คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1364

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ศาลมีอำนาจแบ่งตามส่วนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364
ตามฟ้องโจทก์ โจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินที่โจทก์และจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามส่วนของแต่ละคนที่มีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นประการสำคัญ ส่วนการจะแบ่งโดยวิธีใดและได้ส่วนแบ่งเป็นที่ดินหรือเงินนั้นโจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องหลายประการซึ่งศาลย่อมมีอำนาจที่จะแบ่งให้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 อยู่แล้ว การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง โดยวิธีการแบ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1364 ไม่เป็นการพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินตามสัดส่วน โดยศาลมีอำนาจแบ่งตามกฎหมาย แม้โจทก์ขอหลายวิธี
ตามฟ้องโจทก์ โจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินที่โจทก์และจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามส่วนของแต่ละคนที่มีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นประการสำคัญ ส่วนการจะแบ่งโดยวิธีใดและได้ส่วนแบ่งเป็นที่ดินหรือเงินนั้นโจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องหลายประการซึ่งศาลย่อมมีอำนาจที่จะแบ่งให้ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา1364 ไม่เป็นการพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำขอของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดและการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม: การมอบอำนาจที่ไม่ชัดเจนและการโต้แย้งสิทธิ
การฟ้องคดีเรื่องจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินกับเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยนำบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวออกให้เช่าเป็นคนละเรื่องมิได้เกี่ยวเนื่องกันเมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ย. ดำเนินคดีเฉพาะเรื่องจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดิน ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหาย แม้โจทก์จะเบิกความว่าได้ให้ ย. ดำเนินคดีเกี่ยวกับละเมิดและเรียกค่าเสียหายด้วยก็จะฟังคำเบิกความดังกล่าวเป็นการให้สัตยาบันตามกฎหมายหาได้ไม่ คำฟ้องเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหายจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีก่อนศาลวินิจฉัยเพียงว่า ตามคำฟ้องโจทก์ยังไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ มิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ขอแบ่งสัดส่วนในที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยโดยขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกให้ เป็นการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งจำเลยในฐานะผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมจะต้องดำเนินการทางทะเบียนด้วย เมื่อจำเลยไม่ยอมดำเนินการดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม การซื้อขายที่ดินส่วนของผู้อื่นเป็นโมฆะ
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1ที่ 2 และ ร. สามีโจทก์ที่ 3 ที่ตายไปแล้วกับจำเลยที่ 1 ให้แบ่งที่ดินมรดกระหว่างกัน ได้มีการตกลงแบ่งเขตที่ดินกันเป็นส่วนสัดแล้ว จึงตกเป็นของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ร. และจำเลยที่ 1ตามส่วนที่ได้รับแบ่งมา แม้จำเลยที่ 1 จะได้นำที่ดินพิพาททั้งหมดไปออกโฉนดเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเต็มทั้งแปลงก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2และ ร. จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร.ให้แก่พ. คงมีสิทธิที่จะยกส่วนของตนให้ พ.เท่านั้นเมื่อพ. ตาย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยาผู้รับมรดกของ พ.จึงไม่มีสิทธิดีไปกว่าพ. การที่จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 2มีสิทธิขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนที่ได้รับมาให้แก่จำเลยที่ 3เท่านั้น ไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาททั้งหมดซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร. รวมอยู่ด้วยให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเพียงเฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้รับแบ่งมรดกและต่อมาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ศาลพิพากษาเพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งแปลงไม่ได้ คงเพิกถอนได้เฉพาะการซื้อขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร.เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมและคดีล้มละลาย: สิทธิในการยึดทรัพย์และแบ่งส่วนของเจ้าหนี้
ที่ดินพิพาทมีลูกหนี้เป็นเจ้าของรวม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิยึดมาแบ่งแก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 19,22(1) และ 109(1) แม้ผู้ร้องกับพวกเป็นเจ้าของรวมฝ่ายข้างมากเห็นว่าไม่ควรขายที่ดินพิพาททั้งแปลงก็จะนำบทบัญญัติมาตรา 1361 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ เพราะกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรวมแต่ละคนย่อมครอบไปเหนือทรัพย์สินทั้งหมดจนกว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สินหรือโดยการขาย ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจยึดที่ดินพิพาทออกขายได้ทั้งแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ผู้ร้องย่อมใช้สิทธิเรียกขอแบ่งส่วนของตน ตามสิทธิของเจ้าของรวมได้ในทางการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 287 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ไม่ต้องแสดงเจตนาครอบครองเกิน 10 ปี หากมีการครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว
คำฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องอีกว่าได้ครอบครองที่ดินโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเกิน 10 ปี เพื่อให้เห็นว่าได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครอง และในคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ต้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ หรือขอให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันหากจำเลยไม่ยินยอมแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแต่อย่างใด ที่ดินส่วนของโจทก์ เจ้าของเดิม ได้เคยยื่นคำร้องขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ให้เป็นของ ห.ไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ดำเนินการห.ก็นำมาขายให้โจทก์เสียก่อนเมื่อโจทก์เข้าครอบครองก็ได้ปลูกบ้านทำรั้วเป็นส่วนสัดตลอดมา จำเลยทุกคนซึ่งเป็นเจ้าของรวมไม่คัดค้านดังนี้ เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินพิพาทไปแบ่งแยก และไม่ปรากฏว่าการแบ่งแยกดังกล่าวได้กระทำในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ถึงแม้โจทก์จะมิได้บอกกล่าวแก่จำเลยอื่นก่อนฟ้องโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยทุกคนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยไม่มีพินัยกรรม: สิทธิทายาทในหุ้นและทรัพย์สิน, วิธีการประมูล/ขายทอดตลาด
ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรม หุ้นที่ดินและบ้านในส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายย่อมตกเป็นของทายาทในทันทีการโอนหุ้นอันเป็นทรัพย์มรดกนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 มาตรา 1132 และข้อบังคับของบริษัทฯ มิได้ห้ามโอนไว้จำเลยซึ่งเป็นภริยาผู้ตายและเป็นผู้จัดการมรดกจึงต้องโอนหุ้นให้โจทก์บิดาผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมตามส่วน จำเลยจะขอให้โจทก์รับหุ้นที่เป็นตัวเงินตามมูลค่าหุ้นหาได้ไม่ ส่วนการแบ่งทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินและบ้าน ชอบที่จะให้ทายาทประมูลกันเองก่อน ได้เงินสุทธิเท่าใดก็แบ่งให้โจทก์ตามส่วนหากไม่อาจประมูลกันได้ในระหว่างทายาทให้นำออกขายทอดตลาดแล้วแบ่งเงินให้โจทก์ตามส่วนดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364,1745

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2305/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการครอบครองแยกส่วนสัด ศาลอนุญาตแบ่งแยกที่ดินได้ตามส่วนที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์
แม้ตามโฉนด ที่ดินจะมีชื่อโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมแต่เมื่อโจทก์จำเลยต่างแยกกันครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว ก็ชอบที่จะแบ่งที่ดินบริเวณที่โจทก์ครอบครองนั้นให้แก่โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2305/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งแยกที่ดินเมื่อมีการครอบครองเป็นส่วนสัด แม้ยังไม่มีการจดทะเบียน
แม้ตามโฉนดที่ดินจะมีชื่อโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แต่เมื่อโจทก์จำเลยต่างแยกกันครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว ก็ชอบที่จะแบ่งที่ดินบริเวณที่โจทก์ครอบครองนั้นให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินมรดก เจ้าของร่วมครอบครองแล้ว ศาลไม่อนุมัติแบ่งตามความยาวรูปที่ดินหากเกิดความเสียหาย
โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกันคนละครึ่งจำเลยครอบครองส่วนด้าน ทิศเหนือ โจทก์ครอบครองส่วนด้าน ทิศใต้โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งตาม ความยาวของรูปที่ดินประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 บัญญัติเรื่องการแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวมว่า "...ถ้า เจ้าของรวมไม่ตกลง กันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง..." เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการแบ่งที่ดินพิพาทตาม ความยาวของรูปที่ดินน่าจะทำให้เกิดความเสียหายมากถึง ขนาดต้อง รื้อบ้านจำเลย ซึ่ง บทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่มีความประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น และทั้งโจทก์จำเลยได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกครอบครองเป็นส่วนสัดอยู่แล้ว จึงไม่ชอบที่จะแบ่งตาม ความยาวของรูปที่ดินดัง ที่โจทก์ขอ.
of 27