พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องก่อนการเพิกถอนโฉนด: จำเลยยังมิได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ ต่อมามีผู้คัดค้านว่าที่ดินที่ออกโฉนดให้โจทก์นั้นเป็นที่สาธารณของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันกรมที่ดินจำเลยจึงได้เรียกให้โจทก์ส่งโฉนดที่ดินดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพื่อส่งให้แก่จำเลย และให้โอกาสโจทก์ยื่นคำคัดค้านภายใน 30 วันโจทก์ยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวมารดาโจทก์ครอบครองและยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ไม่ใช่ที่สาธารณประโยชน์ แต่โจทก์ยังไม่ได้ส่งโฉนดให้จำเลยและจำเลยก็ยังมิได้เพิกถอนโฉนดที่ดินของโจทก์ ดังนี้ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาสั่งให้จำเลยระงับการเพิกถอนโฉนดของโจทก์ไม่ได้เพราะยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินทับซ้อน และความรับผิดของกรมที่ดินเมื่อผู้ซื้อโอนโดยสุจริต
เมื่อเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินได้ตรวจสอบเขตตามที่เจ้าของที่ดินหรือตัวแทนนำชี้ และการออกโฉนดก็ได้ปฏิบัติตามระเบียบ เช่นนี้ ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสมควรแล้ว หากเขตเนื้อที่ในโฉนดไม่ถูกต้อง จะถือว่าเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินย่อมไม่ได้ ผู้ซื้อที่ดินมีโฉนดมาโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ไม่อาจได้กรรมสิทธิ์เพราะที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้กรมที่ดินต้องรับผิด
อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ไม่ถูกต้องได้ ไม่ว่าเป็นโฉนดที่ออกมาก่อนหรือภายหลังวันใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ไม่ถูกต้องได้ ไม่ว่าเป็นโฉนดที่ออกมาก่อนหรือภายหลังวันใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินทับซ้อน แม้จะออกก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน และการไม่มีหน้าที่รับผิดของกรมที่ดิน
เมื่อเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินได้ตรวจสอบเขตตามที่เจ้าของที่ดินหรือตัวแทนนำชี้และการออกโฉนดก็ได้ปฏิบัติตามระเบียบ เช่นนี้ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสมควรแล้วหากเขตเนื้อที่ในโฉนดไม่ถูกต้องจะถือว่าเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินย่อมไม่ได้ผู้ซื้อที่ดินมีโฉนดมาโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วไม่อาจได้กรรมสิทธิ์เพราะที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้กรมที่ดินต้องรับผิด
อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ไม่ถูกต้องได้ ไม่ว่าเป็นโฉนดที่ออกมาก่อนหรือภายหลังวันใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ไม่ถูกต้องได้ ไม่ว่าเป็นโฉนดที่ออกมาก่อนหรือภายหลังวันใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอธิบดีกรมที่ดินตามมาตรา 61 เป็นดุลพินิจ ไม่เป็นหน้าที่ตามกฎหมาย ผู้เสียหายต้องฟ้องร้องเอง
ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่อธิบดีกรมที่ดินโดยเฉพาะ เมื่อความปรากฎว่ามีการออกโฉนดหรือจดทะเบียนสิทธิผิดพลาดคลาดเคลื่อน เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายและความจริงโดยไม่ต้องให้ผู้เสียหายเสียเวลาไปฟ้องร้องต่อศาล การใช้อำนาจของอธิบดีตามมาตรานี้ย่อมอยู่ในดุลพินิจของอธิบดีว่าสมควรจะใช้หรือไม่ ไม่ใช่เป็นการกำหนดหน้าที่ให้อธิบดีจำต้องกระทำ เมื่ออธิบดีไม่ใช้อำนาจดังกล่าว จึงไม่เป็นผิดต่อกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการสำรวจที่ดินขัดรัฐธรรมนูญ: การวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิในที่ดินเป็นอำนาจศาลแต่เพียงผู้เดียว
การที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน พ.ศ. 2496 มาตรา 3, 4, 5, 7 ให้ก่อตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีอำนาจทำการสำรวจและสั่งยกเลิกการออกโฉนดที่ดินซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าได้กระทำไปโดยมิชอบด้วยความเป็นธรรมแล้วสั่งให้มีการออกโฉนดที่ดินใหม่ได้ตามความเป็นธรรม และให้ถือว่าคำสั่งคณะกรรมการเป็นเด็ดขาด จะนำไปฟ้องคดีเพื่อแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นมิได้นั้น เป็นการให้คณะกรรมการมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นกรณีพิพาทระหว่างบุคคล ลบล้างกรรมสิทธิ์ของบุคคลที่มีอยู่แล้ว และก่อตั้งกรรมสิทธิ์ขึ้นใหม่ มีผลเท่ากับตั้งคณะบุคคลอื่นที่มิใช่ศษลให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีแยกไปจากอำนาจของศาลโดยชัดแจ้ง จึงเป็นการแย้งและขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติว่า การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ
ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ซึ่งให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจเรียกโฉนดที่ดินหรือเอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนที่ดินมาแก้ไขให้ถูกต้องหรือเพิกถอนเสียได้นั้นเป็นเพียงอำนาจบริหารเท่านั้น อธิบดีกรมที่ดินจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่คู่กรณีโต้แย้งสิทธิกันหาได้ไม่
ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ซึ่งให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจเรียกโฉนดที่ดินหรือเอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนที่ดินมาแก้ไขให้ถูกต้องหรือเพิกถอนเสียได้นั้นเป็นเพียงอำนาจบริหารเท่านั้น อธิบดีกรมที่ดินจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่คู่กรณีโต้แย้งสิทธิกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแก้แผนที่โฉนดหลังคำพิพากษาศาลฎีกา: ผูกพันคู่ความ, ถอนเจตนาไม่ได้, ชี้ขาดเด็ดขาด
เมื่อมีคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับเขตที่ดินของโจทก์จำเลยและคู่ความตกลงกันให้แก้แผนที่หลังโฉนดศาลได้จดข้อตกลงไว้ในรายงานพิจารณา และแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว โจทก์จะกลับมาขอถอนการแสดงเจตนานั้นโดยอ้างว่าโจทก์เข้าใจผิด หาได้ไม่ ไม่มีเหตุผลพอให้ถือได้ว่า เข้าใจผิด เพราะเป็นข้อความชัดแจ้งและเป็นการยอมให้แก้ไขแผนที่หลังโฉนดให้ตรงกับเขตที่ดินที่ศาลฎีกาได้ชี้ขาดในคดีนั้นนั่นเอง
โจทก์ขอมาในฎีกาให้ศาลฎีกาอธิบายเขตที่ดินอีก เมื่อปรากฎว่าศาลฎีกาได้กล่าวในคำพิพากษาฎีกาฉบับก่อนชัดแจ้งอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องอธิบายอะไรอีก
โจทก์ขอมาในฎีกาให้ศาลฎีกาอธิบายเขตที่ดินอีก เมื่อปรากฎว่าศาลฎีกาได้กล่าวในคำพิพากษาฎีกาฉบับก่อนชัดแจ้งอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องอธิบายอะไรอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงแก้ไขแผนที่โฉนดหลังคำพิพากษาฎีกาผูกพันคู่ความ การขอถอนเจตนาภายหลังจึงไม่สมเหตุผล
เมื่อมีคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับเขตที่ดินของโจทก์จำเลยและคู่ความตกลงกันให้แก้แผนที่หลังโฉนด ศาลได้จดข้อตกลงไว้ในรายงานพิจารณา และแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินแล้วโจทก์จะกลับมาขอถอนการแสดงเจตนานั้นโดยอ้างว่าโจทก์เข้าใจผิด หาได้ไม่ ไม่มีเหตุผลพอให้ถือได้ว่าเข้าใจผิด เพราะเป็นข้อความชัดแจ้งและเป็นการยอมให้แก้ไขแผนที่หลังโฉนดให้ตรงกับเขตที่ดินที่ศาลฎีกาได้ชี้ขาดในคดีนั้นนั่นเอง
โจทก์ขอมาในฎีกาให้ศาลฎีกาอธิบายเขตที่ดินอีก เมื่อปรากฏว่าศาลฎีกาได้กล่าวในคำพิพากษาฎีกาฉบับก่อนชัดแจ้งอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องอธิบายอะไรอีก
โจทก์ขอมาในฎีกาให้ศาลฎีกาอธิบายเขตที่ดินอีก เมื่อปรากฏว่าศาลฎีกาได้กล่าวในคำพิพากษาฎีกาฉบับก่อนชัดแจ้งอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องอธิบายอะไรอีก