คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 161

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: การนับวันหยุดราชการและสิทธิฟ้องเองของผู้เสียหาย
กำหนดเวลาที่ให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นจะเป็นอันขาดอายุความนั้น เป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ฯลฯ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์เสียก่อน จะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเองก็ย่อมกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาเดียวกัน แต่เมื่อวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุด ซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงาน ท่านให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 ดังนั้น การที่ระยะเวลาที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ในคดีนี้ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 24 อันเป็นวันหยุดราชการ ผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 25 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ยึดทรัพย์แล้วยังขอเฉลี่ยได้ หากทรัพย์ยึดไม่พอชำระหนี้และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่น
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นแม้จะได้ยึดทรัพย์อื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แล้ว แต่ถ้าเจ้าหนี้นั้นแสดงได้ว่าทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ของตนได้สิ้นเชิง และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ ก็ย่อมร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 897/2510)
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยวันใด กำหนดระยะเวลายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 เมื่อครบกำหนดสิบสี่วันในวันหยุดราชการ ผู้ร้องย่อมยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันรุ่งขึ้นซึ่งศาลเริ่มทำงานใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 158 ตอนท้าย เพราะเมื่อขายทอดตลาดแล้ว การขายก็เป็นอันเสร็จสิ้นไปไม่มีลักษณะหรือสภาพเป็นงานที่ต้องทำต่อ ๆ ไปอีก อันจะเป็นเหตุให้ถือว่าได้เริ่มการตั้งแต่วันขายทอดตลาดเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1809/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ หากทรัพย์ที่ยึดไว้ไม่เพียงพอชำระหนี้ และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่น
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นแม้จะได้ยึดทรัพย์อื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แล้ว แต่ถ้าเจ้าหนี้นั้นแสดงได้ว่าทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ของตนได้สิ้นเชิง และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ ก็ย่อมร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 897/2510)
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยวันใด กำหนดระยะเวลายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158 เมื่อครบกำหนดสิบสี่วันในวันหยุดราชการผู้ร้องย่อมยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันรุ่งขึ้นซึ่งศาลเริ่มทำงานใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 158 ตอนท้าย เพราะเมื่อขายทอดตลาดแล้ว การขายก็เป็นอันเสร็จสิ้นไป ไม่มีลักษณะหรือสภาพเป็นงานที่ต้องทำต่อ ๆ ไปอีก อันจะเป็นเหตุให้ถือว่าได้เริ่มการตั้งแต่วันขายทอดตลาดเป็นต้นไป(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1809/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดลงจากการสลักหลังเช็ค การนับอายุความเริ่มจากวันที่เช็คสั่งจ่าย
เรื่องอายุความนั้นหาใช่สภาพแห่งข้อหาไม่ โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด
การที่จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เพื่อชำระเงินค่าซื้อเชื่อนั้นถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์
จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2505แต่เช็คนั้นเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า สั่งจ่ายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505ดังนี้ หมายความว่าจำเลยได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ในวันที่ 23 เมษายน2505 ว่าจะชำระเงินเป็นเช็คให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 นั่นเอง
เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสำหรับคดีนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 คือ วันที่สั่งจ่ายเงินในเช็ค จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2505 เพราะวันนั้นเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คได้เป็นต้นไป ดังนั้น อายุความ2 ปีครบในวันที่ 26 พฤษภาคม 2507 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา เป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 27 พฤษภาคม 2507 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
(ปัญหาตามวรรคสอง, สี่ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8,9/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดลงจากการสลักหลังเช็คและการนับอายุความใหม่เมื่อเช็คสั่งจ่าย
เรื่องอายุความนั้นหาใช่สภาพแห่งข้อหาไม่ โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด
การที่จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เพื่อชำระเงินค่าซื้อเชื่อนั้นถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์
จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2505 แต่เช็คนั้นเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า สั่งจ่ายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 ดังนี้ หมายความว่าจำเลยได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ในวันที่ 23 เมษายน 2505 ว่าจะชำระเงินเป็นเช็คให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 นั่นเอง
เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสำหรับคดีนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 คือ วันที่สั่งจ่ายเงินในเช็ค จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2505 เพราะวันนั้นเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คได้เป็นต้นไป ดังนั้น อายุความ2 ปีครบในวันที่ 26 พฤษภาคม 2507 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 27 พฤษภาคม 2507คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
(ปัญหาตามวรรคสอง, สี่ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8, 9/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: สถานะทางกฎหมายของโจทก์ (ภริยาและบุตร) และอายุความฎีกา
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 20 พฤษภาคม 2511 การนับอายุความฎีกาจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2511 กำหนดหนึ่งเดือนจึงสิ้นสุดในวันที่ 20 มิถุนายน 2511 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวัดแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น แต่ในวันดังกล่าวนี้เป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2511 ซึงเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าในอายุความฎีกาด้วย
ปัญหาที่ว่า โจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และโจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์เป็นเพียงบุตรนอกสมรสของผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งผู้ตายได้แจ้งทะเบียนคนเกิดว่าเป็นบุตรของตน และอุปการะเลี้ยงดูโดยเปิดเผยตลอดมาเท่านั้น การที่ผู้ตายแจ้งทะเบียนคนเกิดว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของตนก็ดี หรือได้ทำการอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 2 ฉันบุตรตลอดมาก็ดี ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายขึ้นมาไม่ เพราะบุตรนอกสมรสจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ ก็ต้องเป็นไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ที่ 2 คงมีฐานะเป็นเพียงบุตรที่ผู้ตายรับรองแล้วตามมาตรา 1627 และมีเพียงสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) จึงไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้ (อ้างฎีกาที่ 1259/2506)
เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็มิใช่ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทำศพผู้ตายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาพ้นกำหนดและไม่อนุญาตอ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาเนื่องจากประเด็นยุติแล้ว
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2507 กำหนดระยะเวลา 1 เดือนสำหรับการยื่นฎีกา เริ่มนับหนึ่งในวันที่ 29 ตุลาคม 2507 ครบ 1 เดือนในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2507 แต่วันที่ 28, 29 พฤศจิกายน 2507 ตรงกับวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นฎีกาในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161
โจทก์ขออ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาเพื่อแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายโดยได้จดทะเบียนสมรส นั้น เห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ยุติมาแต่ศาลชั้นต้น โดยโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์ในข้อนี้ และยอมรับในอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องกับจำเลยมิใช่สามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิได้จดทะเบียนสมรส คงอุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ว่า เรือนพิพาทเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องกับจำเลยต่างมีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งข้อเดียวเท่านั้น ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้อ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฎีกา-การอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติม-กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน: ศาลฎีกายืนตามศาลล่างเรื่องกำหนดเวลาและกรรมสิทธิ์
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่28 ตุลาคม 2507 กำหนดระยะเวลา 1 เดือนสำหรับการยื่นฎีกา เริ่มนับหนึ่งในวันที่ 29 ตุลาคม 2507 ครบ 1 เดือนในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2507 แต่วันที่ 28, 29 พฤศจิกายน 2507 ตรงกับวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นฎีกาในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161
โจทก์ขออ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาเพื่อแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยได้จดทะเบียนสมรสนั้นเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ยุติมาแต่ศาลชั้นต้น โดยโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์ในข้อนี้และยอมรับในอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องกับจำเลยมิใช่สามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิได้จดทะเบียนสมรส คงอุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ว่า เรือนพิพาทเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องกับจำเลยต่างมีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งข้อเดียวเท่านั้น ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้อ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาสัญญา: วันหยุดราชการขยายเวลาได้ตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล ตกลงแบ่งที่พิพาทกันคนละครึ่ง จำเลยยอมชดใช้เงินให้โจทก์ 8,000 บาท โดยจะนำมาวางศาลภายในเดือนเมษายน 2509 หากจำเลยไม่นำเงินมาวางภายในเดือนเมษายน 2509 จำเลยยอมให้ที่พิพาททั้งหมดตกเป็นสิทธิของโจทก์ ดังนี้ เมื่อได้ความว่าวันสุดท้ายที่จำเลยมีโอกาสจะนำเงินมาวางศาลในคดีนี้คือวันที่ 30 เมษายน 2509 ตรงกับวันหยุดราชการและเริ่มเปิดทำงานใหม่ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2509 จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำเงินมาวางศาลได้ในวันที่เปิดทำงานใหม่ตามมาตรา 161 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยมิได้ผิดสัญญาสัญญาที่มีกำหนดเวลาดังเช่นคดีนี้ย่อมมีวิธีการกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและวันสุดท้ายแห่ง ระยะเวลาดังที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาสัญญา: วันหยุดราชการขยายเวลาได้ตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล ตกลงแบ่งที่พิพาทกันคนละครึ่ง จำเลยอมชดใช้ให้เงินโจทก์ 8,000 บาท โดยจะนำมาวางศาลภายในเดือนเมษายน 2509 หากจำเลยไม่นำเงินมาวางภายในเดือนเมษายน 2509 จำเลยยอมให้ที่พิพาททั้งหมดตกเป็นสิทธิของโจทก์ ดังนี้ เมื่อได้ความว่า วันสุดท้ายที่จำเลยมีโอกาสจะนำเงินมาวางศาลในคดีนี้คือวันที่ 30 เมษายน 2509 ตรงกับวันหยุดราชการ และเริ่มเปิดทำงานใหม่ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2509 จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำเงินมาวางศาลได้ในวันที่เปิดทำงานใหม่ตามมาตรา 161 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยมิได้ผิดสัญญา สัญญาที่มีกำหนดเวลาดังเช่นนี้ย่อมมีวิธีการกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาดังที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
of 6