พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีภาษีโรงเรือน, การบังคับสิทธิเรียกร้อง, และขอบเขตคำฟ้อง
เมื่อไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรและไม่มีข้อกำหนดคดีภาษีอากรเกี่ยวกับเรื่องคำฟ้องไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
ฟ้องของโจทก์ได้แสดงรายละเอียดจำนวนหนี้ค่าภาษีโรงเรือนที่ว.เจ้าของโรงเรือนคนเก่าค้างชำระในปีใด จำนวนเท่าใด จำเลยทั้งหกต้องรับผิดร่วมด้วยเพราะเหตุใด กับขอให้บังคับจำเลยทั้งหกชำระเงินจำนวนเท่าใดไว้ครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะเคยมีหนังสือทวงถามจำเลยทั้งหกโดยกล่าวอ้างว่า ว.ค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2521 ถึง พ.ศ.2524 เป็นเงินรวม 61,545 บาท ซึ่งไม่ตรงกับจำนวนตามคำฟ้องก็เป็นข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องมิใช่ข้ออ้างแห่งข้อหาหรือสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้คำฟ้องที่สมบูรณ์ของโจทก์กลับกลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไปได้
มาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475ที่บัญญัติให้เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันนั้น เป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้รัฐสามารถติดตามเอาชำระค่าภาษีค้างให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของผู้ใด และโดยที่หนี้ค่าภาษีค้างเป็นหนี้ที่มีอยู่ก่อนเจ้าของคนใหม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีค้างจึงอาจบังคับได้ตั้งแต่เจ้าของคนเก่าแล้ว ดังนั้น การนับกำหนดอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าของคนเก่าได้ คือนับแต่วันพ้นกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมิน ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 38เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2535 ว.เจ้าของคนเก่าได้รับแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2515 ถึงพ.ศ.2519 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2520 ส่วนภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2520ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2520 และภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2521 ถึง พ.ศ.2524 ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2524 นับตั้งแต่วันครบกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมินถึงวันฟ้องพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) คดีโจทก์เกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีค้างประจำปี พ.ศ.2515 ถึง พ.ศ.2524 จึงขาดอายุความส่วนภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2525 ว.ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 21ตุลาคม 2525 และภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2526 ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2526 นับตั้งแต่วันครบกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมินถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี คดีโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้อง ว.หรือทายาทและมีคำขอให้ ว.หรือทายาทร่วมรับผิดกับจำเลยทั้งหกแต่อย่างใด ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้ ว.และทายาทร่วมชำระเงินแก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แม้ปัญหานี้จำเลยทั้งหกไม่มีสิทธิอุทธรณ์เพราะไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยทั้งหกแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ฟ้องของโจทก์ได้แสดงรายละเอียดจำนวนหนี้ค่าภาษีโรงเรือนที่ว.เจ้าของโรงเรือนคนเก่าค้างชำระในปีใด จำนวนเท่าใด จำเลยทั้งหกต้องรับผิดร่วมด้วยเพราะเหตุใด กับขอให้บังคับจำเลยทั้งหกชำระเงินจำนวนเท่าใดไว้ครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะเคยมีหนังสือทวงถามจำเลยทั้งหกโดยกล่าวอ้างว่า ว.ค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2521 ถึง พ.ศ.2524 เป็นเงินรวม 61,545 บาท ซึ่งไม่ตรงกับจำนวนตามคำฟ้องก็เป็นข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องมิใช่ข้ออ้างแห่งข้อหาหรือสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้คำฟ้องที่สมบูรณ์ของโจทก์กลับกลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไปได้
มาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475ที่บัญญัติให้เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันนั้น เป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้รัฐสามารถติดตามเอาชำระค่าภาษีค้างให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของผู้ใด และโดยที่หนี้ค่าภาษีค้างเป็นหนี้ที่มีอยู่ก่อนเจ้าของคนใหม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีค้างจึงอาจบังคับได้ตั้งแต่เจ้าของคนเก่าแล้ว ดังนั้น การนับกำหนดอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าของคนเก่าได้ คือนับแต่วันพ้นกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมิน ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 38เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2535 ว.เจ้าของคนเก่าได้รับแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2515 ถึงพ.ศ.2519 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2520 ส่วนภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2520ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2520 และภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2521 ถึง พ.ศ.2524 ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2524 นับตั้งแต่วันครบกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมินถึงวันฟ้องพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) คดีโจทก์เกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีค้างประจำปี พ.ศ.2515 ถึง พ.ศ.2524 จึงขาดอายุความส่วนภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2525 ว.ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 21ตุลาคม 2525 และภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2526 ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2526 นับตั้งแต่วันครบกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมินถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี คดีโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้อง ว.หรือทายาทและมีคำขอให้ ว.หรือทายาทร่วมรับผิดกับจำเลยทั้งหกแต่อย่างใด ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้ ว.และทายาทร่วมชำระเงินแก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แม้ปัญหานี้จำเลยทั้งหกไม่มีสิทธิอุทธรณ์เพราะไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยทั้งหกแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอย่างคนอนาถาที่ศาลฎีกามีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว โจทก์ไม่สามารถขอแก้ไขกระบวนพิจารณาใหม่ได้ แต่ศาลต้องให้โอกาสชำระค่าขึ้นศาล
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาเพราะโจทก์มอบอำนาจให้ ก.ผู้ฟ้องคดีแทนเป็นผู้สาบานตัวโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและเมื่อศาลฎีกาให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแล้วคำสั่งศาลฎีกาดังกล่าวจึงถึงที่สุดโจทก์จะยื่นคำร้องต่อศาลภาษีอากรอีกเพื่อขอให้กรรมการบริษัทสาบานตัวประกอบคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาเพื่อชี้แจงว่าโจทก์ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลอันเป็นการขอแก้ไขกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำร้องที่ไม่ถูกต้องเสียใหม่ ย่อมไม่อาจทำได้เพราะไม่มีคำร้องโจทก์เหลืออยู่ให้ดำเนินการแก้ไขกระบวนพิจารณาเสียใหม่ได้และคำร้องดังกล่าวมิได้ร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่ เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับคำร้องและนัดไต่สวนโจทก์ที่ขอให้ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เข้าสาบานตัวแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นให้ยกคำร้องโจทก์ศาลจะต้องกำหนดเวลาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระในเวลาอันสมควรจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ไปทันทีหาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้หากพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอ และอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีภาษีอากรที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้าม
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาก็ตามศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่เพียงพอรับฟังตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรค 1 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ตามใบขนสินค้าขาเข้าและบัญชีราคาสินค้า ปรากฏว่ามีการระบุรายการและราคาสินค้าแตกต่างกัน ซึ่งศาลก็วินิจฉัยจากพยานเอกสารดังกล่าวว่า ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะหลีกเลี่ยงภาษีโดยระบุรายการและราคาสินค้าแตกต่างกันอันเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลและเป็นการวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้นเอง หาได้เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากข้อเท็จจริงในสำนวนอันจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5533/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรในการวินิจฉัยพยานหลักฐาน & การประเมินภาษีซ้ำซ้อน
การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อผู้ให้ถ้อยคำเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 หรือไม่ เป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ซึ่งให้อำนาจศาลวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้แล้วคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางจึงชอบด้วยกฎหมาย คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่า การส่งหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่โจทก์ที่ 1 ไม่ชอบเพราะมิได้ส่งไปยังสำนักงานของโจทก์ที่ 1 ที่แท้จริง จึงแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการส่งใหม่ให้ถูกต้องโดยจำนวนภาษีและเงินเพิ่มยังคงเดิมแต่โจทก์ที่ 1กลับได้รับประโยชน์นำส่งเงินไปชำระช้าลงกว่าเดิม ทั้งต่อมาอธิบดีกรมสรรพากรก็มีหนังสือแจ้งการยกเลิกใบแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลฉบับที่มีการส่งไม่ชอบแล้ว จึงมิใช่การประเมินให้เสียภาษีซ้ำซ้อนกัน การประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลฉบับใหม่จึงชอบแล้ว การที่โจทก์ที่ 1 ได้อุทธรณ์การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นหนี้ส่วนประธานอันเป็นฐานคำนวณเงินเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แล้ว ย่อมอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวและขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มอันเป็นหนี้ส่วนอุปกรณ์ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาภาษีอากรที่ถูกประเมิน และผลกระทบของการแจ้งการประเมินต่ออายุความ
การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 33 ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์" ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะ-กรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา-อุทธรณ์ จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยไม่ จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง
เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามป.พ.พ. มาตรา 193/14
เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามป.พ.พ. มาตรา 193/14
เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งคดีภาษีอากรและการสะดุดหยุดอายุความจากการสั่งบังคับภาษี
การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 33 ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์" ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยไม่ จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดการประเมินภาษี ศาลยกฟ้องตาม พ.ร.บ.ศาลภาษีอากร
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าในปี 2523 ถึง 2525 นั้น ปีภาษีใดเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มจำนวนเท่าใด เงินเพิ่มภาษีอีกจำนวนเท่าใด เหตุใดโจทก์จึงต้องเสียเพิ่ม เพราะการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 กำหนดให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชีจากกำไรสุทธิซึ่งคำนวณจากรายได้หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีและเมื่อเจ้าพนักงานประเมินเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งการประเมินให้เสียภาษีตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ก็ต้องตรวจสอบไต่สวนและแจ้งการประเมินตามรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว หากผู้ต้องเสียภาษีเห็นว่าการประเมินในส่วนใดมิชอบ ก็มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่โจทก์กล่าวในฟ้องคลุมมาว่าเจ้าพนักงานประเมินแจ้ง ให้โจทก์นำเอกสารและบัญชีไปตรวจสอบแต่โจทก์ส่งให้ไม่ครบจึงแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีรวม3 ปีภาษีเป็นเงิน 954,783 บาท โดยมิได้แยกเป็นรายปีให้แจ้งชัดตามสภาพแห่งข้อหา คำขอท้ายฟ้องก็ระบุเพียงว่าขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลย โดยมิได้ระบุว่าเป็นการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่และลงวันที่เท่าใด เอกสารท้ายฟ้องที่จะแสดงถึงสภาพแห่งข้อหาและการประเมินรวมทั้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ไม่มี เป็นคำฟ้องที่ไม่แจ้งชัดทั้งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ จึงเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนภาษีอากรต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แม้จะถูกแจ้งให้แก้ราคาสินค้า
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์มิได้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแก่จำเลย หนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นจำเลยมิได้ต่อสู้โดยตรงว่า โจทก์มิได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเลขที่... ที่ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเลขที่ใบขนสินค้าในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายละเอียดจึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้การแก้ราคาสินค้าและจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระในใบขนสินค้ากับใบกำกับสินค้าให้สูงขึ้นจากเดิมจะเป็นการกระทำของโจทก์เองมิใช่เป็นการกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยก็ตาม แต่การแก้ดังกล่าวก็เป็นการแก้ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์กระทำ หากโจทก์ไม่แก้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยก็คงไม่ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทจากอารักขามอบให้โจทก์ไป ทั้งโจทก์ก็ได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาสินค้าในส่วนที่เพิ่มขึ้นไว้ที่หลังใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าว แสดงว่าโจทก์มิได้แก้ราคาสินค้าและจำนวนเงินภาษีอากรด้วยความสมัครใจหรือเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย การยอมแก้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการแก้ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินแล้ว เมื่อโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามการประเมินนั้นแล้วมาอ้างว่าได้ชำระเกินกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมาย ขอเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวให้อันเป็นการโต้แย้งผลการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย โจทก์จึงต้องอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้วินิจฉัยเสียก่อนว่าโจทก์เสียภาษีอากรไว้เกินกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยและมีคำสั่งแล้ว โจทก์จึงจะอุทธรณ์ต่อศาลหรือนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4258/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี กรณีชดเชยค่าระวางเรือให้บริษัทในเครือ และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ขอให้สั่งให้จำเลยงดเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลดเงินเพิ่มจึงเป็นเรื่องนอกคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ยอมรับผิดต่อผู้ซื้อในค่าระวางเรือสำหรับน้ำหนักสินค้าที่ขาดไปเมื่อสินค้าถึงท่าเรือปลายทาง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา ก็เพื่อลดต้นทุนของผู้ซื้อซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ดังนั้นการที่จำเลยไม่ยอมนำค่าระวางเรือดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายและนำมาเป็นรายรับเพิ่มขึ้น จึงชอบแล้ว
โจทก์ยอมรับผิดต่อผู้ซื้อในค่าระวางเรือสำหรับน้ำหนักสินค้าที่ขาดไปเมื่อสินค้าถึงท่าเรือปลายทาง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา ก็เพื่อลดต้นทุนของผู้ซื้อซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ดังนั้นการที่จำเลยไม่ยอมนำค่าระวางเรือดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายและนำมาเป็นรายรับเพิ่มขึ้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้อง ศาลต้องเปิดโอกาสให้สืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ศาลภาษีอากรกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ว วินิจฉัยว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและ แบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและพิพากษา ให้โจทก์ชนะคดี ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติว่าราคาแท้จริง ในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าคือราคาเท่าใด คำสั่งงดสืบพยาน และคำพิพากษาและศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ให้ย้อนสำนวนก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า กรณีไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชนะคดีตามคำขอในอุทธรณ์ของจำเลย ได้โดยไม่ต้องสืบพยาน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษา ศาลภาษีอากรกลาง แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลาง ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้