คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 61

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7597/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท โดยไม่ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดิน ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
จำเลยที่1จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2อันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็คือจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมส่วนเจ้าพนักงานที่ดินกระทำการไปตามอำนาจหน้าที่นอกจากนี้การที่ป. ที่ดินมาตรา61และมาตรา71บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ได้โดยมิต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเข้ามาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลเพิกถอนโฉนดคืนสิทธิผู้ครอบครองเดิม
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องฟ้องโจทก์ขาดสิทธิเอาคืนซึ่งการครอบครองไว้เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375อันเป็นบทบัญญัติในเรื่องระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองแม้โจทก์จะอ้างว่ากรณีเป็นเรื่องการเรียกทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งสิทธิครอบครองซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4ลักษณะ3และประเด็นดังกล่าวนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้กำหนดประเด็นไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5) เมื่อที่ดินของจำเลยที่6มีการออกโฉนดซึ่งที่ดินทั้งแปลงแล้วน.ส.3ของที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นอันยกเลิกไปโฉนดที่ดินเลขที่13130ซึ่งจำเลยที่6รังวัดออกมาจากที่ดินน.ส.3ดังกล่าวนั้นอีกจึงเป็นโฉนดที่ดินที่ออกมาโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสามเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาการที่จำเลยที่6ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่13130ทับที่ดินน.ส.3ของโจทก์ทั้งสามและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์สืบต่อกันมาจนถึงจำเลยที่4โดยมิได้เข้าครอบครองที่พิพาทกรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะเกิน1ปีนับแต่วันที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินต่อเนื่อง + โฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย = ผู้ครอบครองมีสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามน.ส.3โจทก์จึงมีแต่เพียงสิทธิครอบครองแม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นการเรียกทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336แต่ก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งสิทธิครอบครองต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4ลักษณะ3ว่าด้วยการครอบครองต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในหนึ่งปีตามมาตรา1375 ที่ดินน.ส.3ของจำเลยมีการออกโฉนดที่ดินทั้งแปลงแล้วน.ส.3ย่อมเป็นอันยกเลิกโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยรังวัดออกมาจากที่ดินน.ส.3ดังกล่าวจึงเป็นโฉนดที่ดินที่ออกมาโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61 โจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินการที่จำเลยขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินน.ส.3ของโจทก์และมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์สืบต่อกันมาโดยมิได้เข้าครอบครองที่ดินจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะเกิน1ปีนับแต่วันที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมรดกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิของทายาทในการเรียกคืน
มารดาโจทก์มอบที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมรดกของบิดาโจทก์ให้จำเลยครอบครองทำกินต่างดอกเบี้ย การที่จำเลยนำที่ดินดังกล่าวไปขอออก น.ส.3 ก. ใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของนั้น ฟังได้เพียงว่าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของบิดาโจทก์เท่านั้นจำเลยจึงไม่ได้สิทธิครอบครอง การออก น.ส.3 ก. ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะที่ดินพิพาทยังเป็นมรดกของบิดาโจทก์ตกได้แก่ทายาท โจทก์ในฐานะบุตรที่บิดาโจทก์รับรองแล้วจึงเป็นทายาทมีสิทธิฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลย แม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งเพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ กรณีทับที่สาธารณประโยชน์ และการฟ้องร้อง
ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่อในคำสั่งของจังหวัดให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ โดยอ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นคำสั่งของจังหวัดที่กระทำโดยผู้ว่าราชการ-จังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 (75 เดิม) โจทก์ฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นนิติบุคคลและการกระทำของผู้แทน: กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่อในคำสั่งของจังหวัดให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ โดยอ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นคำสั่งของจังหวัดที่กระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70(75 เดิม) โจทก์ฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าฯ เพิกถอน น.ส.3 กรณีอาณาเขตคลาดเคลื่อนกระทบสาธารณประโยชน์ ชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 บัญญัติว่า เมื่อปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้ กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติไว้ในลักษณะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจที่จะพิจารณาว่า กรณีใดควรจะสั่งเพิกถอนหรือแก้ไข การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของโจทก์ทั้งฉบับเนื่องจากระบุอาณาเขตด้านทิศตะวันตก คลาดเคลื่อน ทั้งที่ตามความเป็นจริงจดที่สาธารณประโยชน์อันจะมีผลให้ที่สาธารณประโยชน์ดังกล่าวหายไป คำสั่งให้เพิกถอนดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าฯ เพิกถอน น.ส.3 คลาดเคลื่อน: ปกป้องที่สาธารณะประโยชน์
ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 บัญญัติว่า เมื่อปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้ กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติไว้ในลักษณะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจที่จะพิจารณาว่ากรณีใดควรจะสั่งเพิกถอนหรือแก้ไข การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของโจทก์ทั้งฉบับเนื่องจากระบุอาณาเขตด้านทิศตะวันตก คลาดเคลื่อน ทั้งที่ตามความเป็นจริงจดที่สาธารณประโยชน์ อันจะมีผลให้ที่สาธารณประโยชน์ดังกล่าวหายไป คำสั่งให้เพิกถอนดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือและการโต้แย้งสิทธิครอบครอง
ย.และส. รวมทั้งจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์มาก่อน จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของย.และส.ซึ่งได้บุกเบิกมาย.และส. ตายเมื่อ พ.ศ. 2527ก่อนตายได้ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยครอบครองตลอดมาและได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยชอบ จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า ย.และส. หรือจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท จึงอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 ไม่ได้ ดังนั้นศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองว่า จำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์หาได้ไม่ เพราะว่าเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ และไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติ: การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกทับที่ดินสาธารณประโยชน์
เดิมที่พิพาทเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ต่อมานายอำเภอท้องที่ ได้ประกาศหวงห้ามที่พิพาทไว้เพื่อให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ และอาบน้ำร้อน ซึ่งที่พิพาทมิใช่นายอำเภอท้องที่ประกาศหวงห้ามแล้วไม่มีประชาชนใช้ประโยชน์อะไรเลย กลับปรากฏว่าเป็นที่ที่ประชาชนใช้พักผ่อนหย่อนใจ ใช้อาบน้ำร้อน ทั้งมีท่อซีเมนต์ฝังลงในดิน เป็นบ่อมีศาลาสำหรับพักร้อนตั้งแต่นั้นมา ดังนั้นที่พิพาทจึงเป็นที่ รกร้างว่างเปล่ามีสภาพเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์และเป็นที่ดินที่พลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(1)(2) การที่นายอำเภอท้องที่ประกาศหวงห้ามที่พิพาทไว้จะดำเนินการถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นที่สาธารณสมบัติของ แผ่นดินพ.ศ. 2478 โดยชอบหรือไม่ หาเป็นข้อสาระสำคัญแต่ประการใด ในเมื่อที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว และแม้ต่อมาจะมีผู้ครอบครองที่พิพาทจนกระทั่งทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ และโจทก์ได้รับสิทธิครอบครองมาโดยการซื้อจากการขาย ทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย เฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 โจทก์จึงไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่พิพาท รวมทั้งไม่อาจออกเอกสารสิทธิใด ๆ ในที่พิพาทได้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทที่โจทก์ได้รับโอนมาจึงเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลย มี อำนาจที่จะออกคำสั่งเพิกถอนเสียได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงตามคำแถลงของโจทก์ และเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็น ที่พลเมืองใช้ร่วมกันหาเป็นการนอกฟ้องไม่.
of 9