พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซื้อเพื่อขายต่อ โดยพิจารณาจากเจตนาและลักษณะการถือครอง
เมื่อได้ความว่าโจทก์จำเลยร่วมกันซื้อที่ดินเพื่อขายเอากำไรมาแบ่งกัน มิได้มีการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัด วิธีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงต้องเป็นไปตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1364 กำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5634/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีนี้ไม่ใช่คดีมรดก แต่เป็นคดีเจ้าของรวมพิพาทกัน จึงไม่อาจใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
การฟ้องคดีมรดกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1754 หมายถึงคดีที่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาและเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ซึ่งมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยในที่ดินและมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งทางด้านทิศตะวันตกตามที่ ม. มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลย และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ ม. ยกให้จนได้สิทธิครอบครองแล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการต่อสู้ว่า ม. มิใช่เจ้าของรวม แม้จำเลยจะให้การว่า ม. กับโจทก์ไม่มีบุตรด้วยกันและจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ม. ก็เป็นการยกขึ้นอ้างเพื่อสนับสนุนว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ม. ด้วยผู้หนึ่ง จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งทรัพย์มรดก แต่พิพาทกันในเรื่องความเป็นเจ้าของรวมที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความหาใช่การฟ้องคดีมรดกไป จึงไม่อาจนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาและเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ซึ่งมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยในที่ดินและมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งทางด้านทิศตะวันตกตามที่ ม. มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลย และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ ม. ยกให้จนได้สิทธิครอบครองแล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการต่อสู้ว่า ม. มิใช่เจ้าของรวม แม้จำเลยจะให้การว่า ม. กับโจทก์ไม่มีบุตรด้วยกันและจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ม. ก็เป็นการยกขึ้นอ้างเพื่อสนับสนุนว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ม. ด้วยผู้หนึ่ง จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งทรัพย์มรดก แต่พิพาทกันในเรื่องความเป็นเจ้าของรวมที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความหาใช่การฟ้องคดีมรดกไป จึงไม่อาจนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5880/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในบ้านพิพาท: การแบ่งแยกและการชดใช้ราคาเมื่อมีสิทธิในที่ดิน
โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกันในบ้านพิพาท คดีนี้โจทก์จำเลยต่างฟ้องขอให้ขับไล่ซึ่งกันและกัน ทั้งจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้เงินค่าบ้านพิพาทมาด้วย ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของรวมเรียกให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่การให้รื้อถอนบ้านพิพาทย่อมทำให้สภาพบ้านเสียหาย ไม่เป็นผลดีแก่ทั้งสองฝ่ายแต่อย่างใด ทั้งการให้นำเฉพาะบ้านพิพาทออกประมูลขายทอดตลาดย่อมจะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์โดยไม่เป็นธรรม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทตามสัญญาเช่าที่โจทก์ทำไว้กับบุคคลภายนอก บ้านพิพาทจึงควรตกเป็นของโจทก์ โดยให้จำเลยได้รับแต่ส่วนแบ่งกึ่งหนึ่งของราคาบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำในขณะที่ผู้เยาว์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากศาล และผลกระทบต่อสิทธิในกรรมสิทธิ์รวม
จำเลยที่ 12 ทำข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทกับโจทก์ อันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 (12) ในขณะที่จำเลย 12 เป็นผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 และมีผลกระทบถึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยก ย่อมเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรมซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ร่วมกระทำ ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ด้วย โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสิบสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนตามข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกากำหนดตำแหน่งของที่ดินที่จะขอแบ่งแยกเป็นของตนเองเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสิบสองไม่ได้โต้แย้งในเรื่องจำนวนที่ดินที่โจทก์พึงได้รับอีก จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกากำหนดตำแหน่งของที่ดินที่จะขอแบ่งแยกเป็นของตนเองเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสิบสองไม่ได้โต้แย้งในเรื่องจำนวนที่ดินที่โจทก์พึงได้รับอีก จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในการถูกบังคับคดี: การกันส่วนที่ดินก่อนขายทอดตลาด
ผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับผู้ร้องก่อนที่จะมีการบังคับคดีข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินดังกล่าว ไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมายย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินพิพาททั้งแปลงออกขายตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินรวมที่ถูกบังคับคดี: การคุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย
เมื่อผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับผู้ร้องก่อนมีการบังคับคดีแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์ซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินพิพาททั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในการถูกบังคับคดี การกันที่ดินส่วนของเจ้าของกรรมสิทธิ์ก่อนขายทอดตลาด
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด เมื่อผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับผู้ร้องก่อนจะมีการบังคับคดีแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์ซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาที่ดินของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมายซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินพิพาททั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสกรณีที่ดินมีบ้านพักส่วนตัวและตึกแถวให้เช่า ศาลชี้ทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นสินส่วนตัว
ทรัพย์สินส่วนที่เป็นสินสมรสอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์และจำเลยมีเพียงตึกแถว 2 หลัง การจะให้ขายทอดตลาดที่ดินทั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ซึ่งมีบ้านพักอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยอยู่อีก 1 หลังย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นสินส่วนตัวของจำเลย ไม่ใช่กรรมสิทธิ์รวม แต่หากจะให้ขายทอดตลาดเฉพาะตึกแถว 2 หลัง ที่เป็นสินสมรสแล้วนำเงินมาแบ่งกันก็คาดหมายได้ว่าจะไม่มีผู้ซื้อ หรือถึงจะขายได้ก็จะได้ราคาที่ไม่เหมาะสม เพราะผู้ซื้อไม่มีสิทธิในที่ดิน จึงเห็นควรแบ่งทรัพย์โดยให้ตึกแถว 2 หลังที่เป็นสินสมรส เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน และนำค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นถือเป็นสินสมรสอันจะต้องนำมาแบ่งให้แก่โจทก์ตามส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1364
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3952/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีสิทธิถูกโต้แย้ง และการคำนวณกรรมสิทธิ์รวมเมื่อที่ดินขาดหายไปจากการรังวัด
โจทก์และจำเลยเคยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินพิพาท แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากที่ดินส่วนของโจทก์ขาดหายไปประมาณ30 ตารางวา โจทก์ต้องการที่ดินส่วนของโจทก์ 100 ตารางวา แต่จำเลยไม่ยินยอม ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์และจำเลยทำสัญญาตกลงซื้อขายที่ดินโดยให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเป็นจำนวนเนื้อที่แน่นอนคือ 100 ตารางวา เมื่อโจทก์และจำเลยขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์โดยแยกที่ดินส่วนของตนเองออกมา ปรากฏว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงขาดหายไป 30ตารางวา จำเลยจะเอาเนื้อที่ที่อ้างว่าขาดหายไปมาหักจากเนื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงแล้วแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในโฉนดหาได้ไม่ โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจำนวน 100 ตารางวา ตามที่ซื้อขายจริง
โจทก์และจำเลยทำสัญญาตกลงซื้อขายที่ดินโดยให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเป็นจำนวนเนื้อที่แน่นอนคือ 100 ตารางวา เมื่อโจทก์และจำเลยขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์โดยแยกที่ดินส่วนของตนเองออกมา ปรากฏว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงขาดหายไป 30ตารางวา จำเลยจะเอาเนื้อที่ที่อ้างว่าขาดหายไปมาหักจากเนื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงแล้วแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในโฉนดหาได้ไม่ โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจำนวน 100 ตารางวา ตามที่ซื้อขายจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3952/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรวมในที่ดินขาดหายไปจากการรังวัด การแบ่งแยกที่ดินตามสัญญาซื้อขาย และอำนาจฟ้อง
โจทก์และจำเลยเคยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อรังวัดแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากที่ดินส่วนของโจทก์ขาดหายไปประมาณ 30ตารางวา โจทก์ต้องการที่ดินส่วนของโจทก์ 100 ตารางวา แต่จำเลยไม่ยินยอม ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินโดยให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเป็นจำนวนเนื้อที่แน่นอนคือ 100 ตารางวา เมื่อโจทก์จำเลยขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์โดยแยกที่ดินส่วนของตนเองออกมา ปรากฏว่าที่ดินทั้งแปลงขาดหายไป 30 ตารางวา จำเลยจะเอาเนื้อที่ที่อ้างว่าขาดหายไปมาหักจากเนื้อที่ดินทั้งแปลงแล้วแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในโฉนดหาได้ไม่ โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวน 100 ตารางวา ตามที่ซื้อขายจริง
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินโดยให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเป็นจำนวนเนื้อที่แน่นอนคือ 100 ตารางวา เมื่อโจทก์จำเลยขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์โดยแยกที่ดินส่วนของตนเองออกมา ปรากฏว่าที่ดินทั้งแปลงขาดหายไป 30 ตารางวา จำเลยจะเอาเนื้อที่ที่อ้างว่าขาดหายไปมาหักจากเนื้อที่ดินทั้งแปลงแล้วแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในโฉนดหาได้ไม่ โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวน 100 ตารางวา ตามที่ซื้อขายจริง