คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1364

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินรวมและการพิพากษาตามข้อตกลงของคู่ความ ศาลสามารถงดสืบพยานและพิพากษาตามที่ตกลงกันได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104ให้อำนาจแก่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่จำเลยและโจทก์นำเข้าสู่กระบวนพิจารณานั้นเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนิน กระบวนพิจารณาอันเป็นสาระสำคัญ โดยสั่งให้ทำแผนที่ วิวาทตามที่คู่ความนำชี้ เมื่อคู่ความแถลงรับว่าแผนที่ วิวาทถูกต้อง และแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้น ก็เป็น การเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดสืบพยานทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการใช้อำนาจศาลตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ ในขณะนั้นและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 บัญญัติไว้ได้ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็น กรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้าน อยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดิน พิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจ ได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนว แผนที่วิวาทดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวมจำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอ บังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลยเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยพยานหลักฐานเพียงพอ และการแบ่งทรัพย์สินรวมโดยอาศัยแผนที่ที่คู่ความรับรอง
ป.วิ.พ.มาตรา 104 ให้อำนาจแก่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่จำเลยและโจทก์นำเข้าสู่กระบวนพิจารณานั้นเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเป็นสาระสำคัญ โดยสั่งให้ทำแผนที่วิวาทตามที่คู่ความนำชี้ เมื่อคู่ความแถลงรับว่าแผนที่วิวาทถูกต้อง และแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้น ก็เป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการใช้อำนาจศาลตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ ป.พ.พ.มาตรา1364 บัญญัติไว้ได้ ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดินพิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนวแผนที่วิวาทดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวม จำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอบังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4104/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินมรดกโดยไม่ชอบ ผู้จัดการมรดกใช้อำนาจเกินขอบเขต ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
สำหรับการแบ่งขายที่ดินครั้งแรก จำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกอ้างว่าขายเพื่อนำเงินไปชำระหนี้ของเจ้ามรดก จึงเป็นการจัดสรรทรัพย์สินของเจ้ามรดกเพื่อชำระหนี้ ซึ่งจะต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ.มาตรา 1740 วรรคท้ายกล่าวคือ ให้เอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด แต่ทายาทคนใดคนหนึ่งอาจมิให้มีการขายเช่นว่านั้นได้โดยชำระราคาทรัพย์สินนั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ผู้ตีราคาซึ่งศาลตั้งขึ้นได้กำหนดให้ จนพอแก่จำนวนที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งห้าให้ความยินยอมในการขายที่ดินดังกล่าว จึงเป็นการซื้อขายที่ไม่ชอบ สำหรับการขายที่ดินครั้งที่สองในที่ดินส่วนที่เหลือนั้น
แม้ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 282 เป็นสินสมรสของเจ้ามรดกกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งก็ตามแต่จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิในฐานะเจ้าของรวมกับเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วนของเจ้ามรดกครึ่งหนึ่งย่อมตกได้แก่ทายาทซึ่งมีโจทก์ทั้งห้าที่เป็นทายาทรวมอยู่ด้วยทันที จำเลยที่ 1 จึงยังมีสิทธิในฐานะเจ้าของรวมกับทายาทของเจ้ามรดกคนอื่น แม้ในเวลาต่อมาจำเลยที่ 1 จะทำการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง จำเลยที่ 1 และทายาทของเจ้ามรดกคนอื่นก็ยังเป็นเจ้าของรวมที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ จำเลยที่ 1 จะแบ่งแยกแล้วกำหนดว่าเป็นของตนส่วนใดโดยมิได้รับความยินยอมจาเจ้าของรวมคนอื่น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1364หาได้ไม่ ดังนั้น ที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 15 ไร่ จึงมิใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 1 รับโอนมรดกที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 15 ไร่ ใส่ชื่อจำเลยทั้งสองและต่อมาโอนขายส่วนของตนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งห้า จึงเป็นการโอนโดยมิชอบเช่นกัน เมื่อการทำสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งสองครั้งของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 แม้จะเป็นทายาท แต่รับโอนในฐานะผู้ซื้อมิใช่รับโอนในฐานะทายาท จึงมิใช่เป็นไปเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก แต่เป็นการกระทำนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดกโดยคบคิดกับจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกต้องเสียเปรียบ โจทก์ทั้งห้าจึงมีสิทธิที่จะเพิกถอนการโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกในสภาพเดิม
จำเลยที่ 2 ใช้หนี้ของเจ้ามรดกให้แก่ธนาคารไป 548,000บาท ดังนั้น จึงต้องหักเงินกองมรดกใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 เสียก่อนแบ่งมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินรวมในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมและการขายทอดตลาด
ปัญหาที่ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วกันเงินกึ่งหนึ่งที่ได้จากการขายทอดตลาดตามสิทธิของผู้ร้องทั้งสี่ให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่ได้หรือไม่นั้นแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกเป็นข้อคัดค้านในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมีผู้ร้องทั้งสี่กับจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยมีบ้านเลขที่ 113/10ปลูกคร่อมอยู่โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ร้องทั้งสี่ได้ครอบครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนใดมาก่อน แสดงว่าผู้ร้องทั้งสี่กับจำเลยมิได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดผู้คัดค้านซึ่งมีหน้าที่จัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยจึงมีสิทธิยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเพื่อนำออกขายทอดตลาดได้ จะเจาะจงให้ผู้คัดค้านยึดเฉพาะส่วนของจำเลยและให้ขายทอดตลาดเฉพาะส่วนของจำเลยไม่มีทางจะกระทำได้ เรื่องเช่นนี้ แม้แต่ในกรณีระหว่างผู้ร้องทั้งสี่กับจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ถ้าการแบ่งกันเองไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ศาลก็ต้องสั่งให้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 วรรคสอง เมื่อผู้คัดค้านยืนยันให้ขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดจึงชอบที่จะปฏิบัติไปตามนั้นและผู้ร้องทั้งสี่ย่อมมีทางจะร้องขอให้แบ่งส่วนของตนตามสิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในทางการบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม, การครอบครองปรปักษ์, มรดก: สิทธิในการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และ ต. มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดิน 4 แปลง โดยมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่กึ่งหนึ่งในที่ดินทั้ง 4 แปลง จึงขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยกึ่งหนึ่ง เป็นฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถให้การต่อสู้คดีได้ ไม่จำต้องบรรยายว่าในระหว่างโจทก์ด้วยกันแต่ละคนมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทคนละเท่าใด ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
พ. เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทโดยชอบและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าที่ดินในส่วนที่เป็นของ พ. การครอบครองที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการครอบครองแทน พ. หรือทายาท เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองตามมาตรา 1382
จำเลยที่ 5 เข้าครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 3374 โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า พ. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลง และที่ดินส่วนของ พ. ตกเป็นมรดกตกทอดได้แก่บุตร คือโจทก์ที่ 1 และ ต. โจทก์ที่ 1 และ ต. จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทด้วย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินรวมเมื่อตกลงแบ่งไม่ได้ แม้จำเลยวางเงินค่าเสียหายแล้ว
จำเลยเพียงแต่แถลงขอวางเงินค่าเสียหาย ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาส่วนหนึ่งเท่านั้น ส่วนการปฏิบัติตามคำพิพากษาในเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านตามคำพิพากษายังมิได้มีการตกลงแบ่งกันตามลำดับขั้นตอนให้เสร็จสิ้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะไปทำการแบ่งทรัพย์สินตามคำพิพากษา แต่เมื่อถึงกำหนดตามที่ตกลงไว้ก็ยังไม่มีการตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินดังกล่าวกันดังนั้น โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าว ไม่เป็นการบังคับคดีเกินกว่าที่ศาลพิพากษา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์ จำเลยก็ให้การต่อสู้อ้างกรรมสิทธิ์ และฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านตามส่วน และจะต้องมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่อาจตกลงแบ่งกันได้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอให้แบ่งทรัพย์ตามลำดับขั้นตอนอย่างใด ดังนั้น เมื่อการบังคับไม่อาจดำเนินการตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดตามป.พ.พ.มาตรา 1364 กรณีย่อมบังคับโดยวิธีการขายทอดตลาดตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินรวมเมื่อตกลงแบ่งไม่ได้ ศาลฎีกาชี้ว่าชอบแล้ว
จำเลยเพียงแต่แถลงขอวางเงินค่าเสียหาย ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาส่วนหนึ่งเท่านั้น ส่วนการปฏิบัติตามคำพิพากษาในเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านตามคำพิพากษายังมิได้มีการตกลงแบ่งกันตามลำดับขั้นตอนให้เสร็จสิ้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะไปทำการแบ่ง ทรัพย์สินตามคำพิพากษา แต่เมื่อถึงกำหนดตามที่ตกลงไว้ก็ ยังไม่มีการตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินดังกล่าวกันดังนั้น โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าว ไม่เป็น การบังคับคดีเกินกว่าที่ศาลพิพากษา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์ จำเลยก็ให้การต่อสู้อ้างกรรมสิทธิ์และฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านตามส่วน และจะต้องมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่อาจตกลงแบ่งกันได้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ ขอให้แบ่งทรัพย์ตามลำดับขั้นตอนอย่างใด ดังนั้น เมื่อการบังคับไม่อาจดำเนินการตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 กรณีย่อมบังคับโดยวิธีการขายทอดตลาดตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: แนวเขตที่ยึดถือครอบครองเป็นหลัก แม้มี น.ส.3 ก. ก็ไม่ผูกพัน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ความเป็นเจ้าของต้องพิจารณาจากแนวเขตที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายยึดถือครอบครองน.ส.3 ก. ของจำเลยเป็นเพียงคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้วเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่ดินส่วนที่มิได้ยึดถือครอบครอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดิน น.ส.3 ก. ด้านทิศตะวันออกที่อยู่นอกเขตการยึดถือครอบครองของฝ่ายจำเลย และเมื่อโจทก์และจำเลยต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของตน ดังนี้ ที่ดินตาม น.ส.3 ก. ในส่วนที่จำเลยมิได้ยึดถือครอบครองจึงเป็นที่ดินของโจทก์ จำเลยคงเป็นเจ้าของที่ดินเฉพาะส่วนที่จำเลยยึดถือครอบครองในกรอบเส้นสีดำประในแผนที่พิพาท ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ที่พิพาทในกรอบเส้นสีแดงดำในแผนที่พิพาท เว้นแต่ที่ดินในกรอบเส้นสีดำประและให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ของจำเลยด้านทิศตะวันออกเฉพาะส่วนที่โจทก์ครอบครองที่ดิน กับห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท: พิจารณาจากแนวเขตครอบครองจริง น.ส.3 ก. ไม่ใช่หลักฐานเด็ดขาด
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ความเป็นเจ้าของต้องพิจารณาจากแนวเขตที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายยึดถือครอบครอง น.ส.3 ก.ของจำเลยเป็นเพียงคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้วเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่ดินส่วนที่มิได้ยึดถือครอบครอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดิน น.ส.3 ก.ด้านทิศตะวันออกที่อยู่นอกเขตการยึดถือครอบครองของฝ่ายจำเลย และเมื่อโจทก์และจำเลยต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของตน ดังนี้ ที่ดินตาม น.ส.3 ก. ในส่วนที่จำเลยมิได้ยึดถือครอบครองจึงเป็นที่ดินของโจทก์ จำเลยคงเป็นเจ้าของที่ดินเฉพาะส่วนที่จำเลยยึดถือครอบครองในกรอบเส้นสีดำประในแผนที่พิพาท ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ที่พิพาทในกรอบเส้นสีแดงดำในแผนที่พิพาท เว้นแต่ที่ดินในกรอบเส้นสีดำประ และให้เพิกถอน น.ส.3 ก.ของจำเลยด้านทิศตะวันออกเฉพาะส่วนที่โจทก์ครอบครองที่ดิน กับห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8121/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมเรียกแบ่งทรัพย์สิน แม้ยังตกลงเขตแดนไม่ได้ และการฟ้องแบ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทุกราย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 บัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้โดยมิได้บังคับให้เจ้าของรวมผู้ประสงค์จะให้แบ่งทรัพย์สินต้องฟ้องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทุกคน และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ ทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทก็ไม่มีลักษณะเป็นการถาวร โจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมร่วมกับจำเลยบุคคลอื่นอีก จึงมีสิทธิเรียกขอให้แบ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวให้แก่ตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 การที่โจทก์เรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งอาจต้องดำเนินการแบ่งตามวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364กำหนดไว้นั้น มิใช่เป็นการเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามมาตรา 1363 วรรคสาม
of 27