พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์แบ่ง ศาลบังคับได้
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้นจำเลยที่1มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไรเพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้ การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์แม้จำเลยที่1ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินรวม แม้จำเลยไม่ประสงค์แบ่ง ศาลบังคับแบ่งได้ เหตุผลค่าขึ้นศาลต้องยกขึ้นในชั้นต้น
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้
การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่ เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์ จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้
การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่ เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์ จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมและการบังคับคดี: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดและขายทอดตลาดได้ทั้งแปลงหากเจ้าของรวมตกลงแบ่งไม่ได้
ผู้ร้องและจำเลยกับพวกเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยยังมิได้มีการแบ่งส่วนเช่นนี้โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดไปได้ทั้งแปลงเพราะกรณีระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมถ้าไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์กันอย่างไรแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ก็ต้องขายไปทั้งแปลงโจทก์ทั้งหกขอขายทั้งแปลงผู้ร้องจึงขอให้กันส่วนของผู้ร้องออกจากการขายทอดตลาดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม - สิทธิเจ้าหนี้ - การบังคับชำระหนี้ - ขายทอดตลาดทั้งแปลง
ผู้ร้องและจำเลยกับพวกเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยยังมิได้มีการแบ่งส่วนเช่นนี้ โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดไปได้ทั้งแปลง เพราะกรณีระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมถ้าไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์กันอย่างไรแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ก็ต้องขายไปทั้งแปลง โจทก์ทั้งหกขอขายทั้งแปลง ผู้ร้องจึงขอให้กันส่วนของผู้ร้องออกจากการขายทอดตลาดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทร้องสอดคดีแบ่งมรดก และการบังคับให้แบ่งทรัพย์สินร่วม
ผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ช. เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ช. และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องทั้งสามมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ ผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 (1)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไป แม้ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี คดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิพากษาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้ 1 ส่วน ใน 5 ส่วน การแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วน อันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก 1 ส่วน ใน 5 ส่วน และจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไป แม้ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี คดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิพากษาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้ 1 ส่วน ใน 5 ส่วน การแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วน อันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก 1 ส่วน ใน 5 ส่วน และจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทร้องสอด, การแบ่งมรดก, สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สิน, เจ้าของรวม
ผู้ร้องเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของช. เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของช. ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ผู้ร้องจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)แม้ผู้ร้องจะมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่าเมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไปต่อศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเมินแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีคดีของผู้ร้องจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิพากษาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินคดีเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องด้วยตามมาตรา142 โจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินแต่ขอให้พิพากษาว่าที่ดินมีโฉนดเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้1ส่วนใน5ส่วนการแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วนอันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์มรดกระหว่างเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก1ส่วนใน5ส่วนและจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์แม้จะเป็นวิธีการแบ่งทรัพย์ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้แล้วก็ตามก็ไม่ชอบที่จะพิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทร้องสอดคดีแบ่งมรดก & ศาลต้องพิจารณาแบ่งทรัพย์มรดกตามสัดส่วนเมื่อทายาทไม่ยินยอม
ผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ช.เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ช. และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้ร้องทั้งสามมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1) ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไปแม้ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีคดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้1ส่วนใน5ส่วนการแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วนอันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก1ส่วนใน5ส่วนและจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินรวมที่ดิน: หากแบ่งตามความยาวแล้วเกิดความเสียหายมาก ศาลมีอำนาจสั่งประมูลหรือขายทอดตลาดเพื่อแบ่งเงิน
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ถ้าแบ่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสองแล้ว ที่ดินที่แบ่งออกแต่ละแปลงจะมีความกว้างไม่ถึง 10 เมตร และจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยมากถึงขนาดต้องรื้อบ้านของจำเลย เมื่อโจทก์ทั้งสองและจำเลยยังมิได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกครอบครองเป็นส่วนสัดจึงไม่ชอบที่จะแบ่งแยกที่ดินพิพาทตามความยาวของรูปที่ดินดังที่โจทก์ทั้งสองขอ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาท และต่างฝ่ายต่างโต้เถียงกันเกี่ยวกับวิธีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แสดงว่าในระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของไม่สามารถตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรกรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364ศาลฎีกาให้นำที่ดินพิพาทประมูลราคาระหว่างกัน หากประมูลไม่ได้ให้นำออกขายทอดตลาดนำเงินที่ขายได้แบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตามส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมที่ตกลงกันไม่ได้ ศาลสั่งประมูลหรือขายทอดตลาดเพื่อแบ่งทรัพย์สินตามส่วน
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมถ้าแบ่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสองแล้วที่ดินที่แบ่งออกแต่ละแปลงจะมีความกว้างไม่ถึง10เมตรและจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยมากถึงขนาดต้องรื้อบ้านของจำเลยเมื่อโจทก์ทั้งสองและจำเลยยังมิได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกครอบครองเป็นส่วนสัดจึงไม่ชอบที่จะแบ่งแยกที่ดินพิพาทตามความยาวของรูปที่ดินดังที่โจทก์ทั้งสองขอแต่อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทและต่างฝ่ายต่างโต้เถียงกันเกี่ยวกับวิธีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแสดงว่าในระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมไม่สามารถตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรกรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ศาลฎีกาให้นำที่ดินพิพาทประมูลราคาระหว่างกันหากประมูลไม่ได้ให้นำออกขายทอดตลาดนำเงินที่ขายได้แบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตามส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องครอบครองปรปักษ์: ฟ้องไม่ชัดเจน, วินิจฉัยนอกประเด็น, ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยให้การต่อสู้ไว้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยหาจำต้องอุทธรณ์ประเด็นนี้ไม่แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในประเด็นอื่นจำเลยได้กล่าวคำแก้อุทธรณ์ถึงประเด็นข้อนี้แล้วคดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาหยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิที่โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเกินสิบปีการที่โจทก์บรรยายถึงการเป็นทายาทก็เพียงให้ทราบว่าโจทก์เข้ามาอยู่ในที่ดินพิพาทได้อย่างไรเท่านั้นไม่มีประเด็นเรื่องมรดกหรือขอแบ่งมรดกและที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นไว้ข้อหนึ่งว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ก็หมายความว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะที่ได้ครอบครองปรปักษ์หรือไม่ตามที่กล่าวในฟ้องนั่นเองการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแทนอ. ถือว่าเป็นเจ้าของรวมและมีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทได้นั้นจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า10ปีจำเลยทั้งหกเป็นทายาทผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันส่งมอบโฉนดเพื่อนำไปทำนิติกรรมแบ่งแยกที่ดินซึ่งจำเลยยึดถือโฉนดไว้ไม่ได้บรรยายว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดดังกล่าวร่วมกันโจทก์ทั้งสองประสงค์จะแบ่งแยกทั้งมิได้มีคำขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกอยู่ในที่ดินแปลงที่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดไว้แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยคนใดเป็นผู้มีชื่อในโฉนดจึงไม่มีหน้าที่จะต้องไปจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142()ประกอบด้วยมาตรา246,247