คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานก่อนยุติข้อเท็จจริงเรื่องราคาสินค้าเป็นวิธีพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวน
ศาลภาษีอากรกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดง-รายการการค้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ทั้ง ๆที่ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าคือราคาเท่าใด คำสั่งงดสืบพยานและคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ให้ย้อนสำนวนก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า กรณีไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชนะคดีตามคำขอในอุทธรณ์ของจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์ได้อ้างเหตุในฟ้องไว้แล้วว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2525 ก่อนหน้านั้นโจทก์ไม่มีรายได้หรือรายรับจากการประกอบธุรกิจดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไว้ ดังนั้น เมื่อคดีฟังได้ว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจึงต้องเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวตามฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด หาจำต้องไปวินิจฉัยว่าส่วนใดถูกต้องส่วนใดไม่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าใดไม่ ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แต่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คดีนี้เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการคนหนึ่งแล้ว ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่เพราะเป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลาง ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการประเมินภาษีอากรและการรับผิดค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ได้อ้างเหตุในฟ้องไว้แล้วว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2525 ก่อนหน้านั้นโจทก์ไม่มีรายได้หรือรายรับจากการประกอบธุรกิจดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไว้ ดังนั้น เมื่อคดีฟังได้ว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจึงต้องเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวตามฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด หาจำต้องไปวินิจฉัยว่าส่วนใดถูกต้องส่วนใดไม่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าใดไม่
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แต่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คดีนี้เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการคนหนึ่งแล้ว ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่เพราะเป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าล่วงหน้าต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรา 18 ทวิ และต้องประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ
การที่โจทก์มิได้นำเอกสารหลักฐานใดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินหรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติตัดสิทธิว่าโจทก์สละสิทธิที่จะแสดงหลักฐานเช่นว่านั้น และในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ดังนั้น คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 85 เมื่อโจทก์ได้ยื่นพยานหลักฐานดังกล่าวถูกต้องตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรในชั้นพิจารณาคดีแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบการวินิจฉัยคดีได้ การประเมินภาษีการค้าล่วงหน้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ทวิ วรรคแรก จะต้องเป็นการประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ซึ่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากรมาตรา 84 วรรคแรก และมาตรา 85 ทวิ ได้กำหนดไว้แน่นอนแล้วทั้งนี้ไม่ว่าผู้ประกอบการค้าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ ก็ต้องยื่นแบบแสดงรายการทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15ของเดือนถัดจากเดือนภาษีและกำหนดเวลายื่นรายการนั้น อาจเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นสมควรให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 3 อัฏฐ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ในปี พ.ศ. 2528 และ 2529อธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไป ดังนั้น กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในเดือนใดของปี พ.ศ. 2528 และ 2529 จึงถึงกำหนดเวลายื่นรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แต่ปรากฏว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับ เมื่อวันที่14 มิถุนายน 2531 โดยประเมินเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนมกราคม 2528ถึงเดือนธันวาคม 2529 จึงเป็นการประเมิน หลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าไปสำหรับเดือนภาษีในปี พ.ศ. 2528 และ 2529 แล้วและเป็นการประเมินย้อนหลัง มิใช่ประเมินล่วงหน้าถึงกำหนดเวลายื่นรายการ จึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตสินค้าทางภาษี: การใช้ลวดทำลวดเสียบกระดาษถือเป็นการผลิตสินค้าและเป็นของใช้ที่ต้องเสียภาษี
การที่จะถือว่าผู้ใดเป็นผู้ผลิตตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 77นั้น นอกจากจะหมายถึงว่า ผู้นั้น ทำการเกษตร หรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบแปรรูป แปรสภาพสินค้า แล้วยังให้รวมถึงการที่ผู้ใดทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ด้วย ซึ่งการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าดังกล่าวนั้น มีความหมายว่าทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดสินค้าใหม่ขึ้นมา ซึ่งอาจใช้วัตถุดิบของสินค้าเดิมมาทำเป็นสินค้าใหม่โดยไม่แปรเปลี่ยนสภาพของสินค้าเดิมก็ได้และไม่จำต้องคำนึงว่าสินค้าใหม่นั้นอาจแปรเปลี่ยนกลับคืนมาเป็นสินค้าเดิมได้หรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ใช้ลวดซึ่งเป็นสินค้าเดิมที่โจทก์ซื้อมาเข้าเครื่องปั๊มออกมาเป็นลวดเสียบกระดาษซึ่งเป็นสินค้าใหม่โดยลวดซึ่งเป็นวัตถุดิบนั้นยังมีสภาพเป็นลวดเช่นเดิมอยู่ เพียงแต่ใช้เครื่องปั๊มตัดและดัดงอให้อยู่ในสภาพเป็นของใช้เสียบกระดาษตามที่โจทก์ต้องการแล้วนำสินค้าลวดเสียบกระดาษนั้นไปจำหน่ายทั่วไปถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลวดเสียบกระดาษตาม มาตรา 77 ตามบัญชีที่ 1 หมวดที่ 9 ได้กำหนดลักษณะของสินค้าอื่น ๆ ไว้ว่า"เครื่องมือ เครื่องใช้...ของใช้ใด ๆ ทั้งนี้เฉพาะที่ผลิตจาก...โลหะหรือโลหะเคลือบอย่างใดอย่างหนึ่ง..." และคำว่า "ของใช้"นั้น ประมวลรัษฎากรไม่ได้วิเคราะห์ศัพท์ไว้ แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายคำว่าของใช้ไว้ว่า"ของสำหรับใช้" ซึ่งเป็นที่เข้าใจของคนทั่ว ๆ ไปว่า ของใช้ที่ว่านี้ประชาชนทั่วไปที่มีของนั้นอยู่สามารถนำของนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยลำพัง ไม่ต้องนำไปประกอบกับสิ่งของอื่นเสียก่อนจึงจะนำไปใช้ได้ สำหรับลวดเสียบกระดาษรายนี้ ผู้ใดมีอยู่ในความครอบครองย่อมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยลำพัง จึงเป็นของใช้ตามบัญชีที่ 1 ดังกล่าว เมื่อได้ความว่าลวดเสียบกระดาษนี้ผลิตจากโลหะเคลือบจึงเป็นของใช้ผลิตจากโลหะเคลือบอันเข้าลักษณะสินค้าอื่น ๆ ในหมวด 9 บัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 แต่โจทก์ผลิตขายในราชอาณาจักร จึงต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 9 ของรายรับ คดีมีปัญหาวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้ผลิตลวดเสียบกระดาษหรือไม่และลวดเสียบกระดาษเป็นของใช้หรือไม่ เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลวดเสียบกระดาษ และคำฟ้องโจทก์กับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญได้ความว่า ลวดเสียบกระดาษรายนี้เป็นของใช้ที่ผลิตจากโลหะเคลือบ เช่นนี้ ข้อเท็จจริงย่อมเพียงพอที่ศาลจะพิพากษาได้แล้ว แม้จะทำการสืบพยานคู่ความต่อไปก็ไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นเปลี่ยนแปลงไป คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะทำการสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป ศาลภาษีอากรกลางชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องภาษีอากรไม่เคลือบคลุม การไม่อนุญาตเลื่อนคดีมีเหตุผลจากจำเลยมิได้สนใจดำเนินคดี
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร ฉบับลงวันที่ 30 มกราคม 2529 ข้อ 8 โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2523จำเลยนำเข้าเครื่องอะไหล่อุปกรณ์วิทยุจากประเทศญี่ปุ่น และสำแดงราคาของสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า และแบบแสดงรายการการค้าลงวันที่ 17 ธันวาคม 2524 เป็นเงิน 161,780.06 บาท เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าไม่มีรายละเอียดราคาท้องตลาดสำหรับสินค้าของจำเลย จึงให้จำเลยวางเงินประกันไว้ 10,000 บาท ภายหลังได้มีการตรวจสอบราคาจากการนำเข้าของรายอื่น แล้วปรากฏว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดที่มีราคา 359,173.29บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินค่าภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มขึ้น แต่จำเลยไม่ชำระ การบรรยายฟ้องดังนี้จึงแสดงถึงสภาพข้ออ้างและข้อหาตลอดจนการที่ถูกโต้แย้งสิทธิไว้อย่างชัดแจ้งจำเลยสามารถเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีได้ถูกต้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีของศาลภาษีอากรกลางเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งปกติจำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อไป แต่ในกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและมีคำพิพากษาในวันเดียวกันทำให้จำเลยไม่มีระยะเวลาหรือโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่ต้องโต้แย้งได้ จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ทั้งในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 ทำให้จำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลย และในวันนัดชี้สองสถานจำเลยทราบนัดแล้วก็ไม่มาศาล อีกทั้งนับจากวันที่จำเลยยื่นคำให้การจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นเวลาถึงสองเดือนเศษ ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอควร จำเลยควรที่จะติดตามและสอบถามถึงวันนัดที่จำเลยมีวันว่างเพื่อจะได้ขอเลื่อนคดีเสียก่อนนั้นได้ แต่ตามพฤติการณ์ของจำเลยกลับปรากฏว่า จำเลยไม่เอาใจใส่และสนใจดำเนินคดีเท่าที่ควร ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นผลมาจากความบกพร่องของจำเลยเอง จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจที่มีเหตุผลสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร: โจทก์มีสิทธิสืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ประเด็นเรื่องราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ตรวจสอบพบว่าจำเลยสำแดงราคาตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยอาศัยข้อมูลราคาสินค้าประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันที่ผู้อื่นนำเข้า ประกอบกับบัตรราคาสินค้าของกองวิเคราะห์ราคากรมศุลกากรที่กำหนดราคากลางไว้ในระยะเวลาใกล้เคียงกันเป็นเกณฑ์รวมทั้งราคาสินค้าส่งออกของบริษัทที่จำหน่ายสินค้าให้แก่จำเลยและลูกค้ารายต่าง ๆ ในประเทศไทย แหล่งข้อมูลดังกล่าวเมื่อนำมาพิจารณาเปรียบเทียบแล้วสามารถบ่งชี้ให้เห็นว่าสินค้าพิพาทที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2วรรคสิบสอง เป็นจำนวนเท่าใด โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะนำสืบพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนตามคำฟ้องได้ คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่ให้งดสืบพยานโจทก์ที่ 1 และพยานจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้ยกคำสั่งดังกล่าวและยกคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 ให้ศาลภาษีอากรกลางทำการสืบพยานโจทก์ที่ 1 และพยานจำเลยเกี่ยวกับประเด็นเรื่องราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แล้วมีคำพิพากษาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้านำเข้า ศาลมีอำนาจสั่งให้สืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาสินค้า
ประเด็นเรื่องราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่น บัตรราคาสินค้าของกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร และรายละเอียดการสำแดงราคาสินค้าส่งออกของบริษัทที่จำหน่ายสินค้าให้แก่จำเลยและลูกค้ารายอื่น ๆ ที่กรมศุลกากรเมืองฮ่องกง ส่งมาให้โจทก์ที่ 1 นั้น เป็นข้อมูลที่สามารถนำมาประกอบการพิจารณาเปรียบเทียบเพื่อบ่งชี้ว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้านั้นมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่าใด โจทก์ที่ 1 จึงชอบที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบถึงข้อมูลดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่ 1 และพยานจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร: โจทก์มีสิทธิสืบพยานหลักฐานเปรียบเทียบราคาเพื่อพิสูจน์ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ประเด็นเรื่องราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่น บัตรราคาสินค้าของกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร และรายละเอียดการสำแดงราคาสินค้าส่งออกของบริษัทที่จำหน่ายสินค้าให้แก่จำเลยและลูกค้ารายอื่น ๆ ที่กรมศุลกากรเมืองฮ่องกงส่งมาให้โจทก์ที่ 1 สามารถนำมาประกอบการพิจารณาเปรียบเทียบเพื่อบ่งชี้ว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้านั้นมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่าใดได้ โจทก์ที่ 1 จึงชอบที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบถึงข้อมูลดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่อ้างอิงราคาผู้นำเข้าอื่นต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ช่วงเวลาใกล้เคียง และพิกัดเดียวกัน มิฉะนั้นถือเป็นราคาไม่แท้จริง
โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีดังกล่าวตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 7(1),8 โจทก์มิได้กล่าวในคำฟ้องว่า การที่เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วสั่งให้โจทก์เพิ่มราคา มิใช่เป็นการประเมินภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์ยกข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าโดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่น แต่สินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นนั้นเป็นของคนละประเภทต่างพิกัดประเภทย่อยกับสินค้าของโจทก์ และระยะเวลาที่นำของเข้าก็แตกต่างกันมาก ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในความหมายของคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง ราคาของที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเพิ่มขึ้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการประเมินจึงไม่ชอบ
of 23