คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1364

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4357/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน: การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกห้างหุ้นส่วนและการพิพากษาคืนทุน/แบ่งผลกำไรโดยไม่ต้องชำระบัญชี
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจาก ท.ด้วยราคาเพียง 850,000 บาทแต่ห่างกันเพียง 15 วัน จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์กลับตั้งราคาสูงถึง 4,500,000 บาท โดยมีข้อสัญญาข้อ 2.1 ที่ระบุว่า จ่ายวันที่ 10 ธันวาคม2526 เป็นเงิน 1,000,000 บาท ข้อ 2.2 ว่า เมื่อโครงการผ่านไปได้ 70เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 22 เดือน จ่าย 1,500,000 บาท ข้อ 3 ว่า เมื่อเสร็จโครงการแล้วจะแบ่งผลกำไรให้อีกเป็นเงิน 2,000,000 บาท สำหรับข้อสามนี้ส่วนแบ่งอาจจะเพิ่มขึ้นเมื่อผลลัพธ์ของงานได้ผลดี และหรืออาจจะลดลงตามส่วนเมื่อผลลัพธ์ของงานไม่ดี ลักษณะข้อความเรื่องการแบ่งปันกำไร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือถึงโจทก์ขอรับโฉนดคืนจากโจทก์โดยเสนอให้ที่ดินแก่โจทก์ 9 ล็อกเช่นนี้แสดงว่าโจทก์ สามีโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงเข้ากันเพื่อทำโครงการบ้านจัดสรรขายเพื่อประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้ แต่กิจการที่ทำนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินเช่นนี้จึงต้องฟังว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนทำบ้านจัดสรรขายด้วยกัน เมื่อสามีโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้หนึ่งถึงแก่ความตาย ห้างหุ้นส่วนที่ร่วมลงทุนทำกิจการค้าจึงต้องเลิกกันและแบ่งทรัพย์สินระหว่างกัน
การเข้าหุ้นประกอบกิจการค้าระหว่างโจทก์ สามีโจทก์ และจำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนสามัญมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วจะต้องมีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอคืนเงินทุนกับแบ่งผลกำไร จำเลยทั้งสองก็ให้การปฏิเสธว่าโจทก์กับสามีโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินและบ้านไปแล้วโดยไม่มีกำไร ดังนั้นการที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์เพราะจำเลยทั้งสองก็ยังยืนยันว่าโจทก์และสามีโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนและจำเลยขายที่ดินและบ้านไปโดยไม่มีกำไร ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีการคืนทุนและแบ่งผลกำไรตามที่พิจารณาได้ความไปทีเดียว โดยไม่ต้องให้มีการชำระบัญชีได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์เข้าเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยทั้งสองหรือไม่ จำเลยทั้งสองต้องคืนทุนและแบ่งผลกำไรให้โจทก์หรือไม่เพียงใดดังนั้น หากข้อเท็จจริงได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญที่โจทก์และสามีโจทก์เป็นหุ้นส่วนอยู่นั้นยังมีที่ดินเหลืออยู่ ก็จำต้องนำที่ดินที่เหลือมาแบ่งส่วนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนกัน โดยถือเป็นกำไรของห้างหุ้นส่วน การที่ศาลพิพากษาให้นำที่ดินที่เหลือจำนวน 10 โฉนด มาแบ่งส่วนให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วน จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม: การฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันหลังหย่า
โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันหาที่ดินและบ้านพิพาทมาด้วยกันจึงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อโจทก์ขอแบ่ง แต่จำเลยไม่ยอมแบ่งให้โดยปราศจากเหตุผลโดยชอบ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอแบ่งได้ ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายความว่า โจทก์กับจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภรรยากัน และระหว่างอยู่กินกันนั้นโจทก์และจำเลยได้ร่วมกันทำมาหาได้ซึ่งที่ดินและบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์และจำเลยได้หย่ากัน โจทก์จึงขอแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทกึ่งหนึ่ง แต่จำเลยไม่ยอมแบ่ง โจทก์จึงฟ้องต่อศาล เช่นนี้สาระสำคัญของฟ้องโจทก์ประสงค์โดยตรงและชัดแจ้งที่จะชอบให้ศาลแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยฝ่ายละกึ่งหนึ่งส่วนวิธีการแบ่งนั้นแล้วแต่ศาลจะกำหนดวิธีการแบ่งให้ซึ่งศาลล่างทั้งสองก็กำหนดวิธีการแบ่งให้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1364ส่วนที่โจทก์กำหนดราคาที่ดินและบ้านและขอส่วนของโจทก์กึ่งหนึ่งนั้น โจทก์เพียงแต่ประมาณราคามาเพื่อความสะดวกในการคิดคำนวณส่วนได้และการเสียค่าขึ้นศาล แสดงว่าราคาที่ดินแบ่งกันจำนวนเท่าใดยังไม่ทราบ แม้หากปรากฏในชั้นบังคับคดีว่าราคาไม่ถึงจำนวนที่ประมาณไว้ก็ไม่เป็นสาระสำคัญเพียงแต่โจทก์มีสิทธิจะได้รับกึ่งหนึ่งของราคาที่ดินและบ้านพิพาทเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลล่างพิพากษาให้แบ่งและกำหนดวิธีการแบ่งชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม: สิทธิในการแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภรรยาหลังหย่า
โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันหาที่ดินและบ้านพิพาทมาด้วยกันจึงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อโจทก์ขอแบ่ง แต่จำเลยไม่ยอมแบ่งให้โดยปราศจากเหตุผลโดยชอบ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอแบ่งได้
ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายความว่า โจทก์กับจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภรรยากัน และระหว่างอยู่กินกันนั้นโจทก์และจำเลยได้ร่วมกันทำมาหาได้ซึ่งที่ดินและบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์และจำเลยได้หย่ากัน โจทก์จึงขอแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทกึ่งหนึ่ง แต่จำเลยไม่ยอมแบ่ง โจทก์จึงฟ้องต่อศาล เช่นนี้สาระสำคัญของฟ้องโจทก์ประสงค์โดยตรงและชัดแจ้งที่จะขอให้ศาลแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยฝ่ายละกึ่งหนึ่ง ส่วนวิธีการแบ่งนั้นแล้วแต่ศาลจะกำหนดวิธีการแบ่งให้ ซึ่งศาลล่างทั้งสองก็กำหนดวิธีการแบ่งให้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ว่าด้วยกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1364 ส่วนที่โจทก์กำหนดราคาที่ดินและบ้านและขอส่วนของโจทก์กึ่งหนึ่งนั้น โจทก์เพียงแต่ประมาณราคามาเพื่อความสะดวกในการคิดคำนวณส่วนได้และการเสียค่าขึ้นศาล แสดงว่าราคาที่ดินแบ่งกันจำนวนเท่าใดยังไม่ทราบ แม้หากปรากฏในชั้นบังคับคดีว่าราคาไม่ถึงจำนวนที่ประมาณไว้ก็ไม่เป็นสาระสำคัญ เพียงแต่โจทก์มีสิทธิจะได้รับกึ่งหนึ่งของราคาที่ดินและบ้านพิพาทเท่านั้นดังนั้นการที่ศาลล่างพิพากษาให้แบ่งและกำหนดวิธีการแบ่งชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งทรัพย์มรดก: ศาลมีอำนาจสั่งประมูลหากตกลงแบ่งกันไม่ได้
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์สองในสี่ส่วนและที่ดินที่มีชื่ออ. เป็นเจ้าของให้โจทก์อีกหนึ่งในสามส่วนหากจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองนั้นกรณีที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่พิพาทให้โจทก์เป็นการให้แบ่งตัวทรัพย์ส่วนที่ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองเป็นการให้ดำเนินการให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามส่วนในทางทะเบียนอันเป็นวิธีการบังคับตามคำพิพากษาโจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นตัวทรัพย์ได้แต่วิธีการแบ่งที่ดินพิพาทในชั้นบังคับคดีนั้นถ้าคู่ความไม่ตกลงกันก็ให้ประมูลราคากันเองระหว่างคู่ความก่อนถ้าไม่ตกลงก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ติดต่อจำเลยทั้งสองให้แบ่งที่ดินพิพาทแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมแบ่งทั้งยังขัดขวางการแบ่งโจทก์จึงขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งปันกันตามส่วนศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนเพื่อฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งว่าในการแบ่งที่ดินพิพาทคู่ความตกลงหรือประมูลราคาระหว่างกันเองได้หรือไม่ก่อนที่จะออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9681/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งมรดกไม่เป็นโมฆียะ แม้จำเลยดำเนินการล่าช้า และเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดไม่ตรงตามตกลง โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งที่เหลือ
โจทก์จำเลยเป็นบุตรของศ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก5คนเดิมที่ดินพิพาทเป็นของศ.และขณะที่ศ.ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมีหลักฐานเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อศ. ถึงแก่ความตายแล้วโจทก์และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอรับมรดกที่ดินพิพาทร่วมกัน2คนโดยพี่น้องคนอื่นๆอีก5คนได้ทำบันทึกไม่ประสงค์จะขอรับมรดกและโจทก์ได้ทำบันทึกให้ถ้อยคำต่อนายอำเภอว่าเมื่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้เป็นของโจทก์จำเลยแล้วโจทก์ยินยอมขอรังวัดแบ่งแยกออกเป็นส่วนของโจทก์เพียง1ไร่ส่วนที่เหลือให้ตกเป็นของจำเลยโดยจำเลยจะให้เงินโจทก์40,000บาทเป็นการตอบแทนหากจำเลยไม่มีเงินชำระก็ไม่ติดใจเอาส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงไว้ดังนี้เมื่อตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่าหลังจากโจทก์ตกลงกับจำเลยแล้วจำเลยก็ดำเนินการตามที่ตกลงแต่ล่าช้าเกินไปและโจทก์หมดความจำเป็นที่จะใช้เงินไปลงทุนทำการค้าแล้วจึงบอกเลิกข้อตกลงดังกล่าวเสียหาได้ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อื่นใดพอที่จะชี้ให้เห็นว่าบันทึกข้อตกลงนั้นโจทก์ได้แสดงเจตนาเพราะถูกจำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงอันถึงขนาดไม่เมื่อตามข้อตกลงไม่ปรากฏว่าต้องให้จำเลยดำเนินการให้แล้วเสร็จเมื่อใดทั้งปรากฏว่าเมื่อโจทก์จำเลยยื่นเรื่องราวขอรับโอนมรดกไม่มีพินัยกรรมแล้วโจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทำบันทึกข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและขอจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงเห็นได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้วเพียงแต่ดำเนินการล่าช้าเท่านั้นหาได้ใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ไม่ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียะโจทก์ไม่มีสิทธิบอกล้างได้แต่โฉนดที่ดินที่จำเลยแบ่งแยกให้โจทก์มีเนื้อที่เพียง3งาน30ตารางวาไม่ตรงตามที่ตกลงกันเพราะความผิดพลาดของเจ้าพนักงานที่ดินโจทก์จึงยังมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งอีก70ตารางวาแม้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่งแต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่งอีกเพียง70ตารางวาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)ส่วนเงินจำนวน40,000บาทนั้นไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ได้เพราะเป็นการเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9681/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งมรดกไม่เป็นโมฆียะ แม้ดำเนินการล่าช้า แต่สิทธิในส่วนแบ่งที่ดินยังคงมีอยู่
โจทก์จำเลยเป็นบุตรของ ศ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 5 คน เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ศ. และขณะที่ ศ.ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมีหลักฐานเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อ ศ.ถึงแก่ความตายแล้วโจทก์และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอรับมรดกที่ดินพิพาทร่วมกัน 2 คน โดยพี่น้องคนอื่น ๆอีก 5 คน ได้ทำบันทึกไม่ประสงค์จะขอรับมรดก และโจทก์ได้ทำบันทึกให้ถ้อยคำต่อนายอำเภอว่าเมื่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้เป็นของโจทก์จำเลยแล้ว โจทก์ยินยอมขอรังวัดแบ่งแยกออกเป็นส่วนของโจทก์เพียง1 ไร่ ส่วนที่เหลือให้ตกเป็นของจำเลย โดยจำเลยจะให้เงินโจทก์ 40,000 บาทเป็นการตอบแทน หากจำเลยไม่มีเงินชำระก็ไม่ติดใจเอาส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงไว้ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่า หลังจากโจทก์ตกลงกับจำเลยแล้ว จำเลยก็ดำเนินการตามที่ตกลง แต่ล่าช้าเกินไป และโจทก์หมดความจำเป็นที่จะใช้เงินไปลงทุนทำการค้าแล้วจึงบอกเลิกข้อตกลงดังกล่าวเสีย หาได้ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อื่นใดพอที่จะชี้ให้เห็นว่าบันทึกข้อตกลงนั้นโจทก์ได้แสดงเจตนาเพราะถูกจำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงอันถึงขนาดไม่ เมื่อตามข้อตกลงไม่ปรากฏว่าต้องให้จำเลยดำเนินการให้แล้วเสร็จเมื่อใด ทั้งปรากฏว่าเมื่อโจทก์จำเลยยื่นเรื่องราวขอรับโอนมรดกไม่มีพินัยกรรมแล้ว โจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและขอจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวม จึงเห็นได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว เพียงแต่ดำเนินการล่าช้าเท่านั้น หาได้ใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ไม่ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียะ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกล้างได้ แต่โฉนดที่ดินที่จำเลยแบ่งแยกให้โจทก์มีเนื้อที่เพียง 3 งาน 30 ตารางวา ไม่ตรงตามที่ตกลงกัน เพราะความผิดพลาดของเจ้าพนักงานที่ดิน โจทก์จึงยังมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งอีก 70 ตารางวาแม้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่งอีกเพียง 70 ตารางวา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (2) ส่วนเงินจำนวน40,000 บาท นั้น ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ได้ เพราะเป็นการเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9302/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินหลังแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ข้อตกลงรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างยังผูกพัน แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312เป็นบทบัญญัติเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นแต่ตามข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยสร้างโรงเรือนลงในที่ดินก่อนที่จะมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมขณะปลูกสร้างยังไม่ทราบว่ามีการรุกล้ำกันอย่างไรหรือไม่หลังจากแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแล้วจึงทราบว่าส่วนที่เป็นครัวของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของก. ซึ่งที่ดินส่วนของก.นี้ต่อมาได้ขายให้แก่โจทก์จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการหากแต่เกิดจากการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมกรณีตามข้อเท็จจริงแห่งคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312ดังกล่าวข้างต้น ก่อนมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่างมีข้อตกลงกันให้เจ้าของรวมแต่ละคนรื้อถอนบ้านสิ่งปลูกสร้างไปปลูกในที่ดินส่วนของตนซึ่งทั้งก. และส. เจ้าของรวมต่างก็ได้รื้อถอนบ้านจากที่เดิมไปปลูกในที่ดินส่วนของตนแล้วคงเหลือแต่จำเลยเท่านั้นที่ยังไม่ได้รื้อถอนครัวที่รุกล้ำแม้จำเลยจะอ้างว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลยเพราะจำเลยมิได้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเพียงแต่มีสิทธิในที่ดินส่วนของท. ก็ตามแต่การที่จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวได้ต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิของท.เจ้าของรวมคนหนึ่งและแม้จำเลยจะปลูกสร้างโรงเรือนมาตั้งแต่ปี2502และครัวที่รุกล้ำปลูกสร้างมาก่อนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมก็หาทำให้ข้อตกลงในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ผูกพันจำเลยไม่เมื่อก.เจ้าของที่ดินเดิมและโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกไปจำเลยจึงไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9302/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินหลังแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ข้อตกลงรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผูกพันจำเลยแม้ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินโดยตรง
ป.พ.พ.มาตรา 1312 เป็นบทบัญญัติเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น แต่ตามข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยสร้างโรงเรือนลงในที่ดินก่อนที่จะมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ขณะปลูกสร้างยังไม่ทราบว่ามีการรุกล้ำกันอย่างไรหรือไม่ หลังจากแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแล้วจึงทราบว่าส่วนที่เป็นครัวของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ก. ซึ่งที่ดินส่วนของ ก.นี้ ต่อมาได้ขายให้แก่โจทก์ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการรุกล้ำดังกล่าวมิได้เกิดจากการที่จำเลยเป็นผู้สร้างโรงเรือน หากแต่เกิดจากการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม กรณีตามข้อเท็จจริงแห่งคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 1312 ดังกล่าวข้างต้น
ก่อนมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่างมีข้อตกลงกันให้เจ้าของรวมแต่ละคนรื้อถอนบ้านสิ่งปลูกสร้างไปปลูกในที่ดินส่วนของตน ซึ่งทั้ง ก.และส.เจ้าของรวมต่างก็ได้รื้อถอนบ้านจากที่เดิมไปปลูกในที่ดินส่วนของตนแล้ว คงเหลือแต่จำเลยเท่านั้นที่ยังไม่ได้รื้อถอนครัวที่รุกล้ำ แม้จำเลยจะอ้างว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลย เพราะจำเลยมิได้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเพียงแต่มีสิทธิในที่ดินส่วนของ ท.ก็ตาม แต่การที่จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวได้ต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิของ ท.เจ้าของรวมคนหนึ่ง และแม้จำเลยจะปลูกสร้างโรงเรือนมาตั้งแต่ปี 2502 และครัวที่รุกล้ำปลูกสร้างมาก่อนแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ก็หาทำให้ข้อตกลงในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ผูกพันจำเลยไม่ เมื่อ ก.เจ้าของที่ดินเดิมและโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและการบังคับแบ่งมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยทั้งสาม และขอให้ศาลบังคับเพื่อให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตาม ป.พ.พ. มาตรา1364 เป็นการบรรยายฟ้องถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนของโจทก์ และขอให้ศาลบังคับแบ่งแยกทรัพย์มรดกของ อ. ที่โจทก์และบรรดาทายาทของ อ.ได้รับมาโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว ส่วนที่เหลือขอให้แบ่งตามมาตรา 1364 ซึ่งกำหนดวิธีการแบ่งเอาไว้ ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับวิธีการแบ่ง คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมา แสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกและเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงแบ่งการครอบครองทรัพย์พิพาทเป็นส่วนสัดและทรัพย์สินที่เหลือก็ขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์เป็นเด็ดขาด โจทก์ได้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 แล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งในข้อนี้จำเลยที่ 1 ก็ให้การว่า ได้แบ่งแยกทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนเป็นส่วนสัดแล้วและการแบ่งแยกทรัพย์สินตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 พร้อมจะแบ่งแยกแต่โจทก์ไม่ยอมส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงได้ฟ้องโจทก์ไว้แล้ว กรณีเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยไม่ยอมแบ่งทรัพย์พิพาทตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามข้อเท็จจริงโจทก์และจำเลยทั้งสามยอมรับว่า โจทก์ ป.,ด. และจำเลยที่ 3 ได้ตกลงแบ่งกันครอบครองตึกแถวในที่ดินพิพาทแล้ว บรรดาตึกแถวที่แบ่งกันครอบครองต่างทำสัญญาเช่าและเก็บค่าเช่ากันเองเป็นเวลานับ10 ปีแล้ว ดังนี้ ตึกแถวจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ สำหรับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของตึกแถวดังกล่าว แม้ข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์จะระบุว่าเป็นการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์เฉพาะตึกแถวไม่รวมถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่โจทก์และจำเลยทั้งสามก็ไม่ขัดข้องจะแบ่งที่ดินอันเป็นที่ตั้งของตึกแถว ซึ่งน่าจะรวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วยเพราะถือเป็นบริเวณที่ดินส่วนหนึ่งของตึกแถว ที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยให้รวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วย จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก
วิธีการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้นกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 คือให้กระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกัน ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าการแบ่งไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ศาลจะสั่งให้ขาย โดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทบางรายการกันเองระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ขายทอดตลาดชอบด้วยมาตรา 1364 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์และสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อแบ่งแยกที่ดิน
โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกของที่ดินโฉนดเลขที่10228ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาโดยสงบและเปิดเผยจนถึงวันที่พ.บิดาจำเลยทั้งสองร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลเป็นระยะเวลาเกินกว่า10ปีแล้วโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382 การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์และการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวด้านทิศตะวันออกของพ. โจทก์กับพ.ได้ตกลงกันให้พ. เป็นผู้ร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่10228ทั้งแปลงแต่เพียงผู้เดียวโดยโจทก์จะเป็นพยานในฐานะเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่เมื่อได้กรรมสิทธิ์แล้วพ.จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในภายหลังต่อมาพ. ได้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินต่อศาลและศาลได้มีคำสั่งให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเป็นของพ.และพ.ได้ทำหนังสือยินยอมมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ดังนี้การที่ได้มีการทำหนังสือสัญญายินยอมมอบที่ดินดังกล่าวโดยระบุส่วนไว้ชัดเจนว่าให้โจทก์ได้ที่ดินทางทิศตะวันตกก็เพื่อให้โจทก์กับพ. คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยินยอมผ่อนผันให้แก่กันหากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นในภายหลังว่าฝ่ายใดได้ที่ดินส่วนใดแน่ถึงแม้ข้อความในหนังสือดังกล่าวจะมิได้ระบุถึงข้อที่ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทไว้แต่เมื่อนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาประกอบกับข้อสัญญาที่ระบุไว้แล้วถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้เมื่อพ. บิดาจำเลยทั้งสองถึงแก่ความตายไปแล้วจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่ดินดังกล่าวและจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ.ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วย ในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้นปรากฏว่าเดิมจำเลยที่1ประสงค์จะโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มาตั้งแต่แรกแต่โจทก์ไม่ยินยอมเสียภาษีอากรและค่าฤชาธรรมเนียมการโอนจึงไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ทำให้จำเลยที่1กลับใจไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเหตุให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีนี้ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดผู้ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนตามคำพิพากษาไว้เพื่อประโยชน์ในการจะปฏิบัติตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดีเมื่อการโอนที่ดินให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในคดีนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งแยกที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมสมควรให้เสียภาษีอากรค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการโอนฝ่ายละเท่าๆกัน
of 27