พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวทนาย, การชี้สองสถานโดยผู้พิพากษาคนเดียว และการดำเนินการตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร
คำร้องขอถอนตัวของทนายโจทก์ไม่ปรากฏว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วหรือหาตัวความไม่พบ จึงเป็นคำร้องขอถอนตนจากการตั้งแต่งให้เป็นทนายความที่ไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่ศาลต้องอนุญาตให้ทนายถอนตัว และศาลไม่มีหน้าที่คอยระวังความเสียหายให้โจทก์จากการกระทำที่ไม่ชอบของทนายความที่โจทก์เป็นผู้แต่งตั้งการสั่งคำร้องดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ที่ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำ หรือออกคำสั่งได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 16 แม้ทนายของคู่ความหรือตัวความไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ศาลก็ทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 13 โดยไม่จำต้องเลื่อนการชี้สองสถาน ศาลภาษีอากรกลางนำรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์เป็นการชอบตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ที่กำหนดไว้ว่าศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆ ก็ได้ ตามที่เห็นสมควร ในการชี้สองสถาน ศาลไม่จำต้องสอบถามคู่ความเสมอไปเกี่ยวกับข้ออ้างข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงนั้นอย่างไร หากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวทนาย, การชี้สองสถาน, และการดำเนินการพิจารณาคดีภาษีอากรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำร้องของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตนเองจากการเป็นทนาย มิได้กล่าวว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วหรือหาตัวความไม่พบถือได้ว่าทนายโจทก์มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุดังกล่าวตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 วรรคแรกประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 บังคับไว้ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่ศาลต้องอนุญาตให้ทนายถอนตัว การสั่งคำร้องของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตัวจากการเป็นทนายและขอเลื่อนคดี เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำหรือออกคำสั่งดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 16 ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ได้กำหนดไว้ว่า ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆก็ได้ตามที่เห็นสมควร การที่ศาลภาษีอากรกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์ก็ชอบด้วยข้อกำหนดดังกล่าว การที่ผู้พิพากษาคนเดียวทำการชี้สองสถานไม่ครบองค์คณะโจทก์มิได้คัดค้านในขณะนั้นถือว่าไม่ติดใจคัดค้านในเรื่ององค์คณะ จึงยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ไม่ได้ ศาลภาษีอากรกลางทำการชี้สองสถานโดยนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏในคำคู่ความเทียบกันดูแล้ว กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบโดยศาลมิได้สอบถามคู่ความถึงข้ออ้างข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงนั้นอย่างไร ถ้าเป็นกรณีที่ไม่จำต้องสอบถามเนื่องจากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้ว การชี้สองสถานนั้นก็ชอบด้วยข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวทนาย & การชี้สองสถานคดีภาษี: เหตุผลการถอนตัวไม่ชอบ & การดำเนินการชี้สองสถานชอบตามกฎหมาย
คำร้อง ของ ทนายโจทก์กล่าวเพียงว่าทนายโจทก์กับโจทก์มีความเห็นทางคดีไม่ตรงกัน และโจทก์ไม่ชำระค่าทนายความตามที่ตกลงกันจึงขอถอนตัวจากการเป็นทนาย มิได้กล่าวในคำร้องว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้ว หรือหาตัวความไม่พบ ถือได้ว่าทนายโจทก์มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุดังกล่าวตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 วรรคแรก ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 บังคับไว้ เป็นคำร้องขอถอนตัวจากการตั้งแต่งให้เป็นทนายความที่ไม่ชอบ แม้ทนายของคู่ความหรือตัวความไม่มาศาลในวันชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจทำการชี้สองสถานไปได้โดยไม่จำต้องเลื่อนการชี้สองสถานออกไป ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 13 การที่ศาลภาษีอากรกลางสั่งคำร้อง ของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตัวจากการเป็นทนายและขอเลื่อนคดี เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา นอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดีที่ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำ หรือออกคำสั่งได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯมาตรา 16 การที่ศาลภาษีอากรกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์นั้นชอบด้วยข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ซึ่งกำหนดว่า ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆก็ได้ ตามที่เห็นสมควร โจทก์มิได้คัดค้านว่าผู้พิพากษาคนเดียวทำการชี้สองสถานไม่ครบองค์คณะในขณะนั้น ถือว่าไม่ติดใจคัดค้านในเรื่ององค์คณะไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์ได้ ศาลภาษีอากรกลางนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏในคำคู่ความเทียบกันดูแล้ว ทำการชี้สองสถานไปโดยมิได้สอบถามคู่ความถึงข้ออ้าง ข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้ง ข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร เพราะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบถาม เนื่องจากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้วเป็นการชี้สองสถานที่ชอบตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากยอดขายน้ำมันที่ตรวจสอบพบความแตกต่างจากเอกสาร และการยินยอมเพิ่มยอดขายต่อลิตรของโจทก์
การที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบยอดขายน้ำมันของโจทก์โดยนำเอายอดซื้อคงเหลือต้นปีบวกด้วยยอดซื้อตลอดปี แล้วลบด้วยยอดคงเหลือปลายปี ผลที่ได้ถือเป็นยอดขายของโจทก์เมื่อปรากฏว่ายอดขายของโจทก์จากการตรวจสอบดังกล่าวสูงกว่ายอดขายตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ส่งมาให้ตรวจสอบ จึงนำยอดขายที่ได้จากใบเสร็จรับเงินลบออกจากยอดขายที่ได้จากการตรวจสอบแล้วถือว่าผลต่างที่ได้เป็นจำนวนน้ำมันที่โจทก์ขายไปโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน และประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มนั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในชั้นตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีว่ายินยอมให้เพิ่มยอดขายต่อลิตรในอัตราลิตรละ 0.02 บาทจากราคาขายที่แสดงไว้เดิม ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยถือเกณฑ์กำไรลิตรละ0.02 บาทได้โดยชอบ
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
ในชั้นตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีว่ายินยอมให้เพิ่มยอดขายต่อลิตรในอัตราลิตรละ 0.02 บาทจากราคาขายที่แสดงไว้เดิม ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยถือเกณฑ์กำไรลิตรละ0.02 บาทได้โดยชอบ
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยคำนวณจากยอดซื้อขายน้ำมันและกำไรต่อลิตร ยอมรับการประเมินของเจ้าพนักงานแล้วชอบด้วยกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบยอดขายน้ำมันของโจทก์โดยนำเอายอดซื้อคงเหลือต้นปีบวกด้วยยอดซื้อตลอดปี แล้วลบด้วยยอดคงเหลือปลายปี ผลที่ได้ถือเป็นยอดขายของโจทก์ เมื่อปรากฏว่ายอดขายของโจทก์จากการตรวจสอบดังกล่าวสูงกว่ายอดขายตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ส่งมาให้ตรวจสอบ จึงนำยอดขายที่ได้จากใบเสร็จรับเงินลบออกจากยอดขายที่ได้จากการตรวจสอบแล้วถือว่าผลต่างที่ได้เป็นจำนวนน้ำมันที่โจทก์ขายไปโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน และประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มนั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ในชั้นตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีว่ายินยอมให้เพิ่มยอดขายต่อลิตรในอัตราลิตรละ 0.02 บาท จากราคาขายที่แสดงไว้เดิม ดังนี้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยถือเกณฑ์กำไรลิตรละ 0.02 บาทได้โดยชอบ โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6049/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์และช่วงเวลาการเกิดภาษี การแก้ไขเพิ่มเติมพยานหลักฐาน และอำนาจศาลในการวินิจฉัยเกินคำขอ
บริษัท พ. ผลิตรถยนต์จำหน่ายให้แก่บริษัท ส.ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวโดยมีข้อตกลงและระเบียบปฏิบัติต่อกันว่า เมื่อบริษัท พ.ผลิตรถยนต์แต่ละคันเสร็จจะทำสำเนาเอกสารใบ D/O (Delivery Order) ระบุรุ่นของรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังและรหัสสีของรถยนต์มอบให้แก่บริษัท ส. พร้อมกับส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส.เพื่อจะได้ทราบว่าบริษัท พ.ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใดไว้แล้วจะได้เสนอขายแก่ลูกค้า ถ้าบริษัท ส.ต้องการจะซื้อรถยนต์คันใดก็จะโทรศัพท์สั่งซื้อไปยังบริษัท พ. ครั้นสิ้นเดือน ฝ่ายบัญชีของบริษัท ส.ก็จะรวบรวมยอดรถยนต์ที่สั่งซื้อในเดือนนั้นทำเป็นใบสั่งซื้อ (Purchase Form) ส่งให้บริษัท พ. แล้วบริษัท พ.จะออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) สำหรับรถยนต์ที่ซื้อขายกันในเดือนนั้นมาให้แก่บริษัท ส.เพื่อเรียกเก็บเงินต่อไป และการที่บริษัท พ.ส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส. ก็เป็นการนำไปฝากจอดไว้เอกสารใบ D/O จึงเป็นเพียงเอกสารที่แสดงว่าบริษัท พ.ได้ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใด จำนวนเท่าใดไว้พร้อมที่จะขายให้แก่บริษัท ส.เท่านั้น วันที่บริษัท พ.ออกเอกสารใบ D/O จึงยังมิใช่วันที่มีการซื้อขายรถยนต์เสร็จเด็ดขาด แต่จะเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดต่อเมื่อบริษัท ส.มีคำสั่งซื้อบริษัท พ.จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเดือนภาษีที่มีคำสั่งซื้อนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79จัตวา (3)
คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกัน แต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง โดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1, 317 ข./2531/1,317 ค.2531/1, 317 ง./2531/1, 317 จ./2531/1 และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่ 317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวด้วยก็ตาม ศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่
คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกัน แต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง โดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1, 317 ข./2531/1,317 ค.2531/1, 317 ง./2531/1, 317 จ./2531/1 และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่ 317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวด้วยก็ตาม ศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6049/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานเพิ่มเติมในคดีภาษีอากร ศาลมีอำนาจอนุญาตหากมีเหตุผลสมควร และการพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกินคำขอไม่ได้
โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วันซึ่งมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสาร รวม 30 อันดับ แต่ก่อนเริ่มสืบพยาน โจทก์ขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง โดยอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบเพื่อประโยชน์ของตน คดีนี้มีเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก เป็นการยากที่จะทราบและอ้างอิงเอกสารได้ทั้งหมดในคราวเดียวกันเมื่อโจทก์ได้ระบุพยานอ้างเอกสารครั้งแรก รวม 18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง อ้างพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8 วรรคท้าย แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่ 317 ง./2531/1 แต่คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการประเมินภาษีการค้าของบริษัท ส. เดือนมกราคม-ธันวาคม 2527 ซึ่งโจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องข้อที่ 2 แล้วว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้เสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม 6 ฉบับ รวมทั้งการประเมินภาษีการค้าระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2527 ไว้ด้วย ต่อมาโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินตามแบบหนังสือแจ้งภาษีการค้าทั้ง 6 ฉบับดังกล่าว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว โจทก์ได้แนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ มาท้ายฟ้องด้วย ส่วนคำขอท้ายฟ้องก็ได้ขอให้ศาลพิพากษายกเลิกเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3,4 และ 5 รวม 6 ฉบับก็ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้ขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวด้วย ดังนี้ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวนี้ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6049/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้า: วันซื้อขายสำเร็จเมื่อมีคำสั่งซื้อ ไม่ใช่วันส่งสินค้า การอนุญาตเพิ่มพยานหลักฐาน และการพิพากษาไม่เกินคำขอ
บริษัท พ.ผลิตรถยนต์จำหน่ายให้แก่บริษัทส. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวโดยมีข้อตกลงและระเบียบปฏิบัติต่อกันว่าเมื่อบริษัท พ. ผลิตรถยนต์แต่ละคันเสร็จจะทำสำเนาเอกสารใบ D/O(DeliveryOrder) ระบุรุ่นของรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังและรหัสสีของรถยนต์มอบให้แก่บริษัทส. พร้อมกับส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส.เพื่อจะได้ทราบว่าบริษัทพ.ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใดไว้แล้วจะได้เสนอขายแก่ลูกค้า ถ้าบริษัทส.ต้องการจะซื้อรถยนต์คันใดก็จะโทรศัพท์สั่งซื้อไปยังบริษัทพ.ครั้นสิ้นเดือน ฝ่ายบัญชีของบริษัท ส. ก็จะรวบรวมยอดรถยนต์ที่สั่งซื้อในเดือนนั้นทำเป็นใบสั่งซื้อ (PurchaseForm) ส่งให้บริษัท พ.แล้วบริษัทพ. จะออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) สำหรับรถยนต์ที่ซื้อขายกันในเดือนนั้นมาให้แก่บริษัท ส. เพื่อเรียกเก็บเงินต่อไป และการที่บริษัท พ. ส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส. ก็เป็นการนำไปฝากจอดไว้ เอกสารใบ D/O จึงเป็นเพียงเอกสารที่แสดงว่าบริษัท พ. ได้ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใด จำนวนเท่าใดไว้พร้อมที่จะขายให้แก่บริษัท ส.เท่านั้นวันที่บริษัทพ.ออกเอกสารใบ D/O จึงยังมิใช่วันที่มีการซื้อขายรถยนต์เสร็จเด็ดขาดแต่จะเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดต่อเมื่อบริษัท ส. มีคำสั่งซื้อบริษัท พ. จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเดือนภาษีที่มีคำสั่งซื้อนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 จัตวา (3) คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกันแต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม 18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้งโดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่ โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1,317 ข./2531/1,317 ค./2531/1,317ง./2531/1,317 จ./2531/1และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วยและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวก็ตามศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอำเภอใจ และการคิดเงินเพิ่มจากกำหนดเวลาที่ถูกต้อง
ตามคำฟ้อง โจทก์ได้บรรยายถึงวิธีการและหลักเกณฑ์การคำนวณหายอดขายจากกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ว่าได้มาอย่างไร แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 17 แล้ว โจทก์ไม่จำต้องเสนอพยานหลักฐานและข้ออ้างอิงมาในคำฟ้องเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 กำหนดห้ามใช้อำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1) แก่กิจการที่สามารถหาหลัก-ฐานเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลย นั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ในคดีสำนวนแรก หรือกล่าวไว้ในคำฟ้องคดีสำนวนหลังจึงเป็นการอุทธรณ์นอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยจะสามารถคำนวณหากำไรขั้นต้นได้ โดยนำยอดขายน้ำมันหน้าปั้ม หักด้วยยอดซื้อก็ตาม แต่จำเลยก็เถียงอยู่ว่า กำไรขั้นต้นนี้ไม่อาจถือเป็นกำไรสุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีได้ จะต้องนำไปหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีอีก และจำเลยส่งบัญชี เอกสาร และหลักฐานประกอบการลงบัญชีให้โจทก์ไม่เพียงพอแก่การคำนวณกำไรสุทธิได้ อีกทั้งเจ้าพนักงาน-ประเมินได้พยายามหาวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพิจารณาย้อนหลังขึ้นไป3 รอบระยะเวลาบัญชี ก็ไม่สามารถคำนวณหาค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้ เพราะค่าใช้จ่ายแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน บางปีมีค่าใช้จ่ายบางอย่างสูงแต่บางปีไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นนั้นเลย จึงมีเหตุผลให้รับฟังว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลย โดยวิธีคำนวณหากำไรสุทธิได้ ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1)
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินภาษีไปชำระภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนี้ กำหนดเวลาดังกล่าว เป็นเพียงโจทก์ให้โอกาสจำเลยชำระเงินภาษีแก่โจทก์ ก่อนที่โจทก์จะดำเนิน-การฟ้องคดีต่อศาลหาใช่กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่บัญญัติไว้ในประมวล-รัษฎากรมาตรา 27 วรรคหนึ่งไม่ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มคิดตั้งแต่วันครบ-กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษี มิใช่คิดตั้งแต่วันครบกำหนดเวลาตามหนังสือแจ้ง-การประเมินดังกล่าว
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 กำหนดห้ามใช้อำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1) แก่กิจการที่สามารถหาหลัก-ฐานเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลย นั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ในคดีสำนวนแรก หรือกล่าวไว้ในคำฟ้องคดีสำนวนหลังจึงเป็นการอุทธรณ์นอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยจะสามารถคำนวณหากำไรขั้นต้นได้ โดยนำยอดขายน้ำมันหน้าปั้ม หักด้วยยอดซื้อก็ตาม แต่จำเลยก็เถียงอยู่ว่า กำไรขั้นต้นนี้ไม่อาจถือเป็นกำไรสุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีได้ จะต้องนำไปหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีอีก และจำเลยส่งบัญชี เอกสาร และหลักฐานประกอบการลงบัญชีให้โจทก์ไม่เพียงพอแก่การคำนวณกำไรสุทธิได้ อีกทั้งเจ้าพนักงาน-ประเมินได้พยายามหาวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพิจารณาย้อนหลังขึ้นไป3 รอบระยะเวลาบัญชี ก็ไม่สามารถคำนวณหาค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้ เพราะค่าใช้จ่ายแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน บางปีมีค่าใช้จ่ายบางอย่างสูงแต่บางปีไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นนั้นเลย จึงมีเหตุผลให้รับฟังว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลย โดยวิธีคำนวณหากำไรสุทธิได้ ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1)
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินภาษีไปชำระภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนี้ กำหนดเวลาดังกล่าว เป็นเพียงโจทก์ให้โอกาสจำเลยชำระเงินภาษีแก่โจทก์ ก่อนที่โจทก์จะดำเนิน-การฟ้องคดีต่อศาลหาใช่กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่บัญญัติไว้ในประมวล-รัษฎากรมาตรา 27 วรรคหนึ่งไม่ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มคิดตั้งแต่วันครบ-กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษี มิใช่คิดตั้งแต่วันครบกำหนดเวลาตามหนังสือแจ้ง-การประเมินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาอุทธรณ์ภาษี: ศาลมีอำนาจขยายเวลาได้ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และพิจารณาเจตนาในการซื้อขายที่ดินเพื่อยกเว้นภาษี
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) นั้น เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง มิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ และกำหนดเวลาเช่นว่านี้ แม้ไม่ได้เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.252 แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร ศาลภาษีอากร-กลางย่อมมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาให้โจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบด้วยมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 252
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการประ-เมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ก็ตาม แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา30 (2) ดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษี-อากร พ.ศ.252 มาตรา 17 อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
จ. ซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี 2523จึงได้ขายไป รวมระยะเวลาถือครองนานถึง 12 ปี โดยมิได้มีการพัฒนาปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อจะให้มีราคาสูงขึ้นและรีบขายไปภายในระยะเวลารวดเร็วเหตุที่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายที่ดินค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่งด้วยซึ่งถือว่า จ. จำเป็นต้องซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อมิให้หนี้ของตนต้องสูญเสียไป ถือได้ว่าจ. ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้ว่าขณะขายที่ดินแปลงนี้จ. จะมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรก็ตาม จ. ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงนี้มารวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 42 (9) ทั้งนี้เพราะต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่
(วรรคหนึ่งและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2532)
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการประ-เมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ก็ตาม แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา30 (2) ดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษี-อากร พ.ศ.252 มาตรา 17 อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
จ. ซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี 2523จึงได้ขายไป รวมระยะเวลาถือครองนานถึง 12 ปี โดยมิได้มีการพัฒนาปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อจะให้มีราคาสูงขึ้นและรีบขายไปภายในระยะเวลารวดเร็วเหตุที่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายที่ดินค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่งด้วยซึ่งถือว่า จ. จำเป็นต้องซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อมิให้หนี้ของตนต้องสูญเสียไป ถือได้ว่าจ. ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้ว่าขณะขายที่ดินแปลงนี้จ. จะมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรก็ตาม จ. ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงนี้มารวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 42 (9) ทั้งนี้เพราะต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่
(วรรคหนึ่งและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2532)