พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7629/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: สภาพแห่งข้อหาต่างกันแม้หนี้รายเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับในคดีแพ่งเรื่องก่อน เป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง โดยโจทก์นำเช็คที่จำเลยได้รับจากลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงขอให้บังคับจำเลยกับผู้ค้ำประกันชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้หนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ในฐานะผู้สลักหลังในคดีนี้เป็นหนี้รายเดียวกับสิทธิเรียกร้องบางส่วนของจำเลยที่โอนแก่โจทก์ในคดีแพ่งเรื่องก่อน แต่เมื่อสภาพแห่งข้อหาของฟ้องโจทก์ทั้งสองเรื่องมิใช่เรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7629/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: สภาพแห่งข้อหาต่างกัน แม้หนี้เป็นรายเดียวกัน
สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับในคดีแพ่งเรื่องก่อน เป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง โดยโจทก์นำเช็คที่จำเลยได้รับจากลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงขอให้บังคับจำเลยกับผู้ค้ำประกันชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้หนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ในฐานะผู้สลักหลังในคดีนี้เป็นหนี้รายเดียวกับสิทธิเรียกร้องบางส่วนของจำเลยที่โอนแก่โจทก์ในคดีแพ่งเรื่องก่อน แต่เมื่อสภาพแห่งข้อหาของฟ้องโจทก์ทั้งสองเรื่องมิใช่เรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนหรือไม่เมื่อฟ้องแบ่งมรดกจากจำเลยผู้จัดการมรดก โดยอ้างการโอนที่ดินมรดกคนละแปลงให้บุคคลอื่น
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.โอนที่ดินมรดกส่วนหนึ่งของ ต. ให้แก่ จ. โดยไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. และนำที่ดินมาแบ่งแก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาท ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต. โอนที่ดินอีกแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 2 โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนำที่ดินดังกล่าวมาแบ่งแก่ทายาท แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ทั้งสองคดีจะฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นทายาทและขอให้แบ่งมรดกของ ต. แต่มูลคดีฟ้องเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินมรดกคนละแปลงโอนให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่ชอบคนละคราวกัน ซึ่งถือได้ว่ามิใช่เรื่องเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การโอนที่ดินมรดกต่างแปลงกัน ถือเป็นเรื่องไม่เดียวกัน แม้ฟ้องขอแบ่งมรดกเดียวกัน
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกนายตามเท่านั้นที่ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5 เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 283/2535ของศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า เมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 283/2535 โจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5 ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อแบ่งทรัพย์มรดกตามฟ้อง ฟ้องโจทก์ที่ 2ถึงโจทก์ที่ 5 ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนย่อมตกไปด้วยก็ตาม แต่เมื่อการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5 คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 283/2535 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นแบบกว้าง เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 เกี่ยวกับจำเลยที่ 1เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ และเมื่อฟังว่าเป็นฟ้องซ้อนศาลก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ย่อมตกไปด้วยหรือไม่ ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาชอบแล้ว
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายตามโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 659 มรดกส่วนหนึ่งของ ต.ให้แก่จ.โดยไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. และนำที่ดินมาแบ่งแก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทของ ต.ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายตามโอนที่ดินโฉนดเลขที่6278 ให้จำเลยที่ 2 โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนำที่ดินดังกล่าวมาแบ่งแก่ทายาท ดังนี้ แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ทั้งสองคดีจะฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นทายาทของ ต.และขอให้แบ่งมรดกของต.ก็ตาม แต่มูลคดีที่ฟ้องเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินมรดกคนละแปลงโอนให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่ชอบคนละคราวกัน ซึ่งถือได้ว่ามิใช่เรื่องเดียวกัน ดังนั้นฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายตามโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 659 มรดกส่วนหนึ่งของ ต.ให้แก่จ.โดยไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. และนำที่ดินมาแบ่งแก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทของ ต.ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายตามโอนที่ดินโฉนดเลขที่6278 ให้จำเลยที่ 2 โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนำที่ดินดังกล่าวมาแบ่งแก่ทายาท ดังนี้ แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ทั้งสองคดีจะฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นทายาทของ ต.และขอให้แบ่งมรดกของต.ก็ตาม แต่มูลคดีที่ฟ้องเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินมรดกคนละแปลงโอนให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่ชอบคนละคราวกัน ซึ่งถือได้ว่ามิใช่เรื่องเดียวกัน ดังนั้นฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติ และผลของการยอมรับการชำระหนี้แทนการชำระหนี้เดิม
หนังสือสัญญากู้เงินพิพาททั้งสองฉบับเป็นเอกสารที่แท้จริงและจำเลยได้ชำระหนี้รายพิพาทแก่โจทก์แล้วเป็นเงิน323,500 บาท โดยใช้วิธีส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติ ไปให้โจทก์และโจทก์ได้รับแล้ว ถือว่าได้ว่าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ อันเป็นผลให้หนี้ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคหนึ่งกรณีมิใช่เป็นการนำสืบการใช้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงซึ่งต้องห้ามมิให้นำสืบตามมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องแบ่งสินสมรสซ้ำกับคดีเดิมที่มีประเด็นและคำขอเดียวกัน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินสินสมรส คิดเป็นเนื้อที่ดิน 7 ไร่เศษที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรี คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดปราจีนบุรี โจทก์มาฟ้องจำเลยอีกโดยยกข้ออ้างว่าที่ดินทั้งสามแปลงเป็นสินสมรส จำเลยนำไปขาย ขอให้บังคับจำเลยแบ่งค่าที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับคดีก่อนจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยและคำขอบังคับอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงอำนาจพิเศษในคดีบังคับคดีและการไม่ผูกพันผลคดีเดิมสำหรับผู้ไม่ได้แสดงอำนาจ
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296จัตวา(3)นั้นหากผู้ที่อ้างว่ามิใช่บริวารไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นหาได้มีผลเด็ดขาดเป็นการตัดสิทธิห้ามฟ้องร้องภายหลังไม่และเมื่อโจทก์มิได้ร้องเข้ามาในคดีโจทก์ย่อมมิได้อยู่ในฐานะคู่ความในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันในผลแห่งคดีต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2540 เวอร์ชัน 6 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานความเป็นบริวารในคดีแพ่งและการไม่ผูกพันคู่ความที่ไม่เข้าร่วม
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา (3) นั้นหากผู้ที่อ้างว่ามิใช่บริวารไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น หาได้มีผลเด็ดขาดเป็นการตัดสิทธิห้ามฟ้องร้องภายหลังไม่ และเมื่อโจทก์มิได้ร้องเข้ามาในคดี โจทก์ย่อมมิได้อยู่ในฐานะคู่ความในคดีดังกล่าว จึงไม่ผูกพันในผลแห่งคดีต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงอำนาจพิเศษในคดีบังคับคดีและการไม่ผูกพันในผลคดีเดิม
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) นั้น หากผู้ที่อ้างว่ามิใช่บริวารไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น หาได้มีผลเด็ดขาดเป็นการตัดสิทธิห้ามฟ้องร้องภายหลังไม่ และเมื่อโจทก์มิได้ร้องเข้ามาในคดีโจทก์ย่อมมิได้อยู่ในฐานะคู่ความในคดีดังกล่าว จึงไม่ผูกพันในผลแห่งคดีต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงอำนาจพิเศษในคดีบังคับคดีและการฟ้องร้องสิทธิในที่ดิน การสันนิษฐานความเป็นบริวารไม่ใช่การตัดสิทธิ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 จัตวา (3)ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้หากไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันปิดประกาศให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นไม่ได้มีผลเด็ดขาดเป็นการตัดสิทธิห้ามผู้นั้นมิให้ฟ้องร้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในภายหลังว่าที่ดินนั้นเป็นตน และเมื่อมิได้ร้องเข้ามาในคดีก็ย่อมมิได้อยู่ในฐานะคู่ความในคดีดังกล่าว จึงไม่ผูกพันในผลแห่งคดีที่จะต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องไม่ว่าจะด้วยเรื่องฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน