พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ: การไม่มีสถานประกอบการถาวรและฐานะตัวแทนทางภาษี
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์ไม่ใช่สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าดังกล่าวได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ขายสินค้าจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่เป็นตัวแทนในการชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวด้วย ดังนี้ คำฟ้องนี้เป็นคำฟ้องที่ได้ความชัดแจ้งแล้ว ส่วนอนุสัญญาดังกล่าวจะทำกันเมื่อใด รัฐบาลทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกันเมื่อใด และอนุสัญญาดังกล่าวมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9 บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9 บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: โจทก์ซื้อมาขายไป ไม่เป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศ ไม่เข้าข่ายภาษีตามมาตรา 76 ทวิ
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์ไม่ใช่สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าดังกล่าวได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ขายสินค้าจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่เป็นตัวแทนในการชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวด้วยดังนี้ คำฟ้องนี้เป็นคำฟ้องที่ได้ความชัดแจ้งแล้ว ส่วนอนุสัญญาดังกล่าวจะทำกันเมื่อใดรัฐบาลทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกันเมื่อใด และอนุสัญญาดังกล่าวมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) และการปรับใช้กับนิติบุคคล แม้พระราชกฤษฎีกาฯ จะกำหนดเฉพาะบุคคลธรรมดา
กรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 80 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จากกิจการดังกล่าวแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้นก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้น ปรากฏว่ารายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ ซึ่งหมายความว่า หากผู้มีเงินได้พิสูจน์โดยมีหลักฐานแสดงว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าร้อยละ 80 ก็หักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้มากกว่าร้อยละ 80 ได้ แต่ถ้าหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดงนั้นบ่งชี้ว่าผู้มีเงินได้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าร้อยละ 80 ก็ต้องหักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้น้อยกว่าร้อยละ 80 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถแสดงหลักฐานและพิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายเท่าใดแน่จึงต้องหักค่าใช้จ่ายให้ร้อยละ 80 แม้ตามบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 จะใช้บังคับแก่บุคคลธรรมดา แต่ก็สามารถนำมาปรับใช้แก่กรณีของนิติบุคคลเช่นกรณีของโจทก์ได้โดยไม่ขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งบัญญัติว่าเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้ คือ กำไรสุทธิ ฯลฯ แต่อย่างใด เนื่องจากการประกอบกิจการของโจทก์เป็นการประกอบกิจการค้าประเภทซื้อมาขายไปโจทก์มิได้เป็นผู้ผลิตซึ่งตามปกติแล้วต้องมีต้นทุนซื้อมาและจะต้องหักต้นทุนซื้อให้ การที่จำเลยทั้งสี่นำรายรับทั้งหมดมาถือเป็นรายได้จึงไม่ถูกต้อง
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่มีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1ได้อุทธรณ์ถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่า รายจ่ายทุกประเภทรวมทั้งค่าใช้จ่ายโจทก์ได้จ่ายไปจริงสมเหตุผลทางการค้าและเพื่อกิจการของโจทก์ รายการขายแต่ละรายการได้ผ่านการบันทึกบัญชีถูกต้องทุกรายการตามความเป็นจริง รายการขายตามใบส่งของที่ออกแทนนั้น เป็นรายการขายเดี่ยวและเป็นการขายจริงตามเอกสารทางบัญชีมีการลงบัญชีไว้ถูกต้องทุกรายการ ข้อความตามอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งประเมินภาษีทั้งหมด ดังนั้นในส่วนการขอให้หักต้นทุนซื้อซึ่งทำให้ไม่ต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนที่เป็นต้นทุนเพราะมิใช่กำไรสุทธิ จึงถือเป็นเหตุผลหรือรายละเอียดประกอบการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร บังคับไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งว่ารายการขายสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่า ขายต่ำกว่าความเป็นจริง จำเลยยอมให้หักต้นทุนสินค้า แต่รายการที่หาว่าขายสินค้าโดยมิได้ลงบัญชีขาย จำเลยไม่ยอมให้หักต้นทุนสินค้าให้โจทก์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบและไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับเมื่อศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้น การที่ศาลภาษีอากรกำหนดให้หักต้นทุนซื้อในกรณีที่โจทก์ขายสินค้าไม่ลงบัญชีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้ร้อยละ 80 ทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชี้ถึงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่มีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1ได้อุทธรณ์ถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่า รายจ่ายทุกประเภทรวมทั้งค่าใช้จ่ายโจทก์ได้จ่ายไปจริงสมเหตุผลทางการค้าและเพื่อกิจการของโจทก์ รายการขายแต่ละรายการได้ผ่านการบันทึกบัญชีถูกต้องทุกรายการตามความเป็นจริง รายการขายตามใบส่งของที่ออกแทนนั้น เป็นรายการขายเดี่ยวและเป็นการขายจริงตามเอกสารทางบัญชีมีการลงบัญชีไว้ถูกต้องทุกรายการ ข้อความตามอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งประเมินภาษีทั้งหมด ดังนั้นในส่วนการขอให้หักต้นทุนซื้อซึ่งทำให้ไม่ต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนที่เป็นต้นทุนเพราะมิใช่กำไรสุทธิ จึงถือเป็นเหตุผลหรือรายละเอียดประกอบการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร บังคับไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งว่ารายการขายสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่า ขายต่ำกว่าความเป็นจริง จำเลยยอมให้หักต้นทุนสินค้า แต่รายการที่หาว่าขายสินค้าโดยมิได้ลงบัญชีขาย จำเลยไม่ยอมให้หักต้นทุนสินค้าให้โจทก์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบและไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับเมื่อศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้น การที่ศาลภาษีอากรกำหนดให้หักต้นทุนซื้อในกรณีที่โจทก์ขายสินค้าไม่ลงบัญชีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้ร้อยละ 80 ทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชี้ถึงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการค้าซื้อมาขายไป การหักต้นทุนสินค้า และการใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด
กรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง ป.รัษฎากรซึ่งตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (25) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 80 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จากกิจการดังกล่าวแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้นก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้น ปรากฏว่ารายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ ซึ่งหมายความว่า หากผู้มีเงินได้พิสูจน์โดยมีหลักฐานแสดงว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าร้อยละ 80 ก็หักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้มากกว่าร้อยละ 80 ได้ แต่ถ้าหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดงนั้นบ่งชี้ว่าผู้มีเงินได้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าร้อยละ 80 ก็ต้องหักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้น้อยกว่าร้อยละ 80 ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถแสดงหลักฐานและพิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายเท่าใดแน่จึงต้องหักค่าใช้จ่ายให้ร้อยละ 80 แม้ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ฎ.(ฉบับที่ 11)พ.ศ.2502 จะใช้บังคับแก่บุคคลธรรมดา แต่ก็สามารถนำมาปรับใช้แก่กรณีของนิติบุคคลเช่นกรณีของโจทก์ได้โดยไม่ขัดต่อ ป.รัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งบัญญัติว่าเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้ คือ กำไรสุทธิ ฯลฯ แต่อย่างใด เนื่องจากการประกอบกิจการของโจทก์เป็นการประกอบกิจการค้าประเภทซื้อมาขายไปโจทก์มิได้เป็นผู้ผลิตซึ่งตามปกติแล้วต้องมีต้นทุนซื้อมาและจะต้องหักต้นทุนซื้อให้การที่จำเลยทั้งสี่นำรายรับทั้งหมดมาถือเป็นรายได้จึงไม่ถูกต้อง
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่มีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์ถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่า รายจ่ายทุกประเภทรวมทั้งค่าใช้จ่ายโจทก์ได้จ่ายไปจริงสมเหตุผลทางการค้าและเพื่อกิจการของโจทก์ รายการขายแต่ละรายการได้ผ่านการบันทึกบัญชีถูกต้องทุกรายการตามความเป็นจริง รายการขายตามใบส่งของที่ออกแทนนั้น เป็นรายการขายเดี่ยวและเป็นการขายจริงตามเอกสารทางบัญชีมีการลงบัญชีไว้ถูกต้องทุกรายการ ข้อความตามอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งประเมินภาษีทั้งหมด ดังนั้นในส่วนการขอให้หักต้นทุนซื้อซึ่งทำให้ไม่ต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนที่เป็นต้นทุนเพราะมิใช่กำไรสุทธิ จึงถือเป็นเหตุผลหรือรายละเอียดประกอบการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร บังคับไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งว่ารายการขายสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่า ขายต่ำกว่าความเป็นจริงจำเลยยอมให้หักต้นทุนสินค้า แต่รายการที่หาว่าขายสินค้าโดยมิได้ลงบัญชีขายจำเลยไม่ยอมให้หักต้นทุนสินค้าให้โจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบและไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับ เมื่อศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้น การที่ศาลภาษีอากรกำหนดให้หักต้นทุนซื้อในกรณีที่โจทก์ขายสินค้าไม่ลงบัญชีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้ร้อยละ 80 ทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชี้ถึงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่มีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์ถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่า รายจ่ายทุกประเภทรวมทั้งค่าใช้จ่ายโจทก์ได้จ่ายไปจริงสมเหตุผลทางการค้าและเพื่อกิจการของโจทก์ รายการขายแต่ละรายการได้ผ่านการบันทึกบัญชีถูกต้องทุกรายการตามความเป็นจริง รายการขายตามใบส่งของที่ออกแทนนั้น เป็นรายการขายเดี่ยวและเป็นการขายจริงตามเอกสารทางบัญชีมีการลงบัญชีไว้ถูกต้องทุกรายการ ข้อความตามอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งประเมินภาษีทั้งหมด ดังนั้นในส่วนการขอให้หักต้นทุนซื้อซึ่งทำให้ไม่ต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนที่เป็นต้นทุนเพราะมิใช่กำไรสุทธิ จึงถือเป็นเหตุผลหรือรายละเอียดประกอบการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร บังคับไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งว่ารายการขายสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่า ขายต่ำกว่าความเป็นจริงจำเลยยอมให้หักต้นทุนสินค้า แต่รายการที่หาว่าขายสินค้าโดยมิได้ลงบัญชีขายจำเลยไม่ยอมให้หักต้นทุนสินค้าให้โจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบและไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับ เมื่อศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้น การที่ศาลภาษีอากรกำหนดให้หักต้นทุนซื้อในกรณีที่โจทก์ขายสินค้าไม่ลงบัญชีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้ร้อยละ 80 ทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชี้ถึงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8360/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับสถานีบริการน้ำมัน โดยเทียบเคียงกับสถานีอื่นและดัชนีราคา
การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีในปี 2533 เสียใหม่โดยเทียบเคียงกับสถานีจำหน่ายน้ำมันแห่งอื่นที่มีลักษณะทำเลที่ตั้งและขนาดคล้ายคลึงกันนั้น มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ทำให้คดีเสร็จไป เพราะคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีจะต้องวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยที่ 1 แล้วชี้ขาดลงไปว่าให้จำเลยที่ 1 ประเมินได้เท่าใด คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนนี้จึงไม่ชอบ
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8ให้ความหมายว่า ค่ารายปี คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆแต่สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.และบริษัท ด.มิได้กำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนกันเป็นอัตราที่แน่นอน หากแต่คู่สัญญาได้ตกลงให้ผู้ดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโจทก์ หากเดือนใดซื้อเป็นจำนวนน้อย ก็จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราสูง แต่ถ้าเดือนใดซื้อเป็นจำนวนมาก ก็จะชำระค่าตอบแทนในอัตราต่ำ ตามอัตราค่าตอบแทนที่ระบุไว้ในสัญญาแต่ละช่วงเวลาไป นอกจากนี้โจทก์ยังได้รับผลประโยชน์เป็นค่าธรรมเนียมการใช้สถานีบริการน้ำมันและเครื่องหมายการค้าอีกจำนวนหนึ่งด้วย เห็นได้ว่าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ตัวอาคารสถานที่ส่วนหนึ่งจากเครื่องมือ อุปกรณ์ ในการเก็บรักษาและบริการน้ำมันอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้งได้รับผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอีกส่วนหนึ่ง ไม่สามารถจำแนกได้ว่าจะเป็นค่าตอบแทนเฉพาะการใช้โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนดังกล่าว อันจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นจำนวนเดือนละเท่าใด จึงไม่อาจนำค่าตอบแทนตามสัญญาดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันมาคำนวณเป็นค่ารายปีได้ สำหรับข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาก็ไม่ปรากฏว่า สถานีบริการน้ำมันเหล่านั้นมีสภาพ ขนาดทำเลที่ตั้งเป็นอย่างไร มีสัญญาในลักษณะต่างตอบแทนเช่นเดียวกับโรงเรือนพิพาทหรือไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ผ่านมาใช้หลักเกณฑ์ประการใด จึงไม่อาจนำค่ารายปีของสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาเทียบเคียงกำหนดเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทในปีภาษีตามฟ้องได้ ค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทตามฟ้องจึงต้องเทียบเคียงกับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งได้ความว่าในปีที่ล่วงมาแล้วคือปี 2532 จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 30/7เป็นเงิน 420,000 บาท และระหว่างปี 2532 ถึง 2534 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของกรุงเทพมหานครและดัชนีผู้บริโภคทั่วไปทั้งประเทศไว้ ปรากฏว่า ดัชนีผู้บริโภคดังกล่าวทั้งสองประเภทในหมวดเคหสถาน เครื่องเรือน และเครื่องใช้ในบ้านมีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2533ไม่เกินร้อยละ 3.5 ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้มีการเพิ่มค่ารายปีขึ้นอีกร้อยละ 7ของค่ารายปีปี 2532 รวมเป็นเงิน 449,400 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้วและถือเอาเป็นค่ารายปีสำหรับปีภาษี 2533 ได้
สำหรับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองแม้จะได้ความว่ายังไม่เคยกำหนดค่ารายปีกันมาก่อน เนื่องจากเพิ่งจะเปิดดำเนินการได้เพียง9 เดือนก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า โรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองก็เป็นสถานีบริการน้ำมันเช่นเดียวกับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรก ทั้งยังตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินและอยู่ในท้องที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเช่นเดียวกันอีกด้วย ดังนี้ เมื่อคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่และทำเลที่ตั้งแล้ว เห็นว่า อาจกำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรกได้
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8ให้ความหมายว่า ค่ารายปี คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆแต่สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.และบริษัท ด.มิได้กำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนกันเป็นอัตราที่แน่นอน หากแต่คู่สัญญาได้ตกลงให้ผู้ดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโจทก์ หากเดือนใดซื้อเป็นจำนวนน้อย ก็จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราสูง แต่ถ้าเดือนใดซื้อเป็นจำนวนมาก ก็จะชำระค่าตอบแทนในอัตราต่ำ ตามอัตราค่าตอบแทนที่ระบุไว้ในสัญญาแต่ละช่วงเวลาไป นอกจากนี้โจทก์ยังได้รับผลประโยชน์เป็นค่าธรรมเนียมการใช้สถานีบริการน้ำมันและเครื่องหมายการค้าอีกจำนวนหนึ่งด้วย เห็นได้ว่าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ตัวอาคารสถานที่ส่วนหนึ่งจากเครื่องมือ อุปกรณ์ ในการเก็บรักษาและบริการน้ำมันอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้งได้รับผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอีกส่วนหนึ่ง ไม่สามารถจำแนกได้ว่าจะเป็นค่าตอบแทนเฉพาะการใช้โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนดังกล่าว อันจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นจำนวนเดือนละเท่าใด จึงไม่อาจนำค่าตอบแทนตามสัญญาดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันมาคำนวณเป็นค่ารายปีได้ สำหรับข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาก็ไม่ปรากฏว่า สถานีบริการน้ำมันเหล่านั้นมีสภาพ ขนาดทำเลที่ตั้งเป็นอย่างไร มีสัญญาในลักษณะต่างตอบแทนเช่นเดียวกับโรงเรือนพิพาทหรือไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ผ่านมาใช้หลักเกณฑ์ประการใด จึงไม่อาจนำค่ารายปีของสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาเทียบเคียงกำหนดเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทในปีภาษีตามฟ้องได้ ค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทตามฟ้องจึงต้องเทียบเคียงกับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งได้ความว่าในปีที่ล่วงมาแล้วคือปี 2532 จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 30/7เป็นเงิน 420,000 บาท และระหว่างปี 2532 ถึง 2534 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของกรุงเทพมหานครและดัชนีผู้บริโภคทั่วไปทั้งประเทศไว้ ปรากฏว่า ดัชนีผู้บริโภคดังกล่าวทั้งสองประเภทในหมวดเคหสถาน เครื่องเรือน และเครื่องใช้ในบ้านมีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2533ไม่เกินร้อยละ 3.5 ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้มีการเพิ่มค่ารายปีขึ้นอีกร้อยละ 7ของค่ารายปีปี 2532 รวมเป็นเงิน 449,400 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้วและถือเอาเป็นค่ารายปีสำหรับปีภาษี 2533 ได้
สำหรับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองแม้จะได้ความว่ายังไม่เคยกำหนดค่ารายปีกันมาก่อน เนื่องจากเพิ่งจะเปิดดำเนินการได้เพียง9 เดือนก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า โรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองก็เป็นสถานีบริการน้ำมันเช่นเดียวกับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรก ทั้งยังตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินและอยู่ในท้องที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเช่นเดียวกันอีกด้วย ดังนี้ เมื่อคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่และทำเลที่ตั้งแล้ว เห็นว่า อาจกำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8360/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่ารายปีตามดัชนีผู้บริโภคและลักษณะทรัพย์สิน
การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1กำหนดค่ารายปีในปี 2533 เสียใหม่โดยเทียบเคียงกับสถานีจำหน่ายน้ำมันแห่งอื่นที่มีลักษณะทำเลที่ตั้งและขนาดคล้ายคลึงกันนั้น มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ทำให้คดีเสร็จไปเพราะคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีจะต้องวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยที่ 1 แล้ว ชี้ขาดลงไปว่าให้จำเลยที่ 1ประเมินได้เท่าใด คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 8 ให้ความหมายว่า ค่ารายปี คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ แต่สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.และบริษัทด. มิได้กำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนกันเป็นอัตราที่แน่นอน หากแต่คู่สัญญาได้ตกลงให้ผู้ดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโจทก์ หากเดือนใดซื้อเป็นจำนวนน้อย ก็จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราสูง แต่ถ้าเดือนใดซื้อเป็นจำนวนมาก ก็จะชำระค่าตอบแทนในอัตราต่ำตามอัตราค่าตอบแทนที่ระบุไว้ในสัญญาแต่ละช่วงเวลาไปนอกจากนี้โจทก์ยังได้รับผลประโยชน์เป็นค่าธรรมเนียมการใช้สถานีบริการน้ำมันและเครื่องหมายการค้าอีกจำนวนหนึ่งด้วยเห็นได้ว่าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ตัวอาคารสถานที่ส่วนหนึ่งจากเครื่องมือ อุปกรณ์ในการเก็บรักษาและบริการน้ำมันอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้งได้รับผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอีกส่วนหนึ่ง ไม่สามารถจำแนกได้ว่าจะเป็นค่าตอบแทนเฉพาะการใช้โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนดังกล่าว อันจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นจำนวนเดือนละเท่าใด จึงไม่อาจนำค่าตอบแทนตามสัญญาดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันมาคำนวณเป็นค่ารายปีได้ สำหรับข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาก็ไม่ปรากฏว่า สถานีบริการน้ำมันเหล่านั้นมีสภาพ ขนาด ทำเลที่ตั้งเป็นอย่างไรมีสัญญาในลักษณะต่างตอบแทนเช่นเดียวกับโรงเรือนพิพาทหรือไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ผ่านมาใช้หลักเกณฑ์ประการใด จึงไม่อาจนำค่ารายปีของสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาเทียบเคียงกำหนดเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทในปีภาษีตามฟ้องได้ ค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทตามฟ้องจึงต้องเทียบเคียงกับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475ซึ่งได้ความว่าในปีที่ล่วงมาแล้วคือปี 2532 จำเลยที่ 1 กำหนด ค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 30/7 เป็นเงิน 420,000 บาทและระหว่างปี 2532 ถึง 2534 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของกรุงเทพมหานครและดัชนีผู้บริโภคทั่วไปทั้งประเทศไว้ ปรากฏว่า ดัชนีผู้บริโภคดังกล่าวทั้งสองประเภทในหมวดเคหสถานเครื่องเรือน และเครื่องใช้ในบ้านมีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2533ไม่เกินร้อยละ 3.5 ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้มีการเพิ่มค่ารายปีขึ้นอีกร้อยละ 7 ของค่ารายปีปี 2532 รวมเป็นเงิน449,400 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้วและถือเอาเป็นค่ารายปีสำหรับปีภาษี 2533 ได้ สำหรับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองแม้จะได้ความว่ายังไม่เคยกำหนดค่ารายปีกันมาก่อน เนื่องจากเพิ่งจะเปิดดำเนินการได้เพียง 9 เดือนก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า โรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองก็เป็นสถานีบริการน้ำมันเช่นเดียวกับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรก ทั้งยังตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินและอยู่ในท้องที่ตำบลคลองหนึ่งอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เช่นเดียวกันอีกด้วยดังนี้ เมื่อคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่และทำเลที่ตั้งแล้ว เห็นว่า อาจกำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเพิ่มเติม, เงินเพิ่ม, เบี้ยปรับ, การนำพยานหลักฐาน, และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีภาษีอากร
สำหรับเงินเพิ่มตามกฎหมายไม่มีกฎหมายให้อยู่ในดุลพินิจของศาลจึงไม่อาจงดหรือลดได้ ส่วนเบี้ยปรับนั้นโจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้มีหมายเรียกให้โจทก์นำส่งบัญชีที่ต้องทำตามกฎหมายพร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชี บัญชีกำไรขาดทุน งบดุล สำหรับปี 2516 ถึง 2520 ไปส่งเพื่อทำการตรวจสอบ ดังนั้นสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของปีอื่นจึงมิได้ถูกเรียกให้นำส่งก็ตาม ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติตัดสิทธิมิให้ศาลรับฟังสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของปีอื่น ๆ ที่มิได้นำส่งต่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามหมายเรียกตรวจสอบก่อนเพราะในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติ และข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวดังนั้น คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่ง ป.วิ.พ.หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 85 เมื่อโจทก์ได้ยื่นพยานหลักฐานดังกล่าวถูกต้องตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรในชั้นพิจารณาคดีแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบการวินิจฉัยคดีได้
คดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ภาระการพิสูจน์จึงตกโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานต่าง ๆ มานำสืบให้ปรากฏจึงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์ได้นำค่าเช่าซื้อลงบัญชีถูกต้องครบถ้วนทุกรายดังที่โจทก์อ้าง คงรับฟังได้เพียงเท่าที่ปรากฏตามคำรับของ ส.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีซึ่งเป็นพยานฝ่ายจำเลยเท่านั้น โจทก์จะมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า โจทก์ลงบัญชีรายรับไว้ถูกต้องโดยระบุรายละเอียดแห่งการลงบัญชีไว้ในอุทธรณ์ของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าในชั้นพิจารณาคดีโจทก์ได้ให้พยานโจทก์เบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวไว้ หรือนำเอกสารดังกล่าวมาถามค้านพยานจำเลยให้ปรากฏในสำนวน จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติมรวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของเดือนมกราคมถึงมีนาคม มิถุนายน สิงหาคม และตุลาคมถึงธันวาคม 2516 รวม 8 เดือน โดยการประเมินดังกล่าวมิได้กระทำภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แต่อยู่ภายในกำหนดเวลา 10 ปี ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม โจทก์แสดงยอดรายรับขาดไปไม่เกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม2516 จึงไม่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ส่วนเดือนมกราคม มิถุนายนสิงหาคม ตุลาคมถึงธันวาคม 2516 รวม 6 เดือน โจทก์แสดงยอดรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับ 6 เดือน ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา88 ทวิ (2)
แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้มีหมายเรียกให้โจทก์นำส่งบัญชีที่ต้องทำตามกฎหมายพร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชี บัญชีกำไรขาดทุน งบดุล สำหรับปี 2516 ถึง 2520 ไปส่งเพื่อทำการตรวจสอบ ดังนั้นสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของปีอื่นจึงมิได้ถูกเรียกให้นำส่งก็ตาม ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติตัดสิทธิมิให้ศาลรับฟังสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของปีอื่น ๆ ที่มิได้นำส่งต่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามหมายเรียกตรวจสอบก่อนเพราะในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติ และข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวดังนั้น คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่ง ป.วิ.พ.หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 85 เมื่อโจทก์ได้ยื่นพยานหลักฐานดังกล่าวถูกต้องตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรในชั้นพิจารณาคดีแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบการวินิจฉัยคดีได้
คดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ภาระการพิสูจน์จึงตกโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานต่าง ๆ มานำสืบให้ปรากฏจึงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์ได้นำค่าเช่าซื้อลงบัญชีถูกต้องครบถ้วนทุกรายดังที่โจทก์อ้าง คงรับฟังได้เพียงเท่าที่ปรากฏตามคำรับของ ส.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีซึ่งเป็นพยานฝ่ายจำเลยเท่านั้น โจทก์จะมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า โจทก์ลงบัญชีรายรับไว้ถูกต้องโดยระบุรายละเอียดแห่งการลงบัญชีไว้ในอุทธรณ์ของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าในชั้นพิจารณาคดีโจทก์ได้ให้พยานโจทก์เบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวไว้ หรือนำเอกสารดังกล่าวมาถามค้านพยานจำเลยให้ปรากฏในสำนวน จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติมรวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของเดือนมกราคมถึงมีนาคม มิถุนายน สิงหาคม และตุลาคมถึงธันวาคม 2516 รวม 8 เดือน โดยการประเมินดังกล่าวมิได้กระทำภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แต่อยู่ภายในกำหนดเวลา 10 ปี ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม โจทก์แสดงยอดรายรับขาดไปไม่เกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม2516 จึงไม่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ส่วนเดือนมกราคม มิถุนายนสิงหาคม ตุลาคมถึงธันวาคม 2516 รวม 6 เดือน โจทก์แสดงยอดรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับ 6 เดือน ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา88 ทวิ (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าต้องกระทำภายใน 10 ปี หากผู้เสียภาษีแสดงรายรับขาดเกิน 25% และการพิสูจน์ภาระภาษี
สำหรับเงินเพิ่มตามกฎหมายไม่มีกฎหมายให้อยู่ในดุลพินิจของศาล จึงไม่อาจงดหรือลดได้ ส่วนเบี้ยปรับนั้นโจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้ว่า เจ้าพนักงานประเมินได้มีหมายเรียกให้โจทก์นำส่งบัญชีที่ต้องทำตามกฎหมายพร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชี บัญชีกำไรขาดทุน งบดุล สำหรับปี 2516 ถึง 2520 ไปส่งเพื่อ ทำการตรวจสอบ ดังนั้นสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของปีอื่นจึงมิได้ถูกเรียกให้นำส่งก็ตาม ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติตัดสิทธิมิให้ศาลรับฟังสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของปีอื่น ๆที่มิได้นำส่งต่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามหมายเรียกตรวจสอบก่อนเพราะในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติ และข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้นคู่ความย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 85 เมื่อโจทก์ได้ยื่นพยานหลักฐานดังกล่าวถูกต้องตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรในชั้นพิจารณาคดีแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบการวินิจฉัยคดีได้ คดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์เมื่อโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานต่าง ๆ มานำสืบให้ปรากฎจึงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์ได้นำค่าเช่าซื้อลงบัญชีถูกต้องครบถ้วนทุกรายดังที่โจทก์อ้าง คงรับฟังได้เพียงเท่าที่ปรากฏตามคำรับของ ส.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีซึ่งเป็นพยานฝ่ายจำเลยเท่านั้น โจทก์จะมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า โจทก์ลงบัญชีรายรับไว้ถูกต้องโดยระบุรายละเอียดแห่งการลงบัญชีไว้ในอุทธรณ์ของโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าในชั้นพิจารณาคดีโจทก์ได้ให้พยานโจทก์เบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวไว้ หรือนำเอกสารดังกล่าวมาถามค้านพยานจำเลยให้ปรากฏในสำนวน จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติมรวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของเดือนมกราคมถึงมีนาคม มิถุนายนสิงหาคม และตุลาคมถึงธันวาคม 2516 รวม 8 เดือน โดยการประเมินดังกล่าวมิได้กระทำภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แต่อยู่ภายในกำหนดเวลา10 ปี ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมโจทก์แสดงยอดรายรับขาดไปไม่เกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2516 จึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ส่วนเดือนมกราคมมิถุนายน สิงหาคม ตุลาคมถึงธันวาคม 2516 รวม 6 เดือนโจทก์แสดงยอดรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำหรับ 6 เดือน ดังกล่าวจึงชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 88 ทวิ(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์การประเมินภาษี: การส่งหมายแจ้งที่ไม่ถูกต้อง และสิทธิในการฟ้องบังคับให้รับอุทธรณ์
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันว่า การส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ส่งยังสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ผลตามกฎหมายก็คือโจทก์ยังไม่ได้รับแจ้งการประเมิน กำหนดเวลาให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีหรือผู้แทนผู้แทนกรมอัยการ และผู้แทนกรมมหาดไทย ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจึงยังไม่เริ่มนับเมื่อโจทก์ได้รับทราบผลการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินแล้วโจทก์ย่อมอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทันที เพราะถือว่ายังไม่พ้นกำหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(1)(ก) บัญญัติไว้ การอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 นั้นโจทก์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนกรมอัยการและผู้แทนกรมมหาดไทย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังกล่าวแล้วเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 หามีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และตามคำฟ้องโจทก์หาได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับ อุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ตีความเอาการกระทำของจำเลยที่ 1ที่แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ขยายเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์มีผลเป็นการที่จำเลยที่ 1 ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 กระทำในนามของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งมีจำเลยที่ 2เป็นประธานและตัวแทนจึงต้องรับผิดร่วมกันนั้น มีผลเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั่นเอง แม้จะเป็นดังกรณีที่โจทก์เข้าใจเอาเองดังกล่าวก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับ อุทธรณ์ของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องอีก เพราะหากผลการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่ากับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อศาลได้ อำนาจฟ้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์การประเมินภาษี: สิทธิในการอุทธรณ์และการฟ้องร้องบังคับรับอุทธรณ์
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันว่า การส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ส่งยังสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ผลตามกฎหมายก็คือโจทก์ยังไม่ได้รับแจ้งการประเมิน กำหนดเวลาให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีหรือผู้แทน ผู้แทนกรมอัยการ และผู้แทนกรมมหาดไทย ภายในสามสิบวัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจึงยังไม่เริ่มนับเมื่อโจทก์ได้ทราบผลการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว โจทก์ย่อมอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทันที เพราะถือว่ายังไม่พ้นกำหนดเวลาที่ ป.รัษฎากร มาตรา 30 (1) (ก) บัญญัติไว้
การอุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 นั้น โจทก์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทนผู้แทนกรมอัยการและผู้แทนกรมมหาดไทย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังกล่าวแล้วเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ กรมสรรพากรจำเลยที่ 1หามีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และตามคำฟ้องโจทก์หาได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ตีความเอาการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ขยายเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์มีผลเป็นการที่จำเลยที่ 1 ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 กระทำในนามของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานและตัวแทนจึงต้องรับผิดร่วมกันนั้น มีผลเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั่นเอง แม้จะเป็นดังกรณีที่โจทก์เข้าใจเอาเองดังกล่าวก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องอีก เพราะหากผลการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่ากับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อศาลได้ อำนาจฟ้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
การอุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 นั้น โจทก์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทนผู้แทนกรมอัยการและผู้แทนกรมมหาดไทย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังกล่าวแล้วเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ กรมสรรพากรจำเลยที่ 1หามีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และตามคำฟ้องโจทก์หาได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ตีความเอาการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ขยายเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์มีผลเป็นการที่จำเลยที่ 1 ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 กระทำในนามของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานและตัวแทนจึงต้องรับผิดร่วมกันนั้น มีผลเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั่นเอง แม้จะเป็นดังกรณีที่โจทก์เข้าใจเอาเองดังกล่าวก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องอีก เพราะหากผลการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่ากับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อศาลได้ อำนาจฟ้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง