พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีก่อนยังไม่สิ้นสุด แม้มีการอุทธรณ์ภายในกำหนด
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้มาแล้ว โดยในคดีก่อนศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัด หลังจากนั้นโจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลในคดีก่อน และต่อมาก็ได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ ดังนี้ แม้คดีที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษา และคดีถึงที่สุดไปแล้ว แต่เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้คดีก่อนยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด กรณีจึงต้องถือว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่นั้นคดีก่อนของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ละเมิดสิทธิบัตร: การกระทำต่อเนื่องไม่ขาดตอน & ความรับผิดกรรมการ
คดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นอย่างเดียวกันคือจำเลยได้ร่วมกันผลิตและขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งม่ายเหล็กบังตาอันเป็นการทำเทียมหรือเลียนแบบละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์หรือไม่แม้คดีนี้โจทก์จะมีคำขอเพิ่มเติมโดยเรียกค่าเสียหายมาด้วยแต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกันจำเลยผลิตและขายม่านเหล็กบังตาอันเป็นการประกอบธุรกิจในทางการค้าของจำเลยอยู่ก่อนเกิดเหตุและตลอดมาการที่จำเลยต้องหยุดการผลิตเพราะถูกโจทก์แจ้งความกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดทางอาญาและเจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดเอาเครื่องจักรไปหลังจากนั้นเมื่อเจ้าพนักบานตำรวจเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดและคืนเครื่องจักรที่ยึดจำเลยก็ใช้เครื่องจักรผลิตม่านเหล็กบังตาปกติต่อมาดังนี้ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการกระทำต่อเนื่องกันจะถือว่าขาดตอนแล้วและเริ่มการกระทำใหม่หาได้ไม่จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)เมื่อฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนก็ย่อมมีผลถึงโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ให้ใช้สิทธิบัตรในการผลิตสินค้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน - การฟ้องขอชำระหนี้จากกองมรดกซ้ำกับคดีเดิมที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายให้ชำระหนี้ให้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์โดยจำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ทำหนังสือรับสภาพเจ้าหนี้ให้โจทก์ไว้เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายชำระหนี้ให้แก่โจทก์การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายกับจำเลยที่4ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายรับผิดชำระหนี้ที่ผู้ตายนำไม้รายเดียวกันในคดีก่อนไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์โดยอ้างว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนเงินมากกว่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนโจทก์จึงนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องคดีนี้นั้นเป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกับการฟ้องคดีก่อนแต่กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแต่เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา173วรรค(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาศาลฎีกาต่อคู่ความและบุคคลภายนอก กรณีคดีมีมูลคดีเดียวกัน
คดีนี้เกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีมูลคดีอย่างเดียวกัน ที่ดินพิพาทเป็นแปลงเดียวกัน และคู่ความทั้งหมดยกเว้นโจทก์ที่ 2 เป็นรายเดียวกัน ศาลฎีกาได้พิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว โดยพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวจึงต้องถูกผูกพันด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2 คดีนี้ถึงแม้คำพิพากษาจะไม่ผูกพันเพราะเป็นบุคคลภายนอก แต่การที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งที่ดินพิพาทเป็นคุณแก่โจทก์ และโจทก์ที่ 2 ก็ไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าคำพิพากษาศาลฎีกาจึงใช้ยันแก่โจทก์ที่ 2ได้ ตามมาตรา 145 วรรคสอง (2) เมื่อคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันโจทก์ที่ 1 และใช้ยันโจทก์ที่ 2 ได้เช่นนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมไม่สามารถอ้างสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาทได้ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3291/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การจำหน่ายคดีเดิมไม่อุปสรรคฟ้องใหม่ แต่ฟ้องแย้งที่รับพิจารณาแล้วกลายเป็นฟ้องซ้อน
ศาลแรงงานกลางได้สั่งจำหน่ายคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์จึงไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอีกต่อไป โจทก์ย่อมยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นคดีใหม่ต่อศาลแรงงานกลางในวันเดียวกันหลังจากศาลแรงงานกลางสั่งจำหน่ายคดีแล้วได้ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1) ส่วนที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลแรงงานกลางในวันต่อมานั้นเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่จำหน่ายคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นคดีคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์ การยื่นอุทธรณ์และคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ถือว่าคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาอันจะเป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนอย่างไรก็ตาม ปรากฎว่าอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนของฟ้องแย้งนั้น ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา จึงทำให้ฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามที่จะรับไว้พิจารณา ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142,247 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ดังนี้ อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนของฟ้องแย้งจึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3291/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: ผลของการจำหน่ายคดีเดิมและการฟ้องแย้ง
ศาลแรงงานกลางได้สั่งจำหน่ายคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์จึงไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอีกต่อไป โจทก์ย่อมยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นคดีใหม่ต่อศาลแรงงานกลางในวันเดียวกันหลังจากศาลแรงงานกลางสั่งจำหน่ายคดีแล้วได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1) ส่วนที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลแรงงานกลางในวันต่อมานั้นเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่จำหน่ายคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นคดีคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์ การยื่นอุทธรณ์และคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ถือว่าคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาอันจะเป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนอย่างไรก็ตาม ปรากฎว่าอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนของฟ้องแย้งนั้น ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา จึงทำให้ฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามที่จะรับไว้พิจารณา ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142, 247 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ดังนี้ อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนของฟ้องแย้งจึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: การตรวจค้น, การรับของกลางหลายครั้ง, และการบันทึกการจับกุม/ตรวจค้น
ร.ต.อ.อุทัยได้ทำการตรวจค้นบริเวณด้านหลังอู่ที่พบชิ้นส่วนเครื่องรับวิทยุของกลางภายหลังวันที่จำเลยที่ 1 ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวนแล้ว จึงมิใช่กรณีของการค้นที่อยู่ของผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 102 วรรคสอง แต่เป็นการค้นตามมาตรา 102 วรรคแรก และ ร.ต.อ.อุทัยก็ได้แสดงหมายค้นและค้นต่อหน้าผู้ครอบครองดูแลอู่ในขณะนั้นและได้ทำบันทึกการตรวจค้นโดยมีรายละเอียดสิ่งของที่ค้นพบรวมถึงกล่องวิทยุที่ถูกเผาให้ผู้ครอบครองดูแลอู่ลงชื่อไว้แล้ว การตรวจค้นของ ร.ต.อ.อุทัยจึงชอบด้วยมาตรา 102 จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 รับเอาทรัพย์ของกลางทั้งหมดไว้ในครอบครอง และจากพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1กับพวกได้ร่วมกันแยกเอาชิ้นส่วนออกและพ่นสีรถใหม่ รวมทั้งทำลายหลักฐานบางส่วนโดยการเผา แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กับพวกทราบดีแล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานรับของโจร ความผิดฐานรับของโจรนั้น อาจเกิดขึ้นหลายครั้งในวันเดียวกันได้ หากจำเลยรับทรัพย์ของกลางไว้หลายคราวและต่างเวลากัน และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ยอมรับว่าจำเลยที่ 1ได้รับเอาทรัพย์ของกลางตามที่โจทก์ฟ้องทุกคดีในคราวเดียวกันอันจะเป็นความผิดกรรมเดียวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำกับคดีอื่นที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยแล้ว กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำบันทึกการจับกุมในสถานที่ที่จับกุมหรือตรวจค้น อีกทั้งได้ความว่าจำเลยที่ 1 กับพวกถูกจับกุมในสถานที่ต่างกันในเวลาไล่เลี่ยกัน การทำบันทึกการจับกุมที่สถานีตำรวจจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมแล้ว และเนื่องจากเป็นการบันทึกการจับกุม มิใช่บันทึกการตรวจค้น จึงไม่จำต้องบันทึกของกลางที่ตรวจพบไว้โดยละเอียด เพียงแต่บันทึกของกลางที่ตรวจพบหรือทำบัญชีของกลางไว้ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 103 พนักงานสอบสวนได้นำภาพถ่ายวัตถุของกลางให้จำเลยที่ 1ดูแล้ว ทั้งจำเลยที่ 1 มิได้ร้องขอดูวัตถุของกลางโดยตรงจึงนับว่าเพียงพอและไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 242แต่อย่างใด และเนื่องจากวัตถุของกลางเป็นรถยนต์และชิ้นส่วนของรถยนต์ ย่อมไม่สะดวกที่จะบรรจุหีบห่อและตีตราไว้ แต่การที่เจ้าพนักงานตำรวจได้บันทึกภาพวัตถุของกลางดังกล่าวไว้นั้นถือได้ว่าได้ทำเครื่องหมายไว้เป็นสำคัญแก่วัตถุของกลางนั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 101 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมฉ้อโกง ชดใช้เงินแล้วลดโทษได้
โจทก์ร่วมยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ฐานกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) และแม้การออกเช็คอันเป็นมูลที่โจทก์ร่วมนำมาฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวกับการใช้โฉนดที่ดินปลอมอันเป็นมูลที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยที่ 2ในคดีนี้ จะเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อฉ้อโกงโจทก์ร่วมเช่นเดียวกันแต่คดีดังกล่าวโจทก์ร่วมขอถอนฟ้องและศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตไปแล้วถือไม่ได้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) และการที่โจทก์ร่วมถอนฟ้องคดีดังกล่าว ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องยื่นภายในกำหนด แม้มีการฟ้องคดีล้มละลายคู่ขนานก็ไม่เป็นเหตุยกเว้น
การที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายซึ่งศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว พร้อมกับดำเนินคดีล้มละลายกับจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่ง ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อม เพราะการขอรับชำระหนี้เป็นคนละเรื่องกับการดำเนินคดีล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา แม้จำหน่ายคดีจากสารบบความแล้ว หากจำเลยยังอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งจำหน่ายคดีอยู่
คำว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง นั้น หมายความว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความแล้ว แต่จำเลยยังอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวอยู่ ก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาเช่นเดียวกัน โจทก์จึงไม่อาจนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องอีกได้เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์นำคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนมาฟ้องจำเลยคนเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากวันยื่นคำฟ้องนั้นแม้คดีก่อนต่อมาจะถึงที่สุดก็ตาม ส่วนการจำหน่ายคดีตามมาตรา 201 วรรคแรก ที่ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่นั้น เป็นเพียงไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ ส่วนโจทก์จะยื่นคำฟ้องใหม่ได้หรือไม่ ต้องบังคับตามมาตรา 173 ด้วย
โจทก์นำคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนมาฟ้องจำเลยคนเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากวันยื่นคำฟ้องนั้นแม้คดีก่อนต่อมาจะถึงที่สุดก็ตาม ส่วนการจำหน่ายคดีตามมาตรา 201 วรรคแรก ที่ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่นั้น เป็นเพียงไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ ส่วนโจทก์จะยื่นคำฟ้องใหม่ได้หรือไม่ ต้องบังคับตามมาตรา 173 ด้วย