คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 229

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019-1021/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาที่เป็นคุณแก่จำเลย: เลือกใช้บทลงโทษที่เบากว่า แม้กฎหมายเดิมมีโทษขั้นต่ำ
จำเลยปลอมหนังสือในหน้าที่ตน มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 229 มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำผิด แต่เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้มาตรา 161 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นบทลงโทษ และในบทความผิดที่จะใช้แก่จำเลยนี้ ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษจำคุกสำหรับความผิดเจ้าพนักงานปลอมหนังสือ และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงที่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ในความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมหนังสือแม้กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 229 และ 230 กำหนดโทษจำคุก ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปจนถึง 10 ปีก็จริง แต่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 กำหนดโทษว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ซึ่งไม่กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 จึงต้องถือเอาตามนั้น แม้จะไม่ได้ระบุว่า มาตรา ใดตรงกับมาตรา ของกฎหมายเดิมมาตราไหน แต่ก็อาจเห็นจากบทบัญญัติของกฎหมายเก่า และใหม่ได้อยู่ในตัวแล้ว เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสั่งไม่ให้สืบพยาน เช่นนี้ ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะการที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2503)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่า จำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษและความชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา กรณีเจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสาร และการฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง
ในความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมหนังสือแม้กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 229 และ 230 กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปจนถึง 10 ปี ก็จริง แต่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 กำหนดโทษว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีซึ่งไม่มีกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 จึงต้องถือเอาตามนั้น แม้จะไม่ได้ระบุว่ามาตราใดตรงกับมาตราของกฎหมายเดิมมาตราไหน แต่ก็อาจเห็นจากบทบัญญัติของกฎหมายเก่าและใหม่ได้อยู่ในตัวแล้ว เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสั่งไม่ให้สืบพยาน เช่นนี้ ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะการที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2503)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่าจำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริต ยักยอกเงิน และปลอมแปลงบัญชีรับจ่าย
คำบรรยายฟ้องคดีอาญาฐานเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินที่ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะได้บรรยายความถึงหน้าที่และการกระทำผิดไว้โดยละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี
จำเลยรับราชการตำแหน่งตรวจคนเข้าเมือง มีหน้าที่รับเงินค่าล่วงเวลาในการไปตรวจควบคุม และ รอคอยพาหนะ รับเงินแล้วยักยอกเอาเป็นประโยชน์ส่วนตน เสียโดยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ให้นำส่ง ผิดตาม ม. 131 ไม่ใช่ ม. 319 (3)
การที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีตำแหน่งที่ทำหนังสือราชการและจดทะเบียนบัญชี จำเลยบังอาจจดแจ้งข้อความลงในทะเบียน บัญชีเองอันเป็นเท็จ ผิดตาม ม.230 ไม่ใช่ ม.225, 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริต ยักยอกเงินและปลอมแปลงบัญชี: เปลี่ยนบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
คำบรรยายฟ้องคดีอาญาฐานเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินที่ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะได้บรรยายความถึงหน้าที่และการกระทำผิดไว้โดยละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี
จำเลยรับราชการตำแหน่งตรวจคนเข้าเมืองมีหน้าที่รับเงินค่าล่วงเวลาในการไปตรวจควบคุมและรอคอยพาหนะ รับเงินแล้วยักยอกเอาเป็นประโยชน์ส่วนตนเสีย โดยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ให้นำส่ง ผิดตาม มาตรา 131ไม่ใช่ มาตรา 319(3)
การที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีตำแหน่งหน้าที่ทำหนังสือราชการและจดทะเบียนบัญชี จำเลยบังอาจจดแจ้งข้อความลงในทะเบียนบัญชีเองอันเป็นเท็จ ผิดตาม มาตรา 230 ไม่ใช่มาตรา 225,229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเอกสารราชการโดยเจ้าหน้าที่: หน้าที่ vs. อำนาจปลอมแปลง
จำเลยเป็นพลตำรวจได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานทะเบียนคนต่างด้าว มีหน้าที่กรอกข้อความในใบรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วเสนอให้ผู้บังคับบัญชาเซ็น จำเลยได้ปลอมหนังสือโดยขูดลบชื่อเจ้าของใบรับใบสำคัญเดิมเสีย เติมชื่อลงไปใหม่ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 224 เพราะถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมหนังสือซึ่งอยู่ในหน้าที่ของจำเลยตามตำแหน่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการ: ผู้ทำเอกสารไม่ใช่ผู้ลงนาม
สัสดีอำเภอผู้มีหน้าที่ทำและรักษาทะเบียนทหาร ทำใบกองเกินเท็จ ไปให้ปลัดอำเภอลงนามออกให้ผู้ที่มิใข่ตัวจริง ไป ดังนี้ เมื่อสัสดีไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้ลงนามในใบกองเกินนั้น สัสดีอำเภอก็ย่อมมีผิดเพียงฐานปลอมหนังสือราชการ ตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 224 หามีผิดตามมาตรา 229, 230 ไม่./
(อ้างฎีกาที่ 962/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการ: ผู้ทำเอกสารไม่ใช่ผู้มีอำนาจลงนาม
สัสดีอำเภอผู้มีหน้าที่ทำและรักษาทะเบียนทหารทำใบกองเกินเท็จ ไปให้ปลัดอำเภอลงนามออกให้ผู้ที่มิใช่ตัวจริงไป ดังนี้ เมื่อสัสดีไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ลงนามในใบกองเกินนั้นสัสดีอำเภอก็ย่อมมีผิดเพียงฐานปลอมหนังสือราชการตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 224หามีผิดตามมาตรา 229,230 ไม่ (อ้างฎีกาที่962/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดจำนวนฝิ่นเกินจริงและการแก้ไขบัญชี การพิสูจน์เจตนาสำคัญต่อความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จดจำนวนฝิ่นที่ร้านค้าต้องการซื้อจากรัฐบาล ลงในแบบ ฝ.1/23 โจทก์หาว่าจำเลยจดจำนวนฝิ่นเป็นความเท็จลงในแบบ ฝ.1/23 เกินจากจำนวนที่ร้านค้าประสงค์จะซื้อ แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงจำนวนฝิ่นที่ร้านค้าประสงค์จะซื้อ จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
การที่จำเลยเขียนตัวเลขในบัญชีแบบ ฝ.1/23 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่เป็นผู้ลงบัญชี โจทก์หาว่าจำเลยปลอมโดยแก้ไขข้อความ 2 แห่ง คือ ขีดฆ่าเลข 8 เขียนทับเป็นเลข 16 แห่งหนึ่ง และอีกแห่งหนึ่งขีดฆ่าเลข 7 ออก เขียนเลข 15 ลงไปแทน การกระทำทั้งนี้ อาจเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือก็ได้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป และการกระทำลงไปโดยเจตนาปลอมให้ผู้อื่นหลงว่า เป็นของแท้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป จำเลยไม่เจตนาปลอม แล้วการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นการปลอมหนังสือ การนำสืบไม่ปรากฏว่า การขีดฆ่าไม่อยู่ในอำนาจของจำเลย กลับปรากฏว่า การขีดฆ่าทำอย่างไม่เจตนาพลางใคร การกระทำของจำเลยจึงไม่ผิดฐานปลอมหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดจำนวนฝิ่นเกินจริงและการแก้ไขบัญชี การพิสูจน์เจตนาทุจริตเป็นสาระสำคัญ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จดจำนวนฝิ่นที่ร้านค้าต้องการซื้อจากรัฐบาล ลงในแบบ ฝ.1/23 โจทก์หาว่าจำเลยจดจำนวนฝิ่นเป็นความเท็จลงในแบบ ฝ.1/23 เกินจากจำนวนที่ร้านค้าประสงค์จะซื้อแต่โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงจำนวนฝิ่นที่ร้านค้าประสงค์จะซื้อ จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
การที่จำเลยเขียนตัวเลขในบัญชีแบบ ฝ.1/2 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่เป็นผู้ลงบัญชี โจทก์หาว่าจำเลยปลอมโดยแก้ไขข้อความ 2 แห่งคือขีดฆ่าเลข 8 เขียนทับเป็นเลข 16 แห่งหนึ่ง และอีกแห่งหนึ่งขีดฆ่าเลข 7 ออก เขียนเลข 15 ลงไปแทน การกระทำทั้งนี้ อาจเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือก็ได้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป และการกระทำลงไปโดยเจตนาปลอมให้ผู้อื่นหลงว่าเป็นของแท้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป จำเลยไม่เจตนาปลอม แล้ว การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นการปลอมหนังสือ การนำสืบไม่ปรากฏว่า การขีดฆ่าไม่อยู่ในอำนาจของจำเลย กลับปรากฏว่า การขีดฆ่าทำหยาบๆ ไม่เจตนาพลางใคร การกระทำของจำเลย จึงไม่มีผิดฐานปลอมหนังสือ
of 2