คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1364

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม: โจทก์ร่วมที่ไม่ได้รับการเรียกเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดี ไม่สามารถได้รับการแบ่งที่ดินได้
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมให้เฉพาะโจทก์และยื่นคำร้องขอให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วม เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลนอกคดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ที่ขอให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยสิทธิของโจทก์ร่วมที่ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งเรียกเข้าเป็นโจทก์ร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมให้เฉพาะโจทก์และยื่นคำร้องขอให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมเมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลนอกคดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ที่ขอให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินโดยเจ้าของรวม: ศาลต้องกำหนดวิธีแบ่งให้ชัดเจนหากตกลงกันไม่ได้
การที่ศาลพิพากษาให้โจทก์แบ่งทรัพย์ให้จำเลยกึ่งหนึ่งตามฟ้องแย้งควรระบุวิธีการแบ่งให้ชัดเจนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 คือถ้าการแบ่งไม่ตกลง ก็ให้ขายโดยประมูลราคาในระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาด เพื่อมิให้เกิดเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 การบังคับคดีจะต้องอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษา และมาตรา 272วรรคแรก บัญญัติให้ศาลออกคำบังคับโดยกำหนดวิธีที่จะปฎิบัติตามคำบังคับไว้ด้วย จำเลยฟ้องแย้งขอแบ่งทรัพย์กึ่งหนึ่ง โดยระบุราคาทรัพย์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน ซึ่งมีความหมายว่าถ้าการแบ่งตัวทรัพย์ไม่อาจเป็นไปได้ ก็ขอแบ่งส่วนเป็นเงิน การให้ขายเอาเงินแบ่งกันจึงไม่เกินคำขอในฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดิน: ศาลพิพากษาให้แบ่งตามส่วนได้ แม้ข้อหาในคำฟ้องไม่ตรงกับวิธีแบ่ง แต่ต้องระบุส่วนแบ่งของทายาทแต่ละคนให้ชัดเจน
การฟ้องเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก และเงินรายได้จากทรัพย์มรดกนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งสี่มีอำนาจฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกและรายได้จากที่ดินมรดกได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวขอแบ่งมรดกก่อน โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้ขายทอดตลาดที่ดินมรดกราคาประมาณ8,000,000 บาท แล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วนเป็นเงินประมาณ 1,000,000 บาท การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน หากไม่สามารถทำได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งนั้นเป็นการพิพากษาให้มีการแบ่งที่ดินมรดกซึ่งโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามส่วน ตามวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 คำพิพากษาของศาลจึงหาได้ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142แต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง5 ใน 64 ส่วน โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 64 ส่วน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน โดยมิได้ระบุส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคนนั้นเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: สิทธิการได้รับส่วนแบ่งและวิธีการแบ่งทรัพย์สิน
การฟ้องเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก และเงินรายได้จากทรัพย์มรดกนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งสี่มีอำนาจฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกและรายได้จากที่ดินมรดกได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวขอแบ่งมรดกก่อน
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้ขายทอดตลาดที่ดินมรดกราคาประมาณ8,000,000 บาท แล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วน เป็นเงินประมาณ 1,000,000 บาท การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน หากไม่สามารถทำได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งนั้นเป็นการพิพากษาให้มีการแบ่งที่ดินมรดกซึ่งโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามส่วน ตามวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมที่บัญญัติไว้ในประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 คำพิพากษาของศาลจึงหาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แต่อย่างใดไม่
โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง5 ใน 64 ส่วน โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน64 ส่วน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน โดยมิได้ระบุส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคนนั้นเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน: ผู้ขายมีหน้าที่ชี้แนวเขตและแบ่งแยกที่ดินให้ชัดเจนก่อนโอน
ตามกฎหมายเจ้ากรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทุกคนต่างเป็นเจ้าของร่วมกันทุกตอนในที่ดินทั้งแปลงนั้น แต่ในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยกันเอง อาจอ้างการครอบครองเป็นส่วนสัดตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องการครอบครองต่อกันได้ โดยตกลงแบ่งที่ดินกันเองแล้วลงชื่อรับรองหลักเขตที่เจ้าพนักงานที่ดินปัก เพื่อรังวัดแบ่งแยกซึ่งเป็นการตกลงแบ่งทรัพย์กันเองอันมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 โดยถือว่าเป็นเรื่องของความยินยอมของเจ้าของรวมทุกฝ่ายพร้อมใจกันให้เป็นเช่นนั้นแต่การครอบครองเป็นส่วนสัดดังกล่าวนี้มิได้เป็นผลถึงกับจะทำให้ที่ดินเป็นอีกแปลงหนึ่งต่างหากจากที่ดินแปลงใหญ่ในโฉนดเดิมนั้นไปได้ แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกโฉนดออกจากกันก็ต้องถือว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวโฉนดเดียวกันอยู่ จำเลยอ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดทั้งแปลงคิดเป็นเนื้อที่ 35 ไร่ ได้ตกลงขายให้โจทก์ทั้งหมด แต่จำเลยยังมิได้ขอให้เจ้าพนักงานรังวัดแบ่งแยกที่ดินเนื้อที่ 35 ไร่ของจำเลยออกเป็นส่วนสัดมีเขตกว้างยาวแน่นอน โดยได้รับความยินยอมของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมรายอื่นแล้ว จำเลยเพียงแต่เข้าใจเอาเองว่าที่ดินส่วนของจำเลยอยู่ตรงไหนและไม่แน่ชัดว่าโจทก์ได้รับทราบว่าที่ดินของจำเลยอยู่ตรงส่วนไหน และมีแนวเขตกว้างยาวเท่าใด แน่นอนแล้ว ดังนั้นเมื่อจำเลยตกลงจะขายที่ดินส่วนของจำเลยเนื้อที่ 35 ไร่ แก่โจทก์โดยยังมีผู้อื่นอีกหลายรายถือกรรมสิทธิ์ปะปนกันอยู่ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะไปชี้แนวเขตที่ดินเพื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนให้โจทก์และเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการแบ่งแยกที่ดินแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะเพียงแต่จดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมรายอื่น ๆ ในโฉนดโดยอ้างว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าวในสัญญาหาได้ไม่เมื่อจำเลยไม่ยอมยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกและนำชี้เขตที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นการปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์เข้าสวมสิทธิที่จะขอแบ่งกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงมีสิทธิไม่ยอมจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของจำเลยได้ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้ในสัญญาจะซื้อขายมีข้อกำหนดว่าถ้าผู้จะขายผิดสัญญายอมใช้ค่าเสียหายแก่ผู้จะซื้อเป็นจำนวนสองเท่าของราคาขายอันเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้ากรณีที่ผู้จะขายผิดสัญญา แต่โจทก์นำสืบไม่พอฟังได้ว่าโจทก์ได้เสียหายไปอย่างไร เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งแยกที่ดิน: สิทธิของเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์เมื่อมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
ผู้ร้อง ป. ส. และจำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรวมกันแต่ได้ตกลงแบ่งแยกเป็นสัดส่วนกันก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกเป็นบุคคลล้มละลายและการที่ ป. กับ ส. ขายที่ดินให้แก่ผู้ร้องก็เป็นการขายตามสัดส่วนของตนที่แบ่งแยกไว้แน่นอนแล้ว ผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ในส่วนที่ดินเป็นเนื้อที่ที่แน่นอนเช่นกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ยังคงถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยไม่สามารถระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินส่วนใดของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ไม่ ทั้งข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนย่อมผูกมัดเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 แต่เมื่อที่ดินพิพาทมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพียงยึดที่ดินได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินพิพาทนั้น และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดี ฯ พ.ศ.2522 ข้อ 32 กำหนดว่า การที่จะยึดทรัพย์ทั้งหมดกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของรวมกับบุคคลอื่นนั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฏว่าส่วนใดเป็นของลูกหนี้ แต่เมื่อผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนแน่นอนแล้ว แม้ยังมิได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีสิทธิขายทอดตลาดเฉพาะเพียงส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจำกัดเฉพาะส่วนของลูกหนี้
ผู้ร้อง ป. ส. และจำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรวมกันแต่ได้ตกลงแบ่งแยกเป็นสัดส่วนกันก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2กับพวกเป็นบุคคลล้มละลายและการที่ ป. กับ ส. ขายที่ดินให้แก่ผู้ร้องก็เป็นการขายตามสัดส่วนของตนที่แบ่งแยกไว้แน่นอนแล้ว ผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ในส่วนที่ดินเป็นเนื้อที่ที่แน่นอนเช่นกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ยังคงถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยไม่สามารถระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินส่วนใดของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ไม่ ทั้งข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นเป็นสัดส่วนย่อมผูกมัดเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 แต่เมื่อที่ดินพิพาทมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพียงยึดที่ดินได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินพิพาทนั้น และระเบียบกระทรวงยุติธรรมวาด้วยการบังคับคดี ฯพ.ศ. 2522 ข้อ 32 กำหนดว่า การที่จะยึดทรัพย์ทั้งหมดกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของรวมกับบุคคลอื่นนั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฎว่าส่วนใดเป็นของลูกนี้ แต่เมื่อผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนแน่นอนแล้ว แม้ยังมิได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีสิทธิขายทอดตลาดเฉพาะเพียงส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดิน: วิธีการแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 และข้อจำกัดในการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ จากจำนวนที่ดิน 7 ไร่ 1 งาน จำเลยให้การว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมเพียง1 งาน 26 ตารางวา เป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โต้แย้งกันในจำนวนที่ดินส่วนที่ต่างกัน คู่ความตีราคาทุนทรัพย์พิพาท 90,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองไปทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์กึ่งหนึ่ง หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลมิอาจใช้คำพิพากษาแทนเจตนาเจ้าของกรรมสิทธิ์
วิธีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 แม้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินให้โจทก์กึ่งหนึ่งก็ตาม แต่จะพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยไม่ได้
of 27