คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1330

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบแทน น.ส.3ก. และสิทธิของผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต
ขณะที่จำเลยที่1ยื่นคำขอออกใบแทนน.ส.3ก.อ้างว่าน.ส.3ก.สูญหายเจ้าพนักงานที่ดินประกาศการขอรับใบแทนแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้านจึงได้ออกใบแทนให้แก่ผู้ขอแต่เมื่อปรากฏว่าน.ส.3ก.อยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้สูญหายไปไหนกรณีต้องถือว่าการออกใบแทนน.ส.3ก.ไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนใบแทนน.ส.3ก.ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา61 โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยเมื่อโจทก์ทราบว่าส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1โจทก์ฟ้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและอายัดที่ดินและเมื่อส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระเงินให้โจทก์แต่ต่อมาส. ผิดนัดโจทก์ก็นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทและขายทอดตลาดและโจทก์เป็นผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดได้การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิทางศาลและแสดงให้เห็นว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตลอดมาหากจำเลยที่1เห็นว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของส. แล้วจำเลยที่1ชอบที่จะร้องขัดทรัพย์แต่จำเลยที่1ก็มิได้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งประการใดจนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาลซึ่งโจทก์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุดโจทก์จึงเป็นผู้ซื้อทรัพย์รายนี้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1330โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิเป็นของตนได้ก่อนและที่จำเลยที่1จดทะเบียนการโอนภายหลังโจทก์นำยึดที่ดินพิพาทแล้วก็ไม่อาจนำมาใช้ยันโจทก์ได้โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนใบแทนน.ส.3ก.ที่ดินพิพาทและเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างส. กับจำเลยที่1ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอน น.ส.3 ก. และการจดทะเบียนโอนที่ดินหลังยึดทรัพย์ – สิทธิของผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด
แม้ขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) อ้างว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)สูญหาย เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ประกาศการขอรับใบแทนแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน และต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกใบแทนให้แก่ผู้ขอแล้วก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้สูญหายแต่อย่างใด กรณีต้องถือว่าการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ดังกล่าว ตาม ป.ที่ดินมาตรา 61
พฤติการณ์ของโจทก์ตั้งแต่โจทก์ทราบว่า ส.ทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ก็ฟ้องเพิกถอนสัญญาประนี-ประนอมยอมความและอายัดที่ดิน แต่เมื่อ ส.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยินยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ ต่อมา ส.ผิดนัด โจทก์ก็นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทและขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตลอดมา แม้ขณะที่โจทก์นำยึดที่ดินพิพาท หากจำเลยเห็นว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของส.แล้ว จำเลยชอบที่จะร้องขัดทรัพย์ แต่จำเลยก็มิได้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งประการใด จนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาลซึ่งโจทก์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด กรณีฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์รายนี้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิเป็นของตนได้ก่อน และจำเลยซึ่งจดทะเบียนการโอนภายหลังโจทก์นำยึดที่ดินพิพาทแล้วจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินพิพาทและเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทระหว่าง ส.กับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการส่งอุทธรณ์และการบังคับคดีตามคำสั่งศาล: สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาด
ปัญหาที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาว่าเมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์แล้วศาลชั้นต้นมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องส่งอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเลยขึ้นตอนของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งใดๆอีกแต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งดังกล่าวโดยมิใช่ศาลอุทธรณ์เป็นผู้สั่งนั้นเมื่อปรากฎว่าศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์แล้วให้มีหนังสือเปิดผนึกตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอซึ่งก็มีผลเท่ากับให้โอนที่ดินทั้ง4แปลงที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้จากการขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์และตามที่อุทธรณ์แล้วฎีกาข้อนี้ของผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดของจำเลยที่1ไปแล้วและไม่มีฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านการขายทอดตลาดสิทธิของผู้ซื้อทรัพย์โดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามกฎหมายมีอย่างไรคงมีอยู่อย่างนั้นไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องมีคำพิพากษารับรองให้อีกชั้นหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลหลังรับอุทธรณ์ขายทอดตลาด: ศาลชั้นต้นหมดอำนาจสั่งการอื่นหลังส่งเรื่องให้ศาลอุทธรณ์
ปัญหาที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาว่า เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์แล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องส่งอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา เลยขั้นตอนของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งใด ๆ อีก แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งดังกล่าวโดยมิใช่ศาลอุทธรณ์เป็นผู้สั่งนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ แล้วให้มีหนังสือเปิดผนึกตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอ ซึ่งก็มีผลเท่ากับให้โอนที่ดินทั้ง 4 แปลง ที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้จากการขาย-ทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ตามความประสงค์ของผู้ซื้อทรัพย์และตามที่อุทธรณ์แล้วฎีกาข้อนี้ของผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 1 ไปแล้ว และไม่มีฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านการขายทอดตลาด สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์โดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามกฎหมายมีอย่างไรคงมีอยู่อย่างนั้นไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องมีคำพิพากษารับรองให้อีกชั้นหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินคืนของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรณีผู้รับโอนซื้อมาในราคาตลาด
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาจากส. ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดจำเลยที่1เป็นผู้ประมูลได้ถือเป็นการซื้อจากเจ้าของเดิมเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทตามมาตรา28แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ที่ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่าศาลเป็นเพียงดำเนินการขายทอดตลาดเท่านั้นหากจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนถ้าโจทก์ไม่ซื้อจำเลยที่1จึงจะขายให้จำเลยที่3ได้ตามมาตรา53เมื่อจำเลยที่1ไม่ปฎิบัติตามกฎหมายโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนจากจำเลยที่3ตามมาตรา54การที่โจทก์ยังคงชำระค่าเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ว่าเป็นการสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3และการที่คชก.ตำบลมีมติให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่3ในราคา1,500,000บาทโดยฝ่ายจำเลยมิได้อุทธรณ์มติดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ปฎิบัติขั้นตอนครบถ้วนตามกฎหมายแล้วมติคชก.ตำบลจึงชอบตามมาตรา54เพราะเป็นราคาตลาดที่จำเลยที่3ซื้อจากจำเลยที่1โดยไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีราคาตลาดสูงกว่านั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินที่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ไม่มีผลผูกพันต่อเจ้าของที่ดินรายใหม่ ผู้เช่าต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ก่อนโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลนั้นว.เจ้าของเดิมได้ตกลงให้จำเลยที่1เช่าโดยให้จำเลยที่1ทำการก่อสร้างตึกแถวบนที่ดินพิพาทที่เช่าและมีสิทธินำไปให้บุคคลอื่นเช่าต่อได้เป็นระยะเวลา20ปีโดยเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วให้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวที่สร้างบนที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของว. แต่ข้อตกลงการเช่าดังกล่าวระหว่างจำเลยที่1กับว. มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาเช่าระหว่างว.กับจำเลยที่1ดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่างว. เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมกับจำเลยที่1เท่านั้นไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่1แม้โจทก์ทราบข้อสำคัญนี้ก็ไม่ผูกพันโจทก์เพราะโจทก์มิได้ยอมตกลงกับจำเลยที่1ด้วยจำเลยที่1ไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะให้ตึกแถวนี้คงอยู่ต่อไปในที่ดินของโจทก์ได้จำเลยที่1จึงต้องรื้อถอนตึกแถวออกไปส่วนจำเลยที่1เสียหายอย่างใดก็จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนต่อไปและสำหรับจำเลยที่2นั้นแม้จะจดทะเบียนสัญญาเช่ากับจำเลยที่1มีกำหนด20ปีก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่1ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่2เป็นบริเวณของจำเลยที่1กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้รับโอนตึกแถวที่เช่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวที่ไม่ผูกพันผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด สิทธิในตึกแถวเป็นของเจ้าของที่ดินเดิม
ก่อนโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลนั้นว.เจ้าของเดิมได้ตกลงให้จำเลยที่ 1 เช่าโดยให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างตึกแถวบนที่ดินพิพาทที่เช่าและมีสิทธินำไปให้บุคคลอื่นเช่าต่อได้เป็นระยะเวลา 20 ปี โดยเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วให้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวที่สร้างบนที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ว. แต่ข้อตกลงการเช่าดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ว.มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่าง ว.เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมกับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1แม้โจทก์ทราบข้อสัญญานี้ก็ไม่ผูกพันโจทก์ เพราะโจทก์มิได้ยอมตกลงกับจำเลยที่ 1ด้วย จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะให้ตึกแถวนั้งคงอยู่ต่อไปในที่ดินของโจทก์ได้จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนตึกแถวออกไป ส่วนจำเลยที่ 1 เสียหายอย่างใด ก็จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนต่อไป และสำหรับจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะจดทะเบียนสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นบริวารของจำเลยที่ 1 กรณีไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 569 เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้รับโอนตึกแถวที่เช่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ร้องสอดเกินกำหนดฟ้องเพิกถอน แม้ไม่รู้การขายทอดตลาด
โจทก์ซื้อสิทธิการเช่าอาคารราชพัสดุของจำเลยที่2ได้จากการขายทอดตลาดและชำระราคาไปตั้งแต่วันที่18มิถุนายน2530โจทก์ได้รับเงินค่าซื้อทรัพย์ไปจากศาลเมื่อวันที่7กรกฎาคม2530ถือได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วตั้งแต่วันดังกล่าวการที่ผู้ร้องเพิ่งยื่นคำร้องสอดเมื่อวันที่29ธันวาคม2535จึงเกินกำหนดเวลาตามกฎหมายที่จะยื่นได้แม้ผู้ร้องสอดจะอ้างว่าไม่รู้ถึงการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวก็ไม่มีข้อกำหนดในกฎหมายให้ผู้ร้องสอดมาร้องภายหลังจากการบังคับคดีเสร็จลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์: การออกโฉนดมิชอบ การซื้อขายทอดตลาดไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยที่1อุทิศถนนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ทั้งหมดถนนทั้งสายจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทันทีที่จำเลยที่1ได้แสดงเจตนาอุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนสิทธิการให้ทางโฉนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา525แม้ข้อความในตอนท้ายของหนังสืออุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ได้ระบุว่าจำเลยที่1จะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวณสำนักงานที่ดินต่อไปหามีผลทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อุทิศยังไม่โอนไปไม่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินการออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทหลังจากที่ดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์เป็นการมิชอบดังนั้นจำเลยที่2ซึ่งซื้อที่ดินพิพาทมาตามโฉนดที่ออกโดยมิชอบแม้จะซื้อขายจากการขายทอดตลาดของศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1330ก็ตามจำเลยที่2ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา1330จำเลยที่2จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่3จำเลยที่3ผู้รับโอนไว้ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์เช่นเดียวกันในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1305

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศถนนเป็นทางสาธารณประโยชน์ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโอนทันที แม้ยังมิได้จดทะเบียน การออกโฉนดภายหลังจึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ทำหนังสืออุทิศถนนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ทั้งหมด ถนนดังกล่าวตลอดสายจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทันทีที่จำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาอุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนสิทธิการให้ทางโฉนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 525 แม้ข้อความในตอนท้ายของหนังสืออุทิศระบุว่าจำเลยที่ 1 จะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ณ สำนักงานที่ดินให้ต่อไป ก็หามีผลทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อุทิศยังไม่โอนไปไม่
การออกโฉนดที่ดินถนนที่อุทิศซึ่งเป็นที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1เป็นการออกภายหลังจากที่ดินพิพาทได้ตกเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว การออกโฉนดที่ดินพิพาทจึงเป็นการออกโดยมิชอบ และศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 วรรคท้าย
จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทตามโฉนดที่ดินที่ออกโดยมิชอบเพราะออกโฉนดภายหลังจากที่ดินพิพาทได้ตกเป็นทางสาธารณประโยชน์ แม้จะได้ซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่มีอำนาจโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ด้วยจำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาท
of 20