คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 173

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน: โจทก์ต่างจากผู้บริโภคที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฟ้องแทน ทำให้ฟ้องครั้งหลังไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฟ้องคดีแทนผู้บริโภคทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินกับจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์ในคดีนี้มิใช่ลูกค้าหรือผู้ซื้อบ้านและที่ดินในโครงการของจำเลยทั้งสอง จึงไม่ใช่ผู้บริโภคที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนได้ฟ้องคดีแทน กรณีจึงไม่อาจถือว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ด้วย ย่อมไม่ไช่คู่ความรายเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และ 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5822/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีละเมิดจากการแย่งรับส่งผู้โดยสาร การฟ้องซ้ำประเด็นเดิมในขณะที่คดีเดิมยังพิจารณาอยู่
คำฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นอย่างเดียวกันคือจำเลยที่ 2 กับพวกนำรถยนต์โดยสารมารับส่งคนโดยสารในเส้นทางสัมปทานของโจทก์อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำที่สืบเนื่องติดต่อกันมากับการกระทำเดิม มิใช่เป็นการกระทำละเมิดขึ้นใหม่ แม้คดีนี้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองหยุดรับส่งคนโดยสารไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานีและมีคำขอบังคับให้ศาลมีคำสั่งมิให้จำเลยทั้งสองหยุดรับส่งคนโดยสารในเส้นทางสัมปทานของโจทก์ซึ่งโจทก์มิได้มีคำขอในคดีเดิม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ในคดีเดิมได้บรรยายถึงการกระทำดังกล่าวมาแล้วจึงเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถขอมาในคดีเดิมได้อยู่แล้ว คำฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องเดียวกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้ในระหว่างที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นฟ้องซ้อน แต่คดีก่อนโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยด้วย ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งซ้อน: คดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ห้ามฟ้องแย้งคดีเดียวกันอีก
คำว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง นั้น หมายความว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ แม้จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาในคดีก่อนของศาลชั้นต้นโดยโต้แย้งเรื่องศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา จำเลยจึงไม่อาจนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องอีกได้ ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นฟ้องซ้อน: อำนาจฟ้องและข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อย
จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นฟ้องซ้อนเป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงขอแก้ไขได้ก่อนศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานยักยอกทรัพย์และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ก็เป็นกรณีที่เนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 1 นั้นอาจเป็นบ่อเกิดแห่งคดีที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้สองทางคือในมูลละเมิดและสัญญาจ้างแรงงาน แม้คำขอบังคับจะเป็นอย่างเดียวกันแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน และคำฟ้องของโจทก์กรณีผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8392/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนคดีแพ่งอาญา – ดอกเบี้ยจากการลักทรัพย์ – การฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ยได้เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด การที่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วยในคดีอาญานั้น จึงไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกแทนผู้เสียหายได้แล้วแต่ไม่เรียก ฟ้องของโจทก์คดีแพ่งในส่วนของดอกเบี้ยจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7280/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่เกี่ยวข้องกับการโอนคดีระหว่างพิจารณาคดีต้องห้ามอุทธรณ์ หากไม่ใช่คำสั่งคุ้มครองประโยชน์คู่ความ
ศาลชั้นต้นได้สั่งรับคำฟ้องแล้ว เป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอโอนคดีฉบับที่สองของจำเลย จึงเป็นคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 และคำร้องขอโอนคดีไปศาลอื่นนั้นเป็นวิธีการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาคดี มิใช่คำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์อย่างใดของคู่ความในระหว่างการพิจารณาดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 288 (2) คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอโอนคดีของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-อำนาจฟ้อง-อายุความ-ตัวแทน: กรณีฟ้องซ้ำคดีเดิม & ข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องตัวแทน
ศาลแพ่งธนบุรีอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังอุทธรณ์ต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้สำหรับจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ยื่นฟ้องขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุด ก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเช่นกัน จึงไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และอุทธรณ์จำเลยที่ 1 เพราะไม่ทำให้ผลคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท จ. โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์ด้วย ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินของปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องซ้อน-อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก: ศาลล่างผิดที่ตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อนหลังมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งถึงที่สุดแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้อีกขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านกับขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกด้วย คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเป็นการร้องซ้อนกับคำร้องขอที่ตนได้ยื่นไว้แล้วต้องห้ามมิให้ผู้คัดค้านร้องขอในเรื่องเดียวกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ส่วนคำร้องขอของผู้ร้องนั้น เมื่อมรดกรายนี้มีคำสั่งถึงที่สุดตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้อีก เนื่องจากเหตุจะสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น ไม่ใช่ประเด็นคดีนี้ ผู้ร้องชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเสียก่อน คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ตั้งผู้จัดการมรดกรายเดียวกันนี้อีกจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7603/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการฟ้องซ้อนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งการฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ก็อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6641/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ค่าเสียหายจากละเมิด - ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ, ค่าเสียหายรถจักรยานยนต์
คดีก่อน ศ. พี่สาวโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 กรณีจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ และ ศ. ถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นการฟ้องในฐานะที่ ศ. เป็นบุตรผู้ตายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดเช่นนี้ สำหรับค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ เป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์ของทายาท ม. ผู้ตาย ทุกคนรวมถึงโจทก์ด้วย ส่วนค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทแต่ละคนที่ได้รับความเสียหาย และตามคำฟ้องคดีก่อน ศ. ไม่ได้ฟ้องแทนโจทก์ แม้ต่อศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แก่ ศ. ก็เป็นการพิพากษาโดยไม่ชอบไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว เมื่อขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้เรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าปลงศพ ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ อันเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในเรื่องเรียกค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และได้ความว่าต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์แก่ ศ. อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เรื่องเดียวกับคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำมาตรา 144 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเท่านั้น
ส่วนฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถในกิจการของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ของผู้ตายหรือไม่ ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144
of 28