พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิการขายน้ำมันของบริษัทในเครือต่างประเทศ การขายน้ำมันโดยบริษัทในเครือต่างประเทศไม่ใช่กิจการของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า บริษัทในเครือของบริษัท อ. ซึ่งอยู่ต่างประเทศเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศโดยลำพังตนเอง ไม่ได้ขายแทนโจทก์ จำเลยให้การว่า การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก. ในต่างประเทศบริษัทในเครือของบริษัท อ. เป็นผู้กระทำแทนโจทก์ และศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าโจทก์มีรายได้จากการที่กระทำให้บริษัท อ. หรือบริษัทสาขาหรือบริษัทในเครือใด ๆ ของบริษัท อ. มีการขายและส่งมอบน้ำมันให้แก่บริษัท ก. ในต่างประเทศหรือไม่ คำว่า รายได้ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว หมายถึงรายได้ซึ่งเป็นฐานในการคำนวณหากำไรสุทธิอันเป็นเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำ ดังนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางหยิบยกปัญหาว่า การขายและส่งมอบน้ำมันให้แก่บริษัท ก. ในต่างประเทศเป็นกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์หรือไม่ขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทหาได้เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่ ตามสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัท ก. ได้ตกลงให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแห่งประเทศไทย และมีข้อสัญญาระบุว่ากรรมสิทธิ์ในน้ำมันเป็นของผู้ซื้อ เมื่อได้ผ่านเข้าระบบเชื้อเพลิงใต้ปีกเครื่องบินแล้ว ซึ่งต้องมีการตวงวัดปริมาณน้ำมัน เพื่อให้รู้กำหนดราคาน้ำมันที่แน่นอนแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้มีการตวงวัดปริมาณน้ำมันเพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 460 วรรคสอง เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่า ผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการส่งมอบโดยอีกฝ่ายหนึ่งตามที่ผู้ขายจะเลือกกับข้อความในสัญญาดังกล่าวที่ว่า สัญญานี้ผู้ขายอาจมอบหมายทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ฝ่ายใด ๆ ตามที่ตนจะกำหนด และข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่าผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการขายและส่งมอบ ซึ่งเชื้อเพลิงอากาศยานเทอร์โบกับข้อความในสัญญาอีกข้อหนึ่งที่ว่าผู้ขายอาจโอนสิทธิของตนภายใต้สัญญานี้ทั้งหมดหรือบางส่วน และ/หรือกระทำให้ข้อผูกพันของตนข้อหนึ่งข้อใดหรือทั้งหมดได้รับการปฏิบัติตามโดยผู้อื่นแล้ว แสดงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายตามสัญญามีสิทธิที่จะขายหรือส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ด้วยตนเองให้ตัวแทนส่งมอบ หรือจะให้บุคคลอื่นเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก. ก็ได้ การที่บริษัท อ. ในต่างประเทศขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก. ในต่างประเทศ เป็นการที่ขายด้วยตนเอง มิได้กระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ และโจทก์มิได้รับผลประโยชน์จากกรณีดังกล่าว การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก. จึงมิใช่กิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่ต้องเสียภาษีส่งเงินได้นิติบุคคลจากการขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก. ในต่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายน้ำมันโดยบริษัทในเครือต่างประเทศ ไม่ถือเป็นกิจการหรือเนื่องจากกิจการของโจทก์ ไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ฟ้องว่า บริษัทในเครือของบริษัท อ.ซึ่งอยู่ต่างประเทศเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศโดยลำพังตนเอง ไม่ได้ขายแทนโจทก์ จำเลยให้การว่า การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศบริษัทในเครือของบริษัท อ.เป็นผู้กระทำแทนโจทก์ และศาลภาษีอาการกลางกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าโจทก์มีรายได้จากการที่กระทำให้บริษัท อ. หรือบริษัทสาขาหรือบริษัทในเครือใด ๆ ของบริษัท อ.มีการขายและส่งมอบน้ำมันให้แก่บริษัท ก.ในต่างประเทศหรือไม่ คำว่า รายได้ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว หมายถึงรายได้ซึ่งเป็นฐานในการคำนวณหากำไรสุทธิอันเป็นเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งต้องเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำ ดังนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางหยิบยกปัญหาว่า การขายและส่งมอบน้ำมันให้แก่บริษัท ก.ในต่างประเทศเป็นกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์หรือไม่ขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทหาได้เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่
ตามสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัท ก. ได้ตกลงให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแห่งประเทศไทย และมีข้อสัญญาระบุว่า กรรมสิทธิ์ในน้ำมันเป็นของผู้ซื้อ เมื่อได้ผ่านเข้าระบบเชื้อเพลิงใต้ปีกเครื่องบินแล้ว ซึ่งต้องมีการตวงวัดปริมาณน้ำมัน เพื่อให้รู้กำหนดราคาน้ำมันที่แน่นอนแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้มีการตวงวัดปริมาณน้ำมันเพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 460 วรรคสอง เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่า ผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการส่งมอบโดยอีกฝ่ายหนึ่งตามที่ผู้ขายจะเลือก กับข้อความในสัญญาดังกล่าวที่ว่า สัญญานี้ผู้ขายอาจมอบหมายทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ฝ่ายใด ๆ ตามที่ตนจะกำหนด และข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่าผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการขายและส่งมอบ ซึ่งเชื้อเพลิงอากาศยานเทอร์โบกับข้อความในสัญญาอีกข้อหนึ่งที่ว่าผู้ขายอาจโอนสิทธิของตนภายใต้สัญญานี้ทั้งหมดหรือบางส่วน และ/หรือกระทำให้ข้อผูกพันของตนข้อหนึ่งข้อใดหรือทั้งหมดได้รับการปฏิบัติตามโดยผู้อื่นแล้ว แสดงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายตามสัญญามีสิทธิที่จะขายหรือส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ด้วยตนเองให้ตัวแทนส่งมอบ หรือจะให้บุคคลอื่นเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ก็ได้
การที่บริษัท อ.ในต่างประเทศขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศ เป็นการที่ขายด้วยตนเอง มิได้กระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ และโจทก์มิได้รับผลประโยชน์จากกรณีดังกล่าว การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.จึงมิใช่กิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่ต้องเสียภาษีส่งเงินได้นิติบุคคลจากการขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศ
ตามสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัท ก. ได้ตกลงให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแห่งประเทศไทย และมีข้อสัญญาระบุว่า กรรมสิทธิ์ในน้ำมันเป็นของผู้ซื้อ เมื่อได้ผ่านเข้าระบบเชื้อเพลิงใต้ปีกเครื่องบินแล้ว ซึ่งต้องมีการตวงวัดปริมาณน้ำมัน เพื่อให้รู้กำหนดราคาน้ำมันที่แน่นอนแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้มีการตวงวัดปริมาณน้ำมันเพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 460 วรรคสอง เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่า ผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการส่งมอบโดยอีกฝ่ายหนึ่งตามที่ผู้ขายจะเลือก กับข้อความในสัญญาดังกล่าวที่ว่า สัญญานี้ผู้ขายอาจมอบหมายทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ฝ่ายใด ๆ ตามที่ตนจะกำหนด และข้อความในตอนต้นของสัญญาที่ว่าผู้ขายตกลงที่จะขายและส่งมอบหรือกระทำให้มีการขายและส่งมอบ ซึ่งเชื้อเพลิงอากาศยานเทอร์โบกับข้อความในสัญญาอีกข้อหนึ่งที่ว่าผู้ขายอาจโอนสิทธิของตนภายใต้สัญญานี้ทั้งหมดหรือบางส่วน และ/หรือกระทำให้ข้อผูกพันของตนข้อหนึ่งข้อใดหรือทั้งหมดได้รับการปฏิบัติตามโดยผู้อื่นแล้ว แสดงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายตามสัญญามีสิทธิที่จะขายหรือส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ด้วยตนเองให้ตัวแทนส่งมอบ หรือจะให้บุคคลอื่นเป็นผู้ขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ก็ได้
การที่บริษัท อ.ในต่างประเทศขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศ เป็นการที่ขายด้วยตนเอง มิได้กระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ และโจทก์มิได้รับผลประโยชน์จากกรณีดังกล่าว การขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.จึงมิใช่กิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่ต้องเสียภาษีส่งเงินได้นิติบุคคลจากการขายและส่งมอบน้ำมันแก่บริษัท ก.ในต่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8119/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การพิจารณาพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องและเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้าง
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีแทนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โจทก์ร่วมในนามของโจทก์ร่วมตามความผูกพันในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมนั้น ทำให้โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระค่าภาษีดังกล่าวแทนโจทก์ร่วมหากปรากฏว่าจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดเงินส่วนที่เกินนั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลย คืนเงินส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้ โจทก์หาจำต้องมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยจึงจะมีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ โจทก์ร่วมมิได้ยื่นฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 31แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องเองภายในกำหนดเวลาดังกล่าว และต่อมาเมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ โดยอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของโรงเรือนพิพาทและโจทก์มีหน้าที่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนโจทก์ร่วมตามสัญญาเช่าซึ่งศาลเห็นว่ากรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงอนุญาตตามคำร้องและได้ออกหมายเรียกโจทก์ร่วมให้เข้าเป็น โจทก์ร่วมในคดีนี้ ดังนั้น การที่โจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้จึงเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคำสั่งของศาล เนื่องจากศาลเห็นจำเป็นที่จะเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ ในส่วนที่โจทก์ร่วมให้โจทก์เช่านั้น โจทก์ร่วมได้ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดิน 390,000,000 บาท ได้อาคารศูนย์การค้าและโรงแรมพร้อมทั้งอุปกรณ์และได้ค่าเช่าที่ดินและอาคารอีกปีละ 24,000,000 บาท ดังนี้ ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดินจำนวนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ได้มีการชำระให้โจทก์ล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าแล้วรวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ร่วมด้วย เงินค่าตอบแทนค่าเช่าที่ดินดังกล่าว ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับค่าเช่าที่ดินตามสัญญาเช่าแต่อย่างใด ที่คณะกรรมการของจำเลยนำค่าตอบแทนการเช่าที่ดินมารวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีจึงถูกต้องและชอบแล้ว สำหรับส่วนที่โจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงนั้นสัญญาเช่าช่วงมีทั้งมีการเก็บค่าเช่าอย่างเดียวและมีการเก็บค่าเช่ากับค่าช่วยค่าก่อสร้างด้วยรายไหนเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างก็คิดค่าเช่าถูกลง รายไหนไม่ได้มีการเรียกเก็บเงินช่วยก่อสร้างล่วงหน้าก็คิดค่าเช่าต่อเดือนแพงกว่ากันมากโดยรายที่มีการคิดค่าเช่าอย่างเดียว คิดค่าเช่าตารางเมตรละ798 บาท ส่วนสัญญาเช่าที่มีการเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างคิดค่าเช่าตารางเมตรละ 20 บาท จึงฟังได้ว่าเงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์เรียกเก็บจากผู้เช่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่โจทก์เรียกเก็บล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าเพื่อคิดคำนวณเป็นค่ารายปีที่แท้จริงด้วยและการคิดคำนวณตามวิธีดังกล่าวไม่เป็นการซ้ำซ้อนกันเพราะนำมาคิดรวมเฉลี่ยเป็นค่าเช่าที่โจทก์ให้เช่า ทั้งไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับมูลค่าของโรงเรือนพิพาทเพราะไม่ได้นำมูลค่าของโรงเรือนพิพาทมารวมคำนวณด้วย ลานอเนกประสงค์ของโจทก์ คือพื้นที่ว่างภายในตัวอาคารรวมกับเนื้อที่นอกตัวอาคารต่อจากทางเดินภายนอกจนถึง บริเวณถนนส่วนบุคคลและด้านล่างใต้ดินของพื้นที่ ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวที่เป็นชั้นที่ 1 และที่ 2 ใช้เป็นลานจอดรถ ดังนี้ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวแม้บางส่วนจะเป็นพื้นที่นอกตัวอาคารแต่ก็เป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ร่วมกันหรือเพื่อประโยชน์ของพื้นที่อื่นของตัวอาคาร รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่ใช้ต่อเนื่องกับพื้นที่ส่วนอื่นของอาคารโรงเรือน และต่อเนื่องกับพื้นที่ที่ใช้เป็นที่จอดรถจึงต้องนำพื้นที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นพื้นที่โรงเรือนด้วย ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2474มาตรา 6 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8119/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี, การเฉลี่ยค่าเช่าล่วงหน้า, และการคำนวณพื้นที่โรงเรือนเพื่อเสียภาษี
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีแทนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โจทก์ร่วมในนามของโจทก์ร่วมตามความผูกพันในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมนั้น ทำให้โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระค่าภาษีดังกล่าวแทนโจทก์ร่วม หากปรากฏว่าจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดเงินส่วนที่เกินนั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงินส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้โจทก์หาจำต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยจึงจะมีอำนาจฟ้องจำเลยไม่
โจทก์ร่วมมิได้ยื่นฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องภายใน30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องเองภายในกำหนดเวลาดังกล่าวและต่อมาเมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ โดยอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของโรงเรือนพิพาทและโจทก์มีหน้าที่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนโจทก์ร่วมตามสัญญาเช่าซึ่งศาลเห็นว่ากรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงอนุญาตตามคำร้องและได้ออกหมายเรียกโจทก์ร่วมให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ ดังนั้นการที่โจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้จึงเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคำสั่งของศาล เนื่องจากศาลเห็นจำเป็นที่จะเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ในส่วนที่โจทก์ร่วมให้โจทก์เช่านั้น โจทก์ร่วมได้ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดิน 390,000,000 บาท ได้อาคารศูนย์การค้าและโรงแรมพร้อมทั้งอุปกรณ์และได้ค่าเช่าที่ดินและอาคารอีกปีละ 24,000,000 บาท ดังนี้ ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดินจำนวนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ได้มีการชำระให้โจทก์ล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าแล้วรวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ร่วมด้วย เงินค่าตอบแทนค่าเช่าที่ดินดังกล่าวไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับค่าเช่าที่ดินตามสัญญาเช่าแต่อย่างใด ที่คณะกรรมการของจำเลยนำค่าตอบแทนการเช่าที่ดินมารวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีจึงถูกต้องและชอบแล้ว
สำหรับส่วนที่โจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงนั้น สัญญาเช่าช่วงมีทั้งมีการเก็บค่าเช่าอย่างเดียวและมีการเก็บค่าเช่ากับค่าช่วยค่าก่อสร้างด้วยรายไหนเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างก็คิดค่าเช่าถูกลง รายไหนไม่ได้มีการเรียกเก็บเงินช่วยก่อสร้างล่วงหน้าก็คิดค่าเช่าต่อเดือนแพงกว่ากันมากโดยรายที่มีการคิดค่าเช่าอย่างเดียว คิดค่าเช่าตารางเมตรละ 798 บาท ส่วนสัญญาเช่าที่มีการเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างคิดค่าเช่าตารางเมตรละ 20 บาท จึงฟังได้ว่าเงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์เรียกเก็บจากผู้เช่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่โจทก์เรียกเก็บล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าเพื่อคิดคำนวณเป็นค่ารายปีที่แท้จริงด้วย และการคิดคำนวณตามวิธีดังกล่าวไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน เพราะนำมาคิดรวมเฉลี่ยเป็นค่าเช่าที่โจทก์ให้เช่า ทั้งไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับมูลค่าของโรงเรือนพิพาทเพราะไม่ได้นำมูลค่าของโรงเรือนพิพาทมารวมคำนวณด้วย
ลานอเนกประสงค์ของโจทก์ คือพื้นที่ว่างภายในตัวอาคารรวมกับเนื้อที่นอกตัวอาคารต่อจากทางเดินภายนอกจนถึงบริเวณถนนส่วนบุคคลและด้านล่างใต้ดินของพื้นที่ ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวที่เป็นชั้นที่ 1 และที่ 2ใช้เป็นลานจอดรถ ดังนี้ ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวแม้บางส่วนจะเป็นพื้นที่นอกตัวอาคาร แต่ก็เป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ร่วมกันหรือเพื่อประโยชน์ของพื้นที่อื่นของตัวอาคาร รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่ใช้ต่อเนื่องกับพื้นที่ส่วนอื่นของอาคารโรงเรือน และต่อเนื่องกับพื้นที่ที่ใช้เป็นที่จอดรถจึงต้องนำพื้นที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นพื้นที่โรงเรือนด้วย ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2474มาตรา 6 วรรคสอง
โจทก์ร่วมมิได้ยื่นฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องภายใน30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องเองภายในกำหนดเวลาดังกล่าวและต่อมาเมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ โดยอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของโรงเรือนพิพาทและโจทก์มีหน้าที่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนโจทก์ร่วมตามสัญญาเช่าซึ่งศาลเห็นว่ากรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงอนุญาตตามคำร้องและได้ออกหมายเรียกโจทก์ร่วมให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ ดังนั้นการที่โจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้จึงเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคำสั่งของศาล เนื่องจากศาลเห็นจำเป็นที่จะเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ในส่วนที่โจทก์ร่วมให้โจทก์เช่านั้น โจทก์ร่วมได้ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดิน 390,000,000 บาท ได้อาคารศูนย์การค้าและโรงแรมพร้อมทั้งอุปกรณ์และได้ค่าเช่าที่ดินและอาคารอีกปีละ 24,000,000 บาท ดังนี้ ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดินจำนวนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ได้มีการชำระให้โจทก์ล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าแล้วรวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ร่วมด้วย เงินค่าตอบแทนค่าเช่าที่ดินดังกล่าวไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับค่าเช่าที่ดินตามสัญญาเช่าแต่อย่างใด ที่คณะกรรมการของจำเลยนำค่าตอบแทนการเช่าที่ดินมารวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีจึงถูกต้องและชอบแล้ว
สำหรับส่วนที่โจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงนั้น สัญญาเช่าช่วงมีทั้งมีการเก็บค่าเช่าอย่างเดียวและมีการเก็บค่าเช่ากับค่าช่วยค่าก่อสร้างด้วยรายไหนเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างก็คิดค่าเช่าถูกลง รายไหนไม่ได้มีการเรียกเก็บเงินช่วยก่อสร้างล่วงหน้าก็คิดค่าเช่าต่อเดือนแพงกว่ากันมากโดยรายที่มีการคิดค่าเช่าอย่างเดียว คิดค่าเช่าตารางเมตรละ 798 บาท ส่วนสัญญาเช่าที่มีการเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างคิดค่าเช่าตารางเมตรละ 20 บาท จึงฟังได้ว่าเงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์เรียกเก็บจากผู้เช่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่โจทก์เรียกเก็บล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าเพื่อคิดคำนวณเป็นค่ารายปีที่แท้จริงด้วย และการคิดคำนวณตามวิธีดังกล่าวไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน เพราะนำมาคิดรวมเฉลี่ยเป็นค่าเช่าที่โจทก์ให้เช่า ทั้งไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับมูลค่าของโรงเรือนพิพาทเพราะไม่ได้นำมูลค่าของโรงเรือนพิพาทมารวมคำนวณด้วย
ลานอเนกประสงค์ของโจทก์ คือพื้นที่ว่างภายในตัวอาคารรวมกับเนื้อที่นอกตัวอาคารต่อจากทางเดินภายนอกจนถึงบริเวณถนนส่วนบุคคลและด้านล่างใต้ดินของพื้นที่ ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวที่เป็นชั้นที่ 1 และที่ 2ใช้เป็นลานจอดรถ ดังนี้ ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวแม้บางส่วนจะเป็นพื้นที่นอกตัวอาคาร แต่ก็เป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ร่วมกันหรือเพื่อประโยชน์ของพื้นที่อื่นของตัวอาคาร รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่ใช้ต่อเนื่องกับพื้นที่ส่วนอื่นของอาคารโรงเรือน และต่อเนื่องกับพื้นที่ที่ใช้เป็นที่จอดรถจึงต้องนำพื้นที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นพื้นที่โรงเรือนด้วย ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2474มาตรา 6 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีภาษีอากร และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 85 เมื่อโจทก์ได้ยื่นพยานหลักฐานถูกต้องตามข้อกำหนดภาษีอากรในชั้นพิจารณาแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่นำสืบในชั้นศาลโดยไม่ผ่านขั้นตอนของการตรวจสอบการประเมินและการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบการวินิจฉัยคดีได้
โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า (ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากเจ้าพนักงานประเมิน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528 และ 2529ปรากฏว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีทั้งเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าแสดงยอดรายรับไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและมีรายจ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ทวิ(2) และ65 ตรี(3) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ โจทก์บันทึกบัญชีมียอดขายไม่ลงบัญชีและยอดรายรับขาดบัญชีเป็นจำนวนไม่น้อยโดยที่มีพยานหลักฐานตรวจสอบได้แน่ชัด อันเป็นพฤติการณ์ส่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้โจทก์ คงเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว ไม่มีเหตุอันควรที่จะลดเบี้ยปรับให้ได้อีก
โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า (ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากเจ้าพนักงานประเมิน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528 และ 2529ปรากฏว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีทั้งเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าแสดงยอดรายรับไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและมีรายจ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ทวิ(2) และ65 ตรี(3) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ โจทก์บันทึกบัญชีมียอดขายไม่ลงบัญชีและยอดรายรับขาดบัญชีเป็นจำนวนไม่น้อยโดยที่มีพยานหลักฐานตรวจสอบได้แน่ชัด อันเป็นพฤติการณ์ส่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้โจทก์ คงเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว ไม่มีเหตุอันควรที่จะลดเบี้ยปรับให้ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นศาลภาษีอากร และการพิจารณาเบี้ยปรับกรณีหลีกเลี่ยงภาษี
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 85 เมื่อโจทก์ได้ยื่นพยานหลักฐานถูกต้องตามข้อกำหนดภาษีอากรในชั้นพิจารณาแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่นำสืบในชั้นศาลโดยไม่ผ่านขั้นตอนของการตรวจสอบการประเมินและการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบการวินิจฉัยคดีได้
โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า (ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากเจ้าพนักงานประเมิน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528 และ 2529ปรากฏว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีทั้งเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าแสดงยอดรายรับไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและมีรายจ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ทวิ(2) และ65 ตรี(3) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ โจทก์บันทึกบัญชีมียอดขายไม่ลงบัญชีและยอดรายรับขาดบัญชีเป็นจำนวนไม่น้อยโดยที่มีพยานหลักฐานตรวจสอบได้แน่ชัด อันเป็นพฤติการณ์ส่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้โจทก์ คงเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว ไม่มีเหตุอันควรที่จะลดเบี้ยปรับให้ได้อีก
โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า (ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากเจ้าพนักงานประเมิน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528 และ 2529ปรากฏว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีทั้งเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าแสดงยอดรายรับไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและมีรายจ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ทวิ(2) และ65 ตรี(3) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ โจทก์บันทึกบัญชีมียอดขายไม่ลงบัญชีและยอดรายรับขาดบัญชีเป็นจำนวนไม่น้อยโดยที่มีพยานหลักฐานตรวจสอบได้แน่ชัด อันเป็นพฤติการณ์ส่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้โจทก์ คงเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว ไม่มีเหตุอันควรที่จะลดเบี้ยปรับให้ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7729/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดทรัพย์สินค่าภาษีค้างชำระของนายอำเภอและการคุ้มครองการบังคับคดี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 นายอำเภอแห่งท้องที่มีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินที่ดินของโจทก์ผู้ต้องรับผิดค่าภาษีอากรค้างได้ โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจในเหตุที่ว่านี้มีสิทธิขอให้ศาลใช้วิธีคุ้มครองโดยให้งดการบังคับคดีของกรมสรรพากรในระหว่างขอขยายเวลาอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือในระหว่างพิจารณาคดีของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 แต่อย่างใด ดังนั้น การขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือตามที่นายอำเภอสั่งยึดตามฟ้อง ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 12 จึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอ เพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลังเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากการส่งเสริมการขาย: การขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุสมควร การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ได้รับสัมปทานการบริการวิทยุติดตามตัวตั้งแต่ปี 2533 โจทก์ดำเนินธุรกิจจนถึงก่อนสิ้นปี 2535 โจทก์มีลูกค้าเพียงประมาณ 700 ราย ในขณะเดียวกันผู้ได้รับสัมปทานรายอื่นมีลูกค้าตั้งแต่ 10,000 ราย ถึง 100,000 ราย รายได้หลักที่โจทก์มุ่งหวังอยู่ที่ค่าบริการรายเดือนที่ลูกค้าใช้บริการ มิใช่อยู่ที่กำไรจากการขายเครื่องรับวิทยุติดตามตัวอันเป็นรายได้รอง ดังนั้น โจทก์จึงจำเป็นต้องหาลูกค้าให้ได้จำนวนมากที่สุดเพื่อโจทก์จะได้รับค่าบริการจากลูกค้าทุกเดือน การที่โจทก์โฆษณาโดยระบุว่าลูกค้าที่มาใช้บริการในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2536 จำนวน 1,500 รายแรกโจทก์จะขายวิทยุติดตามตัวในราคาเครื่องละ 1,500 บาท นั้น ความสำคัญคือช่วงส่งเสริมการขายได้แก่ระยะเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2536 ส่วนข้อความที่ระบุว่าจะขายเครื่องละ 1,500 บาท เพียง 1,500 เครื่องแรก เป็นเพียงกลยุทธกระตุ้นให้ลูกค้าสามารถจดจำเลขหมาย 1500 อันเป็นเลขหมายใหม่ของโจทก์และรีบมาใช้บริการเท่านั้นมิใช่ว่าโจทก์เจตนาจะส่งเสริมการขายเพียง 1,500 เครื่องเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่สมประโยชน์ที่โจทก์ส่งเสริมการขายเพื่อให้ได้ลูกค้าในช่วงดังกล่าวมากที่สุดดังจะเห็นได้ว่าจากกลยุทธดังกล่าว โจทก์เริ่มส่งเสริมการขายตั้งแต่วันที่ 18ธันวาคม 2535 ปรากฏว่าในเดือนธันวาคม 2535 โจทก์ขายวิทยุติดตามตัวได้ถึง 2,435 เครื่อง แม้เมื่อโจทก์ขายครบ 1,500 เครื่อง แล้วโจทก์เปลี่ยนวิธีการขายโดยโจทก์ไม่เก็บค่าบริการรายเดือนเป็นเวลา 6 เดือนก็ตาม แต่จำนวนเงินที่ผู้ใช้บริการต้องชำระแก่โจทก์ยังคงเท่ากับ 1,500 เครื่องแรก และยังอยู่ในระยะเวลาที่โจทก์กำหนดเป็นช่วงส่งเสริมการขาย โดยโจทก์ขายแก่บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่นนี้นับว่าโจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุสมควร
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น แต่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงแม้ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะทำบันทึกยอมชำระภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับ และเจ้าพนักงานประเมินลดเบี้ยปรับให้แล้วก็ตาม โจทก์ก็หามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามบันทึกที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทำไว้แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่อาจใช้บันทึกดังกล่าวบังคับต่อโจทก์ให้ต้องชำระภาษีอากรตามนั้น
ที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 เป็นเงิน 67,849.48 บาท และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ 33,901.08 บาท นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรจำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรในส่วนนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น แต่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงแม้ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะทำบันทึกยอมชำระภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับ และเจ้าพนักงานประเมินลดเบี้ยปรับให้แล้วก็ตาม โจทก์ก็หามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามบันทึกที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทำไว้แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่อาจใช้บันทึกดังกล่าวบังคับต่อโจทก์ให้ต้องชำระภาษีอากรตามนั้น
ที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 เป็นเงิน 67,849.48 บาท และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ 33,901.08 บาท นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรจำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรในส่วนนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิชอบด้วยกฎหมายจากการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุสมควร และผลของการยอมชำระภาษีโดยไม่กระทบสิทธิ
โจทก์ได้รับสัมปทานการบริการวิทยุติดตามตัวตั้งแต่ปี 2533 โจทก์ดำเนินธุรกิจจนถึงก่อนสิ้นปี 2535 โจทก์มีลูกค้าเพียงประมาณ 700 ราย ในขณะเดียวกันผู้ได้รับสัมปทานรายอื่นมีลูกค้าตั้งแต่ 10,000 ราย ถึง 100,000 ราย รายได้หลักที่โจทก์มุ่งหวังอยู่ที่ค่าบริการรายเดือนที่ลูกค้าใช้บริการ มิใช่อยู่ที่กำไรจากการขายเครื่องรับวิทยุติดตามตัวอันเป็นรายได้รอง ดังนั้น โจทก์จึงจำเป็นต้องหาลูกค้าให้ได้จำนวนมากที่สุดเพื่อโจทก์จะได้รับค่าบริการจากลูกค้าทุกเดือน การที่โจทก์โฆษณาโดยระบุว่าลูกค้าที่มาใช้บริการในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2536 จำนวน 1,500 รายแรกโจทก์จะขายวิทยุติดตามตัวในราคาเครื่องละ 1,500 บาท นั้น ความสำคัญคือช่วงส่งเสริมการขายได้แก่ระยะเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2536 ส่วนข้อความที่ระบุว่าจะขายเครื่องละ 1,500 บาท เพียง 1,500 เครื่องแรก เป็นเพียงกลยุทธกระตุ้นให้ลูกค้าสามารถจดจำเลขหมาย 1500 อันเป็นเลขหมายใหม่ของโจทก์และรีบมาใช้บริการเท่านั้นมิใช่ว่าโจทก์เจตนาจะส่งเสริมการขายเพียง 1,500 เครื่องเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่สมประโยชน์ที่โจทก์ส่งเสริมการขายเพื่อให้ได้ลูกค้าในช่วงดังกล่าวมากที่สุดดังจะเห็นได้ว่าจากกลยุทธดังกล่าว โจทก์เริ่มส่งเสริมการขายตั้งแต่วันที่ 18ธันวาคม 2535 ปรากฏว่าในเดือนธันวาคม 2535 โจทก์ขายวิทยุติดตามตัวได้ถึง 2,435 เครื่อง แม้เมื่อโจทก์ขายครบ 1,500 เครื่อง แล้วโจทก์เปลี่ยนวิธีการขายโดยโจทก์ไม่เก็บค่าบริการรายเดือนเป็นเวลา 6 เดือนก็ตาม แต่จำนวนเงินที่ผู้ใช้บริการต้องชำระแก่โจทก์ยังคงเท่ากับ 1,500 เครื่องแรก และยังอยู่ในระยะเวลาที่โจทก์กำหนดเป็นช่วงส่งเสริมการขาย โดยโจทก์ขายแก่บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่นนี้นับว่าโจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุสมควร
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น แต่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงแม้ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะทำบันทึกยอมชำระภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับ และเจ้าพนักงานประเมินลดเบี้ยปรับให้แล้วก็ตาม โจทก์ก็หามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามบันทึกที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทำไว้แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่อาจใช้บันทึกดังกล่าวบังคับต่อโจทก์ให้ต้องชำระภาษีอากรตามนั้น
ที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 เป็นเงิน 67,849.48 บาท และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ 33,901.08 บาท นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรจำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรในส่วนนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น แต่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงแม้ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะทำบันทึกยอมชำระภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับ และเจ้าพนักงานประเมินลดเบี้ยปรับให้แล้วก็ตาม โจทก์ก็หามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามบันทึกที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทำไว้แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่อาจใช้บันทึกดังกล่าวบังคับต่อโจทก์ให้ต้องชำระภาษีอากรตามนั้น
ที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 เป็นเงิน 67,849.48 บาท และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ 33,901.08 บาท นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรจำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรในส่วนนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรที่มิชอบและการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดที่มีเหตุสมควร
โจทก์ได้รับสัมปทานการบริการวิทยุติดตามตัวตั้งแต่ปี 2533โจทก์ดำเนินธุรกิจจนถึงก่อนสิ้นปี 2535 โจทก์มีลูกค้าเพียงประมาณ 700 รายในขณะเดียวกันผู้ได้รับสัมปทานรายอื่นมีลูกค้าตั้งแต่ 10,000 ราย ถึง 100,000 รายรายได้หลักที่โจทก์มุ่งหวังอยู่ที่ค่าบริการรายเดือนที่ลูกค้าใช้บริการ มิใช่อยู่ที่กำไรจากการขายเครื่องรับวิทยุติดตามตัวอันเป็นรายได้รอง ดังนั้น โจทก์จึงจำเป็นต้องหาลูกค้าให้ได้จำนวนมากที่สุดเพื่อโจทก์จะได้รับค่าบริการจากลูกค้าทุกเดือน การที่โจทก์โฆษณาโดยระบุว่าลูกค้าที่มาใช้บริการในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31มีนาคม 2536 จำนวน 1,500 รายแรก โจทก์จะขายวิทยุติดตามตัวในราคาเครื่องละ1,500 บาทนั้น ความสำคัญคือช่วงส่งเสริมการขายได้แก่ระยะเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2536 ส่วนข้อความที่ระบุว่าจะขายเครื่องละ1,500 บาท เพียง 1,500 เครื่องแรก เป็นเพียงกลยุทธกระตุ้นให้ลูกค้าสามารถจดจำเลขหมาย 1500 อันเป็นเลขหมายใหม่ของโจทก์และรีบมาใช้บริการเท่านั้นมิใช่ว่าโจทก์เจตนาจะส่งเสริมการขายเพียง 1,500 เครื่องเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่สมประโยชน์ที่โจทก์ส่งเสริมการขายเพื่อให้ได้ลูกค้าในช่วงดังกล่าวมากที่สุดดังจะเห็นได้ว่าจากกลยุทธดังกล่าว โจทก์เริ่มส่งเสริมการขายตั้งแต่วันที่ 18ธันวาคม 2535 ปรากฏว่าในเดือนธันวาคม 2535 โจทก์ขายวิทยุติดตามตัวได้ถึง2,435 เครื่อง แม้เมื่อโจทก์ขายครบ 1,500 เครื่อง แล้วโจทก์เปลี่ยนวิธีการขายโดยโจทก์ไม่เก็บค่าบริการรายเดือนเป็นเวลา 6 เดือนก็ตาม แต่จำนวนเงินที่ผู้ใช้บริการต้องชำระแก่โจทก์ยังคงเท่ากับ 1,500 เครื่องแรก และยังอยู่ในระยะเวลาที่โจทก์กำหนดเป็นช่วงส่งเสริมการขาย โดยโจทก์ขายแก่บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่นนี้นับว่าโจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุสมควร
ป.รัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น แต่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงแม้ว่าผู้รับมอบ-อำนาจโจทก์จะทำบันทึกยอมชำระภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับ และเจ้าพนักงานประเมินลดเบี้ยปรับให้แล้วก็ตาม โจทก์ก็หามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามบันทึกที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทำไว้แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่อาจใช้บันทึกดังกล่าวบังคับต่อโจทก์ให้ต้องชำระภาษีอากรตามนั้น
ที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 เป็นเงิน 67,849.48 บาทและเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ33,901.08 บาท นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรจำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรในส่วนนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ป.รัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น แต่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงแม้ว่าผู้รับมอบ-อำนาจโจทก์จะทำบันทึกยอมชำระภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับ และเจ้าพนักงานประเมินลดเบี้ยปรับให้แล้วก็ตาม โจทก์ก็หามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามบันทึกที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทำไว้แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่อาจใช้บันทึกดังกล่าวบังคับต่อโจทก์ให้ต้องชำระภาษีอากรตามนั้น
ที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 เป็นเงิน 67,849.48 บาทและเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ33,901.08 บาท นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรจำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรในส่วนนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง