พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7344/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรมที่ดินกรณีโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อน และอายุความในการฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดิน
การออกโฉนดที่ดินเป็นงานที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมที่ดิน เมื่อโจทก์เห็นว่าการออกโฉนดที่ดิน คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกรมที่ดินได้ แม้ป.ที่ดิน มาตรา 61 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2428 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จะมีบทบัญญัติให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินสำหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครที่ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่กฎหมายประสงค์จะกระจายอำนาจให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดได้ด้วยเท่านั้น ไม่ได้ห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการออกโฉนดที่ดินฟ้องกรมที่ดินแต่อย่างใด
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เลขที่ 3816 ในส่วนรุกล้ำเข้ามาในโฉนดที่ดินพิพาทของผู้ตาย ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 เป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้น แม้จะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เลขที่ 3816 ในส่วนรุกล้ำเข้ามาในโฉนดที่ดินพิพาทของผู้ตาย ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 เป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้น แม้จะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการโอนมรดก: จำเป็นต้องมีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเป็นคู่ความร่วมด้วย
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาตาคลี จำเลยที่ 2 ในฐานะ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินของ ว. บิดาให้แก่ ม. มารดาซึ่งก็ถึงแก่ความตายไปแล้วเช่นกัน โดยอ้างว่า ว. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวก่อนถึงแก่ความตาย ม. ผู้เป็นมารดาจึงไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกที่ดินดังกล่าวมาแต่ต้น อันเป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับกองมรดกของ ม. โดยตรง และการขอให้ เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกของ ม. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกทายาทของ ม. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมไม่มีผลผูกพันทายาทอื่นของ ม. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินซ้ำกับคดีที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นฟ้องซ้ำไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีก่อน ส. เป็นโจทก์ฟ้องอธิบดีกรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดิน โดยขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ซึ่งต่อมาคู่ความในคดีดังกล่าวตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ ส่วนคดีนี้โจทก์มาฟ้องจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอ้างเหตุผลเดียวกันว่า การออกโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกทับที่ดินของส. เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินพิพาทต่อจาก ส. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอันเป็นการฟ้องอธิบดีกรมที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 แม้ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 รายเดียวกันนั่นเองโจทก์และจำเลยจึงเป็นคู่ความเดียวกันและต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินโดยอ้างว่าโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ออกทับที่ดินของ ส. อีก อันเป็นเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งมีคำวินิจฉัยมาแล้ว จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7824/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: ขายฝากที่ดินเป็นเพียงกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน ศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าการขายฝากที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นโมฆะ เมื่อฟังว่าการขายฝากที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสียมิใช่บังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท คืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7672/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบ และการเพิกถอนโฉนดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ก. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนที่จำเลยมิได้คัดค้านในกรณีที่โจทก์แจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ก็ดี หรือขอรังวัดออกโฉนดที่ดินทั้งแปลงรวมเอาที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้ไปด้วยก็ดี อาจเป็นไปได้ว่าจำเลยไม่ทราบเรื่องหรือไม่เข้าใจ เพราะโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนใหญ่และเป็นผู้ไปดำเนินการเองโดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยทราบ ถึงกระนั้นจำเลยก็ยังคงครอบครองที่ดินส่วนที่พิพาทมาตลอดจนถึงปัจจุบัน การที่โจทก์ไปขอออกโฉนดที่ดินโดยรวมเอาที่ดินพิพาทเข้าไปด้วยนั้น หาเป็นเหตุให้สิทธิของจำเลยเหนือที่ดินส่วนที่พิพาทที่มีอยู่แล้วโดยสมบูรณ์เสียไปไม่
ที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยเข้าชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมในอันที่จะต้องปฏิบัติต่อจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเฉพาะส่วนที่พิพาทคือส่วนที่ขีดเส้นสีเขียวตามแผนที่พิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดออกโฉนดรวมเอาที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เข้าไปด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เสียได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 และเมื่อเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบแล้ว จำเลยจะขอให้ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยเข้าชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมในอันที่จะต้องปฏิบัติต่อจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเฉพาะส่วนที่พิพาทคือส่วนที่ขีดเส้นสีเขียวตามแผนที่พิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดออกโฉนดรวมเอาที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เข้าไปด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เสียได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 และเมื่อเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบแล้ว จำเลยจะขอให้ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7529/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองทำประโยชน์ก่อนออกโฉนดเป็นหลักฐานสำคัญกว่าชื่อในโฉนด
ที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินออกในชื่อโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครองด้วย
แม้โจทก์จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้าง ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของโจทก์หรือของจำเลย จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองก่อนที่จะมีการออกโฉนดที่ดิน เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่า เชื่อได้ว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสิทธิของจำเลย
เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทในชื่อโจทก์เพราะเข้าใจผิดหลงว่าโจทก์มีสิทธิ เป็นการออกให้โดยไม่ชอบจึงต้องพิพากษาให้เพิกถอน ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนชื่อในโฉนดที่ดิน หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
แม้โจทก์จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้าง ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของโจทก์หรือของจำเลย จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองก่อนที่จะมีการออกโฉนดที่ดิน เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่า เชื่อได้ว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสิทธิของจำเลย
เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทในชื่อโจทก์เพราะเข้าใจผิดหลงว่าโจทก์มีสิทธิ เป็นการออกให้โดยไม่ชอบจึงต้องพิพากษาให้เพิกถอน ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนชื่อในโฉนดที่ดิน หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินเนื่องจากหนังสือมอบอำนาจปลอม ต้องฟ้องผู้รับซื้อฝากด้วย
จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์โดยไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เพื่อขายฝากที่ดินพร้อมบ้านของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61แต่โจทก์ต้องฟ้องผู้รับซื้อฝากซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและได้ลาภงอกอันเนื่องจากนิติกรรมที่ได้ทำการจดทะเบียนตามที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโดยไม่ชอบเข้ามาเป็นจำเลยด้วย มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมบ้านระหว่างโจทก์กับผู้รับซื้อฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกโดยไม่ชอบตามกฎหมาย เนื่องจากจำเลยมิได้มีสิทธิครอบครองที่ดินจริง
จำเลยมิใช่ผู้มิสิทธิครอบครองที่พิพาท ฉะนั้น การออก น.ส.3 ก. เพื่อแสดงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองและ ได้ทำประโยชน์ในที่พิพาท จึงเป็นการออก น.ส.3 ก. ที่คลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง โจทก์ชอบที่จะดำเนินการออก น.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาทตามสิทธิของโจทก์ จะบังคับให้จำเลยซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทโอนสิทธิครอบครอง ให้แก่โจทก์หาได้ไม่ และแม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งเพิกถอน น.ส.3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยไม่ชอบ การโอนสิทธิโดยสุจริต และสิทธิครอบครองที่ดิน
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แต่ได้มี การออก น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็น ผู้ครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว การออกหนังสือ น.ส.3 ก. ดังกล่าวจึงไม่ชอบและคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 6 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1ถึงที่ 5 และจำเลยที่ 7 ผู้รับโอนสิทธิครอบครองจากจำเลยที่ 6ในที่ดินพิพาทก็ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้โอน การได้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออก โดยชอบ เมื่อ น.ส.3 ก. ออกโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 7 จะอ้าง สิทธิใด ๆ ที่เกิดจากเอกสารที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่ การออก น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทโดยคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจ ถูกเพิกถอนได้ตามกฎหมายนั้น โจทก์ชอบที่จะดำเนินการออก น.ส.3 ก. ในที่ดินพิพาทตามสิทธิของโจทก์แต่จะบังคับให้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท โอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้ ส่วนการขอให้เพิกถอนชื่อ จำเลยที่ 7 ออกจาก น.ส.3 ก. แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงในทะเบียน น.ส.3 ก. แทน จะแปลว่าเป็นการขอให้บังคับให้จดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ออกโดยไม่ชอบ ทำให้สิทธิในที่ดินไม่สมบูรณ์ และการโอนสิทธิแก่ผู้อื่นก็ไม่สมบูรณ์ตามไปด้วย
คดีก่อนศาลได้วินิจฉัยคดีถึงที่สุดว่า โจทก์ยังคงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นผู้ได้ครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว แม้จะมีการดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทฉะนั้น การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทดังกล่าวเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 มีสิทธิครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกไว้ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามป.ที่ดิน มาตรา 61 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 6 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ในทำนองเดียวกันจำเลยที่ 7 ผู้รับโอนสิทธิครอบครองจากจำเลยที่ 6 ในที่ดินพิพาทย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้โอน
การได้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาฟังว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ ดังนี้ คดีนี้จำเลยที่ 7 จะอ้างสิทธิใด ๆ ที่เกิดจากเอกสารที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่
คดีก่อนศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้ตามกฎหมาย ดังนี้โจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิของโจทก์ในคดีก่อน แต่โจทก์จะบังคับให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ในคดีนี้ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้และการที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 7 ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงในทะเบียนหนังสือรับรองการทำประโยชน์แทน จะแปลว่าเป็นการขอให้บังคับให้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลจะยกคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ดังกล่าวเสีย
คดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา และพิพากษาให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ย่อมไม่ถูกต้อง ต้องพิพากษาว่าสำหรับค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์
การได้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาฟังว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ ดังนี้ คดีนี้จำเลยที่ 7 จะอ้างสิทธิใด ๆ ที่เกิดจากเอกสารที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่
คดีก่อนศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้ตามกฎหมาย ดังนี้โจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิของโจทก์ในคดีก่อน แต่โจทก์จะบังคับให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ในคดีนี้ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้และการที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 7 ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงในทะเบียนหนังสือรับรองการทำประโยชน์แทน จะแปลว่าเป็นการขอให้บังคับให้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลจะยกคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ดังกล่าวเสีย
คดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา และพิพากษาให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ย่อมไม่ถูกต้อง ต้องพิพากษาว่าสำหรับค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์