พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องครอบครองปรปักษ์: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์และการแบ่งมรดก ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยให้การต่อสู้ไว้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จำเลยหาจำต้องอุทธรณ์ประเด็นนี้ไม่ แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในประเด็นอื่น จำเลยได้กล่าวคำแก้อุทธรณ์ถึงประเด็นข้อนี้แล้ว คดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาหยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิที่โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเกินสิบปี การที่โจทก์บรรยายถึงการเป็นทายาทก็เพียงให้ทราบว่าโจทก์เข้ามาอยู่ในที่ดินพิพาทได้อย่างไรเท่านั้น ไม่มีประเด็นเรื่องมรดกหรือขอแบ่งมรดก และที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นไว้ข้อหนึ่งว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ ก็หมายความว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะที่ได้ครอบครองปรปักษ์หรือไม่ตามที่กล่าวในฟ้องนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแทน อ.ถือว่าเป็นเจ้าของรวมและมีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทได้นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีจำเลยทั้งหกเป็นทายาทผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันส่งมอบโฉนดเพื่อนำไปทำนิติกรรมแบ่งแยกที่ดินซึ่งจำเลยยึดถือโฉนดไว้ ไม่ได้บรรยายว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดดังกล่าวร่วมกัน โจทก์ทั้งสองประสงค์จะแบ่งแยก ทั้งมิได้มีคำขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกอยู่ในที่ดินแปลงที่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดไว้แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยคนใดเป็นผู้มีชื่อในโฉนด จึงไม่มีหน้าที่จะต้องไปจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นได้เองตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิที่โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเกินสิบปี การที่โจทก์บรรยายถึงการเป็นทายาทก็เพียงให้ทราบว่าโจทก์เข้ามาอยู่ในที่ดินพิพาทได้อย่างไรเท่านั้น ไม่มีประเด็นเรื่องมรดกหรือขอแบ่งมรดก และที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นไว้ข้อหนึ่งว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ ก็หมายความว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะที่ได้ครอบครองปรปักษ์หรือไม่ตามที่กล่าวในฟ้องนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแทน อ.ถือว่าเป็นเจ้าของรวมและมีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทได้นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีจำเลยทั้งหกเป็นทายาทผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันส่งมอบโฉนดเพื่อนำไปทำนิติกรรมแบ่งแยกที่ดินซึ่งจำเลยยึดถือโฉนดไว้ ไม่ได้บรรยายว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดดังกล่าวร่วมกัน โจทก์ทั้งสองประสงค์จะแบ่งแยก ทั้งมิได้มีคำขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกอยู่ในที่ดินแปลงที่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดไว้แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยคนใดเป็นผู้มีชื่อในโฉนด จึงไม่มีหน้าที่จะต้องไปจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นได้เองตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของท.โจทก์กับม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมาแต่ให้ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม" โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 วรรคท้าย ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมาโดยท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับท.ด้วยเมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของท.บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของท.เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับท.และม.ด้วย นอกจากนั้นหลังจากท.ตามไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาทและโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพท.การที่ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือม.คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม.การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของท.และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้บังคับไม่ได้ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้อง มีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตามแต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถ.ได้บันทึกรับรองว่าคดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้วเมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่าถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มาศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: การครอบครองทำกินร่วมกัน และการแบ่งมรดกหลังการเสียชีวิต
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของ ท. โจทก์กับ ม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และ ม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมา แต่ให้ ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม..." โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 วรรคท้าย
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งสินสมรสหลังหย่า แม้ตกลง 'เรื่องทรัพย์สินไม่มี' และการบังคับคดีกรรมสิทธิ์รวม
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบข้อตกลงหย่าว่า "เรื่องทรัพย์สินไม่มี" แต่ต่อมาภายหลังจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์ทราบว่ามีสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิจะแบ่งได้ตามกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่ง แม้โจทก์จะตั้งสิทธิเรียกร้องในการขอแบ่งว่านิติกรรมหย่าเป็นโมฆียะ และคดีฟังไม่ได้ว่า ข้อตกลงหย่าเป็นโมฆียะก็ตาม
ในการแบ่งสินสมรสศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ศาลล่างพิพากษาให้จดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์ครึ่งหุ้นนั้น แม้จะไม่อาจแบ่งแยกหุ้นออกเป็นครึ่งหุ้นได้ก็ตาม แต่ในการบังคับตามคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องขอแบ่งสินสมรสซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวม ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 เว้นแต่ศาลจะพิพากษาเป็นอย่างอื่น เมื่อศาลมิได้พิพากษาเป็นอย่างอื่น หากมีข้อขัดข้องในชั้นบังคับคดีก็ต้องดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว
ในการแบ่งสินสมรสศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ศาลล่างพิพากษาให้จดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์ครึ่งหุ้นนั้น แม้จะไม่อาจแบ่งแยกหุ้นออกเป็นครึ่งหุ้นได้ก็ตาม แต่ในการบังคับตามคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องขอแบ่งสินสมรสซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวม ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 เว้นแต่ศาลจะพิพากษาเป็นอย่างอื่น เมื่อศาลมิได้พิพากษาเป็นอย่างอื่น หากมีข้อขัดข้องในชั้นบังคับคดีก็ต้องดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า แม้ตกลงในสัญญาว่าไม่มีทรัพย์สิน ศาลยังคงมีอำนาจแบ่งได้ตามส่วน
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบข้อตกลงหย่าว่า"เรื่องทรัพย์สินไม่มี"แต่ต่อมาภายหลังจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์ทราบว่ามีสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิจะแบ่งได้ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งแม้โจทก์จะตั้งสิทธิเรียกร้องในการขอแบ่งว่านิติกรรมหย่าเป็นโมฆียะและคดีฟังไม่ได้ว่าข้อตกลงหย่าเป็นโมฆียะก็ตาม ในการแบ่งสินสมรสศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533ที่ศาลล่างพิพากษาให้จดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์ครึ่งหุ้นนั้นแม้จะไม่อาจแบ่งแยกหุ้นออกเป็นครึ่งหุ้นได้ก็ตามแต่ในการบังคับตามคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องขอแบ่งสินสมรสซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364เว้นแต่ศาลจะพิพากษาเป็นอย่างอื่นเมื่อศาลมิได้พิพากษาเป็นอย่างอื่นหากมีข้อขัดข้องในชั้นบังคับคดีก็ต้องดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม-มรดก: สิทธิฟ้องขับไล่จำกัด, การแบ่งทรัพย์สินต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ดิน
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับจ.บิดาโจทก์โจทก์อยู่ในฐานะถือกรรมสิทธิ์แทนจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท การแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมของจ.เจ้ามรดกตลอดจนวิธีการแบ่งเป็นปัญหาในการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะดำเนินการตามกฎหมายแต่ผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นๆมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้สำหรับคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวในส่วนที่ให้แบ่งทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86ผลต่อไปต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมและมรดก: สิทธิฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์โดยตรง การแบ่งมรดกเป็นอำนาจผู้จัดการมรดก
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับ จ.บิดาโจทก์ โจทก์อยู่ในฐานะถือกรรมสิทธิ์แทน จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท
การแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมของ จ.เจ้ามรดกตลอดจนวิธีการแบ่งเป็นปัญหาในการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะดำเนินการตามกฎหมาย แต่ผู้จัดการมรดก หรือทายาทอื่น ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ สำหรับคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวในส่วนที่ให้แบ่งทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นขัดต่อ ป.ที่ดินมาตรา 86 ผลต่อไปต้องเป็นไปตาม ป.ที่ดินมาตรา 96
การแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมของ จ.เจ้ามรดกตลอดจนวิธีการแบ่งเป็นปัญหาในการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะดำเนินการตามกฎหมาย แต่ผู้จัดการมรดก หรือทายาทอื่น ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ สำหรับคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวในส่วนที่ให้แบ่งทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นขัดต่อ ป.ที่ดินมาตรา 86 ผลต่อไปต้องเป็นไปตาม ป.ที่ดินมาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดก: การแบ่งที่ดินต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด ไม่สามารถบังคับแบ่งตามข้อตกลงเฉพาะระหว่างบางคนได้
ที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ซึ่งมีทายาทคนอื่นนอกจากโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และโจทก์กับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในมรดกแทนทายาทคนอื่นด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้เดียวแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงซึ่งจำเลยจะต้องแบ่งที่ดินด้านทิศตะวันออกให้แก่โจทก์การกำหนดส่วนแบ่งตามคำขอของโจทก์จึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิ ของทายาทคนอื่นซึ่งมิได้เข้ามาในคดีได้ เพราะที่ดินทุกส่วน ทายาททุกคนต่างมีส่วนเป็นเจ้าของ สมควรให้เจ้าของรวมทุกคน ได้มีส่วนรู้เห็นและตกลงในการแบ่งด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียวให้แบ่งที่ดินตามที่จำเลยตกลงกับโจทก์เพียงสองคน คำขอของโจทก์จึงไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7519/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับคดีแบ่งมรดก: แม้จดทะเบียนรับโอนแล้ว ยังมีสิทธิขอให้ขายทอดตลาดได้หากแบ่งไม่ได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกส่วนของ ม. ตามโฉนดตราจองที่ดินและบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินแก่โจทก์หนึ่งในแปดส่วน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในชั้นบังคับคดีแม้โจทก์จะได้ไปจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทใส่ชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนของ ม. หนึ่งในแปดส่วนแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการบังคับคดีส่วนหนึ่งของการบังคับตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น โจทก์จึงยังมีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนที่บังคับให้จำเลยแบ่งตัวทรัพย์มรดกได้ เมื่อโจทก์จำเลยแถลงร่วมกันว่าไม่สามารถตกลงแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทได้ทั้งสภาพของตัวทรัพย์ก็ไม่อาจที่จะแบ่งกันเช่นนี้โจทก์ก็ชอบที่จะให้นำที่ดินและบ้านออกประมูลกันระหว่างทายาท หรือนำออกขายทอดตลาดได้แต่การที่จะให้ประมูลกันระหว่างทายาทก็น่าจะเป็นปัญหาได้เพราะทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียมิได้เข้ามาในคดีทุกคน ดังนั้นสมควรให้นำที่ดินและบ้านออกขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ร่วมที่ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่ง
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมให้เฉพาะโจทก์และยื่นคำร้องขอให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วม เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลนอกคดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ที่ขอให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมด้วย