พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วยการครอบครองปรปักษ์และสัญญาประนีประนอมยอมความ การบังคับตามสัญญาและการแบ่งแยกค่าใช้จ่าย
โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกของที่ดินโฉนดเลขที่ 10228 ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาโดยสงบและเปิดเผยจนถึงวันที่ พ.บิดาจำเลยทั้งสองร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์และการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวด้านทิศตะวันออกของ พ. โจทก์กับ พ.ได้ตกลงกันให้ พ.เป็นผู้ร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 10228 ทั้งแปลงแต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์จะเป็นพยานในฐานะเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อได้กรรมสิทธิ์แล้ว พ.จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในภายหลัง ต่อมา พ.ได้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินต่อศาลและศาลได้มีคำสั่งให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเป็นของ พ.และ พ.ได้ทำหนังสือยินยอมมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ การที่ได้มีการทำหนังสือสัญญายินยอมมอบที่ดินดังกล่าวโดยระบุส่วนไว้ชัดเจนว่าให้โจทก์ได้ที่ดินทางทิศตะวันตกก็เพื่อให้โจทก์กับ พ.คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยินยอมผ่อนผันให้แก่กัน หากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นในภายหลังว่าฝ่ายใดได้ที่ดินส่วนใดแน่ ถึงแม้ข้อความในหนังสือดังกล่าวจะมิได้ระบุถึงข้อที่ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทไว้แต่เมื่อนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาประกอบกับข้อสัญญาที่ระบุไว้แล้วถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อ พ.บิดาจำเลยทั้งสองถึงแก่ความตายไปแล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่ดินดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วย
ในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าเดิมจำเลยที่ 1 ประสงค์จะโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มาตั้งแต่แรก แต่โจทก์ไม่ยินยอมเสียภาษีอากรและค่าฤชาธรรมเนียมการโอน จึงไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ ทำให้จำเลยที่ 1 กลับใจไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเหตุให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดผู้ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนตามคำพิพากษาไว้เพื่อประโยชน์ในการจะปฏิบัติตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดี เมื่อการโอนที่ดินให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในคดีนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งแยกที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม สมควรให้เสียภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการโอนฝ่ายละเท่า ๆ กัน
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์และการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวด้านทิศตะวันออกของ พ. โจทก์กับ พ.ได้ตกลงกันให้ พ.เป็นผู้ร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 10228 ทั้งแปลงแต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์จะเป็นพยานในฐานะเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อได้กรรมสิทธิ์แล้ว พ.จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในภายหลัง ต่อมา พ.ได้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินต่อศาลและศาลได้มีคำสั่งให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเป็นของ พ.และ พ.ได้ทำหนังสือยินยอมมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ การที่ได้มีการทำหนังสือสัญญายินยอมมอบที่ดินดังกล่าวโดยระบุส่วนไว้ชัดเจนว่าให้โจทก์ได้ที่ดินทางทิศตะวันตกก็เพื่อให้โจทก์กับ พ.คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยินยอมผ่อนผันให้แก่กัน หากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นในภายหลังว่าฝ่ายใดได้ที่ดินส่วนใดแน่ ถึงแม้ข้อความในหนังสือดังกล่าวจะมิได้ระบุถึงข้อที่ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทไว้แต่เมื่อนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาประกอบกับข้อสัญญาที่ระบุไว้แล้วถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อ พ.บิดาจำเลยทั้งสองถึงแก่ความตายไปแล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่ดินดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วย
ในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าเดิมจำเลยที่ 1 ประสงค์จะโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มาตั้งแต่แรก แต่โจทก์ไม่ยินยอมเสียภาษีอากรและค่าฤชาธรรมเนียมการโอน จึงไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ ทำให้จำเลยที่ 1 กลับใจไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเหตุให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดผู้ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนตามคำพิพากษาไว้เพื่อประโยชน์ในการจะปฏิบัติตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดี เมื่อการโอนที่ดินให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในคดีนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งแยกที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม สมควรให้เสียภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการโอนฝ่ายละเท่า ๆ กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโดยคำนึงถึงการอยู่อาศัยและหลีกเลี่ยงความเดือดร้อนจากการรื้อถอน
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกเป็นสัดส่วนถ้าหากให้เอาที่ดินประมูลหรือขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วนแล้วจำเลยอาจจะต้องรื้อบ้านของจำเลยที่ปลูกสร้างอยู่แล้วออกไปเป็นการเดือดร้อนแล้วศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยได้ส่วนแบ่งทางด้านของที่ดินที่บ้านจำเลยตั้งอยู่ได้ไม่จำต้องสั่งให้ทำการประมูลหรือขายทอดตลาดที่ดินแล้วเอาเงินแบ่งกันดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินมรดก: ศาลใช้ดุลพินิจให้ส่วนแบ่งแก่จำเลยเพื่อหลีกเลี่ยงความเดือดร้อนจากการรื้อถอนบ้าน
เมื่อศาลเห็นว่าหากการแบ่งที่ดินแปลงพิพาทซึ่งโจทก์ทั้งสามและจำเลยเป็นเจ้าของรวมถึงกับต้องให้จำเลยรื้อบ้านที่เป็นของจำเลยและจำเลยได้อาศัยอยู่ตลอดมาเป็นเวลานานเกินกว่า10ปีออกไปอันเป็นการเดือดร้อนแก่จำเลยแล้วศาลย่อมใช้ดุลพินิจให้แบ่งที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยตรงที่บ้านจำเลยปลูกอาศัยอยู่ได้โดยไม่ให้เกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยได้รับส่วนแบ่งหาจำต้องสั่งให้ทำการประมูลหรือขายทอดตลาดที่ดินแปลงพิพาทแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ทุกกรณีไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดิน: ศาลมีอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้คำขอท้ายฟ้องไม่ชัดเจน
เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีปัญหาเรื่องคำขอท้ายฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามอุทธรณ์ โจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดและโจทก์ฟ้องประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินที่โจทก์และจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมกันตามส่วนของแต่ละคนที่มีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นประการสำคัญแม้โจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องอย่างไรศาลย่อมมีอำนาจแบ่งให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ไม่เป็นการพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดิน: ศาลไม่อาจใช้คำพิพากษาแทนเจตนาจำเลย หากจำเลยไม่ยินยอมในการรังวัดแบ่งแยก
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยเพื่อทำการรังวัดแบ่งแยกนั้นขัดต่อคำพิพากษาที่ว่าหากการรังวัดแบ่งแยกไม่อาจทำได้ให้ขายเอาเงินแบ่งกันและขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำขอในส่วนที่ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม: ศาลไม่อาจใช้คำพิพากษาแทนเจตนาจำเลยในการรังวัดแบ่งแยก หากทำไม่ได้ต้องขายทอดตลาด
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวม การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยเพื่อทำการรังวัดแบ่งแยกนั้นขัดต่อคำพิพากษาที่ว่าหากการรังวัดแบ่งแยกไม่อาจทำได้ให้ขายเอาเงินแบ่งกัน และขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำขอในส่วนที่ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและการยกข้อต่อสู้ใหม่: การแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม และการครอบครองเป็นส่วนสัด
คดีก่อนสำนวนแรกจำเลยที่3เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยและคดีก่อนสำนวนหลังจำเลยที่1เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยที่3ในคดีนี้เป็นจำเลยและทั้งสองสำนวนคู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยสำนวนแรกโจทก์ยอมรับว่าจำเลยที่3มีกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนในที่ดินพิพาท12ไร่ทางด้านทิศตะวันตกติดกับที่ดินของโจทก์และในสำนวนหลังโจทก์และจำเลยที่3เป็นจำเลยที่1ตกลงยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้จำเลยที่1จำนวน6งานจำเลยที่3จำนวน4ไร่คดีทั้งสองจำนวนดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่1และที่3มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเนื้อที่เท่าใดส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองเป็นส่วนสัดแน่นอนจำเลยทั้งหกไม่ยอมไปยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์ให้โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งหกในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นส่วนสัดของโจทก์ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งหกไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดให้โจทก์ตามที่ฟ้องหรือไม่แม้โจทก์กับจำเลยที่1และที่3จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและจำเลยที่2สืบสิทธิจากจำเลยที่3ทั้งที่ดินพิพาทจะเป็นแปลงเดียวกันแต่โจทก์ในแต่ละคดีต่างฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินตามส่วนที่ตนครอบครองเป็นคนละส่วนกันซึ่งการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์ในแต่ละคดีจะได้ส่วนแบ่งส่วนใดเนื้อที่เท่าใดนั้นจะต้องพิจารณาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์แต่ละคดีเป็นส่วนๆแยกกันไปหาใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำขอในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกันฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทเป็นส่วนสัดมานานแล้วจำเลยที่2ที่3และที่6มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้ครอบครองเป็นส่วนสัดและโจทก์ขอแบ่งแยกเกินส่วนที่โจทก์มีสิทธิตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่พิพาทส่วนจำเลยที่4ที่5ขาดนัดยื่นคำให้การการที่จำเลยที่2ที่3ที่4และที่6ฎีกาว่าการครอบครองมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดที่ดินพิพาทมีผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่8คนและได้บรรยายส่วนไว้แล้วหากจะถือตามที่ครอบครองก็ยากแก่การรังวัดเพราะการครอบครองตามข้อเท็จจริงไม่ตรงกันฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งแยกที่ดินรวม แม้เคยมีข้อพิพาทก่อนหน้า ศาลต้องพิจารณาตามส่วนที่ครอบครองจริง
คดีก่อนสำนวนแรก จำเลยที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย และคดีก่อนสำนวนหลังจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยที่ 3ในคดีนี้เป็นจำเลย และทั้งสองสำนวนคู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยสำนวนแรก โจทก์ยอมรับว่าจำเลยที่ 3 มีกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนในที่ดินพิพาท 12 ไร่ทางด้านทิศตะวันตกติดกับที่ดินของโจทก์ และในสำนวนหลัง โจทก์และจำเลยที่ 3เป็นจำเลยที่ 1 ตกลงยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 จำนวน 6 งานจำเลยที่ 3 จำนวน 4 ไร่ คดีทั้งสองจำนวนดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเนื้อที่เท่าใด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองเป็นส่วนสัดแน่นอน จำเลยทั้งหกไม่ยอมไปยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์ให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งหกในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นส่วนสัดของโจทก์ ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่า โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งหกไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดให้โจทก์ตามที่ฟ้องหรือไม่ แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและจำเลยที่ 2 สืบสิทธิจากจำเลยที่ 3 ทั้งที่ดินพิพาทจะเป็นแปลงเดียวกัน แต่โจทก์ในแต่ละคดีต่างฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินตามส่วนที่ตนครอบครองเป็นคนละส่วนกัน ซึ่งการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์ในแต่ละคดีจะได้ส่วนแบ่งส่วนใด เนื้อที่เท่าใดนั้นจะต้องพิจารณาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์แต่ละคดีเป็นส่วน ๆแยกกันไป หาใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำขอในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกัน ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทเป็นส่วนสัดมานานแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้ครอบครองเป็นส่วนสัด และโจทก์ขอแบ่งแยกเกินส่วนที่โจทก์มีสิทธิตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่พิพาทส่วนจำเลยที่ 4 ที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การ การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6ฎีกาว่า การครอบครองมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัด ที่ดินพิพาทมีผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่8 คน และได้บรรยายส่วนไว้แล้ว หากจะถือตามที่ครอบครองก็ยากแก่การรังวัดเพราะการครอบครองตามข้อเท็จจริงไม่ตรงกัน ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทเป็นส่วนสัดมานานแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้ครอบครองเป็นส่วนสัด และโจทก์ขอแบ่งแยกเกินส่วนที่โจทก์มีสิทธิตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่พิพาทส่วนจำเลยที่ 4 ที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การ การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6ฎีกาว่า การครอบครองมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัด ที่ดินพิพาทมีผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่8 คน และได้บรรยายส่วนไว้แล้ว หากจะถือตามที่ครอบครองก็ยากแก่การรังวัดเพราะการครอบครองตามข้อเท็จจริงไม่ตรงกัน ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามแนวแผนที่พิพาท โดยคำนึงถึงการครอบครองพื้นที่เฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสีย
เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามแนวแผนที่พิพาท ซึ่งคู่ความรับกันว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างมีบ้านพักปลูกอยู่บริเวณหมายเลข 1 และหมายเลข 3 ตามแผนที่พิพาท ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงการครอบครองเป็นส่วนสัดเฉพาะตัวบ้านอยู่แล้ว ส่วนโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังฟังไม่ได้ว่าครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนใด เช่นนี้ การที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้ไปรังวัดแบ่งแยกอาณาเขตที่ดินตามส่วนในโฉนดที่ดิน และตามแนวแผนที่พิพาทโดยกันส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ออก ส่วนที่เหลือให้แบ่งกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1364 จึงเป็นการชอบแล้วหาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน โดยศาลมีอำนาจสั่งแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 แม้ไม่มีการครอบครองส่วนสัดชัดเจน
เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามแนวแผนที่พิพาทซึ่งคู่ความรับกันว่าจำเลยที่2และที่3ต่างมีบ้านพักปลูกอยู่บริเวณหมายเลข1และหมายเลข3ตามแผนที่พิพาทซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงการครอบครองเป็นส่วนสัดเฉพาะตัวบ้านอยู่แล้วส่วนโจทก์และจำเลยที่1ยังฟังไม่ได้ว่าครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนใดเช่นนี้การที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้ไปรังวัดแบ่งแยกอาณาเขตที่ดินตามส่วนในโฉนดที่ดินและตามแนวแผนที่พิพาทโดยกันส่วนของจำเลยที่2และที่3ออกส่วนที่เหลือให้แบ่งกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364จึงเป็นการชอบแล้วหาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่