คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 173

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไฟฟ้านครหลวงฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่คำนวณผิดพลาด และประเด็นอายุความของหนี้
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนเป็นสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิใช่พ่อค้าตามมาตรา 165(1)แห่ง ป.พ.พ. การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่พนักงานของโจทก์จดหน่วยไฟฟ้าจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าโดยไม่ได้คูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งทำให้จำเลยชำระค่าไฟฟ้าให้โจทก์ขาดไปนั้น เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์คำนวณหน่วยกระแสไฟฟ้าที่จำเลยใช้ผิดไปเพราะไม่ได้นำตัวเลขในเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามาคูณด้วย 10 ตามลักษณะของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งให้จำเลย จำเลยได้รับประโยชน์ในการใช้กระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณผิด ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้จำเลยโดยไม่อิดเอื้อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 327จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณขาดไปและจะถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไประหว่างเดือนธันวาคม 2505 จนถึงเดือนมกราคม 2525 สำนวนหลังโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไปในระหว่างวันที่ 13กุมภาพันธ์ 2525 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากัน ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ฟ้องเรื่องเดียวกันและโดยอาศัยเหตุเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความและสิทธิในการรื้อถอนสิ่งรุกล้ำ ทางพิพาท
โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ทางสาธารณะมากว่า10 ปี ทางพิพาทจึงเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความเมื่อจำเลยก่อสร้างกำแพงรุกล้ำทางพิพาท เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงเฉพาะส่วนที่รุกล้ำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 1390 ที่ดินที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมในคดีก่อนเป็นคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภารจำยอมก็ให้โจทก์รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบ โจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การยื่นฟ้องคดีเดิมและคดีใหม่ด้วยมูลคดีเดียวกัน
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์)เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ 23 มิถุนายน 2531 ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2531 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า บำเหน็จ ค่าเล่าเรียนบุตร จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ค้างชำระเข้ามาด้วย ครั้นวันที่ 23 มิถุนายน 2531 ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิม โจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนด ศาลแรงงานกลาง(ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดี เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องมาจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกัน โจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิมและไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีซ้ำจากข้อความหมิ่นประมาทเดียวกัน
แม้ข้อความที่ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ ฟ้องว่าจำเลยลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ แต่ ก็เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์ซึ่ง จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึง โจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวและ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ กับโจทก์คดีนี้ต่าง ก็เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อ ศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5)28(1) ด้วยกันการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีกจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ละเมิด: ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายเช็ค, ค่าทนาย, ค่าเสียหายทางชื่อเสียง, และการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายด้วยแล้ว ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าเสียหายที่โจทก์ต้องไปซื้อถ้วยแก้วจากผู้อื่นแพงขึ้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดจากการที่โจทก์ต้องชำระเงินตามเช็คที่จำเลยโอนไปให้แก่บุคคลภายนอกและเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่โจทก์ต้องแต่งตั้งทนายความสู้คดีและต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นคนละเรื่องต่างประเด็นกัน และโจทก์เพิ่งชำระเงินตามเช็คไปหลังจากศาลชั้นต้นในคดีก่อนพิพากษาคดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
คำให้การของจำเลยต่อสู้ปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำมาตรา 144 และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ดังนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ จึงชอบแล้ว
จำเลยผิดนัดสัญญาโอนเช็คที่โจทก์จ่ายเป็นประกันการชำระราคาซื้อขายถ้วยแก้วให้บุคคลภายนอก โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องและได้ชำระเงินตามเช็คให้บุคคลภายนอกไปแล้ว ค่าดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอกผู้เป็นโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอากับจำเลยได้ เพราะไม่เป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา
ความรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเรื่องละเมิดเกี่ยวกับการทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณนั้น มีแต่เฉพาะการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติยศ เพราะถูกจำคุกตามคำพิพากษา
ค่าจ้างทนายความต่อสู้คดีที่โจทก์ผู้สั่งจ่ายถูกผู้ทรงฟ้องไม่ใช่เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาและแม้จะเป็นเรื่องละเมิดก็นับว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเอาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากการอายัดเช็ค การฟ้องร้อง และค่าเสียหายทางละเมิด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายถ้วยแก้วขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าเสียหายที่โจทก์ต้องไปซื้อถ้วยแก้วจากผู้อื่นแพงขึ้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดจากการที่โจทก์ต้องชำระเงินตามเช็คที่จำเลยโอนไปให้แก่บุคคลภายนอกและเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่โจทก์ต้องแต่งตั้งทนายความสู้คดีและต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นคนละเรื่องต่างประเด็นกัน และโจทก์เพิ่งชำระเงินตามเช็คไปหลังจากศาลชั้นต้นในคดีก่อนพิพากษาคดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 คำให้การของจำเลยต่อสู้ปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ดังนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำจึงชอบแล้ว จำเลยผิดสัญญาโอนเช็คที่โจทก์จ่ายเป็นประกันการชำระราคาซื้อขายถ้วยแก้วให้บุคคลภายนอก โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องและได้ชำระเงินตามเช็คให้บุคคลภายนอกไปแล้ว ค่าดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอกผู้เป็นโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอากับจำเลยได้ เพราะไม่เป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา ความรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเรื่องละเมิดเกี่ยวกับการทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณนั้น มีแต่เฉพาะการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติยศเพราะถูกจำคุกตามคำพิพากษา ค่าจ้างทนายความต่อสู้คดีที่โจทก์ผู้สั่งจ่ายถูกผู้ทรงฟ้องไม่ใช่เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาและแม้จะเป็นเรื่องละเมิดก็นับว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเอาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีการฟ้องก่อนและยกฟ้องซ้อน ศาลยังฟ้องซ้ำได้
จำเลยถูกฟ้องข้อหาจัดหางานโดยเรียกและรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 สองคดี เมื่อระยะเวลาเกิดเหตุในอีกคดีหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาเกิดเหตุในคดีนี้ ทั้งไม่มีการหยุดดำเนินกิจการในช่วงระยะเวลาเกิดเหตุตามฟ้องทั้งสองคดี แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะดำเนินการในการจัดหางานคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้อีกคดีหนึ่งศาลชั้นต้นจะพิพากษาก่อนคดีนี้ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเนื่องจากเป็นฟ้องซ้อนกับคดีนี้แสียแล้ว การกระทำความผิดในข้อหานี้จึงถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้อง โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องซ้อนความผิดจัดหางาน-ฉ้อโกง, ข้อจำกัดการฎีกาในคดีจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ฎีกาว่าข้อนำสืบของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชักชวนผู้เสียหายหรือโฆษณาต่อประชาชนให้ไปทำงานในประเทศตะวันออกกลาง และไม่นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ตั้งใจส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดทางอาญาแต่เป็นความรับผิดทางแพ่ง เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
แม้ว่าวันเกิดเหตุของคดีความผิดฐานฉ้อโกงในคดีนี้จะคาบเกี่ยวกันกับคดีแรก แต่ผู้เสียหายเป็นคนละชุดกัน ถูกหลอกลวงต่างวันหรือต่างเวลากัน เงินที่ถูกหลอกลวงก็เป็นคนละจำนวนกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำซ้อนกับคดีแรก
ปัญหาที่ว่ามีการกระทำผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตหลายกรรมหรือไม่ต้องพิจารณาว่าการจัดหางานนั้นได้กระทำต่อเนื่องเป็นคราวเดียวกันหรือไม่ มิใช่พิจารณาว่าเป็นการจัดหางานให้แต่ละคนหรือแต่ละช่วงเวลาตามแต่จะกำหนดเป็นสำคัญ เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามได้ออกอุบายตั้งสำนักงานจัดหางานให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งการกระทำผิดในคดีนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาคาบเกี่ยวต่อเนื่องกับคดีแรกโดยไม่ปรากฏว่ามีการหยุดดำเนินกิจการในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาดำเนินการในการจัดหางานคราวเดียวกันการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสองคดีในความผิดฐานนี้จึงเป็นกรรมเดียวกัน ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานจัดหางาน ฯ จึงซ้อนกับคดีแรก ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ฎีกาที่ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนนั้นเป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัย
เมื่อฟ้องโจทก์บางฐานความผิดเป็นฟ้องซ้อน ถือได้ว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษในฐานความผิดที่เป็นฟ้องซ้อนด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-กรรมเดียว: จัดหางาน, ฉ้อโกง, ข้อจำกัดการฎีกา, อำนาจศาล
ฎีกาว่าข้อนำสืบของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชักชวนผู้เสียหายหรือโฆษณาต่อประชาชนให้ไปทำงานในประเทศตะวันออกกลาง และไม่นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ตั้งใจส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดทางอาญาแต่เป็นความรับผิดทางแพ่ง เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
แม้ว่าวันเกิดเหตุของคดีความผิดฐานฉ้อโกงในคดีนี้จะคาบเกี่ยวกันกับคดีแรก แต่ผู้เสียหายเป็นคนละชุดกัน ถูกหลอกลวงต่างวันหรือต่างเวลากัน เงินที่ถูกหลอกลวงก็เป็นคนละจำนวนกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำซ้อนกับคดีแรก
ปัญหาที่ว่ามีการกระทำผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตหลายกรรมหรือไม่ต้องพิจารณาว่าการจัดหางานนั้นได้กระทำต่อเนื่องเป็นคราวเดียวกันหรือไม่ มิใช่พิจารณาว่าเป็นการจัดหางานให้แต่ละคนหรือแต่ละช่วงเวลาตามแต่จะกำหนดเป็นสำคัญ เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามได้ออกอุบายตั้งสำนักงานจัดหางานให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งการกระทำผิดในคดีนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาคาบเกี่ยวต่อเนื่องกับคดีแรกโดยไม่ปรากฏว่ามีการหยุดดำเนินกิจการในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาดำเนินการในการจัดหางานคราวเดียวกันการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสองคดีในความผิดฐานนี้จึงเป็นกรรมเดียวกัน ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานจัดหางาน ฯ จึงซ้อนกับคดีแรก ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ฎีกาที่ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนนั้นเป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัย
เมื่อฟ้องโจทก์บางฐานความผิดเป็นฟ้องซ้อน ถือได้ว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษในฐานความผิดที่เป็นฟ้องซ้อนด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีภาษี: การฟ้องซ้ำเรื่องเดิม แม้คำสั่งต่างกัน ถือฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
เงินภาษีและเงินเพิ่มที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยไว้ในอุทธรณ์ฉบับแรก แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้มีคำสั่งแจ้งการประเมินเพิ่มเติมอีก ก็หาใช่เป็นผลจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่างหาก แต่เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่มีคำสั่งไปตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฉบับแรกนั้นเอง เมื่อโจทก์ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับแรกในคดีก่อนและคดีอยู่ระหว่างพิจารณา การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับหลังซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน แม้คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะเป็นคนละคำสั่ง ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173.
of 28