คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 278

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังฎีกา: สิทธิโจทก์ในการรับชำระหนี้ แม้จำเลยมิได้ขอทุเลาการบังคับ
จำเลยแพ้คดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ในชั้นฎีกาจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 231 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 247 คือการยื่นฎีกาไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ย่อมที่จะขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจในฐานะเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำมาวางและออกใบรับให้ กับมีอำนาจที่จะยึดหรืออายัดและยึดถือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ และมีอำนาจที่จะเอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาด ทั้งมีอำนาจที่จะจำหน่ายทรัพย์สินหรือเงินรายได้จากการนั้น และดำเนินวิธีการบังคับทั่ว ๆ ไปตามที่ศาลได้กำหนดไว้ในหมายบังคับคดี คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ไปจึงเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ขอทุเลาการบังคับเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ไป
การบังคับคดีเป็นอำนาจและหน้าที่ของศาลชั้นต้น ถึงแม้จำเลยที่ 1 ไม่ขอทะเลาการบังคับ ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจดำเนินการบังคับคดีไปตามปกติ เช่นจะสั่งงดการบังคับคดีไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292 (2) ก็ทำได้ ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแม้จำเลยมิได้ขอทุเลาการบังคับ ศาลมีอำนาจดำเนินการได้ตามกฎหมาย
จำเลยแพ้คดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ในชั้นฎีกาจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 231 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 247 คือการยื่นฎีกาไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ย่อมที่จะขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจในฐานะเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำมาวางและออกใบรับให้ กับมีอำนาจที่จะยึดหรืออายัดและยึดถือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้และมีอำนาจที่จะเอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาด ทั้งมีอำนาจที่จะจำหน่ายทรัพย์สินหรือเงินรายได้จากการนั้น และดำเนินวิธีการบังคับทั่ว ๆ ไปตามที่ศาลได้กำหนดไว้ในหมายบังคับคดี คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ไปจึงเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ขอทุเลาการบังคับเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ไป
การบังคับคดีเป็นอำนาจและหน้าที่ของศาลชั้นต้น ถึงแม้จำเลยที่ 1 จะไม่ขอทุเลาการบังคับ ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจดำเนินการบังคับคดีไปตามปกติ เช่นจะสั่งงดการบังคับคดีไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) ก็ทำได้ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในการรักษาทรัพย์ยึดและการจัดการผู้บุกรุกเพื่อการบังคับคดี
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ย่อมเป็นผู้ยึดถือและมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นกับมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาจนกว่าจะเสร็จสิ้นการบังคับคดีถ้าปรากฏว่ามีผู้บุกรุกเข้ามาอยู่ในที่ดินดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการครอบครองของพนักงานบังคับคดี ก็ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่จะให้การบังคับคดีสำเร็จลุล่วงไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาที่ดินที่ยึดไว้หาทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหมดอำนาจหน้าที่และพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278 ไม่
โจทก์ผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เป็นผู้รักษาทรัพย์ที่ยึดไว้ยื่นคำแถลงต่อศาลว่ามีผู้บุกรุกที่ดิน ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินคดีกับผู้บุกรุกแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการอย่างไร ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่ไต่สวนคำแถลงของโจทก์แล้วสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในการรักษาทรัพย์ยึด และการจัดการผู้บุกรุก
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ย่อมเป็นผู้ยึดถือและมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นกับมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาจนกว่าจะเสร็จสิ้นการบังคับคดี ถ้าปรากฏว่ามีผู้บุกรุกเข้ามาอยู่ในที่ดินดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการครอบครองของเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาที่ดินที่ยึดไว้ หาทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหมดอำนาจหน้าที่และพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278 ไม่
โจทก์ผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เป็นผู้รักษาทรัพย์ที่ยึดไว้ยื่นคำแถลงต่อศาลว่ามีผู้บุกรุกที่ดิน ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินคดีกับผู้บุกรุก แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการอย่างไร ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งไต่สวนคำแถลงของโจทก์แล้วสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2607/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาแบ่งมรดก: ยึดทรัพย์ก่อนขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย
ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ 2 ใน 3 ส่วน ถ้าตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์กับจำเลย หากยังไม่ตกลงกันก็ให้ขายทอดตลาดแบ่งเงินกัน ฝ่ายโจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทให้ แต่ตกลงกันไม่ได้เพราะจำเลยจะแบ่งให้เพียงครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกจำเลยมาประมูลทรัพย์สินระหว่างกันเอง จำเลยก็ไม่มาพบเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่นนี้ถือได้ว่าการแบ่งทรัพย์หรือการประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีทางตกลงกันได้แล้ว ที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จึงเป็นการถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว และเมื่อกรณีมีความจำเป็นต้องดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทแก่โจทก์ตามคำพิพากษาด้วยวิธีขายทอดตลาดการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์พิพาทก่อนทำการขายทอดตลาดย่อมเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2607/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาแบ่งมรดก: ยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมายเมื่อตกลงแบ่งกันเองไม่ได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ 2 ใน 3 ส่วน ถ้าตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์กับจำเลย หากยังไม่ตกลงกันก็ให้ขายทอดตลาดแบ่งเงินกัน ฝ่ายโจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทให้ แต่ตกลงกันไม่ได้เพราะจำเลยจะแบ่งให้เพียงครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกจำเลยมาประมูลทรัพย์สินระหว่างกันเอง จำเลยก็ไม่มาพบเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่นนี้ถือได้ว่าการแบ่งทรัพย์หรือประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีทางตกลงกันได้แล้ว ที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขาดทอดตลาดทรัพย์พิพาท จึงเป็นการถูกต้องตามขั้นตอนแล้วและเมื่อกรณีมีความจำเป็นต้องดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาท แก่โจทก์ตามคำพิพากษาด้วยวิธีขายทอดตลาด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์พิพาทก่อนทำการขายทอดตลาดย่อมเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาและการนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาหักล้าง การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้ถึงเกณฑ์
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 30,550 บาท แก่โจทก์เป็นค่าธรรมเนียมและค่าทนายความ 3,020 บาท จำเลยวางค่าธรรมเนียมและค่าทนายความต่อศาลแล้ว แม้โจทก์ยังไม่ได้รับไปจากศาลก็ถือว่าหนี้ค้างชำระไม่ถึง 30,000 บาท ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: อำนาจศาล, คำขอท้ายฟ้อง, การบังคับคดี
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเพราะเห็นว่าคำชี้ขาด ของอนุญาโตตุลาการขัดต่อกฎหมายนั้น เป็นคำสั่งในอำนาจของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 218 วรรคท้าย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 (1) ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วสั่งให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษาว่า ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำขอในอุทธรณ์ของโจทก์ แต่คำขอในอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นการขอให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีผลบังคับโดยคำพิพากษาของศาลตามมาตรา 221 นั่นเอง มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งอย่างธรรมดา เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ขัดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้นเสียเองได้ หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ไม่
ในกรณีดังกล่าว การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาเพียง 50 บาท สืบเนื่องมาจากเรื่องที่โจทก์เข้าใจอำนาจของศาลอุทธรณ์ผิด ซึ่งศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ถูกต้องได้เมื่อจะพิพากษา
อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้จำเลยคืนเงิน 40,000 บาท ให้โจทก์ หากไม่คืนภายในเวลาที่กำหนดก็ให้โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งขายที่ดินที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้าง เงินที่ขายได้ตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เดียว ดังนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในกรณีนี้ก็คือ ชี้ขาดให้จำเลยคืนเงิน 40,000 บาท ให้โจทก์ภายในเวลาที่กำหนด ส่วนที่อนุญาโตตุลาการกล่าวต่อไปนั้น หาใช่เป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ เป็นแต่เพียงคำเสนอแนะว่า หากจำเลยไม่คืนเงินให้โจทก์ภายในกำหนด ก็ให้เสนอคดีต่อศาลต่อไปเท่านั้น ส่วนวิธีการบังคับคดีซึ่งศาลจะสั่งขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวหรือไม่ หรือขายทอดตลาดได้เงินเท่าใด ให้เป็นของใครนั้น ย่อมอยู่ภายใต้บทบัญญัติในภาค 4 ลักษณะแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ฉะนั้น คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยขายได้เงินเท่าใด ให้เป็นของโจทก์แต่ผู้เดียวนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อวิธีการบังคับคดีดังกล่าว ศาลจะพิพากษาตามคำขอของโจทก์ในข้อนี้ไม่ได้ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 40,000 บาท ให้แก่โจทก์ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์มรดกกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส และสิทธิของผู้เยาว์ในการร้องคัดค้านการยึด
จำเลยแต่งงานกับนาง น. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงไม่ใช่ทายาท ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ น. ในคดีเดิมโจทก์ไม่ได้ฟ้อง น. เป็นจำเลย หากแต่ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมรดกของ น. แม้คำพิพากษาในคดีเดิมจะฟังว่า น. กู้เงินโจทก์ไปจริงก็ตาม แต่ในคดีดังกล่าวโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ น. เป็นจำเลย การที่โจทก์นำยึดที่พิพาทซึ่งมารดาของ น. ยกให้ น. ก่อนแต่งงานกับจำเลย โดยมีชื่อ น. เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว จึงเป็นการยึดทรัพย์ของผู้อื่นมิใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธินำยึด
ผู้ร้องทั้งสามเป็นบุตรของ น. เกิดจากจำเลย ในระหว่างที่ น. ยังมีชีวิตอยู่ น. จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้อง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538เมื่อ น. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เยาว์จึงไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ น.เมื่อศาลมีคำสั่งให้ตั้ง ส. เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ร้องทั้งสาม ส. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้ายและมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมรดกของ น. ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และสิทธิในการร้องขัดทรัพย์ของทายาท
จำเลยแต่งงานกับนาง น. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงไม่ใช่ทายาท ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ น. ในคดีเดิมโจทก์ไม่ได้ฟ้อง น.เป็นจำเลย หากแต่ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมรดกของ น. แม้คำพิพากษาในคดีเดิมจะฟังว่า น.กู้เงินโจทก์ไปจริงก็ตาม แต่ในคดีดังกล่าวโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ น.เป็นจำเลย การที่โจทก์นำยึดที่พิพาทซึ่งมารดาของ น.ยกให้ น.ก่อนแต่งงานกับจำเลย โดยมีชื่อ น.เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว จึงเป็นการยึดทรัพย์ของผู้อื่นมิใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธินำยึด
ผู้ร้องทั้งสามเป็นบุตรของ น.เกิดจากจำเลย ในระหว่างที่ น.ยังมีชีวิตอยู่ น.จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้อง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538 เมื่อ น.ถึงแก่กรรม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เยาว์จึงไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ น. เมื่อศาลมีคำสั่งให้ตั้ง ส.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ร้องทั้งสาม ส.จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้าย และมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมรดกของ น.ก่อน
of 13