พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8121/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งทรัพย์สินรวม: เจ้าของรวมมีสิทธิเรียกแบ่งได้โดยไม่ต้องฟ้องทุกคน
ป.พ.พ.มาตรา 1363 บัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ โดยมิได้บังคับให้เจ้าของรวมผู้ประสงค์จะให้แบ่งทรัพย์สินต้องฟ้องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทุกคน และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ ทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทก็ไม่มีลักษณะเป็นการถาวร โจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมร่วมกับจำเลยบุคคลอื่นอีก จึงมีสิทธิเรียกขอให้แบ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวให้แก่ตนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1363
การที่โจทก์เรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งอาจต้องดำเนินการแบ่งตามวิธีการที่ ป.พ.พ.มาตรา 1364 กำหนดไว้นั้น มิใช่เป็นการเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามมาตรา 1363 วรรคสาม
การที่โจทก์เรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งอาจต้องดำเนินการแบ่งตามวิธีการที่ ป.พ.พ.มาตรา 1364 กำหนดไว้นั้น มิใช่เป็นการเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามมาตรา 1363 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินร่วมกัน, ประเด็นนอกฟ้อง, และขอบเขตการบังคับคดี
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสาม และ ด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และ ด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และ ด.ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใด ต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และ ด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมา ด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของ ด.เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง
โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจาก ด. และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2ที่ 3 และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุดดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือตามสิทธิของตนต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 (3)
โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจาก ด. และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2ที่ 3 และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุดดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือตามสิทธิของตนต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การแบ่งแยกสิทธิระหว่างผู้รับมรดก ผู้ครอบครอง และผลของการขายโดยไม่ได้รับความยินยอม
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสามและด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และด. ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใดต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมาด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของด. เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาจำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากด.และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วยจึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัย ในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาใน ประเด็นดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2 ที่ 3และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุด ดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่ เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือ ตามสิทธิของตนต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินหลังหย่า และการลงชื่อในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์รถยนต์
โจทก์และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดลง และขาดจากการเป็นสามีภริยาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501 โดยมีผลสมบูรณ์เมื่อจดทะเบียนหย่าแล้ว ตามมาตรา1515 และศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์กึ่งหนึ่งในทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องหรือไม่ และการโอนขายที่ดินโฉนดพิพาทพร้อมบ้านระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการแสดงเจตนาลวงหรือไม่เท่านั้น โดยไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง รวมทั้งการแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้หย่าขาดจากกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้แบ่งทรัพย์สินขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบ
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้วทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่ร่วมกันและมิได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมและสันนิษฐานว่ามีส่วนเท่ากันตามมาตรา 1357
โจทก์ฟ้องขอใส่ชื่อโจทก์ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ แม้ใบคู่มือดังกล่าวมิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปี ซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้นก็ตาม แต่ในกรณีที่เจ้าของขายรถยนต์แล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนเป็นของผู้ซื้อทันที แม้ไม่จดทะเบียนโอนก็ใช้ได้ แต่ ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง บัญญัติว่า ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน ดังนั้นการมีชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ย่อมเป็นการคุ้มครองประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์คันที่มีเจ้าของรวมให้ทราบว่าการซื้อรถยนต์คันดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมของเจ้าของรวมทุกคนก่อนเป็นการตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รถยนต์เป็นทรัพย์ของบุคคลหลายคน แต่มีชื่อเจ้าของรวมเพียงคนเดียวในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ซึ่งผู้ซื้อซื้อไปโดยไม่ทราบว่ามีเจ้าของรวมที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการขาย ทำให้เจ้าของรวมที่ไม่ยินยอมและผู้ซื้อได้รับความเสียหายจากการที่ต้องฟ้องและถูกฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย
ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ดังนั้น การลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์นอกจากไม่ขัดต่อกฎหมายแล้ว ยังมีประโยชน์มากกว่าการไม่ลงชื่อไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เมื่อได้ความว่าโจทก์ จำเลยที่ 1เป็นเจ้าของรวมในรถยนต์คันพิพาท จึงสมควรพิพากษาให้โจทก์ลงชื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวได้ตามขอ
การที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์นั้น เมื่อปรากฏว่า แต่เดิมสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 1 โดยอาศัยสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวม และไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิการเป็นเจ้าของรวม ประกอบกับไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้เจ้าของรวมจำต้องครอบครองทรัพย์สินที่ตนมีกรรมสิทธิ์รวมโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้วทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่ร่วมกันและมิได้แบ่งกันต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมและสันนิษฐานว่ามีส่วนเท่ากันตามมาตรา 1357
โจทก์ฟ้องขอใส่ชื่อโจทก์ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ แม้ใบคู่มือดังกล่าวมิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปี ซึ่งแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้นก็ตาม แต่ในกรณีที่เจ้าของขายรถยนต์แล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนเป็นของผู้ซื้อทันที แม้ไม่จดทะเบียนโอนก็ใช้ได้ แต่ ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง บัญญัติว่า ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน ดังนั้นการมีชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ย่อมเป็นการคุ้มครองประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์คันที่มีเจ้าของรวมให้ทราบว่าการซื้อรถยนต์คันดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมของเจ้าของรวมทุกคนก่อนเป็นการตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รถยนต์เป็นทรัพย์ของบุคคลหลายคน แต่มีชื่อเจ้าของรวมเพียงคนเดียวในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ซึ่งผู้ซื้อซื้อไปโดยไม่ทราบว่ามีเจ้าของรวมที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการขาย ทำให้เจ้าของรวมที่ไม่ยินยอมและผู้ซื้อได้รับความเสียหายจากการที่ต้องฟ้องและถูกฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย
ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ดังนั้น การลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์นอกจากไม่ขัดต่อกฎหมายแล้ว ยังมีประโยชน์มากกว่าการไม่ลงชื่อไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เมื่อได้ความว่าโจทก์ จำเลยที่ 1เป็นเจ้าของรวมในรถยนต์คันพิพาท จึงสมควรพิพากษาให้โจทก์ลงชื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวได้ตามขอ
การที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์นั้น เมื่อปรากฏว่า แต่เดิมสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 1 โดยอาศัยสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวม และไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิการเป็นเจ้าของรวม ประกอบกับไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้เจ้าของรวมจำต้องครอบครองทรัพย์สินที่ตนมีกรรมสิทธิ์รวมโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ตามฟ้องแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษาคดีก่อน ไม่เป็นข้อหาเดิม
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกัน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยให้การว่า หลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว ส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือ แต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่า ตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้น จำเลยไม่สามารถรื้อได้ ขอให้ศาลยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ได้หรือไม่ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่ง ฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษาเดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยให้บังคับตามข้อตกลงได้ แม้คดีก่อนฟ้องแบ่งแยกที่ดิน
ในคดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลังแห่งข้อหาว่าโจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกันส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้วโจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข3ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยให้การว่าหลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้วส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือแต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่าตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้นจำเลยไม่สามารถรื้อได้ขอให้ศาลยกฟ้องประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข3ได้หรือไม่ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่งฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้บังคับตามข้อตกลงได้
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลังแห่งข้อหาว่า โจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกัน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยให้การว่า หลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว ส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือ แต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่า ตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้น จำเลยไม่สามารถรื้อได้ขอให้ศาลยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ได้หรือไม่ ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่ง ฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาถึงที่สุด: ห้ามฟ้องคดีซ้ำเรื่องกรรมสิทธิ์มรดกที่เคยมีคำพิพากษาแล้ว
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินส่วนที่เป็นของ ม.ให้จำเลยทั้งสอง การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาทของม. ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาของศาลฎีกาการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นแต่เพียงขั้นตอนของการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
ขณะที่ ม.ถึงแก่กรรม ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ม.มีจำเลยทั้งสองป.และ พ.รวม 4 คน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนอ้างว่ามรดกของม.ตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น โดยขณะนั้น ป.บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์ให้การในคดีก่อนแต่เพียงว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ และโจทก์ได้ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แล้ว ดังนั้น คดีก่อนจึงเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้นหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ตกได้แก่ ป.และต่อมาตกเป็นของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งให้โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งคำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ม.ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องให้วินิจฉัยเรื่องมรดกของ ป.จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวล ป.วิ.พ.มาตรา144 วรรคหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นเมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ พ.ศ.2525 โจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ป.และ พ.ได้อีก
ขณะที่ ม.ถึงแก่กรรม ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ม.มีจำเลยทั้งสองป.และ พ.รวม 4 คน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนอ้างว่ามรดกของม.ตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น โดยขณะนั้น ป.บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์ให้การในคดีก่อนแต่เพียงว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ และโจทก์ได้ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แล้ว ดังนั้น คดีก่อนจึงเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้นหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ตกได้แก่ ป.และต่อมาตกเป็นของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งให้โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งคำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ม.ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องให้วินิจฉัยเรื่องมรดกของ ป.จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวล ป.วิ.พ.มาตรา144 วรรคหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นเมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ พ.ศ.2525 โจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ป.และ พ.ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ การฟ้องซ้ำเรื่องมรดกขัดแย้งการให้การเดิม
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินส่วนที่เป็นของ ม.ให้จำเลยทั้งสอง การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาทของ ม.ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาของศาลฎีกาการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นแต่เพียงขั้นตอนของการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ขณะที่ ม. ถึงแก่กรรม ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ม.มีจำเลยทั้งสอง ป. และ พ. รวม 4 คน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนอ้างว่ามรดกของ ม. ตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น โดยขณะนั้น ป. บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ให้การในคดีก่อนแต่เพียงว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ดังนั้น คดีก่อนจึงเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้นหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม. ตกได้แก่ ป.และต่อมาตกเป็นของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งให้โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งคำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ม. ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องให้วินิจฉัยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144วรรคหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นเมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ พ.ศ. 2525 โจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ป. และ พ.ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม, การแบ่งทรัพย์สินมรดก, การครอบครองเป็นส่วนสัด, นิติกรรมซื้อขายคืน (ไม่มีผลผูกพัน)
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับบิดาจำเลยทั้งสี่ในที่ดินมีโฉนด โจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่ได้แยกกันครอบครองที่ดินตามส่วนของตนเป็นส่วนสัด เมื่อบิดาจำเลยทั้งสี่ตาย จำเลยทั้งสี่ได้รับมรดกที่ดินส่วนของบิดา โจทก์ทั้งสองต้องการจะขอแบ่งแยกที่ดินตามส่วน แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม จำเลยทั้งสี่ให้การยอมรับว่าโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบิดาในที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยจริง แต่เป็นเรื่องบิดาจำเลยทั้งสี่กู้ยืมเงินโจทก์ทั้งสองไปจำนวน 40,000 บาทแล้วมอบที่ดินให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ไม่ได้ยอมให้ครอบครองเป็นส่วนสัด กับฟ้องแย้งว่าโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่มีข้อตกลงให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินคืนเป็นเงิน50,000 บาท จำเลยทั้งสี่จะขอซื้อที่ดินคืนโจทก์ทั้งสองไม่ยินยอม โจทก์ทั้งสองให้การปฏิเสธฟ้องแย้งว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีข้อตกลงกับบิดาจำเลยทั้งสี่ดังที่จำเลยทั้งสี่อ้าง ดังนี้ ตามฟ้องโจทก์และคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสี่เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่แบ่งแยกที่ดินที่โจทก์ทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ร่วม จำเลยทั้งสี่มิได้ให้การว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วย แต่เป็นของจำเลยทั้งสี่แต่อย่างใด เมื่อจำเลยทั้งสี่แพ้คดีในศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในคดีไม่มีทุนทรัพย์ ส่วนที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้บังคับคดีตามฟ้องแย้งโดยอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่ ให้บิดาจำเลยทั้งสี่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนในราคา 50,000 บาท ซึ่งโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งปฏิเสธว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าว คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่กับคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่ามีข้อตกลงให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากโจทก์ทั้งสองในราคา 50,000 บาท หรือไม่ ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์และต้องถือเอาทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทไม่ใช่ถือเอาทุนทรัพย์ตามราคาในข้อตกลงที่ให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาทคืน เมื่อได้ประเมินราคาที่ดินพิพาทเป็นเงิน1,000,000 บาท คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจำนวน 1,000,000 บาท แม้คำฟ้องของโจทก์จะบรรยายว่าที่ดินส่วนที่โจทก์ทั้งสองครอบครองไม่ตรงกับส่วนที่โจทก์ทั้งสองครอบครองตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง แต่คำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็ได้แสดงโดยชัดแจ้งพอเข้าใจแล้วว่าโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยทั้งสี่โดยเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองคนละ 4,000 ส่วน ในจำนวนทั้งหมด 14,300 ส่วน และโจทก์อ้างว่าได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดในที่ดินส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองแล้ว หากเป็นความจริงตามฟ้องโจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งรับมรดกของบิดาแบ่งที่ดินให้โจทก์ทั้งสองตามสิทธิของโจทก์ทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 ส่วนโจทก์ทั้งสองจะได้รับส่วนแบ่งตามส่วนที่ได้ครอบครองหรือแบ่งตามส่วนในกรรมสิทธิ์ก็แล้วแต่ทางพิจารณาจะได้ความ ซึ่งมาตรา 1364ได้กำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมไว้โดยชัดแจ้งแล้ว อีกทั้งตามคำให้การจำเลยทั้งสี่ก็ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ให้การว่าบิดาจำเลยทั้งสี่ไม่เคยตกลงให้โจทก์ทั้งสองครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง แสดงว่าจำเลยทั้งสี่เข้าใจข้อหาตามฟ้องของโจทก์ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ทั้งสองนำสืบว่า บิดาจำเลยทั้งสี่ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองได้ซื้อที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยทั้งสี่คนละประมาณ 10 ไร่ ส่วนของโจทก์ที่ 1อยู่ทางทิศตะวันตก ส่วนของโจทก์ที่ 2 อยู่ทางทิศตะวันออกตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเอกสารหมาย จ.1 บิดาจำเลยทั้งสี่ไม่มีเงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนแบ่งแยก จึงจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเอกสารหมาย ล.2 โดยไม่มีข้อตกลงให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินคืน ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายในคำฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองได้ซื้อที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยทั้งสี่ คงบรรยายฟ้องเพียงว่าโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนดที่ดินดังกล่าวก็ตาม แต่การนำสืบของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ทั้งสองในที่ดินของบิดาจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นข้อนำสืบเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์รวมตามคำฟ้องของโจทก์หาใช่ข้อนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ ก. บิดาจำเลยทั้งสี่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมมีข้อความว่า ก.ตกลงยินยอมให้โจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมคนละ 4,000 ส่วนใน 14,300 ส่วน โดยโจทก์ทั้งสองตกลงให้ค่าตอบแทนแก่ ก.เป็นเงิน 40,000 บาท ต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน โดยเจ้าพนักงานที่ดินได้ลงชื่อแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว และได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมกับ ก. ตามส่วนที่ตกลงกันไว้ในสารบัญแก้ทะเบียนหลังโฉนดที่ดิน จึงต้องถือว่านิติกรรมการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รวมในอสังหาริมทรัพย์ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมีโฉนดของ ก. บิดาจำเลยทั้งสี่โดยบริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมจึงมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ตาม มาตรา 1363 การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมตามกฎหมายนั้น ในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยกันเองอาจอ้างการครอบครองเป็นส่วนสัดตามที่ได้ตกลงต่อกันได้ ซึ่งเป็นเรื่องเกิดจากความยินยอมของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกฝ่ายพร้อมใจกันให้เป็นเช่นนั้น ขณะที่ ก. เจ้าของรวมคนหนึ่งยังไม่ตายก. กับโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วยกันได้ตกลงแบ่งที่ดินกันเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364โดยให้โจทก์ทั้งสองครอบครองเนื้อที่ประมาณคนละ 10 ไร่และให้ส่วนของโจทก์ทั้งสองอยู่ด้านใต้ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของก. ให้แบ่งที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองเนื้อที่ประมาณคนละ10 ไร่ ตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องดังกล่าว จ.1 ตามที่บิดาจำเลยทั้งสี่และโจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าของรวมด้วยกันตกลงกันได้