พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินมรดก: ศาลพิจารณาความเสียหายจากการแบ่งแยก และการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด
โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกันคนละครึ่ง จำเลยครอบครองส่วนด้านทิศเหนือ โจทก์ครอบครองส่วนด้านทิศใต้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งตาม ความยาวของรูปที่ดินประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 บัญญัติเรื่องการแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวมว่า "...ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง..." เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการแบ่งที่ดินพิพาทตามความยาวของรูปที่ดินน่าจะทำให้เกิดความเสียหายมากถึงขนาดต้องรื้อบ้านจำเลย ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่มีความประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น และทั้งโจทก์จำเลยได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกครอบครองเป็นส่วนสัดอยู่แล้ว จึงไม่ชอบที่จะแบ่งตามความยาวของรูปที่ดินดังที่โจทก์ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092-4093/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบ่งกรรมสิทธิ์รวม: ศาลสั่งแบ่งตามการครอบครองและสิทธิ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย
โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกันในที่ดินแปลงหนึ่งต่างฟ้องกันขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามทิศทางที่อ้างว่าได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่พิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว แม้จะได้ความว่าโจทก์จำเลยยังมิได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเป็นส่วนสัดกันอันมิได้เป็นไปตามข้ออ้างในคำฟ้องของแต่ละฝ่ายก็ตาม การที่โจทก์และจำเลยต่างยื่นฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมก็เท่ากับมีความประสงค์จะแบ่งที่พิพาทแล้วจึงแบ่งที่พิพาทให้ตามที่แต่ละฝ่ายมีสิทธิ์ได้ โจทก์จำเลยต่างปลูกบ้านเรือนไว้บนที่พิพาท การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมศาลย่อมให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละฝ่ายและตามทิศทางที่ต่างได้ครอบครอง ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความเสียหายจากการแบ่งกัน หากไม่ตกลงกัน จึงให้ขายโดยประมูลราคากันเองหรือขายทอดตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092-4093/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดิน: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้แบ่งตามการครอบครองจริง แม้ไม่มีข้อตกลง
โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกันในที่ดินแปลงหนึ่งต่างฟ้องกันขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามทิศทางที่อ้างว่าได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่พิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว แม้จะได้ความว่าโจทก์จำเลยยังมิได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเป็นส่วนสัดกันอันมิได้เป็นไปตามข้ออ้างในคำฟ้องของแต่ละฝ่ายก็ตาม การที่โจทก์และจำเลยต่างยื่นฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมก็เท่ากับมีความประสงค์จะแบ่งที่พิพาทแล้ว จึงแบ่งที่พิพาทให้ตามที่แต่ละฝ่ายมีสิทธิได้ โจทก์จำเลยต่างปลูกบ้านเรือนไว้บนที่พิพาท การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมศาลย่อมให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละฝ่ายและตามทิศทางที่ต่างได้ครอบครอง ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความเสียหายจากการแบ่งกันหากไม่ตกลงกัน จึงให้ขายโดยประมูลราคากันเองหรือขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092-4093/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบ่งกรรมสิทธิ์รวม: แม้ยังตกลงกันไม่ได้ แต่ความประสงค์จะแบ่งมีอยู่ ศาลสั่งแบ่งตามการครอบครอง
โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกันในที่ดินแปลงหนึ่งต่างฟ้องกันขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามทิศทางที่อ้างว่าได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่พิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว แม้จะได้ความว่าโจทก์จำเลยยังมิได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเป็นส่วนสัดกันอันมิได้เป็นไปตามข้ออ้างในคำฟ้องของแต่ละฝ่ายก็ตาม การที่โจทก์และจำเลยต่างยื่นฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมก็เท่ากับมีความประสงค์จะแบ่งที่พิพาทแล้วจึงแบ่งที่พิพาทให้ตามที่แต่ละฝ่ายมีสิทธิ์ได้
โจทก์จำเลยต่างปลูกบ้านเรือนไว้บนที่พิพาท การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมศาลย่อมให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละฝ่ายและตามทิศทางที่ต่างได้ครอบครอง ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความเสียหายจากการแบ่งกัน หากไม่ตกลงกัน จึงให้ขายโดยประมูลราคากันเองหรือขายทอดตลาด
โจทก์จำเลยต่างปลูกบ้านเรือนไว้บนที่พิพาท การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมศาลย่อมให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละฝ่ายและตามทิศทางที่ต่างได้ครอบครอง ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความเสียหายจากการแบ่งกัน หากไม่ตกลงกัน จึงให้ขายโดยประมูลราคากันเองหรือขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5747/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าจากพฤติการณ์จงใจทิ้งร้าง และการแบ่งสินสมรสที่ดินที่ถูกจำนองขายฝาก
จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ทำให้จำเลยถูกบัตรสนเท่ห์ จึงทำร้ายโจทก์จนกระดูกซี่โครงร้าว แล้วออกจากบ้านไปอยู่กับภริยาเก่าโดยไม่กลับมาอยู่กับโจทก์อีกเลย แม้ปรากฏว่าจำเลยเคยช่วยออกค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ในบ้านโจทก์โดยฝากบุตรไปให้แต่เมื่อพบกันก็ไม่พูดกัน ดังนี้ถือว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์เมื่อเป็นระยะเวลาเกินหนึ่งปี ก็เป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4)
ที่ดินที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสโดยมารดายกให้โดยเสน่หาและให้ถือกรรมสิทธิ์รวมกับพี่อีก 3 คน ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับ เมื่อการยกให้มิได้แสดงไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินส่วนของโจทก์จึงตกเป็นสินสมรส แม้ต่อมาได้มีการแบ่งแยกโฉนดออกไปเป็นส่วนของโจทก์เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้วก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ไม่ทำให้ที่ดินส่วนของโจทก์หลังแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่ได้ตรวจชำระใหม่
ที่ดินที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสโดยมารดายกให้โดยเสน่หาและให้ถือกรรมสิทธิ์รวมกับพี่อีก 3 คน ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับ เมื่อการยกให้มิได้แสดงไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินส่วนของโจทก์จึงตกเป็นสินสมรส แม้ต่อมาได้มีการแบ่งแยกโฉนดออกไปเป็นส่วนของโจทก์เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้วก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ไม่ทำให้ที่ดินส่วนของโจทก์หลังแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่ได้ตรวจชำระใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมและการครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดิน การแบ่งแยกที่ดินให้เป็นธรรมและคำนึงถึงการอยู่อาศัย
โจทก์ทั้งสามและจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงพิพาทซึ่งยังไม่ได้ตกลงแบ่งกันเป็นส่วนสัดว่าที่ดินส่วนไหนเป็นของใคร การที่จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินแปลงพิพาทแต่ผู้เดียวแม้จะได้กั้นรั้วในที่ดินพิพาทแยกครอบครองเป็นส่วนสัด ก็ต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินนั้นแทนเจ้าของรวมคนอื่น หาใช่ครอบครองโดยปรปักษ์ไม่ การแบ่งทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 จะแบ่งส่วนใดให้เป็นของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ให้ขายทอดตลาดก็ได้ จำเลยปลูกบ้านอยู่อาศัยทางด้านทิศใต้ของที่ดินแปลงพิพาทซึ่งอยู่ติดทางสาธารณประโยชน์มาประมาณ 20 ปีแล้ว หากจะให้เอาที่ดินแปลงพิพาทประมูลหรือขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งโจทก์จำเลยตามส่วนจำเลยก็อาจต้องรื้อบ้านออกไปเป็นการเดือดร้อน ศาลย่อมให้จำเลยได้ส่วนแบ่งในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้โดยให้ที่ดินที่โจทก์ทั้งสามจะได้รับส่วนแบ่งมีทางออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมผูกพันทายาท การยกเลิกข้อตกลงโดยฝ่ายเดียวทำไม่ได้หากทายาทไม่ยินยอม
โจทก์และบิดาจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน ต่อมาได้ร่วมกันยื่นคำร้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยบันทึกข้อตกลงแบ่งแยกให้บิดาจำเลยได้เนื้อที่ 1 ใน 5 ส่วน โจทก์และบิดาจำเลยลงชื่อไว้ บันทึกนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และเป็นข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 จึงผูกพันโจทก์และบิดาจำเลย เมื่อบิดาจำเลยตายจำเลยรับมรดกที่ดินมาก็ย่อมผูกพันจำเลยด้วย การที่โจทก์อ้างว่าต้องแบ่งตามที่โจทก์ครอบครอง เป็นการขัดกับข้อความในบันทึกข้อตกลง ส่วนที่โจทก์ยื่นคำขอยกเลิกคำขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมโดยกระทำไปฝ่ายเดียวอ้างว่าบิดาจำเลยตายแล้วนั้น ไม่มีผลทำให้ข้อตกลงเรื่องแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมระงับไปเพราะจำเลยซึ่งเป็นทายาทมิได้ยินยอม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมผูกพันทายาท การอ้างการครอบครองปรปักษ์ทำลายข้อตกลงไม่ได้
โจทก์และบิดาจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน ต่อมาได้ร่วมกันยื่นคำร้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยบันทึกข้อตกลงแบ่งแยกให้บิดาจำเลยได้เนื้อที่ 1 ใน 5 ส่วน โจทก์และบิดาจำเลยลงชื่อไว้ บันทึกนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และเป็นข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 จึงผูกพันโจทก์และบิดาจำเลย เมื่อบิดาจำเลยตายจำเลยรับมรดกที่ดินมาก็ย่อมผูกพันจำเลยด้วย การที่โจทก์อ้างว่าต้องแบ่งตามที่โจทก์ครอบครอง เป็นการขัดกับข้อความในบันทึกข้อตกลงส่วนที่โจทก์ยื่นคำขอยกเลิกคำขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวม โดยกระทำไปฝ่ายเดียวอ้างว่าบิดาจำเลยตายแล้วนั้น ไม่มีผลทำให้ข้อตกลงเรื่องแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมระงับไปเพราะจำเลยซึ่งเป็นทายาทมิได้ยินยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและสิทธิในการร้องขัดทรัพย์เมื่อมีการยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด
โจทก์และจำเลยต่างมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ พ. แต่โจทก์จำเลยไม่สามารถแบ่งกันได้ การที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งยึดที่ดินที่พิพาทออกขายทอดตลาดเป็นกรณีร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างโจทก์จำเลยผู้เป็นเจ้าของรวมตามป.พ.พ. มาตรา 1364 มิใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.ทั้งนี้เพราะโจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี หาใช่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามป.พ.พ. มาตรา 288.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบสิทธิเช่าและแบ่งมรดก: สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดกที่สามารถแบ่งได้
เจ้ามรดกทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากผู้อื่น จดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 25 ปี เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของเจ้ามรดกได้ไปขอโอนชื่อผู้เช่าจากเจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อสัญญาเช่นเดิมและเมื่อหมดอายุสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ามีสิทธิต่อสัญญาเช่าใหม่ต่อไปได้ การที่จำเลยที่ 1 เช่าตึกแถวพิพาทจึงเป็นการสืบสิทธิของเจ้ามรดกผู้เช่าเดิมนั่นเอง เมื่อจำเลยที่ 1 ขอโอนชื่อดังกล่าวแล้วได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการขายสิทธิให้จำเลยที่ 2 แสดงว่าสิทธิการเช่าดังกล่าวมีราคาและถือเอาได้จึงเป็นทรัพย์สินและทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทที่จะแบ่งปันกันได้ เพื่อความสะดวกในการแบ่งมรดกสมควรตีราคาเป็นตัวเงินแล้วจึงแบ่งกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364.