พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คำขอค่าเสียหายดอกเบี้ยในคดีแพ่งต้องห้าม หากมีคำขอชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญาแล้ว
คดีแพ่งเรื่องนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลอมใบรับน้ำมันแล้ว นำใบรับน้ำมันปลอมไปขอรับน้ำมันจากสถานีคลังน้ำมันของโจทก์โดยไม่ชอบ รวมเป็นเงินค่าน้ำมันทั้งสิ้น 724,239.38 บาทขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน946,037.69 บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีในต้นเงิน 724,239.38 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระแล้วเสร็จแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาและคำขอโจทก์ในคดีอาญาเรื่องก่อนคือการคืนหรือให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์ ซึ่งเป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับ คดีอาญาที่ศาลในคดีอาญามีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษา ได้และเมื่อศาลในคดีอาญาได้รับคำขอส่วนแพ่งของโจทก์ ดังกล่าวไว้พิจารณาโดยชอบแล้วย่อมมีผลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือศาลอื่นอีก ศาลจึงไม่อาจรับวินิจฉัยคำขอเรื่องดอกเบี้ย ในคดีนี้ได้ แม้ในส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์มิได้มีคำขอในคดีอาญา ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนี้เป็นดอกผลที่เกิดตามเงินต้นตามกฎหมายการฟ้องร้องในคดีแพ่งเรื่องนี้ที่ขอบังคับจำเลยในส่วนดอกเบี้ยจึงอาศัยและพึงต้องฟ้องมาในคราวเดียวกับเงินต้นจึงต้องห้ามตามคำฟ้องในส่วนเงินต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแพ่งซ้ำซ้อนหลังมีคำขอส่วนแพ่งในคดีอาญา ศาลต้องห้ามรับฟ้องในส่วนดอกเบี้ยและเงินต้น
คดีแพ่งเรื่องนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลอมใบรับน้ำมันแล้วนำใบรับน้ำมันปลอมไปขอรับน้ำมันจากสถานีคลังน้ำมันของโจทก์โดยไม่ชอบ รวมเป็นเงินค่าน้ำมันทั้งสิ้น 724,239.38 บาท ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 946,037.69 บาทและดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 724,239.38 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระแล้วเสร็จแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาและคำขอโจทก์ในคดีอาญาเรื่องก่อนคือการคืนหรือให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์ ซึ่งเป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลในคดีอาญามีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาได้และเมื่อศาลในคดีอาญาได้รับคำขอส่วนแพ่งของโจทก์ดังกล่าวไว้พิจารณาโดยชอบแล้วย่อมมีผลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นอีก ศาลจึงไม่อาจรับวินิจฉัยคำขอเรื่องดอกเบี้ยในคดีนี้ได้ แม้ในส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์มิได้มีคำขอในคดีอาญาก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนี้เป็นดอกผลที่เกิดตามเงินต้นตามกฎหมาย การฟ้องร้องในคดีแพ่งเรื่องนี้ที่ขอบังคับจำเลยในส่วนดอกเบี้ยจึงอาศัยและพึงต้องฟ้องมาในคราวเดียวกับเงินต้น จึงต้องห้ามตามคำฟ้องในส่วนเงินต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องสอดที่เป็นฟ้องซ้อน กรณีมีคดีข้อพิพาทเดียวกันอยู่ระหว่างพิจารณาแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท และได้ฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีแพ่ง ขอให้บังคับโจทก์และจำเลยในคดีนี้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึง เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีเหตุจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่เป็นการตั้งสิทธิขึ้นมาใหม่เพื่อพิพาทกับคู่ความเดิมจึงเป็นการร้องสอดเข้ามาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ผู้ร้องมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่า ตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดี เรื่องใหม่ ตามมาตรา 58 วรรคแรก และคำร้องสอด ดังกล่าวถือว่าเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) ปรากฏว่า ก่อนยื่นคำร้องสอดคดีนี้ ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลย ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลเดียวกันนี้อ้างว่า ผู้ร้องได้ซื้อ และครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทอยู่ในปัจจุบัน ขอให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาท ให้แก่ผู้ร้อง อันเป็นประเด็นเดียวกับที่ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ เมื่อคดีที่ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนนั้นยังอยู่ในระหว่าง พิจารณา จึงห้ามมิให้ผู้ร้องยื่นคำฟ้องเรื่อง เดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น ตามมาตรา 173(1) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-คดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง: สัญญาเช่าซื้อกับคดีอาญา ยักยอกทรัพย์ สิทธิเรียกร้องแยกจากกัน
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์ และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ซึ่งการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมา แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้คำขอบังคับจะเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์หรือใช้ราคาเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีอาญาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อเมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างประกอบกับคำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะพนักงานอัยการในคดีอาญาจึงไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้กรณีมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-คดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง: สัญญาเช่าซื้อต่างจากคดีอาญาฐานยักยอก สิทธิเรียกร้องแยกขาด
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์ และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ซึ่งการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมา แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้คำขอบังคับจะเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์หรือใช้ราคาเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีอาญาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อเมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างประกอบกับคำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะพนักงานอัยการในคดีอาญาจึงไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้กรณีมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: ความผิดฐานฉ้อโกงกับความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คเป็นกรรมเดียวกัน การฟ้องซ้ำจึงต้องห้าม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คและนำเช็คนั้นมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ โดยจำเลยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งว่าบัญชีเงินฝากของจำเลยได้ปิดไปก่อนแล้ว ธนาคารจึงไม่อาจจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ และการหลอกลวงนั้นทำให้จำเลยได้ไปซึ่งเงินสดจากโจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้วแต่ตามคำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงคดีนี้กับความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยคดีก่อนในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไว้แล้ว ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าในคดีก่อนโจทก์ได้ถอนฟ้องหรือศาลได้จำหน่ายคดี ดังนี้การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในข้อหาฐานฉ้อโกงอันเป็นกรรมเดียวกันในคดีนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนฐานฉ้อโกงเมื่อกรรมเดียวกันกับความผิดใช้เช็ค การฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คและนำเช็คนั้นมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ โดยจำเลยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งว่าบัญชีเงินฝากของจำเลยได้ปิดไปก่อนแล้ว ธนาคารจึงไม่อาจจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ และการหลอกลวงนั้นทำให้จำเลยได้ไปซึ่งเงินสดจากโจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงคดีนี้กับความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยคดีก่อนในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไว้แล้ว ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าในคดีก่อนโจทก์ได้ถอนฟ้องหรือศาลได้จำหน่ายคดี ดังนี้การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในข้อหาฐานฉ้อโกงอันเป็นกรรมเดียวกันในคดีนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การแบ่งมรดกที่ดินและพันธบัตรเมื่อมีการฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินอื่นไปแล้ว
คดีหมายเลขดำที่ 283/2535 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องจำเลยกับ จ. ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 659 ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ต. และนำมาแบ่งปันกันและตามคดีหมายเลขดำที่ 284/2535 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ฟ้องจำเลยกับ พ. ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 6278 ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต.และนำมาแบ่งปันกัน แต่คดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ฟ้องจำเลยคนเดียว ให้ดำเนินการแบ่งปันที่ดินโฉนดเลขที่ 3977กับพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ต.แม้ว่าที่ดินทั้งหมดจะเป็นทรัพย์มรดกของต.แต่เห็นได้ว่าตามคดีหมายเลขดำที่ 283/2535 และ 284/2535นั้น จะต้องพิจารณาประเด็นที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินเสียก่อนว่าจะเพิกถอนหรือไม่ เมื่อเพิกถอนแล้วจึงจะนำมาแบ่งปันกันระหว่างทายาท ส่วนคดีนี้มีแต่เพียงประเด็นแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาทด้วยกันเท่านั้นหาได้เป็นเรื่องเดียวกันไม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7852/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีละเมิดเดิมซ้ำ โดยควรแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเดิมแทน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 จงใจทุจริตยักยอกเงินค่าภาษีและค่าธรรมเนียมรถจักรยานยนต์ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนจำเลยที่ 5 จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งที่โจทก์วางไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ แม้จะได้ความว่ายอดเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกจะมาจากใบเสร็จรับเงินต่างเล่มและคนละเลขที่กัน ทั้งการตรวจพบการกระทำทุจริตยักยอกจะเป็นคนละครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 5กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระยะวันเวลาเดียวกันที่โจทก์ได้ฟ้องคดีก่อนไว้แล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์ฟ้องในคดีดังกล่าว ซึ่งโจทก์ชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ เพราะเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179,180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7852/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเรื่องละเมิด: การฟ้องคดีซ้ำในเรื่องละเมิดเดิมที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณา และการแก้ไขฟ้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 จงใจทุจริตยักยอกเงินค่าภาษีและค่าธรรมเนียมรถจักรยานยนต์ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนจำเลยที่ 5 จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งที่โจทก์วางไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ แม้จะได้ความว่ายอดเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกจะมาจากใบเสร็จรับเงินต่างเล่มและคนละเลขที่กัน ทั้งการตรวจพบการกระทำทุจริตยักยอกจะเป็นคนละครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระยะวันเวลาเดียวกันที่โจทก์ได้ฟ้องคดีก่อนไว้แล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์ฟ้องในคดีดังกล่าว ซึ่งโจทก์ชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ เพราะเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179, 180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)