พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5383/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1) ต้องกระทำในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา หากศาลยกคำร้องไปแล้ว ไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความได้
ตามคำร้องเป็นเรื่องผู้ร้องร่วมทั้งสองประสงค์จะเข้ามาเป็นคู่ความ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งให้บุคคลภายนอกร้องขอเข้า เป็นคู่ความได้โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาเมื่อปรากฏว่าในวันที่ผู้ร้องร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความนั้น ศาลชั้นต้นได้สั่งยกคำร้องของผู้ร้องไปแล้วจึงไม่มีคดี ของผู้ร้องที่ผู้ร้องร่วมทั้งสองจะเข้ามาเป็นคู่ความได้อยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นในขณะที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอ ดังนั้นศาลจึงชอบที่จะสั่งไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องร่วมทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5383/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1) เมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับคำร้อง
ตามคำร้องเป็นเรื่องผู้ร้องร่วมทั้งสองประสงค์จะเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้บุคคลภายนอกร้องขอเข้าเป็นคู่ความได้โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา เมื่อปรากฏว่าในวันที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความนั้นศาลชั้นต้นได้สั่งยกคำร้องของผู้ร้องไปแล้ว จึงไม่มีคดีของผู้ร้องที่ผู้ร้องร่วมทั้งสองจะเข้ามาเป็นคู่ความได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นในขณะที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอ ดังนั้นศาลจึงชอบที่จะสั่งไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องร่วมทั้งสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: เมื่อฟ้องเดิมถูกยก ฟ้องแย้งก็ตก และการฟ้องใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้อน
เมื่อฟ้องเดิมของโจทก์ถูกยกฟ้องเสียแล้ว ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไปด้วย จึงไม่มีคำฟ้องใดที่ศาลอีก จำเลยอุทธรณ์เฉพาะฟ้องแย้งไม่ได้ เพราะฟ้องโจทก์ถูกยกเสียแล้ว ศาลก็ต้องยกอุทธรณ์ของจำเลยเสีย ดังนี้ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: เมื่อฟ้องเดิมตกไปแล้ว การฟ้องใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้จะเกี่ยวกับประเด็นเดียวกัน
เมื่อฟ้องเดิมของโจทก์ถูกยกฟ้องเสียแล้ว ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไปด้วยจึงไม่มีคำฟ้องใดที่ศาลอีก จำเลยอุทธรณ์เฉพาะฟ้องแย้งไม่ได้ เพราะฟ้องโจทก์ถูกยกเสียแล้วศาลก็ต้องยกอุทธรณ์ของจำเลยเสีย ดังนี้ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของเช็คที่แท้จริง: แม้ชื่อผู้รับเงินในเช็คเป็นของโจทก์ แต่หากผู้ร้องสอดเป็นผู้ลงทุนและรับเงินจริง การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าการที่จำเลยนำเงินตามเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของ ส. เพราะทำตามคำสั่งของ ส.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิด ผู้ร้องสอดร้องสอดว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดดังนั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่า ใครเป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คพิพาท ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้ว่าโจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นผู้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวกับ ก.ก็ตาม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องสอดยืมชื่อโจทก์มาใช้ในการยื่นซองประกวดราคาและทำสัญญาจ้างเหมาเท่านั้น ส่วนการลงทุนก่อสร้างอาคารเรียน ผู้ร้องสอดแต่ผู้เดียวเป็นผู้ลงทุน ผู้ร้องสอดมีหลักฐานการรับเงินค่าตอบแทนของโจทก์หลักฐานการจ่ายค่าจ้างให้แก่ภริยาจำเลยในการรับจ้างก่อสร้าง และยังมีพยานบุคคลมาสืบว่าได้รับจ้างผู้ร้องสอดก่อสร้างอาคารเรียน เมื่อฟังประกอบกับการที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ร้องสอดเป็นผู้รับเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ก.ทั้งหมดแทน พฤติการณ์ดังกล่าวส่อแสดงว่าโจทก์เป็นเพียงตัวแทนเชิดของผู้ร้องสอด ในการรับจ้างก่อสร้างอาคารเรียนกับ ก. ดังนั้นแม้ ก.จะจ่ายค่ารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนเป็นเช็คระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน และขีดคร่อมระบุให้เข้าบัญชีของผู้รับเท่านั้นก็ตาม เช็คดังกล่าวก็เป็นของผู้ร้องสอด จำเลยนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของเงินตามเช็คที่แท้จริงและโจทก์ตกลงให้กระทำได้นั้น การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
แม้ว่าโจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นผู้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวกับ ก.ก็ตาม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องสอดยืมชื่อโจทก์มาใช้ในการยื่นซองประกวดราคาและทำสัญญาจ้างเหมาเท่านั้น ส่วนการลงทุนก่อสร้างอาคารเรียน ผู้ร้องสอดแต่ผู้เดียวเป็นผู้ลงทุน ผู้ร้องสอดมีหลักฐานการรับเงินค่าตอบแทนของโจทก์หลักฐานการจ่ายค่าจ้างให้แก่ภริยาจำเลยในการรับจ้างก่อสร้าง และยังมีพยานบุคคลมาสืบว่าได้รับจ้างผู้ร้องสอดก่อสร้างอาคารเรียน เมื่อฟังประกอบกับการที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ร้องสอดเป็นผู้รับเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ก.ทั้งหมดแทน พฤติการณ์ดังกล่าวส่อแสดงว่าโจทก์เป็นเพียงตัวแทนเชิดของผู้ร้องสอด ในการรับจ้างก่อสร้างอาคารเรียนกับ ก. ดังนั้นแม้ ก.จะจ่ายค่ารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนเป็นเช็คระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน และขีดคร่อมระบุให้เข้าบัญชีของผู้รับเท่านั้นก็ตาม เช็คดังกล่าวก็เป็นของผู้ร้องสอด จำเลยนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของเงินตามเช็คที่แท้จริงและโจทก์ตกลงให้กระทำได้นั้น การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของเช็คพิพาท: ศาลวินิจฉัยตามความเป็นจริง แม้ชื่อผู้รับเงินในเช็คเป็นของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าการที่จำเลยนำเงินตามเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของ ส. เพราะทำตามคำสั่งของ ส. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิด ผู้ร้องสอดร้องสอดว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด ดังนั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่า ใครเป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คพิพาท ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ว่าโจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นผู้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวกับ ก. ก็ตาม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องสอดยืมชื่อโจทก์มาใช้ในการยื่นซองประกวดราคาและทำสัญญาจ้างเหมาเท่านั้น ส่วนการลงทุนก่อสร้างอาคารเรียน ผู้ร้องสอดแต่ผู้เดียวเป็นผู้ลงทุนผู้ร้องสอดมีหลักฐานการรับเงินค่าตอบแทนของโจทก์หลักฐานการจ่ายค่าจ้างให้แก่ภริยาจำเลยในการรับจ้างก่อสร้าง และยังมีพยานบุคคลมาสืบว่าได้รับจ้างผู้ร้องสอดก่อสร้างอาคารเรียน เมื่อฟังประกอบกับการที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ร้องสอดเป็นผู้รับเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ก. ทั้งหมดแทน พฤติการณ์ดังกล่าวส่อแสดงว่าโจทก์เป็นเพียงตัวแทนเชิดของผู้ร้องสอด ในการรับจ้างก่อสร้างอาคารเรียนกับ ก. ดังนั้นแม้ ก. จะจ่ายค่ารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนเป็นเช็คระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน และขีดคร่อมระบุให้เข้าบัญชีของผู้รับเท่านั้นก็ตาม เช็คดังกล่าวก็เป็นของผู้ร้องสอด จำเลยนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของเงินตามเช็คที่แท้จริงและโจทก์ตกลงให้กระทำได้นั้น การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแพ่งและอาญา: ห้ามฟ้องซ้ำเมื่อคดีอาญายังไม่สิ้นสุดและมีคำขอทางแพ่ง
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐาน ยักยอกและมีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้ เงินแก่ผู้เสียหาย และโจทก์ซึ่ง เป็นผู้เสียหายในคดีนั้นได้ เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการด้วย จึงมีความหมายโดย นิตินัยว่าโจทก์ได้ ฟ้องจำเลยในคดีอาญาและมีคำขอให้บังคับจำเลยคืนหรือใช้ เงินที่ยักยอกด้วย แล้ว ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีดังกล่าวและคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเพื่อเรียกเงินจำนวนเดียว กันนี้คืนจากจำเลยอีก จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง(1) ประกอบด้วยพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: คำขอคืนเงินในคดีอาญาแล้ว ห้ามฟ้องเรียกเงินเดิมอีก
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกและมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย และโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีนั้นได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการด้วย จึงมีความหมายโดยนิตินัยว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีอาญาและมีคำขอให้บังคับจำเลยคืนหรือใช้เงินที่ยักยอกด้วยแล้ว ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีดังกล่าวและคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเพื่อเรียกเงินจำนวนเดียวกันนี้คืนจากจำเลยอีก จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสิ้นสุดเมื่อส่งมอบสินค้าให้ท่าเรือปลายทาง และความรับผิดชอบของท่าเรือในการเก็บรักษา
สินค้าตาม ฟ้องมิได้ขาดหายไปในระหว่างการขนส่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย แต่ หายไปในระหว่างที่เก็บอยู่ในโรงพักสินค้าของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย หลังจากที่ผู้รับตราส่งได้ชำระค่าระวางและรับใบสั่งปล่อยสินค้าจากจำเลย อันถือ ได้ ว่าจำเลยได้ จัดส่งสินค้าถึง การท่าเรือปลายทาง และ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ รับมอบสินค้าไว้จากจำเลยครบถ้วนตาม ระเบียบและการปฏิบัติในการรับสินค้าแล้ว หน้าที่การขนส่งสินค้าของจำเลยย่อมสิ้นสุดลง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อ โจทก์ โจทก์ฟ้องว่าสินค้าได้ ขาดหายไปในระหว่างการขนส่งที่จำเลยเป็นผู้รับขนจำเลยให้การว่าสินค้ามิได้ขาดหายไปในระหว่างขนส่งของจำเลย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า "จำเลยเป็นผู้ทำการขนส่งสินค้าร่วมในทอดสุดท้ายจากประเทศ สิงคโปร์ มาประเทศ ไทย ซึ่ง จะต้อง รับผิดต่อ โจทก์ตาม ฟ้องเพียงใดหรือไม่"ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าสินค้าตาม ฟ้องได้ ขาดหายไปในระหว่างเก็บอยู่ในระหว่างเก็บอยู่ในโรงพักสินค้าของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย นั้น จึงเป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าสินค้ามิได้ขาดหายในระหว่างขนส่งตาม ข้อต่อสู้ของจำเลยนั้นเองหาเป็นการนอกคำให้การและนอกประเด็นไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไฟฟ้านครหลวงฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่คำนวณผิดพลาด อายุความ 10 ปี ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนเป็นสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิใช่พ่อค้าตามมาตรา 165(1)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่พนักงานของโจทก์จดหน่วยไฟฟ้าจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าโดยไม่ได้คูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้ง ทำให้จำเลยชำระค่าไฟฟ้าให้โจทก์ขาดไปนั้น เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 โจทก์คำนวณหน่วยกระแสไฟฟ้าที่จำเลยใช้ผิดไปเพราะไม่ได้นำตัวเลขในเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามาคูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งให้จำเลย จำเลยได้รับประโยชน์ในการใช้กระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณผิด ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้จำเลยโดยไม่อิดเอื้อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณขาดไปและจะถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไประหว่างเดือนธันวาคม 2505 จนถึงเดือนมกราคม 2525 สำนวนหลังโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไปในระหว่างวันที่13 กุมภาพันธ์ 2525 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากัน ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ฟ้องเรื่องเดียวกันและโดยอาศัยเหตุเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำ