คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 61

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ออกโดยไม่ชอบ สิทธิในที่ดินของผู้รับโอนตกเป็นของเจ้าของเดิม
คดีก่อนศาลได้วินิจฉัยคดีถึงที่สุดว่า โจทก์ยังคงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ไม่ใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ฉะนั้นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทดังกล่าวเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 มีสิทธิครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกไว้ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 6 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ในทำนองเดียวกันจำเลยที่ 7 ผู้รับโอนสิทธิครอบครองจากจำเลยที่ 6 ในที่ดินพิพาทย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 6ซึ่งเป็นผู้โอน การได้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาฟังว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926ของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ ดังนี้ คดีนี้จำเลยที่ 7จะอ้างสิทธิใด ๆ ที่เกิดจากเอกสารที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่ คดีก่อนศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อนซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้ตามกฎหมาย ดังนี้โจทก์ชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิของโจทก์ในคดีก่อน โจทก์จะบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในคดีนี้ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้และการที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 7 ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์แทนจะแปลว่าเป็นการขอให้บังคับให้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็ไม่ได้เช่นกัน ชอบที่ศาลจะยกคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ดังกล่าวเสีย คดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและพิพากษาให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158 ย่อมไม่ถูกต้องศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยพิพากษาว่าสำหรับค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและการเพิกถอนโฉนดที่ดิน: ศาลยกฟ้องคดีซ้ำ, จำเลย 2 เพิกเฉยคำร้องเพิกถอนโฉนด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดกลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อีกแม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตามแต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน คดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61(2) การเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2เมื่อโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2ไม่ดำเนินการให้ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ & อำนาจฟ้องเพิกถอนโฉนด: ศาลฎีกาตัดสินคดีที่ดินพิพาท โดยพิจารณาประเด็นฟ้องซ้ำและความชอบด้วยกฎหมายในการเพิกถอนโฉนด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดิน เลขที่ 8430ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตามแต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน คดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัด ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61(2) การเพิกถอน โฉนดที่ดินพิพาทจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะ พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการให้ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: การฟ้องขอเพิกถอนโฉนดที่ดิน และการฟ้องจำเลยที่ไม่ดำเนินการเพิกถอน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตาม แต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน คดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัดตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61(2)การเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2ไม่ดำเนินการให้ ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ในการแก้ไขโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อน ไม่จำกัดอายุความ
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแก้ไขโฉนดที่ดินของโจทก์ ที่ได้ออกไปโดยคลาดเคลื่อนให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้โดยไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะต้องมีเจตนาและเปิดให้ใช้จริง สิทธิในการแก้ไขโฉนด
เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) โดย ป.บิดาโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ต่อมาทางราชการออกเดินสำรวจเพื่อออกโฉนดที่ดิน บิดาโจทก์นำเจ้าพนักงานรังวัดชี้แนวเขตออกโฉนดโดยกันที่ดินพิพาทด้านทิศเหนือไว้เป็นทางสาธารณประโยชน์เนื้อที่ 28ตารางวา และออกโฉนดเป็นโฉนดเลขที่ 643 และแม้จะมีข้อตกลงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่าง ป. ด.และ ล.เจ้าของที่ดินข้างเคียงกับที่ดินแปลงพิพาทเพื่อให้มีการอุทิศที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงระหว่างคนทั้งสามดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติได้ โดย ล.ไม่สามารถแบ่งที่ดินทางด้านทิศตะวันตกให้ ป.ได้ตามข้อตกลง และป.ก็ไม่ยกที่ดินพิพาทที่อยู่ทางด้านทิศเหนือให้เป็นทางเช่นกัน จึงไม่มีการเปิดใช้ที่ดินพิพาทเป็นทาง คงครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ตามเดิม เพียงแต่ที่ ป.ได้แจ้งต่อช่างรังวัดไว้โดยมิได้ไปแจ้งยกเลิกการแลกเปลี่ยนที่ดินกัน กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพราะมิได้มีเจตนาอุทิศมาตั้งแต่ต้น และมิได้เปิดที่ดินพิพาทให้ใช้เป็นทางสาธารณะให้ผู้คนสัญจรไปมา ฉะนั้น ที่ดินพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป.อยู่ตามเดิม
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแก้ไขโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนตาม ป.ที่ดินมาตรา 61ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โดยไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินต้องมีเหตุโฉนดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด หากเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่จะสั่งเพิกถอนแก้ไขหรือออกใบแทนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินหรือเพิกถอนแก้ไขเอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61ได้นั้นต้องเป็นกรณีที่เป็นการออกโฉนดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไข ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่2867โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ส. กับพวกรวม4คนยื่นคำคัดค้านศาลชั้นต้นจึงดำเนินคดีอย่างคดีอันมีข้อพิพาทและในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยมีใจความว่าค. กับพวกได้เข้าครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่2867เป็นการชั่วคราวและถือวิสาสะไม่ใช่เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของค. กับพวกผู้ครอบครองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้และเป็นผู้รับโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนพิพากษาให้ยกคำร้องขอดังนี้ผลแห่งคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และส. กับพวกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่งเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าวแล้วว่าโฉนดที่ดินออกโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่2867โดยการครอบครองดังนี้โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้มีสิทธิหรือประโยชน์ได้เสียในที่ดินโฉนดเลขที่2867และไม่อาจมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นแก่โจทก์เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ในที่ดินโฉนดเลขที่2867ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่81ตามฟ้องและโฉนดที่ดินเลขที่2867ซึ่งออกตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิที่ดินต้องเป็นกรณีที่ออกโฉนดคลาดเคลื่อน หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด การครอบครองไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
การที่จะสั่งเพิกถอน แก้ไข หรือออกใบแทนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หรือเพิกถอน แก้ไข เอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 ได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่เป็นการออกโฉนดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไข
ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา1382 ส.กับพวกรวม 4 คน ยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นจึงดำเนินคดีอย่างคดีอันมีข้อพิพาทและในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยมีใจความว่า ค.กับพวกได้เข้าครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 เป็นการชั่วคราวและถือวิสาสะ ไม่ใช่เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ค.กับพวกผู้ครอบครองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้และเป็นผู้รับโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน พิพากษาให้ยกคำร้องขอดังนี้ผลแห่งคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และ ส.กับพวก ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าวแล้วว่าโฉนดที่ดินออกโดยชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867โดยการครอบครอง ดังนี้โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้มีสิทธิหรือประโยชน์ได้เสียในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 และไม่อาจมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นแก่โจทก์เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 และ ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 81 ตามฟ้องและโฉนดที่ดินเลขที่ 2867 ซึ่งออกตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินต้องมีเหตุโฉนดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด และผู้ฟ้องต้องมีสิทธิในที่ดิน
การที่จะสั่งเพิกถอน แก้ไข หรือออกใบแทนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หรือเพิกถอน แก้ไข เอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่เป็นการออกโฉนดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไข ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ส. กับพวกรวม 4 คนยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นจึงดำเนินคดีอย่างคดีอันมีข้อพิพาทและในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยมีใจความว่า ค. กับพวกได้เข้าครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 เป็นการชั่วคราวและถือวิสาสะ ไม่ใช่เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ค. กับพวกผู้ครอบครองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้และเป็นผู้รับโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน พิพากษาให้ยกคำร้องขอดังนี้ผลแห่งคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และ ส. กับพวกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าวแล้วว่าโฉนดที่ดินออกโดยชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 โดยการครอบครอง ดังนี้โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้มีสิทธิหรือประโยชน์ได้เสียในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 และไม่อาจมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นแก่โจทก์เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 81 ตามฟ้องและโฉนดที่ดินเลขที่ 2867 ซึ่งออกตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอน น.ส.3 ก. และการจดทะเบียนโอนที่ดินหลังยึดทรัพย์ – สิทธิของผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด
แม้ขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) อ้างว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)สูญหาย เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ประกาศการขอรับใบแทนแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน และต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกใบแทนให้แก่ผู้ขอแล้วก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้สูญหายแต่อย่างใด กรณีต้องถือว่าการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ดังกล่าว ตาม ป.ที่ดินมาตรา 61
พฤติการณ์ของโจทก์ตั้งแต่โจทก์ทราบว่า ส.ทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ก็ฟ้องเพิกถอนสัญญาประนี-ประนอมยอมความและอายัดที่ดิน แต่เมื่อ ส.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยินยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ ต่อมา ส.ผิดนัด โจทก์ก็นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทและขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตลอดมา แม้ขณะที่โจทก์นำยึดที่ดินพิพาท หากจำเลยเห็นว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของส.แล้ว จำเลยชอบที่จะร้องขัดทรัพย์ แต่จำเลยก็มิได้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งประการใด จนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาลซึ่งโจทก์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด กรณีฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์รายนี้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิเป็นของตนได้ก่อน และจำเลยซึ่งจดทะเบียนการโอนภายหลังโจทก์นำยึดที่ดินพิพาทแล้วจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินพิพาทและเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทระหว่าง ส.กับจำเลยได้
of 9