คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับรถใช้งานที่มีปั้นจั่น และการพิสูจน์ราคาอันแท้จริง
โจทก์ฟ้องเฉพาะที่เกี่ยวกับพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าว่ามิได้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานของจำเลยอ้าง มิได้ฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและศาลภาษีอากรกลางก็มิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโจทก์มิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของมาตรา 30แห่งประมวลรัษฎากรต้องห้ามอุทธรณ์ต่อศาล จึงเป็นอุทธรณ์นอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามพระราชกฤษฎีกา พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 นั้น สินค้าในพิกัดประเภทที่ 4.26 มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การยกหรือขนย้ายด้วยการยกของหนัก ๆ จากที่ที่ตั้งหรือวางอยู่ไปวาง ณ อีกที่หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ มิได้มีความประสงค์ในการบรรทุกแล้วแล่นหรือเคลื่อนที่ไป ส่วนในพิกัดประเภท 7.05 นั้น เป็นสินค้าที่มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การเป็นยานยนต์ ซึ่งใช้งานด้วยการบรรทุกสิ่งของแล้วแล่นไปดังจะเห็นได้จากสินค้าที่ได้ยกตัวอย่างไว้ อันมี รถยกลากรถเสียรถดับเพลิง รถผสมคอนกรีต รถกวาดถนน รถสำหรับฉีดพ่น เป็นต้น สินค้าพิพาทเป็นรถปั้นจั่นขนาดใหญ่ มีความยาว 17.5 เมตรเฉพาะตัวรถกว้าง 2.5 เมตร มีเพลาล้อ เพลาล้อ 32 ล้อ ตัวรถมีขาช้าง และก้านเหล็กทั้งซ้ายและขวา รวม 6 ตัว ซึ่งก้านด้านหน้าและด้านท้ายรถมีความยาวตลอดแนวจากซ้ายไปขวายาว .0 เมตร(รวมทั้งตัวรถ) ส่วนตัวกลางยาวตลอดแนวจากซ้ายไปขวา 11.73 เมตร(รวมทั้งตัวรถ) บนตัวรถมีห้องเครื่องบังคับการทำงานของตัวปั้นจั่นซึ่งมีก้านเหล็กยาววัดได้ 41 เมตร ก้านเหล็กนี้ใช้ยกโดยมีลวดสลิงยกของที่มีน้ำหนักมากจากเรือบรรทุกสินค้า รถรวมทั้งเครื่องจักรและก้านเหล็กมีน้ำหนัก 100 ตันเศษ ซึ่งเกินกว่าที่พระราชบัญญัติ จราจรกำหนดไว้ การเคลื่อนตัวของรถจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งจะต้องยกขาช้างด้วยระบบไฮโดรลิก ส่วนก้านเหล็กขาช้าง ไม่สามารถที่จะพับเก็บได้ คงกางอยู่ตลอดเวลา สามารถยกน้ำหนักได้ถึง 350 ตัน และไม่สามารถเคลื่อนที่ไปตามท้องถนนเหมือนรถดับเพลิงที่มีกระเช้ารถยกลากรถเสีย หรือรถสำหรับยกของการไฟฟ้า สินค้าพิพาทนี้เมื่อติดตั้งเสร็จและยกของเสร็จแล้วจะเคลื่อนไปยกยังอีกที่หนึ่ง สถานที่จะไปยกต่อนี้ต้องอยู่ห่างไม่เกิน5 ถึง 10 เมตร ถ้าจะเคลื่อนไปไกลกว่านี้จะต้องถอดตัวปั้นจั่นทั้งหมดออกพร้อมกับเก็บขาช้าง แล้วเคลื่อนที่ฐานไป เมื่อถึงที่ใหม่แล้วต้องประกอบใหม่ทั้งหมด เช่นนี้ สินค้าพิพาทจึงเป็นสินค้าที่มีความประสงค์ใช้ยกของหนักมาก ทำงานอยู่กับที่ไม่มีลักษณะเป็นยานยนต์อันมีสาระสำคัญอยู่ที่การเคลื่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างคล่องตัวดังสินค้าในพิกัดประเภทที่ 87.05 สินค้าพิพาทจึงจัดว่าเป็นรถใช้งานที่มีปั้นจั่นติดอยู่ด้วย อันจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 84.26 ทั้งนี้แม้ว่าสินค้ารายพิพาทจะมี2 ส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับบังคับการทำงานของปั้นจั่น อีกส่วนหนึ่งใช้ในการขับเคลื่อนตัวรถก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าในพิกัดประเภทที่ 87.05 ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ตรงกับราคาที่โจทก์กับผู้ขายตกลงกัน และตรงกับจำนวนเงินที่ระบุไว้ในคำขอการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะจำนวนเงินในเอกสารที่โจทก์กับผู้ขายตกลงกันก็ตรงกับจำนวนเงินที่ปรากฏในใบอนุญาตให้โจทก์นำเข้าสินค้ารายพิพาทด้วย และราคาที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าดังกล่าวข้างต้นนั้น จำเลยก็มิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์และบริษัทผู้ขายได้สมคบกันทำขึ้นโดยกำหนดราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริงแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะทำได้ ส่วนราคาตามที่เจ้าพนักงานจำเลยประเมิน นั้นเป็นการที่จำเลยนำเอาราคาสินค้าใหม่ยี่ห้อเดียวกับสินค้ารายพิพาทที่บริษัทช.นำเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2525 มาเป็นเกณฑ์แล้วหักค่าเสื่อมราคาออก จึงเป็นการนำเอาสินค้าคนละรุ่นและการใช้งานแตกต่างกัน ทั้งเป็นราคาสินค้าใหม่มาเป็นเกณฑ์คำนวณย่อมไม่อาจจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้ารายพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากชื่อในโฉนด: เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องเสียภาษีแม้มีการร่วมทุน
โจทก์ร่วมลงทุนกับ ว. ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาลโดยใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่เพียงผู้เดียวแม้ว่าต่อมาจะได้ขายที่ดังกล่าวไปและแบ่งปันเงินที่ได้จากการขายที่ดินกันตามอัตราส่วนที่ลงหุ้นแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากเงินได้ที่ได้จากการขายที่ดินทั้งหมดได้ เพราะโจทก์มีชื่อในโฉนดที่ดินอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินแต่เพียงผู้เดียวและโจทก์เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้นไว้ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 61 ดังนั้น แม้ศาลภาษีอากรกลางจะยอมให้โจทก์นำสมุห์บัญชีธนาคาร และ ว.มาสืบยืนยันข้อเท็จจริงว่าว. ร่วมลงทุนและได้รับทุนและส่วนแบ่งกำไรคืนไปแล้ว ก็ไม่ทำให้โจทก์หลุดพ้นหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีการค้าจากการขายที่ดินทั้งหมดได้ การสืบพยานทั้งสองปากดังกล่าวจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรกลางจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้หมายเรียกสมุห์บัญชีธนาคาร และตัดพยานปากนาย ว. เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ ป.วิ.พ. โดยอนุโลมในศาลภาษีอากร: ต้องไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ภาษีอากรครอบคลุม และเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถอ้างได้
การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในศาลภาษีอากรนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 17 บัญญัติให้ทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จะนำมาใช้บังคับเท่านั้น การย่นหรือขยายระยะเวลานั้นได้มีบทบัญญัติ มาตรา 19 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงจะนำบทบัญญัติ มาตรา 23 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัด แล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำ ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลมในศาลภาษีอากร ต้องพิจารณาบทบัญญัติ พ.ร.บ.ภาษีอากรเป็นหลัก
การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในศาลภาษีอากรนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรมาตรา 17 บัญญัติให้ทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าวที่จะนำมาใช้บังคับเท่านั้น การย่นหรือขยายระยะเวลานั้นได้มีบทบัญญัติ มาตรา 19 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงจะนำบทบัญญัติ มาตรา 23 แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัดแล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การนำสืบต้องตรงประเด็นตามฟ้อง และเบี้ยปรับภาษีแม้เคยชำระภาษีไว้เกิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้จ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าให้แก่บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ร่วมค้ากับโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายจำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าแต่เป็นการประเมินจากเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าแรงที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขับรถและคนงานของโจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า การจ่ายเงินค่าจ้างแรงงานก่อสร้าง นั้นบางครั้งโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าเหมาช่วงให้บุคคลอื่นรับไปบางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานรายวัน บางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างคนขับรถ ซึ่งมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์ไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้องศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไปอันจะต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษอันเป็นมาตรการที่บังคับไว้เพื่อให้เกิดผลในกรณี ที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ยอมชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วน แม้ผู้ต้องเสียภาษีจะเคยชำระภาษีในครั้งก่อน ๆ ไว้เกิน ก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากส่วนแบ่งกำไรกิจการร่วมค้าและการประเมินภาษีจากค่าจ้าง การชำระภาษีไม่ครบและเบี้ยปรับ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้จ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าให้แก่บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ร่วมค้ากับโจทก์ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า แต่เป็นการประเมินจากเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าแรงที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขับรถและคนงานของโจทก์ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบว่า การจ่ายเงินค่าจ้างแรงงานก่อสร้าง นั้น บางครั้งโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าเหมาช่วงให้บุคคลอื่นรับไป บางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานรายวัน บางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างคนขับรถ ซึ่งมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโจทก์ไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป อันจะต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 89 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษอันเป็นมาตรการที่บังคับไว้เพื่อให้เกิดผลในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ยอมชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วน แม้ผู้ต้องเสียภาษีจะเคยชำระภาษีในครั้งก่อน ๆ ไว้เกิน ก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายเพื่อขอประทานบัตรใหม่เป็นการลงทุนทางภาษี ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการลดเบี้ยปรับ
เมื่อปรากฏว่ารายจ่ายพิพาท มิใช่รายจ่ายเกี่ยวกับกิจการทำเหมืองแร่ของโจทก์ที่ตำบลบางริ้น ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2524แต่เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการเตรียมการเพื่อขอประทานบัตรเหมืองแร่ใหม่ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ทำให้ได้มาซึ่งสิทธิประทานบัตรการทำเหมืองแร่เมื่อโจทก์ใช้จ่ายเงินดังกล่าวไปแล้ว ภายหลังเมื่อโจทก์ได้รับประทานบัตร โจทก์ก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้จ่ายจนบังเกิดเป็นทุนรอนของโจทก์ขึ้นมา อันถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์ มิใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมเหมืองบางริ้นให้คงสภาพเดิม จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ตามมาตรา 65 ตรี(5)แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์นำเอาค่าใช้จ่ายซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่ายและไม่ยอมเสียภาษีอากรให้แก่จำเลยกลับนำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง ขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นนี้ ตามพฤติการณ์ยังไม่มีเหตุที่จะงดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์แต่การที่โจทก์ให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยในการตรวจสอบภาษี โดยมอบอำนาจให้คนของโจทก์ไปให้ถ้อยคำและส่งมอบเอกสารต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยแทนโจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะลดเบี้ยปรับให้โจทก์ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางเพียงขอให้งดเบี้ยปรับศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจลดเบี้ยปรับให้ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ แต่ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้ลดเบี้ยปรับตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับอื่นซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์และมีคำขอมาในคดีนี้ด้วย เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีถึงที่สุด การไม่อุทธรณ์ถือเป็นการยอมรับ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้ได้
จำเลยที่ 1 รับแจ้งการประเมินแล้ว ไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ย่อมถึงที่สุด จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้องและเมื่อการประเมินถึงที่สุดแล้ว จึงไม่มีปัญหาว่ายอดรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ในการประเมินภาษีชอบหรือไม่ ทั้งปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีถึงที่สุด ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ชำระ แม้การประเมินไม่ถูกต้อง ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 รับแจ้งการประเมินแล้ว ไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ย่อมถึงที่สุด จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้องและเมื่อการประเมินถึงที่สุดแล้ว จึงไม่มีปัญหาว่ายอดรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ในการประเมินภาษีชอบหรือไม่ ทั้งปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมในคดีภาษีอากร เหตุผลความจำเป็นและมิใช่การประวิงคดี
คำร้องขอระบุพยานบุคคล 3 อันดับ พยานเอกสาร 6 อันดับ รวม 9 อันดับเพิ่มเติม อ้างเหตุสองประการคือบัญชีระบุพยานยังพิมพ์ขาดตกบกพร่อง และเอกสารที่ขอระบุเพิ่มเติมนี้เพิ่งทราบว่ามีและหาได้ พยานบุคคลที่ขอระบุเพิ่มเติมได้ความว่า พยานบุคคลที่ระบุไว้เดิมมาเบิกความไม่ได้ในวันนัดโจทก์จึงระบุพยานเพิ่มเติมแทนพยานที่ระบุไว้เดิม และนำตัวมาพร้อมที่จะเบิกความด้วยในวันนัดเช่นนี้นั้น กรณีถือได้ว่ามีเหตุอันสมควร ส่วนพยานเอกสารที่ขอเพิ่มเติม 6 อันดับ โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบว่ามีอยู่ จำเลยมิได้คัดค้านและไม่ปรากฏว่าเป็นเอกสารที่โจทก์รู้อยู่ก่อนแล้วว่ามี กรณีต้องฟังตามคำร้องของโจทก์ว่าเพิ่งทราบว่ามีอยู่ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8 วรรคสี่ เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติม
นัดสืบพยานโจทก์นัดแรกโจทก์ขอเลื่อนโดยแถลงว่านัดหน้าจะนำพยานมาสืบ นัดต่อมาโจทก์ไม่มีพยานตามที่ระบุไว้แล้วมาศาล คงมีแต่พยานบุคคลที่โจทก์ขอระบุเพิ่มเติมในวันนั้นมาศาลพร้อมที่จะสืบ แต่ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติม โจทก์แถลงถึงความจำเป็นที่พยานคนเดิมไม่มาศาลไว้ด้วย พฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่พอฟังว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า และการที่โจทก์นำพยานบุคคลที่ระบุเพิ่มเติมเข้าสืบก็ไม่มีข้อที่จะทำให้จำเลยเสียเปรียบในทางคดีแต่อย่างใด เพราะแม้ตามบัญชีระบุพยานเดิมเมื่อถึงวันนัดจำเลยก็ไม่อาจรู้ได้ว่าโจทก์นำพยานบุคคลอื่นใดเข้าสืบก่อนหลัง และไม่อาจรู้ได้ก่อนว่าพยานปากใดจะเบิกความในประเด็นแห่งคดีเรื่องอะไรก่อนที่จะลงมือสืบพยาน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเอาเปรียบจำเลยในทางคดี กรณีมีเหตุอันสมควรให้โจทก์สืบพยานไป
of 23