เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติทั้งแปลง กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา12 วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้องหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงตรงกันข้าม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย คดีจึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247
เมื่อปรากกภายหลังงว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085 (พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยซึ่งกรมชลประทานก่อสร้างขึ้นซึ่งแต่เดิมที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน น.ส.3 ก.ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ ส. จำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ในมาตรา 12วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเดลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร ให้เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติทั้งแปลง กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา12 วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้องหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงตรงกันข้าม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย คดีจึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่ขัดต่อกฎหมาย ทำให้ผู้ซื้อไม่มีสิทธิในที่ดิน แม้จะซื้อโดยสุจริต
แม้บ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยการซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลก็ตาม แต่ที่ดินพิพาททางราชการประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินและได้ออกหนังสืออนุญาต ให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในนามของ ศ.อันเป็นการออกให้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518ซึ่งจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร ฯลฯ และเมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการฯ ตามบทกฎหมายดังกล่าวการขายทอดตลาดจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150แม้โจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินพิพาทโดยสุจริตในการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาล โจทก์ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 เมื่อจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย