คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 173

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3786/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: รถยนต์ที่ซื้อระหว่างสมรส และเงินดาวน์รถที่มาจากเงินขายทรัพย์เดิม
ประเด็นในการฟ้องหย่าในคดีก่อนมีสาระเป็นเรื่องของสภาพการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา แต่เรื่องการขอแบ่งสินสมรสในคดีหลังเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินโดยมีสาระอยู่ที่ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคนละมูลคดีกันแม้จะมีผลมาจากการฟ้องหย่าแต่ก็หาจำต้องขอแบ่งสินสมรสมากับคดีฟ้องหย่าไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าจะต้องฟ้องขอแบ่งสินสมรสมาพร้อมกันกับการฟ้องหย่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอแบ่งสินสมรสจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ที่ดินที่จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมกับพี่ชายจำเลย เป็นทรัพย์สินที่มีมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ อันถือเป็นสินส่วนตัวของจำเลย และมีการนำไปแลกเปลี่ยนกับที่ดินพิพาท 2 แปลง ทรัพย์สินที่ได้มาใหม่จึงย่อมเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะเป็นการได้ที่ดินมาแทนทรัพย์เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง
โจทก์นำเงินของโจทก์ไปเป็นเงินดาวน์รถยนต์วอลโว่ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังมิได้หย่าขาดจากกัน ประกอบจำเลยยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคสองว่า กรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสรถยนต์วอลโว่จึงมีสถานะเป็นสินสมรสซึ่งจำเลยต้องได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่ง
ตามคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยขอแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง เมื่อรถยนต์วอลโว่เป็นสินสมรสและโจทก์จำเลยหย่ากันแล้วก็ชอบที่จะแบ่งสินสมรสให้โจทก์และจำเลยได้ส่วนเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันตามส่วน แต่หากไม่สามารถนำรถยนต์สินสมรสมาแบ่งกันได้ก็ให้โจทก์ใช้คืนมูลค่าค่าเช่าซื้อที่ชำระไปครึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5441/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และการพิจารณาฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน
ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาในประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะใช้ดุลพินิจกระทำได้เมื่อปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเสียให้เสร็จสิ้นโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 อันมีลักษณะเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันมาจากการซื้อขายโดยสละและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้และตกลงจะแบ่งแยกให้ภายหลัง ประเด็นข้อพิพาทคดีทั้งสองจึงแตกต่างกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเดิมเรื่องค่าทดแทนเวนคืน ศาลตัดสินฟ้องใหม่เป็นฟ้องซ้อน เนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทซึ่งถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นพร้อมดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินร้อยละ 10.75 ต่อปี ส่วนคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเฉพาะดอกเบี้ยที่จำเลยคำนวณให้ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี จากเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยเพิ่มให้โดยอ้างว่าการคำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง จะเห็นได้ว่าสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับคดีนี้กับคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกัน มูลกรณีที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มและดอกเบี้ยก็เนื่องจากที่ดินแปลงเดียวกัน ดอกเบี้ยที่โจทก์ทั้งสองฟ้องในคดีนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของดอกเบี้ยที่ฟ้องไว้แล้วในคดีก่อน แม้ว่ารัฐมนตรีฯ จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองมาภายหลังที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องก่อนแล้วก็ตาม ศาลในคดีก่อนก็ต้องพิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสองในเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคท้าย เมื่อคดีนี้กับคดีก่อนเป็นเรื่องเดียวกัน โจทก์ทั้งสองนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในระหว่างพิจารณา จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
การที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อน ขอให้รับคำฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาต่อไปนั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และการคิดค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่องของทรัพย์
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ โจทก์จึงมีหนังสือทวงให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อและบอกเลิกสัญญา หลังจากนั้นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาคืนโจทก์ โจทก์จึงถอนฟ้องแล้วนำรถยนต์ออกประมูลขายได้เงินไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อ จึงมาฟ้องเรียกราคารถยนต์ในส่วนที่ขาดจากจำเลยทั้งสองอีก กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) เพราะฟ้องโจทก์คดีก่อนไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเนื่องจากถอนฟ้องไปแล้ว และเมื่อพิจารณาคดีก่อนที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วศาลยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ประกอบกับคดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์และชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคาจากการประมูลขายรถยนต์พร้อมดอกเบี้ยอันเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน คำขอบังคับในคดีทั้งสองจึงต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าเสื่อมราคาหรือค่าขาดราคาของรถยนต์ที่ประมูลขายได้ราคาน้อยกว่าราคาเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นผลมาจากการเลิกสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อกำหนดอัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องถือเอาจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องตั้งแต่ฟ้องคดี มิใช่คำนวณจากทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีซึ่งอาจจะไม่เต็มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีอำนาจพิจารณาคดีได้หากจำเลยไม่โต้แย้งหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างถึงสัญญาซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งจำเลยซื้อจากโจทก์มีกำหนด 1 ปี โจทก์จะส่งมอบให้แก่จำเลยไตรมาสละ 2 เที่ยว คิดราคาตามปริมาณน้ำมันที่ปรากฏในใบตราส่งแต่ละเที่ยว โจทก์ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้จำเลยแล้วหลายเที่ยว เป็นเงิน 25,829,671.26 ดอลลาร์สหรัฐ จำเลยชำระหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้แล้วบางส่วน คงค้างชำระเป็นเงิน 11,708,362.76 ดอลลาร์สหรัฐ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยเป็นการบรรยายฟ้องให้พอเข้าใจได้ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 30 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2540 ข้อ 6 แล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีนี้ก่อน แล้วจึงไปยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ คดีนี้มิใช่คดีที่ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 ไม่เป็นฟ้องซ้อน
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงว่าบรรดาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการ ย่อมหมายรวมถึงการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายด้วย หากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโต้แย้งการเรียกร้องให้ชำระหนี้ดังกล่าว
โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังมิได้ชำระเป็นเงิน 13,811,352.76 ดอลลาร์สหรัฐ จำเลยมิได้โต้แย้งหรือปฏิเสธหนี้ดังกล่าว กลับมีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ และมีหนังสือขอชำระหนี้โดยการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อลูกหนี้รายอื่นและเสนอนำทรัพย์สินมาจำนองเป็นประกัน นอกจากนี้จำเลยได้ชำระหนี้ที่ค้างชำระบางส่วน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่โจทก์ทั้งยังยอมให้โจทก์เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน 2,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งธนาคารก็ได้ชำระให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับสภาพหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้แก่โจทก์แล้ว ไม่อาจถือได้ว่ามีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งอันเกิดจากหรือเนื่องจากสัญญาซื้อขายอันโจทก์จะต้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7265/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ไม่มีอำนาจฟ้อง: คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิมที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่าจำเลยตกลงเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์มีการทำสัญญาเช่าและต่อสัญญาเช่าหลายครั้งต่อมาเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป จึงให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ส่งคืนตึกแถวที่เช่ากับมีคำขอให้จำเลยออกไปจากตึกแถวที่เช่าและใช้ค่าเสียหายคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ทรงสิทธิใดในตึกแถวที่ให้เช่าและสิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ประการใด เพราะเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งผู้ให้เช่าก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ประกอบกับจำเลยได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีในลักษณะเข้าใจข้อหาได้ดีและยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีแพ่งคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โดยคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทและเรียกค่าเสียหายเช่นเดียวกับคดีแพ่งคดีก่อน แต่อาศัยสัญญาเช่าตามบันทึกการต่ออายุสัญญาเช่าของปี 2533 มูลฟ้องของโจทก์คดีนี้ แม้จะอาศัยสัญญาเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน หาใช่เกิดขึ้นหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีดังกล่าวไม่โจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องในคดีนี้เป็นมูลฟ้องในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำ เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเช่นเดียวกัน คำฟ้องที่โจทก์ยื่นฟ้องขึ้นมาใหม่ในคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกับคดีแพ่งคดีก่อนซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง เมื่อคดีแพ่งคดีก่อนซึ่งโจทก์ขอถอนฟ้องแล้วแต่จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่มี อำนาจฟ้องจำเลยก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้งจำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7265/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิมที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา ถือเป็นฟ้องซ้อน ห้ามตามกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่า จำเลยตกลงเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ มีการทำสัญญาเช่าและต่อสัญญาเช่าหลายครั้งต่อมาเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ส่งคืนตึกแถวที่เช่ากับมีคำขอให้จำเลยออกไปจากตึกแถวที่เช่าและที่เช่าและใช้ค่าเสียหาย คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ทรงสิทธิใดในตึกแถวที่ให้เช่าและสิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำนืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งผู้ให้เช่าก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ประกอบกับจำเลยได้ยื่นำให้การต่อสู้คดีในลักษณะเข้าใจข้อหาได้ดีและยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวตามฟ้องของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย แม้จะอาศัยเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนซึ่งโจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องได้ในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำคำฟ้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้ง จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: สันนิษฐานว่าเงินได้มาเกินฐานะ และผู้ต้องหาต้องพิสูจน์ว่าได้มาโดยสุจริต
คดีก่อนพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องผู้อื่นเป็นจำเลยและขอให้ริบธนบัตรของกลาง โดยอ้างการกระทำอันจะเป็นเหตุให้ริบธนบัตรว่าเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102แต่คดีนี้พนักงานอัยการผู้ร้องอ้างเหตุให้ริบธนบัตรจำนวนเดียวกันนั้นว่า เป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ยึดไว้แล้วตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 16(3),22,27,29 และ 31เมื่อคดีนี้กับคดีก่อนจำเลยมิใช่บุคคลคนเดียวกัน ทั้งมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตลอดจนการกระทำที่อ้างเป็นเหตุให้ศาลริบธนบัตรแตกต่างกัน การพิจารณาคดีนี้จึงไม่เป็นการร้องซ้อน หรือร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับทำให้สิทธิของผู้ร้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5867/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: จำนวนหนี้ต่างกันในแต่ละคดี แม้สัญญาเดียวกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นในคดีก่อน ระหว่างพิจารณาคดีดังกล่าวโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ แม้ฟ้องคดีก่อนและฟ้องคดีนี้ต่างอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายฉบับเดียวกันก็ตาม แต่จำนวนหนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระตามคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละจำนวนกัน กล่าวคือ ฟ้องคดีก่อนโจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าร้อยละ 10 ที่จำเลยต้องชำระในวันทำสัญญาและราคาสินค้าที่ต้องผ่อนชำระงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 8ส่วนฟ้องคดีนี้โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าที่ต้องผ่อนชำระงวดที่ 9 ถึงงวดที่ 12 และราคาน้ำยาเคมีที่ใช้สำหรับทางการแพทย์ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อโจทก์เสนอคำฟ้องคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงมิใช่ฟ้องเรื่องเดียวกับฟ้องคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิการฟ้องซ้ำเมื่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่อัยการฟ้องแทนผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกและฉ้อโกงเงินไปจากโจทก์เป็นจำนวน 1,560,375.45 บาท ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ใช้คืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหายักยอกและฉ้อโกงโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายไว้แล้ว โดยมีคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,226,172.15 บาท ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความ ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นด้วย เมื่อศาลในส่วนคดีอาญารับคำขอส่วนแพ่งดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วย่อมมีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินจำนวน 1,226,172.15 บาท ต่อศาลอีก จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินส่วนที่เกินจากคำฟ้องในคดีอาญาเป็นเงิน 334,203.30 บาท เท่านั้น
of 28